Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
เพชรบุรี…ดีจังถอดบทเรียน 7 ปี พื้นที่นี้…ดีจัง | ชุมชน 3 ดี
เพชรบุรี…ดีจังถอดบทเรียน 7 ปี พื้นที่นี้…ดีจัง

เมื่อวันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา กลุ่มลูกหว้า เพชรบุรี ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ได้ไปร่วมถอดบทเรียน 7 ปี พื้นที่นี้ ดีจัง เพื่อเดินหน้าสู่ปีที่ 8 กันต่อไปที่โรงแรม Riverine จังหวัดนนทบุรี ร่วมกับเพื่อนเครือข่ายจากทั่วประเทศที่มีกันอยู่ประมาณ 20 กลุ่ม ซึ่งเพชรบุรี ดีจัง ได้เริ่มเข้าร่วมเป็นภาคีพื้นที่นี้ ดีจัง เมื่อปี 2554 และร่วมขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนในจังหวัดเพชรบุรีมาอย่างต่อเนื่อง ผลสรุป 6 ปี ของเราออกมาประมาณนี้ค่ะ18813195_1387065601387736_3191314074927345085_n

 

ช่วงเริ่มต้น เราริเริ่มสร้างเครือข่ายกันเมื่อปี 2554 กลุ่มเยาวชน 14 กลุ่ม จาก 8 อำเภอ รวมกันเป็นเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน สร้างและพัฒนาเยาวชนแกนนำ ค้นหา สื่อ ศิลปะ จากศิลปิน หรือผู้รู้ ในชุมชนของตนเอง เรียนรู้แล้วลองทำตาม เกิดความรู้ตามมามากมาย นำเสนอนโยบายต้นแบบ ๑ ชุมชน ๑ พื้นที่สร้างสรรค์ ต่อสาธารณะ

 

2555 สร้างกระแสสังคม ด้วยกระบวนการความร่วมมือของ 5 พลัง ได้แก่ พลังวัฒนธรรม พลังชุมชน พลังเครือข่าย พลังเยาวชน และ พลังสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ใช้สื่อสร้างสรรค์ทั้ง 5 อันได้แก่ สื่อวิถีชุมชน สื่อภูมิปัญญา สื่อศิลปวัฒนธรรม สื่อมวลชนท้องถิ่น และ สื่อ ICT เพื่อเปิดเส้นทางพื้นที่สร้างสรรค์ 5 ยิ้ม คือ ถนนยิ้ม แม่น้ำยิ้ม ตลาดยิ้ม วัดยิ้ม ชุมชนยิ้ม สร้างความหมายใหม่ เพชรบุรี ดีจัง

 

2556 ปรากฏการณ์เมือง 3 ดี (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) ขยายพื้นที่สร้างสรรค์ทั่วจังหวัดเพชรบุรี เกิดกลุ่มเยาวชนกว่า 30 กลุ่ม ในพื้นที่ 8 อำเภอ สร้างความสัมพันธ์ด้วยการร้อยเรียง เชื่อมโยง เครือข่าย เพชรบุรี ดีจัง จากภูเขาถึงทะเล เปลี่ยนความห่างไกลเป็นความใกล้ชิดกัน

 

2557 – 2558 เพชรบุรี เมืองมีชีวิต แกนนำเยาวชนเครือข่าย สร้างสรรค์กิจกรรม นำสื่อ ศิลปะมาขับเคลื่อนชุมชน ผ่านการเรียนรู้สื่อ ศิลปะชุมชน นำมาออกแบบ ผลิตอย่างสร้างสรรค์ และจัดกิจกรรมสื่อสาร ผลิตซ้ำ ทำแล้วก็ทำอีก ในช่วงเวลาที่ผ่านมา 5 ปี เมืองเพชรบุรีกลับมีชีวิตชีวาเห็นได้

 

2559 ชุมชนสร้างสรรค์ ปีที่ 6 ของ เพชรบุรี ดีจัง พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ เริ่มขยายผลกว้างขึ้นในชุมชน หลายพื้นที่มีการทำงานร่วมกันของกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่ใจดีในชุมชน ร่วมกันพัฒนาชุมชนของตน สร้างพื้นที่เรียนรู้ในชุมชนในรูปแบบที่แตกต่างกันตามบริบทและความสนใจ เป็นพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิต

 

2560 จากการเรียนรู้ชุมชนของกลุ่มเด็กและเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรีดีจัง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปีนี้เรามีความตั้งใจว่า จะชักชวนกันนำความรู้ที่ได้รับ มาออกแบบเพื่อสื่อสารเรื่องราวของชุมชน เพชรบุรี ดีจัง สู่สาธารณะให้มีคุณค่าและน่าสนใจยิ่งขึ้น ส่วนจะออกมาในรูปแบบไหนนั้น ขอได้โปรดติดตามกันต่อไป ซึ่งโครงการเพชรบุรี ดีจัง ปีที่ 7 จะเริ่มต้นประมาณกลางเดือนกรกฏาคมนี้จ้ะ

ข้อมูลจาก กลุ่มลูกหว้า เพชรบุรี18835509_1387065454721084_8312609569790218259_n

บทความที่เกี่ยวข้อง

20 ก.ย. สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนร่วมออกบูธงาน “สานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก”ณ ฮอลล์ 9 อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี จ.นนทบุรี โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิด งานนี้จัดขึ้นเพื่อประกาศการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นการรวมพลังระหว่างภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐในการทำงานพัฒนาอย่างยั่งยืน จะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการกระตุ้น เศรษฐกิจฐานราก และสร้างความเชื่อมั่นประเทศไทย โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายการประสานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก โดยสรุปความว่า วันนี้เป็นวันแห่งความสดใส ดีใจที่เห็นทุกคนมีรอยยิ้ม หน้าตามีความสุข วันนี้เรามาร่วมมือกันในการสร้างสรรค์ สร้างพลังเพื่อทำความดีให้ประเทศชาติ ไม่ใช่เพื่อตนเอง หรือข้าราชการ แต่ทำเพื่อประชาชนทุกคน ซึ่งไม่ใช่เป็นการทำประชานิยม เพราะประชานิยมเป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความนิยมต่อภาครัฐ โดยรัฐบาลนี้เป็นความร่วมมือของรัฐบาลกับประชาชนในการแก้ไขปัญหา ภายในงาน สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนพาภาคีเครือข่ายร่วมออกงานด้วย อาทิ กลุ่มเพชรบุรี…ดีจัง นำพวงมโหตร มาจัดกิจกรรมให้คนภายในงานร่วมตัดและนำกลับไปเป็นที่ระลึก เป็นอีกสื่อดี ที่ทางสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน และภาคีเครือข่าย เปิดเมือง 3 ดีวิถีสุข นั่นคือ สื่อดี  พื้นที่ดี และภูมิดี ส่งผ่านแนวคิดให้กับผู้เข้าร่วมงาน ขอบคุณภาพประกอบจาก กลุ่มลูกหว้า

20 สิงหาคม 2559 นี้พบกันครับ ณ สวนสาธารณะเขาแคน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ……………………………….. 1. สนุกมือทำ กับ ฐานกิจกรรมมากมายที่ขนมาเพื่อทุกคน ให้ทุกท่านได้ลงมือทำ อาหาร ศิลปะ ประดิษฐ์ ระบายสี ทำเอง ภูมิใจได้ของ กลับบ้าน 2. สนุกชม ดนตรีมากความสามารถจากกลุ่มวัยรุ่นที่รวมกลุ่มรวมตัวกัน มากมายในห้องซ้อมดนตรี อ.ปากช่อง พร้อมความสนุครบวัย เพราะเรามี ลิเก ศิลปะร่วมสมัย เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ชมดี 3 สนุกช๊อบ ในตลาดนัดคุณหนู ที่จะชวนน้องๆค้นของเก่า เอามาขาย เรียนรู้การหา และการออม (ครอบครัวใดสนใจ เปิดแผงให้น้องๆได้เรียนรู้ ติดต่อจองพื้นที่ด่วนๆ รับจำนวนจำกัด 081-7321412) และพี่เศษสุดๆ กับการขนหนังสือมือสองมาจำน่ายในราคาเล่มล่ะ 1 บาท จากมูลนิธิกระจกเงา ………………………… ปล. งานเดิ่นนี้ดีจัง เปิดพื้นที่ให้ทุกท่าน มาร่วมสร้างสรรค์ กิจกรรมดีๆให้เด็ก […]

“…เขาก็แสวงหาเพื่อน เราเองก็ต้องการเพื่อน มันจึงลงตัวพอดี พอเขาเห็นกิจกรรมที่เราทำ เขาก็อยากทำงานกับเรา ถ้าใครจะทำงานกับพี่นัดมาเลย ไม่ต้องคอยหลายวัน นัดแล้วลงมือทำงานร่วมกันเลย” เตือนใจ สิทธิบุรี หรือ หลายๆคนเรียกเธอว่า “ป้าป้อม” อดีตนักกิจกรรมมหาวิทยาลัยวิทยาลัยรามคำแหง สั่งสมประสบการณ์การทำงานพัฒนาและงานค่ายกิจกรรมเห็นต้นทุนทางสังคมของบ้านเกิดจึงมุ่งมั่นสร้างการเรียนรู้ ฟื้นฟูวัฒนธรรม และเชื่อมโยงคนในชุมชน ทั้ง 3 วัยมาเป็นครอบครัวเดียวกัน เริ่มทำงานครั้งแรก ในปี 2530 กับกลุ่มสื่อเพื่อการพัฒนา (AMED) ทำงานกับชาวบ้านในชุมชนแออัด ได้ฝึกกระบวนการคิด และกระบวนการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เป็นระบบ จนถึงปี 2536 เปลี่ยนมาทำงานที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีโอกาสเดินทางไปการทำงานในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย ทำให้เพิ่มพูนทักษะ เทคนิคการทำงานพัฒนา การประสานงานในพื้นที่ และมีเครือข่ายการทำงานมากขึ้น ก่อนกลับมาเป็นบัณฑิตอาสา กับ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กรมประชาสงเคราะห์เดิม) และร่วมมือกับเครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคใต้ ในการทำงานพัฒนาที่บ้านเกิด ในตำบลนาโหนด จังหวัดพัทลุง ทำให้เห็นทุนทางสังคม และศักยภาพของพื้นที่ในด้านเกษตร เกิดตกผลึกทางความคิด จึงตัดสินใจตั้งหลักปักฐานสร้างครอบครัว ที่บ้านเกิดของตนเอง ด้วยการยึดอาชีพเกษตร ทำสวนยาง ทำนา ทำสวนเป็นหลัก ควบคู่การทำงานพัฒนาในชุมชนท้องถิ่น […]

ผอ.เสถียร พันธ์งาม โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) ได้เข้ามาร่วมงานกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก โดยมองว่า  “เท่าที่ดูนักเรียนในโรงเรียน มีปัญหาในเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ รู้สึกเหมือนการศึกษาที่ผ่านมาไม่มีทิศทางอะไรมากมาย ก็ทำไปจัดไปตามหน้าที่ จัดไปเรื่อยๆ จัดเป็นปีๆ จบเป็นปีๆ ไป แต่เป้าที่แท้จริงดูเหมือนมันไม่ชัด เลยคิดว่าถ้าเราจะจัดการศึกษาให้เกิดประโยชน์กับลูกหลานอย่างยั่งยืน น่าจะเอาเรื่องเป้าหมายของชาติที่เขาเขียนไว้ 8 ประการ ในหลักสูตรของผู้รักษาอันพึงประสงค์ 8 ประการที่ว่า เราต้องเอามาขมวดเข้าว่าแท้จริงแล้ว 8 ประการที่ว่า มันคืออะไรกันแน่ ก็เลยมาตกผลึกที่ว่ามันน่าจะเริ่มต้นที่ให้เด็กรู้จักหน้าที่ตนเองก่อน เลยตั้งเป้าว่าต้องสร้างเด็กให้มีความรับผิดชอบรู้หน้าที่ว่าตั้งแต่มาถึงโรงเรียนตั้งแต่เช้าจนเลิกเรียน เขาควรจะมีขั้นมีตอนก่อนว่ามาถึงโรงเรียนเขาทำอะไรบ้าง” โดยความรับผิดชอบจะต้องเป็นไปตามเด็กแต่ละช่วงแต่ละกลุ่มแต่ละคน เพราะเด็กโดยรวมแล้วจะไม่ค่อยรับผิดชอบต่อหน้าที่เท่าไรไม่ว่าจะอยู่บ้านหรือโรงเรียนจะเป็นแค่ผู้คอยรับบริการต่างๆ ถ้าช่วยทำงานในส่วนรวมจะไม่ค่อยใสใจเท่าไร เลยคิดว่าถึงเวลาแล้วละถ้าจะรอภาพใหญ่ของประเทศมันคงจะไม่ได้แล้วต้องมาคิดแคบๆ ที่บริเวณโรงเรียนที่เราสามารถรับผิดชอบได้ สามารถกำหนดนโยบายกำหนดทิศทางได้ด้วยตัวเอง เลยคิดว่าน่าจะเริ่มต้นที่เราก่อนที่โรงเรียนของเราก่อน เริ่มต้นคิด…   ทำกิจกรรมปรับกระบวนการในแต่ละวัน เพื่อที่จะลองดูว่าครูและนักเรียนจะมีปฏิกิริยายังไรบ้าง ซึ่งก็พบปัญหาอยู่ ครูส่วนใหญ่ ก็รู้สึกว่า มันยุ่งยาก “แรงต่อต้านมีค่อนข้างมากแต่เมื่อเรายืนยันและอธิบายสิ่งที่เราทำเพราะอะไร เพราะปัญหาที่เราเห็นพ้องด้วยกันว่าเด็กไม่มีระเบียบวินัย ไม่ค่อยมีความรับผิดชอบทำอะไรก็พอแล้วแล้วไป” จากความมุ่งมั่นที่จะทำ ผอ.เสถียรได้สร้างกลุ่มคุณครูที่เข้าใจแกนนำก็ดำเนินโดยทีมครูที่เข้าใจ ส่วนตัวนักเรียน คิดว่าความเคยชินที่อยู่ในระบบที่ค่อนข้างไม่ค่อยได้รับผิดชอบก็จะเปลี่ยนตัวเขายาก น่าจะเปลี่ยนได้อย่างเดียวคือครูประจำฉันต้องกำกับให้แคบเข้ามาที่ห้องเรียน ส่วนชุมชนผู้ปกครองไม่ค่อยมีปัญหาจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสารของครูไปถึงผู้ปกครอง ครูที่ยังไม่ค่อยเห็นด้วยเขารู้สึกว่าเขามีภาระมากขึ้น แต่ผอ.ก็ยืนยันในสิ่งที่ทำ […]