Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
ข่าวและกิจกรรม | ชุมชน 3 ดี
ข่าวสารและกิจกรรม
รวบรวมข่าวสารและกิจกรรมที่ผ่านมาและกำลังจะเกิดขึ้น ของ 3 ดี
กิจกรรมที่ผ่านมา (34)

19 มิ.ย.60 สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา เครือข่ายบางกอกนี้ดีจัง เครือข่ายหุ่นเยาวชนไทย เครือข่ายโคราชยิ้ม นครศรีฯดีจังฮู้ จัดประชุมทำความเข้าใจแนวคิด ยุทธศาสตร์ แนวทางการทำงานโครงการพลังพลเมือง พลังสื่อสร้างสรรค์ ปี 2560

เมื่อวันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา กลุ่มลูกหว้า เพชรบุรี ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ได้ไปร่วมถอดบทเรียน 7 ปี พื้นที่นี้ ดีจัง เพื่อเดินหน้าสู่ปีที่ 8 กันต่อไปที่โรงแรม Riverine จังหวัดนนทบุรี ร่วมกับเพื่อนเครือข่ายจากทั่วประเทศที่มีกันอยู่ประมาณ 20 กลุ่ม ซึ่งเพชรบุรี ดีจัง ได้เริ่มเข้าร่วมเป็นภาคีพื้นที่นี้ ดีจัง เมื่อปี 2554 และร่วมขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนในจังหวัดเพชรบุรีมาอย่างต่อเนื่อง ผลสรุป 6 ปี ของเราออกมาประมาณนี้ค่ะ   ช่วงเริ่มต้น เราริเริ่มสร้างเครือข่ายกันเมื่อปี 2554 กลุ่มเยาวชน 14 กลุ่ม จาก 8 อำเภอ รวมกันเป็นเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน สร้างและพัฒนาเยาวชนแกนนำ ค้นหา สื่อ ศิลปะ จากศิลปิน หรือผู้รู้ ในชุมชนของตนเอง […]

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนร่วมกับสหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ(สอช.) จัดอบรม กระบวนการ 3 ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี ให้กับเยาวชนจำนวน 40 คน จาก 5 เมืองประกอบด้วย ชุมแสง นครสวรรค์ ระหว่างวันที่ 19-21 เม.ย.2560 ณ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ในการอบรมมีกิจกรรมเรียนรู้เพื่อตระหนักถึงพลังสร้างสรรค์ของเยาวชน ฝึกการคิด การแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เห็นพลังของกลุ่ม ในการอบรมเยาวชน 3 ดี

เรื่องราวบันดาลใจ (10)

“พอเรามีโอกาสได้เป็นผู้ให้  มันมีความสุขครับที่ได้เห็นรอยยิ้มของใครๆและกิจกรรมทำให้ผมหลุดออกจากวงโคจรแบบนั้น และเปลี่ยนมุมมองที่คนอื่นๆมองครอบครัวของผม ที่ถูกตีตราว่า ‘ลูกคนขายยา’”   นั่นเป็นคำของ นายสุขวิชัย อิทธิสุคนธ์หรือ “ม๊อบ” เยาวชนคนเก่ง อายุ 18 ปี  ของชุมชนวัดอัมพวา  เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง  บอกเล่า  ซึ่งก่อนที่เขาจะกลายมาเป็นผู้ให้  เขาเองได้รับโอกาสมาก่อนจากพี่ๆ จากมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา   พาทำกิจกรรมรณรงค์ต้านยาเสพติด กับคนในชุมชน  ทั้งกิจกรรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด  เกมต่างๆ  ซึ่งล้วนแล้วแต่ช่วยพาเขาออกมาจากวังวนของยาเสพติด “ครอบครัวผมโตมาท่ามกลางปัญหายาเสพติด  และสูญเสียคนสำคัญไปถึง 2 คน คนแรกเป็นลุงของผมที่เสพยาเกินขนาด และอีกคนก็เป็นพ่อของผมเองถูกวิสามัญ ในข้อหาผู้ค้ารายใหญ่ เมื่อปี 2546 ตอนผม 5 ขวบ” …ชีวิตคนเราอาจจะเลือกอะไรไม่ได้ทุกอย่าง  แต่ม๊อบเลือกที่จะเปลี่ยนจากสังคมเดิมๆ โดยใช้ความสูญเสียนั้นเป็นแรงกระตุ้น ก้าวสู่โลกเพื่อเพื่อนมนุษย์  ออกไปทำกิจกรรมกับเพื่อนในพื้นที่ส่วนกลางของชุมชน  เพื่อทิ้งช่วงเวลาที่อาจถูกใช้  ถูกชักจูงเข้าไปสู่วังวนเดิมๆ “ช่วงเวลาแค่เพียงนิดเดียวก็อาจจะดึงทั้งเพื่อนและผมกลับไปในสังคมแบบนั้นอีกได้  ผมเคยคิดนะว่า ‘พ่อแม่เลี้ยงเรามาแบบไหน  เราคงต้องเป็นแบบนั้นตามพ่อกับแม่’ แต่พอเราเข้าเรียน  ทำกิจกรรมกับพี่ๆ  เพื่อนๆ ในพื้นที่ส่วนกลาง  ความคิดผมก็เปลี่ยน  ‘ครอบครัวเป็นคนให้ชีวิต   แต่ตัวเราเองก็สามารถกำหนดชีวิตเราเองได้’” […]

กลุ่มเยาวชนอิงะกัมปง  หมู่บ้านปาโงปะแต  ต.โคกสะตอ  อ.รือเสาะ  จ.นราธิวาส    จากเยาวชนไม่ถึง 10 คนกลุ่มสุดท้ายที่เหลืออยู่ที่รอดพ้นจากอิทธิพลของยาเสพติด  จากกลุ่มเด็กเยาวชนนอกระบบ (เรียนโรงเรียนสอนศาสนา และไม่ได้เรียน ) ขี้อาย พูดไม่เก่ง กลัวผู้คน ( มีอาการเป็นไข้ บางคนหายใจ   ไม่ออก เมื่อพบเจอผู้คน ) จากเยาวชนที่ถูกสงสัยเรื่องก่อความรุนแรง  สู่แกนนำเด็กเยาวชนที่สร้างพื้นที่ปลอดภัย  ปลอดยาเสพติด 100%    สร้างกองทุนเพื่อช่วยเด็กเยาวชนในชุมชนที่ยากจนไม่ได้เรียนหนังสือ และผู้สูงอายุ เปลี่ยนแปลงพื้นที่สีแดง ทั้งเรื่องยาเสพติด ความรุนแรง  ความหวาดระแวงกันและกัน  กลายเป็นพื้นที่ความสัมพันธ์ที่ดี เอื้อเฟื้อแบ่งปันช่วยเหลือทำงานร่วมกันระหว่างราชการกับชุมชน  จากกลุ่มเด็กเยาวชนนอกระบบ ไม่รู้จักเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์  กลายเป็นผู้สร้างสื่อสร้างสรรค์หนังสั้นอนา ซีสที่สร้างผลกระทบลดเรื่องยาเสพติดในชุมชนได้อย่างแนบเนียน  เป็นกลุ่มเด็กเยาวชนกลุ่มแรกที่ลุกขึ้นมา การทำงานจิตอาสาเพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ จากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมปฏิเสธเสื้อกันหนาวไม่กี่ตัวที่ได้รับบริจาค  เพื่อการส่งต่อ และเริ่มต้นงานเล็กๆ ด้วยจิตอาสาเกินร้อย  แบกไม้กวาดไม้ถูพื้นลงพื้นที่ทำความสะอาดโรงเรียนที่น้ำท่วม( หลังน้ำลด ) กลายเป็นผู้จุดประกายงานจิตอาสาเยาวชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ […]

บทความ (8)

เมื่อนึกถึงคำนี้ “รองเมือง” ใครหลายๆคนนึกถึงสถานีรถไฟหัวลำโพง  วันนี้เว็บไซต์สามดีชวนคุณออกมาเดินเล่น ชวนคุณขยับมาอีกนิดไปดูกำแพงสวยๆ ในชุมชนวัดดวงแขกัน   ถือเป็นชุมชนสามดีของเราอีกแห่งหนึ่งค่ะ ชุมชนนี้ได้ร่วมมือกันปรับภูมิทัศน์ชุมชนให้น่าอยู่โดยการเชิญศิลปินและ ชวนเด็กๆและคนในชุมชน ทาสีกำแพงและวาดภาพกำแพง สร้างสีสันให้ชุมชนน่าอยู่  คุณครูหรือคุณพ่อ คุณแม่ สามารถพาเด็กๆ ไปเดินชม  พร้อมรับฟังหลากเรื่องเล่าโดยคนในชุมชนได้     ชุมชนวัดดวงแขนั้น ได้รับการรองรองเป็นชุมชนจากสำนักงานเขตปทุมวันเมื่อปี 2547 ตั้งอยู่บริเวณถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน มีพื้นที่ 3.5 ไร่ มีจำนวนประชากรตามทะเบียนบ้าน 52หลังคาเรือน 139 ครอบครัว 410 คน และมีประชากรตามบ้านเช่าอีก 500 คน ซึ่งพื้นที่ชุมชนนั้นมี 3 ส่วน คือเช่าอาศัยพื้นที่กรมธนารักษ์ ที่ดินชาวบ้านที่มีโฉนดและพื้นที่จากคลองนางหงส์ที่ตื้นเขิน คลองนางหงส์นั้นที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 มีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมเพื่อแบ่งพระราชฐานเป็นชั้นนอกและชั้นใน โดยมีคลองนางหงส์เชื่อมต่อคลองผดุงกรุงเกษมให้น้ำไหลไปลงยังคลองแสนแสบแถบ บริเวณชุมชนกรุงเกษมชุมชนวัดบรมนิวาส และสะพานเจริญผล ต่อมารัชสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงก่อสร้างทางรถไฟสายแรกของประเทศไทยจากหัวลำโพง – ปากน้ำ (สมุทรปราการ) คลองนางหงส์จึงถูกถมเป็นรางรถไฟ และเมื่อคลองนางหงส์ถูกถมแล้วจึงทำให้ส่วนที่ต่อจากรางรถไฟ ตื้นเขินกลายเป็นแผ่นดิน ชาวบ้านจึงมาปลูกบ้านอยู่อาศัยเป็นระยะเวลากว่า 100 ปี สำหรับใครที่สนใจแวะเข้าไปชมติดต่อได้ที่ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ศูนย์ดวงแข 02 – 215 […]

“รวมนิทานสัตว์พิเศษ” นิทานภาพสีสวย เรื่องและภาพฝีมือเด็ก ๆ ผลเล่มล่าสุดในโครงการ “ตัวเล็กเสียงดัง” ของ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน หนังสือรวมนิทานสัตว์พิเศษเล่มนี้ เป็นผลงานของเด็ก ๆชาติพันธุ์และลูกหลานแรงงานหลากชาติพันธุ์จากประเทศพม่า ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 พวกเขาทั้ง 16 คนได้มาร่วมกันทำความเข้าใจกับสิทธิเด็กและประเด็นปัญหาการใช้แรงงานเด็ก เรียนรู้ศิลปะการแต่งนิทานและวาดภาพประกอบ ก่อนจะลงมือสร้างสรรค์นิทานภาพชุดนี้ออกมาด้วยตนเอง กิจกรรมของเด็ก ๆและหนังสือเล่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การแตร์เดซอมม์ เนเธอร์แลนด์ ในโครงการเพื่อการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด และได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากศูนย์การเรียนช่าทูเหล่ โรงเรียนบ้านท่าอาจ และโรงเรียนคริสเตียนแม่หละโกร จังหวัดตาก โครงการ “ตัวเล็กเสียงดัง“ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน คือการส่งเสริมความตระหนักในสิทธิเด็ก และการรวมพลังของเด็ก ๆชาติพันธุ์ ผู้ลี้ภัย และลูกหลานแรงงานข้ามชาติในการสื่อสารเรื่องราว ความคิด ความฝันของพวกเขาผ่านงานศิลปะประเภทต่าง ๆ ด้วยความหวังว่าสังคมไทยจะหันมามองและฟังเสียงพวกเขา เสมือนเช่นเป็นลูกหลานคนหนึ่ง รวมนิทานสัตว์พิเศษ คือการถ่ายทอดความใฝ่ฝันต่อสิทธิต่อการศึกษาพื้นฐาน สถานะทางกฎหมายที่ทำให้เข้าถึงเสรีภาพและบริการจากรัฐ ค่าแรงอันยุติธรรม และความเอื้ออาทรของสังคมที่มองทุกคนเป็นคนเท่ากัน เด็ก ๆ ผู้สร้างสรรค์ล้วนหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะมิเพียงเป็นที่ถูกใจของน้อง ๆ เพื่อน ๆ ตลอดจนครูและพ่อแม่ทุกคน หากยังจะช่วยย้ำเตือนให้สังคมได้ตระหนักด้วยว่า เด็ก […]

ชุมชนมีชีวิต เด็กมีพื้นที่เล่น ผู้ใหญ่มีพื้นที่ยิ้ม…. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2558เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ชวนมาสนุกกับเทศกาล “เพลินบางกอกนี้…ดีจัง 3 ดีมีชีวิต” บริเวณลานยิ้มริมน้ำคลองบางหลวง วัดหงส์รัตนาราม บางกอกใหญ่ เพื่อเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กเยาวชน ครอบครัว และคนในชุมชน ร่วมขับเคลื่อนบางกอกให้เป็น “เมืองวิถีสุข” เทศกาล“เพลินบางกอก…นี้ดีจัง 3 ดีมีชีวิต”จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “3 ดี” (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) เป็นกระบวนที่ให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ ได้มีส่วนร่วมในการลองคิด ลองค้น เรียนรู้ และลงมือสรรค์สร้างกิจกรรมที่มาจากรากฐานของคนในชุมชน การเกิดขึ้นของเทศกาลนี้จากความคิดของคนรุ่นใหม่ในย่านบางกอกใหญ่ เจมส์, ตัน และใบเตย แกนนำเยาวชนในชุมชนร่วมกันเปิดห้องเรียนชุมชน “สื่อดี” สื่อที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เช่น บ้านภูมิปัญญาเรือกระทงกาบมะพร้าว บิดกลีบบัว ภาพเขียนลายรดน้ำ การทำขนมช่อม่วง และการละเล่นพื้นบ้าน นอกจากนี้ยังได้เปิด “พื้นที่ดี” เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่าน “ภาพศิลปะซอยเล่นซอยศิลป์” ภาพวาดเล่าเรื่องวิถีชีวิตอัตลักษณ์ของดีแต่ละชุมชนบนกำแพงตามตรอกซอกซอย ซึ่งสะท้อนความคิด ความเชื่อ และความเป็นอยู่ของคนในชุมชนผ่านกระบวนการถ่ายทอด และสืบทอดจากรุ่นต่อรุ่นของคนในชุมชนไม่ให้สูญหายไป เสมือนการค้นหารากเหง้าตัวตนของคนในชุมชน เช่น […]

ชวนใช้กระทงกาบมะพร้าว ของชุมชนวัดโพธิ์เรียง ลอยกระทงซึ่งอยู่แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เป็นส่วนหนึ่งของ เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง เป็นการรวมตัวกันของชุมชนเมืองในย่านบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ เขตพระนคร เขตบึงกุ่ม เขตบางนาและเขตสวนหลวง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว โดยจัดสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก-เยาวชน นำเด็ก-เยาวชนออกจากปัจจัยเสี่ยง ทั้งปัญหายาเสพติด อบายมุขเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ โดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดีในการขับเคลื่อนนั่นก็คือ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เริ่มสำรวจความต้องการและการมีส่วนร่วมของเด็ก-เยาวชน สู่ภาคส่วนต่างๆในชุมชน ได้ทำให้เกิดการขยับขยายเป็นเครือข่าย 17 ชุมชน ย่านบางกอกน้อย-บางกอกใหญ่ และขยายไปยังเขตอื่นๆของกรุงเทพมหานคร การเปิดพื้นที่ทำให้เกิดกลุ่มเยาวชนที่ใช้สื่อศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและฟื้นฟูสื่อวัฒนธรรมของดีที่มีอยู่ในชุมชน ต่อยอดแหล่งเรียนรู้กลุ่มอาชีพ และสร้างความภูมิใจของชุมชน มีกระบวนการทำงานสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และพัฒนาไปสู่การสร้างเศรษฐกิจ เกิดรายได้ กลับคืนสู่ชุมชน   ในย่านนี้ ในอดีตเป็นสวนมะพร้าว สวนผลไม้ ทำของกินจากมะพร้าว ตามบ้านจึงมีกาบมะพร้าวอยู่มาก เมื่อถึงคืนวันเพ็ญเดือน 12 จึงเกิดความคิดประดิษฐ์กระทงจากกาบมะพร้าวผสมไม้ไผ่และไม้ระกำ ทำเป็นรูปทรงเรืออีโปง แล้วให้คนในหมู่บ้านมาลอยกระทงกันริมฝั่งคลอง เพื่อเป็นการขอขมาพระแม่คงคาและลอยทุกข์โศกโรคภัยให้พ้นจากตัวเองและครอบครัว แต่นานวันภูมิปัญญาเรือกระทงกาบมะพร้าวค่อยๆ เลือนหาย เพราะมีกระทงรูปแบบใหม่มาแทนที่ […]

บทสัมภาษณ์ (4)

“หุ่นเงาทำให้เด็กมีเวทีแสดงออก การได้ออกแสดงเป็นเรื่องสำคัญเพราะเด็กมีของดีต้องได้อวด(ดี) ในเวลาที่แสดงแล้วเด็กจะรู้ว่าเมื่อถูกชมแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร หรือเมื่อผิดพลาดแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร เรียนรู้ที่เจ็บ และเรียนรู้ที่ยิ้ม จึงจะทำให้เด็กเติบโตและพัฒนาได้เร็ว” สุภิญญา บุญเฉลย ผู้ประสานงาน กลุ่มลูกขุนน้ำ แห่งหมู่บ้านคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช เอ่ยคำนี้ด้วยรอยยิ้มขณะเล่าเรื่องราวของเด็กๆ ในกลุ่มลูกขุนน้ำ เธอเรียกแทนตัวเองว่ามาอู กลุ่มลูกขุนน้ำเข้าร่วมพื้นที่นี้…ดีจังเป็นปีที่ 3 เธอเล่าว่าปีแรกเป็นแขกรับเชิญและเข้าร่วมเต็มตัวใน 2 ปี หลังเธอและเด็กๆ พบความสำเร็จจากการเลือกสื่อที่ดีนั่นก็คือ “หุ่นเงา” “หุ่นเงาสามารถประสานได้ทุกฝ่าย ทำให้เด็กได้สืบค้นเรื่องราวในชุมชน ผู้ใหญ่ได้ถ่ายทอด เช็คเสียงสะท้อนจากทุกฝ่ายได้ ซึ่งต่างจากการทำเอกสารประเภทงานวิจัย เพราะสื่อหุ่นเงาเวลาเล่นจะมีเสียงตอบรับจากผู้ชมได้ในทันทีขณะเล่น ซึ่งเด็กรู้สึกและรับรู้ได้เช่นกัน ผู้ชมก็เข้าใจสิ่งที่เด็กสื่อได้บางครั้งอาจจะไม่เข้าใจแต่ก็รู้ว่าเด็กตั้งใจจะทำอะไร จากการทำโครงการที่ผ่านมาเห็นพัฒนาการของเด็ก เช่น มีระเบียบวินัย มีการฝึกซ้อม รู้เรื่องราวของชุมชน ภูมิใจที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนตนเอง” เรียนรู้ต่อเติม ด้วยความพยายามที่จะหาของดีในชุมชนแรกๆ เธอจึงชวนเด็กๆ ไปใช้ธนูคันกระสุน เป็นธนูแบบดั้งเดิมที่มีก้อนหินเป็นกระสุน ซึ่งมีอยู่เฉพาะในชุมชนนี้ และมีปราชญ์ชาวบ้านรู้เรื่องนี้ที่นี่ “มาอูรู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวกลาง(ตัวเชื่อมระหว่างยุค โดยธรรมชาติของชุมชนคีรีวงการถ่ายทอดในทุกๆเรื่องจะส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น)ได้จึงคิดจะให้ผู้ใหญ่สอนเด็กๆในหมู่บ้านโดยตรง แต่เนื่องจากธนูคันกระสุนเป็นเครื่องมือที่ยากเกินไปเพราะต้องฝึกฝนและต้องใช้ความชำนาญ บางคนหัดยิงพลาดไปโดนนิ้วตัวเองเกิดอันตรายกับเด็กๆ ถึงแม้จะเสียดายเพราะธนูคันกระสุนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนก็ตามแต่ความปลอดภัยของเด็กก็ต้องมาก่อนสิ่งใด” ปีที่สองเธอจึงทำซุ้มกิจกรรมและซุ้มศิลปะในโรงเรียนแต่ละแห่งในตำบล รอบๆ หมู่บ้าน แต่ปัญหามีมาทดสอบคนตั้งใจเสมอ พอเข้าไปทำกิจกรรมกับโรงเรียนทำให้เธอรู้ว่าโรงเรียนเองก็มีภาระมาก […]