Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
มาหากัน (ณ) ป้อมมหากาฬ | ชุมชน 3 ดี
มาหากัน (ณ) ป้อมมหากาฬ

เริ่มเสาร์อาทิตย์นี้ ชุมชนป้อมมหากาฬมีงานชุมชนสร้างสรรค์ส่งท้ายปีเก่ามาเชิญชวนเพื่อนๆ ทุกคนร่วมแบ่งปัน เพื่อเตรียมตัวรับมือกับคำสั่งไล่รื้อภายในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า
….
งาน มาหากัน ณ ป้อมมหากาฬ เป็นงานที่ศิลปิน นักออกแบบ นักจัดการทางศิลปะ ร่วมมืกับชาวบ้านเวิร์คชอปทำแพคเกจจิ้งสินค้าภายในชุมชน จัดทำของที่ระลึกและศิลปะทำมืออีกมากมายไว้รอต้อนรับเพื่อนๆ เสาร์อาทิตย์ 24-25 ธันวานี้ เบื้องหลังความคิดที่มาของงานจากปากคำ Roj Siam Ruay ผู้ร่วมออกแบบผลิตภัณฑ์ในงาน มาหากัน ณ ป้อมมหากาฬ กล่าวไว้น่าสนใจมาก
“การสร้างอัตลักษณ์อย่างง่าย : ให้จำคำนี้ไว้ “แวดล้อมคือตัวตน”591221-3

ทุกสิ่งอันจะช่วยกันเล่าและเกลี้ยกล่อมให้คนดูงาน เข้าใจและนึกไปถึงถิ่นฐานที่มาได้ ในภาพเป็นชุดตรายางจากสิ่งรายรอบของชุมชนป้อมมหากาฬ(บางส่วน) มีคน เด็ก แมว ต้นไม้ สุ่มไก่ ศาลพระภูมิ พวงมะโหตร ฯลฯ เมื่อมันทำงานพร้อมๆกัน ‘ภาพจำติด’ จะสร้างให้ผู้ที่เคยสัมผัสพื้นที่เข้าใจได้ว่านี่คือเรื่องเกี่ยวกับชาวป้อมมหากาฬ ที่มาของแบบนั้นเป็นต้นทุนเรื่องราวที่ดี เป็นเรื่องจริง ปรากฏจริง แล้วยิ่งถ้าไม้ที่ทำด้ามตรายาง เป็นไม้ที่เหลือจากการไล่รื้อด้วยล่ะ?
คุณว่ามันจะเป็นที่อื่นได้ไหม?”

ติดตามรายละเอียดได้ที่เพจ มาหากันนะ

ส่วนงาน ต่อ ลอง จัดโดย Mahakan MODEL และผองเพื่อนคนรุ่นใหม่ในแวดวงออกแบบ สถาปนิก และ ศิลปะ ทำงานต่อเนื่องเคียงข้างกับชุมชนป้อมมหากาฬมาต่อเนื่องยาวนาน

เชิญมาเยี่ยมชมและร่วมกันแบ่งปันความคิดเห็นในการสร้างพื้นที่สาธารณะของป้อมมหากาฬ เป้าหมายเพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนในเมืองมีส่วนร่วมกันออกแบบจริงๆ แห่งแรกของกรุงเทพมหานคร

ในนิทรรศการจะมีการจัดแสดงนิทรรศการผังพื้นที่ในอนาคตของทีมงานสถาปนิกจิตอาสา รวมไปถึงพื้นที่ทดลองสาธารณะ อาทิเช่น ร้านกาแฟร่วมสมัย co-working space ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ รวมไปถึงกิจกรรมสร้างเมืองผ่านวิธีการ mapping ที่ความคิดเห็นของทุกคนถือว่าส่วนหนึ่งของงานด้วย

591221-2

เริ่มเปิดพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2559 – 31 มกราคม 2560 ณ ลานเอนกประสงค์ ชุมชมป้อมมหากาฬ

ติดตามรายละเอียดได้ที่ event ต่อ ลอง : ร่วมต่อไอดีย ร่วมลองสร้าง พื้นที่สาธารณะสำหรับทุกคน
https://www.facebook.com/events/1317328608327533
……
ติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับชุมชนป้อมมหากาฬได้ที่ https://www.facebook.com/%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%…
…..
แล้วเราจะได้รู้ว่า หลังป้อมมีชีวิต ชุมชนทำงานหนักแค่ไหนในการยืนหยัดจัดการพื้นที่สาธารณะร่วมกับกรุงเทพมหานคร

บทความที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 21-22 เมษายน 2557 ณ โรงแรมโรยัลเจมส์ลอดจ์ ศาลายา จัดโดยสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)  ความเป็นมา แนวคิดและหลักการ 3 ดี แนวคิดหรือหลักการ 3 ดี คือ แนวคิดในการพัฒนาเพื่อนำไปสู่สุขภาวะของเด็กและเยาวชน ซึ่ง 3 ดีหมายรวมถึงสิ่งที่ดี 3 ประการ ได้แก่ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เป้าหมายของแนวคิดหรือหลักการนี้ตามที่ได้กล่าวแล้วคือการพัฒนาเพื่อนำไปสู่สุขภาวะของเด็กและเยาวชน การให้เด็กมีความถึงพร้อมกาย จิต สังคมและปัญญา และอยู่ในสังคมที่สงบสุข หรืออาจกล่าวสั้นๆได้ว่า สุขภาวะดี คนมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง พื้นที่ดี พื้นที่สร้างสรรค์ มีความหมายกว้างโดยรวมถึง พื้นที่ทางกายภาพซึ่งเป็นสถานที่ พื้นที่สร้างให้เกิดการเรียนรู้ รวมถึงเวทีที่บุคคลต่างๆภายในชุมชนมีกิจกรรม มีการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจระหว่างบุคคลที่มาเข้าร่วมกิจกรรม ภูมิดี ภูมิเข้มแข็ง หมายถึง การมีทักษะในการเท่าทันสื่อ และความสามารถในการปกป้องตนเองจากสื่อที่หลากหลาย การใช้ประโยชน์จากสื่อที่สร้างสรรค์ และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในแง่ของกระบวนการทำงานและตัวรูปธรรมกิจกรรมของโครงการที่เข้าร่วมสัมมนา มีทั้งกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เชิงบวก เช่น […]

เครือข่ายโคราชยิ้ม จัดงาน เทศกาลงานยิ้ม โคราช 2017 พร้อมนำของดีของชุมชนตนเอง ซึ่งมีเด็กเยาวชนเป็นตัวหลักในการสืบค้นและนำมาเสนอให้เด็กๆ ผู้ปกครองที่มาร่วมงานได้ดู ได้ทำ ได้ชิม!  แม้จะเป็นปีแรก และครั้งแรกของแกนนำเยาวชนที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราว  วิธีการทำ  อันเป็นการสืบสานภูมิปัญญา แต่ทุกคนตั้งใจ รอยยิ้ม เสียงหัวเราะของเด็กๆ หนุนเสริมให้น้องเยาวชนแกนนำเห็นคุณค่าของสิ่งที่ทำ ผู้ใหญ่ที่เป็นพี่เลี้ยงก็ชื่นใจ งานนี้มีแต่รอยยิ้ม!!! งานนี้มีอะไรไปดูกันค่ะ  เรียกได้ว่า “เทศกาลยิ้ม เดิ่น เล่น สนุก ยิ้มได้ทุกวัย” ขอบคุณภาพสวยๆจาก Facebook:: โคราชยิ้ม โคราชบ้านเอง

“พ่อแม่หนูทำอาชีพอะไรกันบ้างจ้า?” เสียงคุณครูถามนักเรียนในชั้นเรียน เป็นคำถามที่มีความเงียบเป็นคำตอบให้กับคุณครู คุณครูโรงเรียนบ้านเทิน จ.ศรีสะเกษ เล่าให้เราฟังว่า …..เด็กๆ ที่นี่ไม่เคยพูดถึงอาชีพพ่อแม่ตนเองเลย เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ พ่อแม่มีอาชีพเข็นบะหมี่ขายที่ กทม.และเมืองใหญ่ต่างๆ หลายต่อหลายรุ่น เด็กๆ อายและไม่ภูมิใจที่มีพ่อแม่เข็นบะหมี่เกี๊ยวขาย “เหนื่อยใจไม่รู้จะบอก จะสอนเด็กๆ อย่างไร?” คุณครูกล่าว กระบวนการ “สื่อสร้างสรรค์” ของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) จึงเริ่มต้นขึ้น………. เริ่มจากการ…..เหมารถบัสหนึ่งคัน พาเด็กๆ และผู้เฒ่าผู้แก่ เดินทางสู่เมืองหลวง…..ค้นหาเส้นทางของบะหมี่เกี๊ยว เพื่อเก็บข้อมูลทำหนังสั้น ให้เด็กๆ ได้สืบค้นที่มาของบะหมี่ จากต้นทางแหล่งผลิต มาถึงรถเข็นของคนขายบะหมี่ และที่สุดมาสู่บะหมี่ในชามของลูกค้า เริ่มต้นการเดินทางสู่เมืองกรุง…..แสงแดดที่ร้อนแรง รถรามากมาย ฝุ่นควันคละคลุ้ง ผู้คนขวักไขว่แออัดยัดเยียด ต่างคนต่างต้องดิ้นรนเร่งรีบ ทำให้เด็กๆ หลายคนไม่สบาย เมารถ เมาผู้คน แต่ภาระกิจการตามหาเส้นทางของบะหมี่เกี๊ยว ยังต้องเดินหน้าต่อไป ครั้นเด็กเหลือบไปเห็นรถเข็นบะหมี่เกี๊ยวคันแรก การทักทายและการค้นข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์ จึงเริ่มขึ้น หลังเด็กๆ ได้ฟังคำบอกเล่าของคนเข็นบะหมี่เกี๊ยวขาย ต่างอึ้งจนพูดแทบไม่ออก เด็กบางคนถึงกับก้มหน้าน้ำตาคลอ การที่เด็กๆ ได้เห็นกับตาของตนเองว่า คนเข็นบะหมี่เกี๊ยวขายในเมืองกรุง ช่างอดทนเหลือเกิน […]

“หลังเปิดอาเซียน เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเรานะ ไม่รู้จะต้องกลับไปประเทศหรือเปล่า จะอยู่ที่นี่พวกเราก็ไม่มีบ้าน เราก็อยากกลับบ้านนะ เอาความรู้ที่ได้ไปสอนน้อง ไปบอกคนที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่กลับไปเราก็ทำอะไรไม่ได้มาก…” ทุกอย่างพลันเงียบลงหลังเธอพูดจบ ก่อนเธอจะเบือนหน้าจากคู่สนทนาเพื่อปรับความรู้สึกก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวต่อไป กิกิ หรือ Pawk Kaw Ki สาวน้อยวัย 22 ปี จากเมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำตันลยิน หรือ แม่น้ำสาละวิน ห่างจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว 50 กิโลเมตร เธอเข้ามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน “ตอนเด็กๆ ก็คิดว่าอยู่ที่ประเทศไทยมันไม่มีความหมายอะไร เรียนจบแล้วก็ไปทำงาน แบบที่เพื่อนไปทำ จะกลับไปพม่าก็มีแต่เด็กกับคนแก่เท่านั้น เขาไปทำงานที่กรุงเทพกันหมด เพื่อนบางคนก็ไม่รู้ไปไหนหายไปเป็นสิบๆ ปีแล้ว” คำว่า “เรียน” ของ กิกิ หมายถึงการเรียนในศูนย์การเรียนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นศูนย์การเรียนที่สอนเด็กต่างชาติโดยมีครูจากพม่ามาสอนภาษาอังกฤษและภาษาพม่าให้กับเด็กๆ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และสร้างอาสาสมัครผู้นำเยาวชน Peer Youth ก่อนจะเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนชื่อ Rays of Youth ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำกิจกรรมและเป็นแกนนำในศูนย์การเรียนให้มีจิตสาธารณะ ในการทำงานเพื่อสังคมและเพิ่มทักษะให้เยาวชนกลุ่มนี้มีคุณภาพต่อไป […]