Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
รวมนิทานภาพ จากโครงการตัวเล็กเสียงดัง | ชุมชน 3 ดี
รวมนิทานภาพ จากโครงการตัวเล็กเสียงดัง

591221-story1“รวมนิทานสัตว์พิเศษ” นิทานภาพสีสวย เรื่องและภาพฝีมือเด็ก ๆ ผลเล่มล่าสุดในโครงการ “ตัวเล็กเสียงดัง” ของ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน

หนังสือรวมนิทานสัตว์พิเศษเล่มนี้ เป็นผลงานของเด็ก ๆชาติพันธุ์และลูกหลานแรงงานหลากชาติพันธุ์จากประเทศพม่า ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 พวกเขาทั้ง 16 คนได้มาร่วมกันทำความเข้าใจกับสิทธิเด็กและประเด็นปัญหาการใช้แรงงานเด็ก เรียนรู้ศิลปะการแต่งนิทานและวาดภาพประกอบ ก่อนจะลงมือสร้างสรรค์นิทานภาพชุดนี้ออกมาด้วยตนเอง กิจกรรมของเด็ก ๆและหนังสือเล่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การแตร์เดซอมม์ เนเธอร์แลนด์ ในโครงการเพื่อการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด และได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากศูนย์การเรียนช่าทูเหล่ โรงเรียนบ้านท่าอาจ และโรงเรียนคริสเตียนแม่หละโกร จังหวัดตาก

โครงการ “ตัวเล็กเสียงดัง“ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน คือการส่งเสริมความตระหนักในสิทธิเด็ก และการรวมพลังของเด็ก ๆชาติพันธุ์ ผู้ลี้ภัย และลูกหลานแรงงานข้ามชาติในการสื่อสารเรื่องราว ความคิด ความฝันของพวกเขาผ่านงานศิลปะประเภทต่าง ๆ ด้วยความหวังว่าสังคมไทยจะหันมามองและฟังเสียงพวกเขา เสมือนเช่นเป็นลูกหลานคนหนึ่ง

รวมนิทานสัตว์พิเศษ คือการถ่ายทอดความใฝ่ฝันต่อสิทธิต่อการศึกษาพื้นฐาน สถานะทางกฎหมายที่ทำให้เข้าถึงเสรีภาพและบริการจากรัฐ ค่าแรงอันยุติธรรม และความเอื้ออาทรของสังคมที่มองทุกคนเป็นคนเท่ากัน เด็ก ๆ ผู้สร้างสรรค์ล้วนหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะมิเพียงเป็นที่ถูกใจของน้อง ๆ เพื่อน ๆ ตลอดจนครูและพ่อแม่ทุกคน หากยังจะช่วยย้ำเตือนให้สังคมได้ตระหนักด้วยว่า เด็ก ๆ ที่ได้รับการส่งเสริมให้ได้เข้าถึงการศึกษาและพัฒนานั้น ล้วนมีพลังมหาศาลพอจะปราบเสือร้ายให้กับสังคมนี้ได้เสมอ
อ่านออนไลน์ / ดาวน์โหลด
นิทานสัตว์พิเศษ
** ดาวน์โหลดอ่านกันได้แล้วจากลิงค์ข้างบนนี้ ก่อนที่หนังสือจะออกจากโรงพิมพ์ในช่วงคริสต์มาส
** หนังสือเล่มนี้เราทำขึ้นสำหรับใช้งานในชุมชน จึงจัดพิมพ์จำนวนจำกัด ผู้ที่สนใจอยากได้ไว้อ่านที่บ้านหรือนำไปใช้งาน
1. ขอความกรุณาแจ้งชื่อและที่อยู่มาทาง inbox
2. กรณีขอรับเป็นรายบุคคล คือต้องการเก็บไว้ส่วนตัว สามารถรับได้ท่านละ 1 เล่ม
3. กรณีขอรับเป็นกลุ่มหรือองค์กร คือจะนำไปใช้งานในชุมชน ขอความกรุณาแจ้งรายละเอียดว่าท่านต้องการกี่เล่ม และจะนำหนังสือไปวางไว้ที่ใดบ้าง
4. กรณีรายบุคคล ขอความกรุณาสมทบค่าส่งหนังสือเล่มละ 42 บาท และบริจาคค่าหนังสือเท่าใดก็ได้ตามศรัทธา


591221-story2
สัตว์ป่าสามัคคีและเรื่องเล่าอื่นๆ

โดย เด็กๆปกาเกอะญอ โครงการสิทธิเด็ก มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน
สนับสนุนโดยองค์การช่วยเหลือเด็ก สวีเดน

นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดนได้ร่วมกับอาสาสมัครเยาวชนชาวปกาเอะญอ(กะเหรี่ยง)ในชุมชนชายแดน ดำเนินกิจกรรมการศึกษาสิทธิเด็กในชุมชน โดยในแต่ละปี เด็กๆได้ทดลองทำแบบฝึกหัดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน โดยใช้เสรีภาพในการรวมกลุ่มและการแสดงออกความคิดเห็นของตน

ในปีพ.ศ. 2553 อาสาสมัครและเด็กๆในโครงการได้เรียนรู้และทำกิจกรรมรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนซึ่งเป็นต้นเหตุหนึ่งในการเกิดภัยพิบัติในโลกมนุษย์ เด็กๆได้เรียนทั้งทฤษฎีสมัยใหม่ และจากภูมิปัญญาของคนเฒ่าคนแก่ในชุมชน อีกทั้งยังได้ฝึกฝนทำกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ต่อชุมชน และเพื่อนเด็กๆในสังคมเมือง

หนังสือเล่มนี้ คือผลงานคัดสรรค์ของเด็กๆชาวปกาเกอะญอในชุมชนชายแดน ซึ่งส่งเสียงแห่งจินตนาการ ความคิดเห็น ความสร้างสรรค์ และความใฝ่ฝันอันบริสุทธิ์ต่อสิทธิเด็ก และบทบาทของเด็กๆต่อชุมชนที่ตนอยู่และต่อโลกมนุษย์ทั้งใบ ที่มีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา อาศัยอยู่ร่วมกัน

อ่านออนไลน์ / ดาวน์โหลด
สัตว์ป่าสามัคคีและเรื่องเล่าอื่นๆ (ภาษาไทย)
สัตว์ป่าสามัคคีและเรื่องเล่าอื่นๆ (ภาษาปกาเกอะญอ)


591221-story3
หมีโหน่งหนีน้ำท่วม-ช้างน้อยเป็นหวัด นิทานสองภาษา(ไทย-กะเหรี่ยง)

เป็นอีกหนึ่งผลงานของเด็กๆชาวกะเหรี่ยงหมู่บ้านทีหนึโคะและค่ายผู้ลี้ภัยแม่หละ ซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นสื่อความรู้เรื่องการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติให้กับพวกเขาเองและรุ่นน้องๆต่อไป นิทานภาพชุดนี้ชนะการประกวดเรียงความและนิทานของเด็ก ๆ ในโครงการสิทธิเด็กปี พ.ศ. 2552 การผลิตหนังสือเล่มนี้ประสบความสำเร็จ ด้วยการมีส่วนร่วมของผู้ใหญ่ชาวกะเหรี่ยงที่มาช่วยแปลรวมทั้งตรวจสอบภาษา และเด็กชาวกรุงเทพฯที่มาแต่งแต้มเดิมสีสันให้หนังสืองดงาม แม้แต่ละคนอาจยังไม่มีโอกาสมาพบปะกัน พวกเขาก็ได้รู้จักกันผ่านผลงานร่วมชิ้นนี้แล้ว

เพื่อนไร้พรมแดนขอขอบคุณองค์การช่วยเหลือเด็ก สวีเดน , องค์การคริสเตียน เอด , เด็ก ๆ ครู อาสาสมัครทุกรุ่นและผู้นำชุมชนของกว่าสิบชุมชน ที่มีส่วนร่วมในโครงการตลอดสี่ปีที่ผ่านมา

อ่านออนไลน์ / ดาวน์โหลด
หมีโหน่งหนีน้ำท่วม
ช้างน้อยเป็นหวัด
……………………….…………………………………………………………………………………………………………….
ท่านสามารถกด Follow เพื่อรับสื่อสิ่งพิมพ์ใหม่ๆจากมูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดนและติดตามอ่าน นิตยสารเพื่อนไร้ทุกฉบับ งานวิจัย คู่มือต่างๆได้ตามลิงค์ที่แนบมาด้วยนี้ https://issuu.com/friendswithoutbor…

ด้วยความศรัทธาในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน

บทความที่เกี่ยวข้อง

เริ่มเสาร์อาทิตย์นี้ ชุมชนป้อมมหากาฬมีงานชุมชนสร้างสรรค์ส่งท้ายปีเก่ามาเชิญชวนเพื่อนๆ ทุกคนร่วมแบ่งปัน เพื่อเตรียมตัวรับมือกับคำสั่งไล่รื้อภายในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า …. งาน มาหากัน ณ ป้อมมหากาฬ เป็นงานที่ศิลปิน นักออกแบบ นักจัดการทางศิลปะ ร่วมมืกับชาวบ้านเวิร์คชอปทำแพคเกจจิ้งสินค้าภายในชุมชน จัดทำของที่ระลึกและศิลปะทำมืออีกมากมายไว้รอต้อนรับเพื่อนๆ เสาร์อาทิตย์ 24-25 ธันวานี้ เบื้องหลังความคิดที่มาของงานจากปากคำ Roj Siam Ruay ผู้ร่วมออกแบบผลิตภัณฑ์ในงาน มาหากัน ณ ป้อมมหากาฬ กล่าวไว้น่าสนใจมาก “การสร้างอัตลักษณ์อย่างง่าย : ให้จำคำนี้ไว้ “แวดล้อมคือตัวตน” ทุกสิ่งอันจะช่วยกันเล่าและเกลี้ยกล่อมให้คนดูงาน เข้าใจและนึกไปถึงถิ่นฐานที่มาได้ ในภาพเป็นชุดตรายางจากสิ่งรายรอบของชุมชนป้อมมหากาฬ(บางส่วน) มีคน เด็ก แมว ต้นไม้ สุ่มไก่ ศาลพระภูมิ พวงมะโหตร ฯลฯ เมื่อมันทำงานพร้อมๆกัน ‘ภาพจำติด’ จะสร้างให้ผู้ที่เคยสัมผัสพื้นที่เข้าใจได้ว่านี่คือเรื่องเกี่ยวกับชาวป้อมมหากาฬ ที่มาของแบบนั้นเป็นต้นทุนเรื่องราวที่ดี เป็นเรื่องจริง ปรากฏจริง แล้วยิ่งถ้าไม้ที่ทำด้ามตรายาง เป็นไม้ที่เหลือจากการไล่รื้อด้วยล่ะ? คุณว่ามันจะเป็นที่อื่นได้ไหม?” ติดตามรายละเอียดได้ที่เพจ มาหากันนะ … ส่วนงาน ต่อ […]

มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชนในเครือข่ายโรงเรียน 3 ดี และน้องๆจากกลุ่มบางกอกนี้ดีจัง สื่อเด็กเปลี่ยนโลก ในวันที่ 26 – 27 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา มีน้องๆ เด็กและเยาวชน ครูเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 80 คน โดยกิจกรรมเริ่มตั้งแต่ทีมพี่เลี้ยงได้เข้าไปพบน้องๆ พูดคุย และแจกภารกิจ เอ๊ะ!!! กับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนหรือชุมชน และให้คิดคำพูดโดนๆ 1 ประโยค พร้อมท่าทางประกอบ และเตรียมการแสดงที่บ่งบอกถึงความเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มเด็กสร้างสื่อแต่ละโรงเรียน และนำภารกิจต่างๆ มาปล่อยของกันในค่ายนี้ ในวันงานวันแรกช่วงเช้าจะมีเวทีแสดงนิทรรศการผลงานของโรงเรียน 3 ดี ,บางกอกนี้ดีจัง,สื่อเด็กเปลี่ยนโลก มาจัดแสดง ร่วมสนุกกันเป็นการสร้างบรรยากาศให้ดูสนุกสนานและเป็นกันเอง จากนั้นทางทีมก็ได้ให้ความรู้กับน้องๆ ผ่านกิจกรรมที่เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมตลอด ได้แสดงออกทางความคิด แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเตรียมพลเมืองเด็กของเราให้รู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างพลเมืองในวีถีประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ได้แก่ กิจกรรม ” ชื่นชม ไม่ชื่นชอบ, สถานีเรียนรู้ทั้ง 4 สถานี […]

อะไรกันหนอ “นักสื่อสารชุมชน” เรียกกันง่ายๆ ก็คือ “นักข่าวชุมชน” นั่นเอง กิจกรรมนี้ต้องใช้ความร่วมมือจากนักจัดการบวนการการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง เช่น คณะนิเทศน์ศาสตร์ นักข่าวพลเมืองของไทยพีบีเอส หรือ คนมีความรู้ด้านสื่อสารมวลชน เข้าไปร่วมจัดกิจกรรมให้กับ นักสื่อสารชุมชน ขอยกตัวอย่างชุมชนบ้านโซงเลง ต.หนองม้า จ.ศรีสะเกษ ซึ่งจัดการบวนการโดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ที่ชวนกลุ่มเยาวชน ออกมาร่วมทำกิจกรรม ดึงเยาวชนออกจากร้านเกมและอบายมุกต่างๆ ให้เรียนรู้การสื่อสารทั้งการทำหนังสั้น สารคดี การทำสตอรี่บอร์ด การใช้กล้อง การตัดต่อ จนเป็นข่าวให้กับนักข่าวพลเมืองของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กระบวนการเรียนรู้ให้เกิด Somebody การได้ร่วมเรียนรู้ด้วยกันของเยาวชน ทำให้เกิดการเข้าสังคม และเรียนรู้การรับฟังผู้อื่น ได้ออกสืบเสาะหาของดี และเรื่องราวต่างๆในชุมชน การลงพื้นที่ทำให้ร่างกายได้ขยับ เป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งและช่วยสร้างสัมพันธ์อันดีต่อกันของคนชุมชน เกิดการพบปะ พูดคุย เรียนรู้ในวิถีและอาชีพที่แตกต่างๆ สื่อสารเรื่องราวดีๆ ทั้งวิถีและวัฒนธรรมให้สังคมภายนอกได้รับรู้ เช่นการสื่อสารวิถีชีวิตการหาปลาของคนในชุมชน เยาวชนต้องออกเดินทางติดต่อกับกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ ให้สาธิตการหาปลา ขึ้นรถ ลงเรือ เพื่อจะถ่ายทำเพื่อสื่อสารเรื่องราวออกไป การออกมาจากร้านเกม ถือเป็นการออกจากภาวะการเนื่องนิ่ง ได้ใช้ความคิด วางแผน ทดลองทำ เรียนรู้ถูกผิด และเยาวชนเองก็จะเกิดความภูมิใจเมื่อได้รับการยอมรับจากชุมชน และได้ทบทวนค้นหาตัวเองว่าชอบและถนัดอะไร […]

มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: เรื่องกินเรื่องใหญ่  ที่ตลาดไนต์บาซาร์มหาสารคามสุดคึกคัก ประชาชนให้ความสนใจจำนวนมาก เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 60  ที่ตลาดไนต์บาซาร์มหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม นายเสน่ห์ นนทะโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดงาน งานมหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุจิน บุตรดีสุวรรณ คณบดีคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นายสิทธิเดช ผงสิริ แกนนำเยาวชนอีสานตุ้มโฮม นิสิตนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเครือข่ายเยาวชนอีสานตุ้มโฮมจากพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ยโสธร อุดรธานี สุรินทร์ และศรีสะเกษ ร่วมกันจัดกิจกรรม “มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: เรื่องกินเรื่องใหญ่” ด้วยตระหนักถึงคุณค่าของวิถีภูมิปัญญาอีสาน และได้นำเสนอผ่านวิถีอาหารพื้นบ้าน ศิลปะสร้างสรรค์ และสื่อพื้นบ้าน ซึ่งเป็นผลงานความสามารถของเด็กและเยาวชนที่ได้ร่วมกันจัดขึ้น “มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: […]