Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
บทความ | ชุมชน 3 ดี
ข่าวสารและกิจกรรม
รวบรวมข่าวสารและกิจกรรมที่ผ่านมาและกำลังจะเกิดขึ้น ของ 3 ดี
บทความ (8)

เมื่อนึกถึงคำนี้ “รองเมือง” ใครหลายๆคนนึกถึงสถานีรถไฟหัวลำโพง  วันนี้เว็บไซต์สามดีชวนคุณออกมาเดินเล่น ชวนคุณขยับมาอีกนิดไปดูกำแพงสวยๆ ในชุมชนวัดดวงแขกัน   ถือเป็นชุมชนสามดีของเราอีกแห่งหนึ่งค่ะ ชุมชนนี้ได้ร่วมมือกันปรับภูมิทัศน์ชุมชนให้น่าอยู่โดยการเชิญศิลปินและ ชวนเด็กๆและคนในชุมชน ทาสีกำแพงและวาดภาพกำแพง สร้างสีสันให้ชุมชนน่าอยู่  คุณครูหรือคุณพ่อ คุณแม่ สามารถพาเด็กๆ ไปเดินชม  พร้อมรับฟังหลากเรื่องเล่าโดยคนในชุมชนได้     ชุมชนวัดดวงแขนั้น ได้รับการรองรองเป็นชุมชนจากสำนักงานเขตปทุมวันเมื่อปี 2547 ตั้งอยู่บริเวณถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน มีพื้นที่ 3.5 ไร่ มีจำนวนประชากรตามทะเบียนบ้าน 52หลังคาเรือน 139 ครอบครัว 410 คน และมีประชากรตามบ้านเช่าอีก 500 คน ซึ่งพื้นที่ชุมชนนั้นมี 3 ส่วน คือเช่าอาศัยพื้นที่กรมธนารักษ์ ที่ดินชาวบ้านที่มีโฉนดและพื้นที่จากคลองนางหงส์ที่ตื้นเขิน คลองนางหงส์นั้นที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 มีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมเพื่อแบ่งพระราชฐานเป็นชั้นนอกและชั้นใน โดยมีคลองนางหงส์เชื่อมต่อคลองผดุงกรุงเกษมให้น้ำไหลไปลงยังคลองแสนแสบแถบ บริเวณชุมชนกรุงเกษมชุมชนวัดบรมนิวาส และสะพานเจริญผล ต่อมารัชสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงก่อสร้างทางรถไฟสายแรกของประเทศไทยจากหัวลำโพง – ปากน้ำ (สมุทรปราการ) คลองนางหงส์จึงถูกถมเป็นรางรถไฟ และเมื่อคลองนางหงส์ถูกถมแล้วจึงทำให้ส่วนที่ต่อจากรางรถไฟ ตื้นเขินกลายเป็นแผ่นดิน ชาวบ้านจึงมาปลูกบ้านอยู่อาศัยเป็นระยะเวลากว่า 100 ปี สำหรับใครที่สนใจแวะเข้าไปชมติดต่อได้ที่ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ศูนย์ดวงแข 02 – 215 […]

“รวมนิทานสัตว์พิเศษ” นิทานภาพสีสวย เรื่องและภาพฝีมือเด็ก ๆ ผลเล่มล่าสุดในโครงการ “ตัวเล็กเสียงดัง” ของ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน หนังสือรวมนิทานสัตว์พิเศษเล่มนี้ เป็นผลงานของเด็ก ๆชาติพันธุ์และลูกหลานแรงงานหลากชาติพันธุ์จากประเทศพม่า ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 พวกเขาทั้ง 16 คนได้มาร่วมกันทำความเข้าใจกับสิทธิเด็กและประเด็นปัญหาการใช้แรงงานเด็ก เรียนรู้ศิลปะการแต่งนิทานและวาดภาพประกอบ ก่อนจะลงมือสร้างสรรค์นิทานภาพชุดนี้ออกมาด้วยตนเอง กิจกรรมของเด็ก ๆและหนังสือเล่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การแตร์เดซอมม์ เนเธอร์แลนด์ ในโครงการเพื่อการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด และได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากศูนย์การเรียนช่าทูเหล่ โรงเรียนบ้านท่าอาจ และโรงเรียนคริสเตียนแม่หละโกร จังหวัดตาก โครงการ “ตัวเล็กเสียงดัง“ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน คือการส่งเสริมความตระหนักในสิทธิเด็ก และการรวมพลังของเด็ก ๆชาติพันธุ์ ผู้ลี้ภัย และลูกหลานแรงงานข้ามชาติในการสื่อสารเรื่องราว ความคิด ความฝันของพวกเขาผ่านงานศิลปะประเภทต่าง ๆ ด้วยความหวังว่าสังคมไทยจะหันมามองและฟังเสียงพวกเขา เสมือนเช่นเป็นลูกหลานคนหนึ่ง รวมนิทานสัตว์พิเศษ คือการถ่ายทอดความใฝ่ฝันต่อสิทธิต่อการศึกษาพื้นฐาน สถานะทางกฎหมายที่ทำให้เข้าถึงเสรีภาพและบริการจากรัฐ ค่าแรงอันยุติธรรม และความเอื้ออาทรของสังคมที่มองทุกคนเป็นคนเท่ากัน เด็ก ๆ ผู้สร้างสรรค์ล้วนหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะมิเพียงเป็นที่ถูกใจของน้อง ๆ เพื่อน ๆ ตลอดจนครูและพ่อแม่ทุกคน หากยังจะช่วยย้ำเตือนให้สังคมได้ตระหนักด้วยว่า เด็ก […]

ชุมชนมีชีวิต เด็กมีพื้นที่เล่น ผู้ใหญ่มีพื้นที่ยิ้ม…. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2558เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ชวนมาสนุกกับเทศกาล “เพลินบางกอกนี้…ดีจัง 3 ดีมีชีวิต” บริเวณลานยิ้มริมน้ำคลองบางหลวง วัดหงส์รัตนาราม บางกอกใหญ่ เพื่อเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กเยาวชน ครอบครัว และคนในชุมชน ร่วมขับเคลื่อนบางกอกให้เป็น “เมืองวิถีสุข” เทศกาล“เพลินบางกอก…นี้ดีจัง 3 ดีมีชีวิต”จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “3 ดี” (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) เป็นกระบวนที่ให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ ได้มีส่วนร่วมในการลองคิด ลองค้น เรียนรู้ และลงมือสรรค์สร้างกิจกรรมที่มาจากรากฐานของคนในชุมชน การเกิดขึ้นของเทศกาลนี้จากความคิดของคนรุ่นใหม่ในย่านบางกอกใหญ่ เจมส์, ตัน และใบเตย แกนนำเยาวชนในชุมชนร่วมกันเปิดห้องเรียนชุมชน “สื่อดี” สื่อที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เช่น บ้านภูมิปัญญาเรือกระทงกาบมะพร้าว บิดกลีบบัว ภาพเขียนลายรดน้ำ การทำขนมช่อม่วง และการละเล่นพื้นบ้าน นอกจากนี้ยังได้เปิด “พื้นที่ดี” เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่าน “ภาพศิลปะซอยเล่นซอยศิลป์” ภาพวาดเล่าเรื่องวิถีชีวิตอัตลักษณ์ของดีแต่ละชุมชนบนกำแพงตามตรอกซอกซอย ซึ่งสะท้อนความคิด ความเชื่อ และความเป็นอยู่ของคนในชุมชนผ่านกระบวนการถ่ายทอด และสืบทอดจากรุ่นต่อรุ่นของคนในชุมชนไม่ให้สูญหายไป เสมือนการค้นหารากเหง้าตัวตนของคนในชุมชน เช่น […]

ชวนใช้กระทงกาบมะพร้าว ของชุมชนวัดโพธิ์เรียง ลอยกระทงซึ่งอยู่แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เป็นส่วนหนึ่งของ เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง เป็นการรวมตัวกันของชุมชนเมืองในย่านบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ เขตพระนคร เขตบึงกุ่ม เขตบางนาและเขตสวนหลวง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว โดยจัดสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก-เยาวชน นำเด็ก-เยาวชนออกจากปัจจัยเสี่ยง ทั้งปัญหายาเสพติด อบายมุขเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ โดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดีในการขับเคลื่อนนั่นก็คือ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เริ่มสำรวจความต้องการและการมีส่วนร่วมของเด็ก-เยาวชน สู่ภาคส่วนต่างๆในชุมชน ได้ทำให้เกิดการขยับขยายเป็นเครือข่าย 17 ชุมชน ย่านบางกอกน้อย-บางกอกใหญ่ และขยายไปยังเขตอื่นๆของกรุงเทพมหานคร การเปิดพื้นที่ทำให้เกิดกลุ่มเยาวชนที่ใช้สื่อศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและฟื้นฟูสื่อวัฒนธรรมของดีที่มีอยู่ในชุมชน ต่อยอดแหล่งเรียนรู้กลุ่มอาชีพ และสร้างความภูมิใจของชุมชน มีกระบวนการทำงานสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และพัฒนาไปสู่การสร้างเศรษฐกิจ เกิดรายได้ กลับคืนสู่ชุมชน   ในย่านนี้ ในอดีตเป็นสวนมะพร้าว สวนผลไม้ ทำของกินจากมะพร้าว ตามบ้านจึงมีกาบมะพร้าวอยู่มาก เมื่อถึงคืนวันเพ็ญเดือน 12 จึงเกิดความคิดประดิษฐ์กระทงจากกาบมะพร้าวผสมไม้ไผ่และไม้ระกำ ทำเป็นรูปทรงเรืออีโปง แล้วให้คนในหมู่บ้านมาลอยกระทงกันริมฝั่งคลอง เพื่อเป็นการขอขมาพระแม่คงคาและลอยทุกข์โศกโรคภัยให้พ้นจากตัวเองและครอบครัว แต่นานวันภูมิปัญญาเรือกระทงกาบมะพร้าวค่อยๆ เลือนหาย เพราะมีกระทงรูปแบบใหม่มาแทนที่ […]

อะไรกันหนอ “นักสื่อสารชุมชน” เรียกกันง่ายๆ ก็คือ “นักข่าวชุมชน” นั่นเอง กิจกรรมนี้ต้องใช้ความร่วมมือจากนักจัดการบวนการการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง เช่น คณะนิเทศน์ศาสตร์ นักข่าวพลเมืองของไทยพีบีเอส หรือ คนมีความรู้ด้านสื่อสารมวลชน เข้าไปร่วมจัดกิจกรรมให้กับ นักสื่อสารชุมชน ขอยกตัวอย่างชุมชนบ้านโซงเลง ต.หนองม้า จ.ศรีสะเกษ ซึ่งจัดการบวนการโดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ที่ชวนกลุ่มเยาวชน ออกมาร่วมทำกิจกรรม ดึงเยาวชนออกจากร้านเกมและอบายมุกต่างๆ ให้เรียนรู้การสื่อสารทั้งการทำหนังสั้น สารคดี การทำสตอรี่บอร์ด การใช้กล้อง การตัดต่อ จนเป็นข่าวให้กับนักข่าวพลเมืองของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กระบวนการเรียนรู้ให้เกิด Somebody การได้ร่วมเรียนรู้ด้วยกันของเยาวชน ทำให้เกิดการเข้าสังคม และเรียนรู้การรับฟังผู้อื่น ได้ออกสืบเสาะหาของดี และเรื่องราวต่างๆในชุมชน การลงพื้นที่ทำให้ร่างกายได้ขยับ เป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งและช่วยสร้างสัมพันธ์อันดีต่อกันของคนชุมชน เกิดการพบปะ พูดคุย เรียนรู้ในวิถีและอาชีพที่แตกต่างๆ สื่อสารเรื่องราวดีๆ ทั้งวิถีและวัฒนธรรมให้สังคมภายนอกได้รับรู้ เช่นการสื่อสารวิถีชีวิตการหาปลาของคนในชุมชน เยาวชนต้องออกเดินทางติดต่อกับกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ ให้สาธิตการหาปลา ขึ้นรถ ลงเรือ เพื่อจะถ่ายทำเพื่อสื่อสารเรื่องราวออกไป การออกมาจากร้านเกม ถือเป็นการออกจากภาวะการเนื่องนิ่ง ได้ใช้ความคิด วางแผน ทดลองทำ เรียนรู้ถูกผิด และเยาวชนเองก็จะเกิดความภูมิใจเมื่อได้รับการยอมรับจากชุมชน และได้ทบทวนค้นหาตัวเองว่าชอบและถนัดอะไร […]

“พ่อแม่หนูทำอาชีพอะไรกันบ้างจ้า?” เสียงคุณครูถามนักเรียนในชั้นเรียน เป็นคำถามที่มีความเงียบเป็นคำตอบให้กับคุณครู คุณครูโรงเรียนบ้านเทิน จ.ศรีสะเกษ เล่าให้เราฟังว่า …..เด็กๆ ที่นี่ไม่เคยพูดถึงอาชีพพ่อแม่ตนเองเลย เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ พ่อแม่มีอาชีพเข็นบะหมี่ขายที่ กทม.และเมืองใหญ่ต่างๆ หลายต่อหลายรุ่น เด็กๆ อายและไม่ภูมิใจที่มีพ่อแม่เข็นบะหมี่เกี๊ยวขาย “เหนื่อยใจไม่รู้จะบอก จะสอนเด็กๆ อย่างไร?” คุณครูกล่าว กระบวนการ “สื่อสร้างสรรค์” ของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) จึงเริ่มต้นขึ้น………. เริ่มจากการ…..เหมารถบัสหนึ่งคัน พาเด็กๆ และผู้เฒ่าผู้แก่ เดินทางสู่เมืองหลวง…..ค้นหาเส้นทางของบะหมี่เกี๊ยว เพื่อเก็บข้อมูลทำหนังสั้น ให้เด็กๆ ได้สืบค้นที่มาของบะหมี่ จากต้นทางแหล่งผลิต มาถึงรถเข็นของคนขายบะหมี่ และที่สุดมาสู่บะหมี่ในชามของลูกค้า เริ่มต้นการเดินทางสู่เมืองกรุง…..แสงแดดที่ร้อนแรง รถรามากมาย ฝุ่นควันคละคลุ้ง ผู้คนขวักไขว่แออัดยัดเยียด ต่างคนต่างต้องดิ้นรนเร่งรีบ ทำให้เด็กๆ หลายคนไม่สบาย เมารถ เมาผู้คน แต่ภาระกิจการตามหาเส้นทางของบะหมี่เกี๊ยว ยังต้องเดินหน้าต่อไป ครั้นเด็กเหลือบไปเห็นรถเข็นบะหมี่เกี๊ยวคันแรก การทักทายและการค้นข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์ จึงเริ่มขึ้น หลังเด็กๆ ได้ฟังคำบอกเล่าของคนเข็นบะหมี่เกี๊ยวขาย ต่างอึ้งจนพูดแทบไม่ออก เด็กบางคนถึงกับก้มหน้าน้ำตาคลอ การที่เด็กๆ ได้เห็นกับตาของตนเองว่า คนเข็นบะหมี่เกี๊ยวขายในเมืองกรุง ช่างอดทนเหลือเกิน […]

เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ย่านบางกอกน้อย–ย่านบางกอกใหญ่ 18 ชุมชน ร่วมกับมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ได้จัดค่ายเยาวชน ตะลอน เดิน – ปั่น ตามหายิ้ม ในวันที่ 20–21 มิถุนายน 2558หลังจากที่ได้จัดกิจกรรมตะลุ่ยเรื่องเล่าชาวบางกอกไปในปีที่แล้ว ซึ่งปีนี้มีพลเมืองเด็กแกนนำอาสาทั้งในโรงเรียนและชุมชนทั้ง 2 เขต จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม40 คน ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ได้แบ่งกระบวนการออกเป็น 2 วัน วันที่ 20 มิถุนายน 2558 ได้ทำกระบวนการค่ายเยาวชนเพื่อสร้างกระบวนการ การมีส่วนร่วม จิตอาสา การทำงานเป็นทีม ให้กับกลุ่มเยาวชน โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรม “ฉันคือใคร” โดยการในน้องๆ ออกแบบโปสการ์ดของตัวเองเพื่อแสดงอัตลักษณ์ตัวตน กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และสร้างทีม เพื่อทำให้เยาวชนได้รู้จักกันมากขึ้นและมีการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีมเปิดหู เปิดตา เปิดโลกทัศน์ โดยเรียนรู้4 สถานีผ่านการปฏิบัติ ได้แก่ “เธอฉันจับมือไปด้วยกัน” เรียนรู้ ภาวะผู้นำ ความร่วมมือกันในการทำกิจกรรม “แบ่งปัน สายสัมพันธ์ยืนยาว” เรียนรู้ การใช้ชีวิตรวมหมู่ การทำงานเป็นทีม […]

หากชวนใครสักคนล่องใต้ สู่ดินแดนปลายด้ามขวาน ยะลา นราฯ ปัตตานี เขาคนนั้นคงคิดทบทวนอยู่หลายตลบ เพราะข่าวคราวความรุนแรงที่มีให้เห็นในสื่อหลักแขนงต่างๆ น่ากลัวน้อยซะที่ไหน… แต่หากตั้งจิตมั่นสักนิด แล้วค่อยๆ มองลึกฝ่ากลุ่มควันของระเบิดเข้าไป เขาคนนั้นจะเห็นถึงความสวยงามของวัฒนธรรม และธรรมชาติ และหากฟังลึกทะลุกัมปนาทปืนเข้าไป เราจะได้ยินเสียงหัวเราะ… ผมในฐานะบุคคลหนึ่งที่มีถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดนราธิวาส แม้จะมาตั้งหลักหาเลี้ยงชีพยังเมืองหลวง แต่ก็เดินทางไปร่วมกิจกรรมในพื้นที่บ่อยครั้ง เมื่อถูกถามว่า “ไม่กลัวหรือ?” ผมมักตอบกลับ เป็นเชิงชักชวนให้ลงไปเที่ยวด้วยกัน เหมือนดั่ง ซัม – นูรฮีซาม บินมามุ ประธานกลุ่ม ‘ยังยิ้ม – Youth Smile’ อ.แว้ง จ.นราธิวาส ทำเสมอ เมื่อเดินทางไปร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วไทย *นูรฮีซาม บินมามุ ไม้งาม น้ำตก นกเงือก สำหรับเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซัม ไม่ปฏิเสธ เพราะมีอยู่จริง แต่เมื่อถูกข่าวตีแผ่ออกไป สังคมภายนอกจึงมองเหมารวมว่า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันตราย น่ากลัว ทั้งๆ […]

บทสัมภาษณ์ (4)

“หุ่นเงาทำให้เด็กมีเวทีแสดงออก การได้ออกแสดงเป็นเรื่องสำคัญเพราะเด็กมีของดีต้องได้อวด(ดี) ในเวลาที่แสดงแล้วเด็กจะรู้ว่าเมื่อถูกชมแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร หรือเมื่อผิดพลาดแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร เรียนรู้ที่เจ็บ และเรียนรู้ที่ยิ้ม จึงจะทำให้เด็กเติบโตและพัฒนาได้เร็ว” สุภิญญา บุญเฉลย ผู้ประสานงาน กลุ่มลูกขุนน้ำ แห่งหมู่บ้านคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช เอ่ยคำนี้ด้วยรอยยิ้มขณะเล่าเรื่องราวของเด็กๆ ในกลุ่มลูกขุนน้ำ เธอเรียกแทนตัวเองว่ามาอู กลุ่มลูกขุนน้ำเข้าร่วมพื้นที่นี้…ดีจังเป็นปีที่ 3 เธอเล่าว่าปีแรกเป็นแขกรับเชิญและเข้าร่วมเต็มตัวใน 2 ปี หลังเธอและเด็กๆ พบความสำเร็จจากการเลือกสื่อที่ดีนั่นก็คือ “หุ่นเงา” “หุ่นเงาสามารถประสานได้ทุกฝ่าย ทำให้เด็กได้สืบค้นเรื่องราวในชุมชน ผู้ใหญ่ได้ถ่ายทอด เช็คเสียงสะท้อนจากทุกฝ่ายได้ ซึ่งต่างจากการทำเอกสารประเภทงานวิจัย เพราะสื่อหุ่นเงาเวลาเล่นจะมีเสียงตอบรับจากผู้ชมได้ในทันทีขณะเล่น ซึ่งเด็กรู้สึกและรับรู้ได้เช่นกัน ผู้ชมก็เข้าใจสิ่งที่เด็กสื่อได้บางครั้งอาจจะไม่เข้าใจแต่ก็รู้ว่าเด็กตั้งใจจะทำอะไร จากการทำโครงการที่ผ่านมาเห็นพัฒนาการของเด็ก เช่น มีระเบียบวินัย มีการฝึกซ้อม รู้เรื่องราวของชุมชน ภูมิใจที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนตนเอง” เรียนรู้ต่อเติม ด้วยความพยายามที่จะหาของดีในชุมชนแรกๆ เธอจึงชวนเด็กๆ ไปใช้ธนูคันกระสุน เป็นธนูแบบดั้งเดิมที่มีก้อนหินเป็นกระสุน ซึ่งมีอยู่เฉพาะในชุมชนนี้ และมีปราชญ์ชาวบ้านรู้เรื่องนี้ที่นี่ “มาอูรู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวกลาง(ตัวเชื่อมระหว่างยุค โดยธรรมชาติของชุมชนคีรีวงการถ่ายทอดในทุกๆเรื่องจะส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น)ได้จึงคิดจะให้ผู้ใหญ่สอนเด็กๆในหมู่บ้านโดยตรง แต่เนื่องจากธนูคันกระสุนเป็นเครื่องมือที่ยากเกินไปเพราะต้องฝึกฝนและต้องใช้ความชำนาญ บางคนหัดยิงพลาดไปโดนนิ้วตัวเองเกิดอันตรายกับเด็กๆ ถึงแม้จะเสียดายเพราะธนูคันกระสุนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนก็ตามแต่ความปลอดภัยของเด็กก็ต้องมาก่อนสิ่งใด” ปีที่สองเธอจึงทำซุ้มกิจกรรมและซุ้มศิลปะในโรงเรียนแต่ละแห่งในตำบล รอบๆ หมู่บ้าน แต่ปัญหามีมาทดสอบคนตั้งใจเสมอ พอเข้าไปทำกิจกรรมกับโรงเรียนทำให้เธอรู้ว่าโรงเรียนเองก็มีภาระมาก […]