Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
พื้นที่สื่อสร้างสรรค์ บ้านภูมิปัญญา เรือกระทงกาบมะพร้าว | ชุมชน 3 ดี
พื้นที่สื่อสร้างสรรค์ บ้านภูมิปัญญา เรือกระทงกาบมะพร้าว

ชวนใช้กระทงกาบมะพร้าว ของชุมชนวัดโพธิ์เรียง ลอยกระทงซึ่งอยู่แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เป็นส่วนหนึ่งของ เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง เป็นการรวมตัวกันของชุมชนเมืองในย่านบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ เขตพระนคร เขตบึงกุ่ม เขตบางนาและเขตสวนหลวง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว โดยจัดสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก-เยาวชน นำเด็ก-เยาวชนออกจากปัจจัยเสี่ยง ทั้งปัญหายาเสพติด อบายมุขเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ
โดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดีในการขับเคลื่อนนั่นก็คือ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เริ่มสำรวจความต้องการและการมีส่วนร่วมของเด็ก-เยาวชน สู่ภาคส่วนต่างๆในชุมชน ได้ทำให้เกิดการขยับขยายเป็นเครือข่าย 17 ชุมชน ย่านบางกอกน้อย-บางกอกใหญ่ และขยายไปยังเขตอื่นๆของกรุงเทพมหานคร
การเปิดพื้นที่ทำให้เกิดกลุ่มเยาวชนที่ใช้สื่อศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและฟื้นฟูสื่อวัฒนธรรมของดีที่มีอยู่ในชุมชน ต่อยอดแหล่งเรียนรู้กลุ่มอาชีพ และสร้างความภูมิใจของชุมชน มีกระบวนการทำงานสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และพัฒนาไปสู่การสร้างเศรษฐกิจ เกิดรายได้ กลับคืนสู่ชุมชน

 

581125_news2

ในย่านนี้ ในอดีตเป็นสวนมะพร้าว สวนผลไม้ ทำของกินจากมะพร้าว ตามบ้านจึงมีกาบมะพร้าวอยู่มาก เมื่อถึงคืนวันเพ็ญเดือน 12 จึงเกิดความคิดประดิษฐ์กระทงจากกาบมะพร้าวผสมไม้ไผ่และไม้ระกำ ทำเป็นรูปทรงเรืออีโปง แล้วให้คนในหมู่บ้านมาลอยกระทงกันริมฝั่งคลอง เพื่อเป็นการขอขมาพระแม่คงคาและลอยทุกข์โศกโรคภัยให้พ้นจากตัวเองและครอบครัว

แต่นานวันภูมิปัญญาเรือกระทงกาบมะพร้าวค่อยๆ เลือนหาย เพราะมีกระทงรูปแบบใหม่มาแทนที่ การประดิษฐ์เรือกระทงกาบมะพร้าวถือเป็นหนึ่งเดียวในกรุงเทพฯ สืบทอดกันมาเป็น 100 ปี

581125_news4

ป้าหมี หรือนางพัฒนกุล ทวีสาคร จึงสอนการทำให้กับกลุ่มเยาวชน สร้างการเรียนรู้เรื่องราวผ่านเรือกระทงกาบมะพร้าว และเป็นอีกส่วนหนึ่งของการเกิดรายได้นำกลับสู่ครอบครัว และชุมชน

ปัจจุบันเหลือคนในชุมชนที่ทำได้ 3 คน หนึ่งในนั้นคือป้าหมี หรือนางพัฒนกุล ทวีสาคร ช่วงเทศกาลจะมีคนสั่งเยอะมากโดยเฉพาะช่วงลอยกระทง และสั่งทำเป็นของที่ระลึก ป้าจึงได้ถ่ายทอด สอนวิธีการทำให้กับเยาวชนในชุมชน เกิดการสืบสาน สร้างการเรียนรู้เรื่องราวผ่านเรือกระทงกาบมะพร้าว และเป็นอีกส่วนหนึ่งของการเกิดรายได้นำกลับสู่ครอบครัว และชุมชน

581125_news1

ปัจจุบัน บ้านภูมิปัญญาเรือกระทงกาบมะพร้าว เป็นหนึ่งในพื้นที่สร้างสรรค์ เป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็กเยาวชน โรงเรียน คนในชุมชน และค่อยๆ พัฒนาขยายการถ่ายทอดไปสู่คนในชุมชน ไปสู่การสร้างฐานเศรษฐกิจ เพื่อแก้ปัญหารายได้น้อย เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน

บทความที่เกี่ยวข้อง

4 ก.ค. 58 มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ร่วมกันจัดทำโครงการโรงเรียน 3 ดี เพื่อสร้างพลเมืองในวิถีประชาธิปไตย และทางโครงการฯได้ขอพบผู้บริหาร ครู และนักเรียนแกนนำโรงเรียน 3 ดี ทั้ง 11 โรงเรียน เพื่อแนะนำโครงการ แผนกิจกรรม และกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นต่างๆ ภายในโครงการฯ และยังได้นำสื่อการเรียนรู้ใหม่ๆ โรลอัพความรู้ ไปมอบให้กับโรงเรียนไว้ใช้ในชมรมฯ อีกด้วย ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย

วันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา เครือข่ายบางกอกนี้ดีจัง เครือข่ายผู้นำชุมชน 17 ชุมชนย่านบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ และกลุ่มสื่อศิลปะวัฒนธรรม กลุ่มกิจกรรม ร่วมกันถอดสรุปบทเรียนกิจกรรม ปี 58 เพื่อนำมาต่อยอดพัฒนาต่อสู่ปี 59 เพื่อนำขบวนไปในทางทิศเดียวกัน พร้อมกับพัฒนากระบวนการกลุ่มของตนเอง นำไปสู่การเปิดเส้นทาง “ห้องเรียนชุมชน” เมือง 3 ดี บางกอกนี้…ดีจัง 3ดีวีถีสุข  คงต้องติดตามกันต่อไปค่ะว่า “ห้องเรียนชุมชน” จะเป็นอย่างไร

เครือข่ายโคราชยิ้ม จัดงาน เทศกาลงานยิ้ม โคราช 2017 พร้อมนำของดีของชุมชนตนเอง ซึ่งมีเด็กเยาวชนเป็นตัวหลักในการสืบค้นและนำมาเสนอให้เด็กๆ ผู้ปกครองที่มาร่วมงานได้ดู ได้ทำ ได้ชิม!  แม้จะเป็นปีแรก และครั้งแรกของแกนนำเยาวชนที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราว  วิธีการทำ  อันเป็นการสืบสานภูมิปัญญา แต่ทุกคนตั้งใจ รอยยิ้ม เสียงหัวเราะของเด็กๆ หนุนเสริมให้น้องเยาวชนแกนนำเห็นคุณค่าของสิ่งที่ทำ ผู้ใหญ่ที่เป็นพี่เลี้ยงก็ชื่นใจ งานนี้มีแต่รอยยิ้ม!!! งานนี้มีอะไรไปดูกันค่ะ  เรียกได้ว่า “เทศกาลยิ้ม เดิ่น เล่น สนุก ยิ้มได้ทุกวัย” ขอบคุณภาพสวยๆจาก Facebook:: โคราชยิ้ม โคราชบ้านเอง

“หลังเปิดอาเซียน เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเรานะ ไม่รู้จะต้องกลับไปประเทศหรือเปล่า จะอยู่ที่นี่พวกเราก็ไม่มีบ้าน เราก็อยากกลับบ้านนะ เอาความรู้ที่ได้ไปสอนน้อง ไปบอกคนที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่กลับไปเราก็ทำอะไรไม่ได้มาก…” ทุกอย่างพลันเงียบลงหลังเธอพูดจบ ก่อนเธอจะเบือนหน้าจากคู่สนทนาเพื่อปรับความรู้สึกก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวต่อไป กิกิ หรือ Pawk Kaw Ki สาวน้อยวัย 22 ปี จากเมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำตันลยิน หรือ แม่น้ำสาละวิน ห่างจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว 50 กิโลเมตร เธอเข้ามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน “ตอนเด็กๆ ก็คิดว่าอยู่ที่ประเทศไทยมันไม่มีความหมายอะไร เรียนจบแล้วก็ไปทำงาน แบบที่เพื่อนไปทำ จะกลับไปพม่าก็มีแต่เด็กกับคนแก่เท่านั้น เขาไปทำงานที่กรุงเทพกันหมด เพื่อนบางคนก็ไม่รู้ไปไหนหายไปเป็นสิบๆ ปีแล้ว” คำว่า “เรียน” ของ กิกิ หมายถึงการเรียนในศูนย์การเรียนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นศูนย์การเรียนที่สอนเด็กต่างชาติโดยมีครูจากพม่ามาสอนภาษาอังกฤษและภาษาพม่าให้กับเด็กๆ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และสร้างอาสาสมัครผู้นำเยาวชน Peer Youth ก่อนจะเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนชื่อ Rays of Youth ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำกิจกรรมและเป็นแกนนำในศูนย์การเรียนให้มีจิตสาธารณะ ในการทำงานเพื่อสังคมและเพิ่มทักษะให้เยาวชนกลุ่มนี้มีคุณภาพต่อไป […]