Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
จังหวัดเพชรบุรีเปิดพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิตใจกลางเมือง | ชุมชน 3 ดี
จังหวัดเพชรบุรีเปิดพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิตใจกลางเมือง

จังหวัดเพชรบุรี โดยเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี จัดมหกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิต เพชรบุรี ดีจัง มาส่งต่อกัน โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี เทศบาลเมืองเพชรบุรี สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมสมทบสนับสนุนงบประมาณ หน่วยงานราชการ องค์กร บริษัท เอกชน ชุมชนพร้อมใจร่วมจัดกิจกรรม ด้านเอกชนเจ้าของที่ดิน 2 แปลงให้ใช้พื้นที่ส่วนบุคคลเป็นลานกิจกรรม

สืบเนื่องจากกลุ่มเด็กและเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ได้ริเริ่มจัดงานมหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ เพชรบุรี ดีจัง นำเสนอสื่อ ศิลปะ และวัฒนธรรมของชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดเพชรบุรีที่เกิดจากการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน จากโครงการพื้นที่สร้างสรรค์ เพชรบุรี ดีจัง ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนทั้งในท้องถิ่นและต่างจังหวัด ตลอดจนยังเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนทั่วไปอีกด้วย โดยที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. แต่ปีนี้ทาง สสส. ลดงบประมาณลง ด้วยเหตุนี้ นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี จึงได้มอบนโยบายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดมหกรรมครั้งนี้ และขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรีอีกจำนวนหนึ่งด้วย

ด้านกิจกรรมในปีนี้ นางสาวสุนิสา ประทุมเทือง แกนนำเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรีดีจัง ผู้ประสานงานมหกรรมครั้งนี้ ได้กล่าวว่า “จากการที่เครือข่ายได้ร่วมกันขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์กันมาถึงปีนี้ก็เป็นปีที่ 6 แล้ว ทำให้หลายพื้นที่มีการเติบโตขึ้น จากพื้นที่สร้างสรรค์เล็ก ๆ ในชุมชน กลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ทั้งชุมชน เกิดความร่วมมือร่วมใจกันมากขึ้น มีพื้นที่เรียนรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ปีนี้เราก็ใช้ชื่อมหกรรมว่า มหกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิต เพชรบุรี ดีจัง มาส่งต่อกัน เพื่อให้ทุกคนในเพชรบุรี ได้มาร่วมมือกัน ดูแล รักษา พื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่เรียนรู้ในชุมชนไว้ ช่วยกันเล่าช่วยกันบอกต่อให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ขึ้นในทุก ๆ พื้นที่ทุกชุมชน และก็อยากให้ทางจังหวัดเพชรบุรี ได้จัดงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ที่คนเมืองเพชรได้ร่วมกันเริ่มต้นนี้ไว้ ให้สามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไปเรื่อย ๆ  โดยงานมหกรรมครั้งนี้ จะมีขึ้นในวันเสาร์ – อาทิตย์ที่ 18 – 19 มีนาคม 2560 นี้ ในพื้นทีชุมชนใจกลางเมืองเพชรบุรี มีกิจกรรมทั้งภาคกลางวันและช่วงค่ำก็จะเริ่มประมาณ 5 โมงเย็นเป็นต้นไป”

“ส่วนด้านผู้ร่วมจัดกิจกรรมในงานมหกรรมปีนี้ กลุ่มเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรีดีจังยังคงเป็นแกนนำในการจัดมหกรรม ร่วมกับกลุ่มรักษ์ตลาดริมน้ำและกลุ่มชุมชนชาวถนนคลองกระแชง เหมือนทุกปีที่ผ่านมา แต่ปีนี้มีองค์กรที่ร่วมจัดเพิ่มมากขึ้น ประกอบด้วย เทศบาลเมืองเพชรบุรี  สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี สถาบันอาศรมศิลป์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กศน.เพชรบุรี กลุ่มศิลปินถ่ายภาพและศิลปินวาดภาพ ชาวชุมชนตำบลนาพันสามและวัดนาพรม เครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี ชุมชนผึ้งน้อยมหัศจรรย์ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัทไปรษณีย์ไทย จังหวัดเพชรบุรี ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารออมสิน และจะมีเพื่อนภาคีพื้นที่นี้ดีจังจาก 6 จังหวัด มาร่วมจัดกิจกรรมด้วย โดยมีน้อง ๆ จากโรงเรียนบางจานวิทยา และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มาร่วมเป็นอาสาสมัครในงาน มีหน่วยปฐมพยาบาลจากโรงพยาบาลเมืองเพชรธนบุรี และจากศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง โรงพยาบาลพระจอมเกล้า มาคอยบริการหากเกิดการเจ็บป่วย ส่วนด้านการจราจรและความปลอดภัย ก็ได้รับความอนุเคราะห์จากสถานีตำรวจภูธรเมืองเพชรบุรีจัดกำลังเจ้าหน้าที่มาดูแล และมี อปพร. จากเทศบาลเมืองเพชรบุรีมาร่วมสนับสนุนด้วย นอกจากนี้ก็ยังมีเครือข่ายขององค์กรและชุมชนที่ร่วมจัดงานอีกหลายภาคส่วนที่ไม่สามารถจะกล่าวถึงได้หมด”

สำหรับกิจกรรมก็มีหลากหลาย ทั้งกิจกรรมเรียนรู้ที่เป็นการชวนกันลงมือทำและการแสดง มีการเปิดบ้านและการจัดกิจกรรมของคนในชุมชน ทั้งในซอยริมน้ำ ถนนคลองกระแชงและถนนดำเนินเกษม กิจกรรมทางน้ำที่ปีนี้ได้รับความเมตตาจากเจ้าอาวาสวัดนาพรม จัดเรือพายและคนในชุมชนมาร่วมสร้างสีสันให้กับมหกรรมในแม่น้ำเพชรบุรีอีกด้วย ส่วนกิจกรรมภาคกลางวันในปีนี้ก็มีเพิ่มมากขึ้น จะมีการจัดเสวนาถึงราชาเรื่องสั้น มนัส จรรยงค์ ที่จะมีนายกสามคมนักเขียนแห่งประเทศไทยพร้อมด้วยนักเขียนชื่อดังระดับประเทศมาร่วมเสวนาด้วย มีกิจกรรมเดินชุมชน กิจกรรมสอนทำอาหาร และกิจกรรมทางน้ำ  ส่วนพิธีเปิดก็จะมีด้วยกัน 4 พื้นที่ ต่างเวลากัน เริ่มด้วย 13.00 น. พิธีเปิดกิจกรรมภาคกลางวัน โดยวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี ณ บ้านจรรยงค์ ถนนคลองกระแชง 17.00 น. เปิด ณ ลานตั้งสวัสดิรัตน์ โดยนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบุรี ซอยริมน้ำ ใกล้สะพานจอมเกล้า 18.00 น. พิธีเปิดกิจกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิตและถนนสายกิจกรรม 3 ส. โดยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี ณ บริเวณสี่แยกเพชรนคร 19.00 น. พิธีเปิดงานมหกรรม เพชรบุรี ดีจัง มาส่งต่อกัน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ณ ท่าน้ำวัดพลับพลาชัย และท่าน้ำตลาดสดเพชรบุรี ก็อยากจะขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และมาร่วมพิธีเปิดมหกรรมครั้งนี้พร้อม ๆ กัน”

ด้านสถานที่จัดมหกรรม ได้รับการชี้แจงจากนางสาวเนตรนภา รุ่มรวย เยาวชนกลุ่มรักษ์หนองปรง ที่รับหน้าที่หัวหน้าฝ่ายสถานที่กล่าวว่า “สำหรับพื้นที่จัดงานปีนี้ ก็ใช้พื้นที่เหมือนปีที่ผ่านมา คือ ถนนดำเนินเกษม ตั้งแต่สี่แยกไปรษณีย์ ถึงหน้า วัดมหาธาตุ ถนนหลังจวน ถนนคลองกระแชงตลอดสาย และในซอยริมน้ำซึ่งอยู่ฝั่งตลาดสด ลานรอบน้ำพุ ลานสุนทรภู่ ลานวิหารคันธารราฐ วัดพลับพลาชัย และที่พิเศษปีนี้ เราได้รับความเมตตาจากผู้ใหญ่ใจดี มอบพื้นที่ส่วนตัวให้ใช้เป็นลานกิจกรรม คือลานตั้งสวัสดิรัตน์  ในซอยริมน้ำ จากห้างทองไทยง่วนฮง และลานเดอะซันปันสุข บริเวณหน้าตึกชุมสายโทรศัพท์ จากเจ้าของห้างเดอะซัน และสำนักงานทรัพย์สินฯ ก็อนุญาตให้ใช้พื้นที่ในตลาดสดเพชรบุรี จัดกิจกรรมได้ด้วย นอกจากนี้ก็มีชาวชุมชนอีกหลายบ้าน ที่เปิดบ้านจัดกิจกรรมร่วมกันด้วย ก็ขอถือโอกาสขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีทุกท่านไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ”

งานมหกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิต เพชรบุรี ดีจัง มาส่งต่อกัน ได้รับการสนับสนุนจาก จังหวัดเพชรบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี เทศบาลเมืองเพชรบุรี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี สโมสรพื้นที่นี้ ดีจัง สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับ เด็กและเยาวชน ตลอดจนครอบครัว และผู้สนใจทั่วไป ได้มาเรียนรู้ สื่อ ศิลปะ ของพื้นที่ชุมชนตามบริบทของพื้นที่หรือองค์กรที่มาร่วมจัดกิจกรรม สร้างสังคมการเรียนรู้ไร้พรมแดน ภายใต้แนวคิด “เล่น เรียนรู้ ริเริ่ม ร่วมทำ แบ่งปัน” โดยมีเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง เป็นแกนนำออกแบบพื้นที่และกิจกรรมโดยใช้หลักการ 3 ส. คือ สื่อสาร สร้างสรรค์ มีส่วนร่วม เพื่อให้เกิด สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี นำสังคมไปสู่ ชุมชน วิถี ชีวิต สุขภาวะ จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมงานมหกรรมในครั้งนี้ มาร่วมกัน เปลี่ยนประเทศไทยจากจุดเล็ก ๆ ด้วยจินตนาการอันยิ่งใหญ่ นี้พร้อม ๆ กัน

 

ขอขอบคุณพี่ ๆ สื่อมวลชนทุกท่านทุกสำนัก ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมของเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ด้วยดี ตลอดมา

ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ https://www.facebook.com/phetburideejung/?ref=ts&fref=ts

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพราะเด็กคือ “ความหวัง” ของแผ่นดิน  ถ้าหากจะกล่าวว่า อนาคตของประเทศจะเป็นอย่างไรต่อไป ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตของเด็กไทยในปัจจุบันก็คงไม่ผิดนัก ด้านการเรียนรู้ของเด็กต้องเริ่มตั้งแต่วัยทารก ซึ่งช่วงเวลาหกปีแรกนี้เองนับเป็นช่วงที่สำคัญยิ่ง เพราะถือเป็นรากฐานของการพัฒนา และนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีตลอดไป สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) ร่วมกับสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ(สำนัก 5) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ได้สนับสนุน โครงการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับการพัฒนาการเด็กเล็ก โดยร่วมจัดทำชุดโครงการ “มหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” ให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศขึ้นในปี 57 จำนวน 138  ปี 58 จำนวน 200 ศูนย์ ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างเห็นความสำคัญ และยังส่งเสริมให้การเลี้ยงดูเด็กในช่วงปฐมวัยให้มีคุณภาพมากที่สุด เห็นได้จากโครงการต่างๆ ที่มุ่งส่งเสริมให้พ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูเด็ก มีความรู้ความสามารถ โดยมีหลักการในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการดี เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพเหมาะสมตามช่วงวัย ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา รุจจิราภรณ์ พรมมิ  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งน้อย องค์การบริหารส่วนตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เล่าว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ภายใต้สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น […]

ภาคีเครือข่ายภาคใต้ ของ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ได้ร่วมกันประชุมกลุ่มย่อย โดยมีกลุ่มสงขลาฟอรั่ม กลุ่มศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน จะนะ และกลุ่มยังยิ้ม ณ อำเภอเทพา จ.สงขลา เพื่อวางโมเดลการทำงานและสร้างการสื่อสารในพื้นที่ ในประเด็นการพัฒนาบนฐานทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชน  ระหว่างวันที่ 27 และ 28 ก.พ. โดยเน้นกิจกรรมที่ควรจะสามารถ Spark คนในพื้นที่ด้วยโมเดล “การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง” รวมถึงการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการสร้างความเป็นพลเมืองให้กับเด็ก และเยาวชน รวมทั้งคนในพื้นที่ภาคใต้   โดยวันที่ 28 ก.พ. 60 ภาคีเครือข่ายภาคใต้กลุ่มฐานภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และนวัตกรรม ประกอบด้วยกลุ่ม กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ กลุ่มพัทลุงยิ้ม แล กลุ่มละครมาหยา ได้แลกเปลี่ยนและนำเสนอโมเดลกระบวนการเรียนรู้ผ่านภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และนวัตกรรม ทั้งในส่วนของประวัติศาสตร์ สื่อพื้นบ้าน ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้และSpark แรงบันดาลใจให้กับของเยาวชนในพื้นที่

“หุ่นเงาทำให้เด็กมีเวทีแสดงออก การได้ออกแสดงเป็นเรื่องสำคัญเพราะเด็กมีของดีต้องได้อวด(ดี) ในเวลาที่แสดงแล้วเด็กจะรู้ว่าเมื่อถูกชมแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร หรือเมื่อผิดพลาดแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร เรียนรู้ที่เจ็บ และเรียนรู้ที่ยิ้ม จึงจะทำให้เด็กเติบโตและพัฒนาได้เร็ว” สุภิญญา บุญเฉลย ผู้ประสานงาน กลุ่มลูกขุนน้ำ แห่งหมู่บ้านคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช เอ่ยคำนี้ด้วยรอยยิ้มขณะเล่าเรื่องราวของเด็กๆ ในกลุ่มลูกขุนน้ำ เธอเรียกแทนตัวเองว่ามาอู กลุ่มลูกขุนน้ำเข้าร่วมพื้นที่นี้…ดีจังเป็นปีที่ 3 เธอเล่าว่าปีแรกเป็นแขกรับเชิญและเข้าร่วมเต็มตัวใน 2 ปี หลังเธอและเด็กๆ พบความสำเร็จจากการเลือกสื่อที่ดีนั่นก็คือ “หุ่นเงา” “หุ่นเงาสามารถประสานได้ทุกฝ่าย ทำให้เด็กได้สืบค้นเรื่องราวในชุมชน ผู้ใหญ่ได้ถ่ายทอด เช็คเสียงสะท้อนจากทุกฝ่ายได้ ซึ่งต่างจากการทำเอกสารประเภทงานวิจัย เพราะสื่อหุ่นเงาเวลาเล่นจะมีเสียงตอบรับจากผู้ชมได้ในทันทีขณะเล่น ซึ่งเด็กรู้สึกและรับรู้ได้เช่นกัน ผู้ชมก็เข้าใจสิ่งที่เด็กสื่อได้บางครั้งอาจจะไม่เข้าใจแต่ก็รู้ว่าเด็กตั้งใจจะทำอะไร จากการทำโครงการที่ผ่านมาเห็นพัฒนาการของเด็ก เช่น มีระเบียบวินัย มีการฝึกซ้อม รู้เรื่องราวของชุมชน ภูมิใจที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนตนเอง” เรียนรู้ต่อเติม ด้วยความพยายามที่จะหาของดีในชุมชนแรกๆ เธอจึงชวนเด็กๆ ไปใช้ธนูคันกระสุน เป็นธนูแบบดั้งเดิมที่มีก้อนหินเป็นกระสุน ซึ่งมีอยู่เฉพาะในชุมชนนี้ และมีปราชญ์ชาวบ้านรู้เรื่องนี้ที่นี่ “มาอูรู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวกลาง(ตัวเชื่อมระหว่างยุค โดยธรรมชาติของชุมชนคีรีวงการถ่ายทอดในทุกๆเรื่องจะส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น)ได้จึงคิดจะให้ผู้ใหญ่สอนเด็กๆในหมู่บ้านโดยตรง แต่เนื่องจากธนูคันกระสุนเป็นเครื่องมือที่ยากเกินไปเพราะต้องฝึกฝนและต้องใช้ความชำนาญ บางคนหัดยิงพลาดไปโดนนิ้วตัวเองเกิดอันตรายกับเด็กๆ ถึงแม้จะเสียดายเพราะธนูคันกระสุนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนก็ตามแต่ความปลอดภัยของเด็กก็ต้องมาก่อนสิ่งใด” ปีที่สองเธอจึงทำซุ้มกิจกรรมและซุ้มศิลปะในโรงเรียนแต่ละแห่งในตำบล รอบๆ หมู่บ้าน แต่ปัญหามีมาทดสอบคนตั้งใจเสมอ พอเข้าไปทำกิจกรรมกับโรงเรียนทำให้เธอรู้ว่าโรงเรียนเองก็มีภาระมาก […]

กลุ่ม Music Sharing, เครือข่ายศิลปิน ร่วมกับกลุ่มรักษ์สะเมิง รวมพลจัดงาน “The Street Seed Sharing” วันที่ 1-3 กค. 59 ณ ลาน The street รัชดา เพื่อช่วยฟื้นฟูป่าที่สะเมิง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันทั้งชาวบ้าน กรมป่าไม้ ภาคธุรกิจ เพื่อฟื้นฟูป่าอย่างมีส่วนร่วม …ศิลปินที่มาร่วมงาน อาทิเช่น อะตอม ชนกันต์,เอ๊ะ จิรากร,รัสมี อีสานโซล,Asia seven , Monomania,Mattnimare sunny parade, O-pavee,Alyn ,ส้ม มารี ,Rhythms antique ,ปลิ๊กกี้ ผิงหยาง อ๊ะอาย the voice kidsปอ ภราดร feat. Music sharing