
“พอเรามีโอกาสได้เป็นผู้ให้ มันมีความสุขครับที่ได้เห็นรอยยิ้มของใครๆและกิจกรรมทำให้ผมหลุดออกจากวงโคจรแบบนั้น และเปลี่ยนมุมมองที่คนอื่นๆมองครอบครัวของผม ที่ถูกตีตราว่า ‘ลูกคนขายยา’”
นั่นเป็นคำของ นายสุขวิชัย อิทธิสุคนธ์หรือ “ม๊อบ” เยาวชนคนเก่ง อายุ 18 ปี ของชุมชนวัดอัมพวา เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง บอกเล่า ซึ่งก่อนที่เขาจะกลายมาเป็นผู้ให้ เขาเองได้รับโอกาสมาก่อนจากพี่ๆ จากมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา พาทำกิจกรรมรณรงค์ต้านยาเสพติด กับคนในชุมชน ทั้งกิจกรรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด เกมต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่ช่วยพาเขาออกมาจากวังวนของยาเสพติด
“ครอบครัวผมโตมาท่ามกลางปัญหายาเสพติด และสูญเสียคนสำคัญไปถึง 2 คน คนแรกเป็นลุงของผมที่เสพยาเกินขนาด และอีกคนก็เป็นพ่อของผมเองถูกวิสามัญ ในข้อหาผู้ค้ารายใหญ่ เมื่อปี 2546 ตอนผม 5 ขวบ”
…ชีวิตคนเราอาจจะเลือกอะไรไม่ได้ทุกอย่าง แต่ม๊อบเลือกที่จะเปลี่ยนจากสังคมเดิมๆ โดยใช้ความสูญเสียนั้นเป็นแรงกระตุ้น ก้าวสู่โลกเพื่อเพื่อนมนุษย์ ออกไปทำกิจกรรมกับเพื่อนในพื้นที่ส่วนกลางของชุมชน เพื่อทิ้งช่วงเวลาที่อาจถูกใช้ ถูกชักจูงเข้าไปสู่วังวนเดิมๆ
“ช่วงเวลาแค่เพียงนิดเดียวก็อาจจะดึงทั้งเพื่อนและผมกลับไปในสังคมแบบนั้นอีกได้ ผมเคยคิดนะว่า ‘พ่อแม่เลี้ยงเรามาแบบไหน เราคงต้องเป็นแบบนั้นตามพ่อกับแม่’ แต่พอเราเข้าเรียน ทำกิจกรรมกับพี่ๆ เพื่อนๆ ในพื้นที่ส่วนกลาง ความคิดผมก็เปลี่ยน ‘ครอบครัวเป็นคนให้ชีวิต แต่ตัวเราเองก็สามารถกำหนดชีวิตเราเองได้’”
แม้จะมีพื้นที่ส่วนกลางไว้ทำกิจกรรม แต่กิจกรรมยังไม่ต่อเนื่องเขาจึงคิดที่จะหากิจกรรมทำในชุมชนเพิ่ม จึงเกิดเป็นกลุ่ม “สิงโตเด็ก” ซึ่งเริ่มจากเด็กๆเห็นผู้ใหญ่เชิดสิงโต จึงเล่นบ้างโดยใช้ลังกระดาษมาเชิดเป็นหัวสิงโต เอาถังขยะมาตีเป็นกลอง
“เวลามีเชิดสิงโตที่ไหนเด็กๆก็จะวิ่งตามกันไปดู แล้วก็เลียนแบบ เอาไปเล่นกันที่โรงเรียน ที่ชุมชน จนกลุ่มผู้ใหญ่เขาสนับสนุนมาจนถึงปัจจุบัน มีหัวสิงโตจริงๆไว้เชิดกันแล้ว ซึ่งเราก็ใช้วิธีครูพักลักจำ เวลาผมมีโอกาสได้ไปเล่นกับพวกผู้ใหญ่ จะดูเทคนิกการเชิด การตีกลอง แล้วก็กลับมาสอนน้องในชุมชน สอนกันจากรุ่นสู่รุ่นครับ ตอนนี้รับงานได้แล้วนะ”
จากวันนั้นถึงวันนี้การเปิดพื้นที่ 3 ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี ขยายวงออกไป การมีพื้นที่ส่วนกลางให้คนในชุมชนได้ทำกิจกรรมดีๆ ร่วมกัน ฃยาเสพติดในชุมชนนี้ก็ค่อยๆ จางหายไป
การเปลี่ยนผ่านแม้จะใช้เวลาเสมอเพียงแต่เราเปิดโอกาสทั้งให้ผู้อื่น เปิดโอกาสให้ตัวเอง ชุมชน 3 ดีก็จะเกิดขึ้นได้ทุกที่เช่นกันค่ะ
ติดต่อคณะสิงโตเด็กได้ที่ FB : คณะสิงโตเด็ก วัดอัมพวา
24 มิ.ย. สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนร่วมจัดงาน สมัชชาเด็กและเยาวชนพื้นที่สร้างสรรค์ “รวมเพื่อน เขยื่อนยิ้ม” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรีดีจัง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีชีวิต ค้นหาพลังร่วมคนรุ่นใหม่พื้นที่สร้างสรรค์ โดยมีการเปิดตลาดนัด “บ้านเธอ บ้านฉัน เราปันยิ้ม” เปิดให้เยาวชนแต่ละกลุ่มได้นำสื่อ กิจกรรม ที่ทำในแต่ละพื้นที่มานำเสนอ บอกเล่าสื่อสารถึงสิ่งที่ทำ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น #รวมเพื่อนเขยื้อนยิ้ม #สมัชชาเยาวชนพื้นที่สร้างสรรค์ 24-26 มิ.ย.2559
“หลังเปิดอาเซียน เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเรานะ ไม่รู้จะต้องกลับไปประเทศหรือเปล่า จะอยู่ที่นี่พวกเราก็ไม่มีบ้าน เราก็อยากกลับบ้านนะ เอาความรู้ที่ได้ไปสอนน้อง ไปบอกคนที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่กลับไปเราก็ทำอะไรไม่ได้มาก…” ทุกอย่างพลันเงียบลงหลังเธอพูดจบ ก่อนเธอจะเบือนหน้าจากคู่สนทนาเพื่อปรับความรู้สึกก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวต่อไป กิกิ หรือ Pawk Kaw Ki สาวน้อยวัย 22 ปี จากเมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำตันลยิน หรือ แม่น้ำสาละวิน ห่างจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว 50 กิโลเมตร เธอเข้ามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน “ตอนเด็กๆ ก็คิดว่าอยู่ที่ประเทศไทยมันไม่มีความหมายอะไร เรียนจบแล้วก็ไปทำงาน แบบที่เพื่อนไปทำ จะกลับไปพม่าก็มีแต่เด็กกับคนแก่เท่านั้น เขาไปทำงานที่กรุงเทพกันหมด เพื่อนบางคนก็ไม่รู้ไปไหนหายไปเป็นสิบๆ ปีแล้ว” คำว่า “เรียน” ของ กิกิ หมายถึงการเรียนในศูนย์การเรียนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นศูนย์การเรียนที่สอนเด็กต่างชาติโดยมีครูจากพม่ามาสอนภาษาอังกฤษและภาษาพม่าให้กับเด็กๆ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และสร้างอาสาสมัครผู้นำเยาวชน Peer Youth ก่อนจะเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนชื่อ Rays of Youth ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำกิจกรรมและเป็นแกนนำในศูนย์การเรียนให้มีจิตสาธารณะ ในการทำงานเพื่อสังคมและเพิ่มทักษะให้เยาวชนกลุ่มนี้มีคุณภาพต่อไป […]
หากชวนใครสักคนล่องใต้ สู่ดินแดนปลายด้ามขวาน ยะลา นราฯ ปัตตานี เขาคนนั้นคงคิดทบทวนอยู่หลายตลบ เพราะข่าวคราวความรุนแรงที่มีให้เห็นในสื่อหลักแขนงต่างๆ น่ากลัวน้อยซะที่ไหน… แต่หากตั้งจิตมั่นสักนิด แล้วค่อยๆ มองลึกฝ่ากลุ่มควันของระเบิดเข้าไป เขาคนนั้นจะเห็นถึงความสวยงามของวัฒนธรรม และธรรมชาติ และหากฟังลึกทะลุกัมปนาทปืนเข้าไป เราจะได้ยินเสียงหัวเราะ… ผมในฐานะบุคคลหนึ่งที่มีถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดนราธิวาส แม้จะมาตั้งหลักหาเลี้ยงชีพยังเมืองหลวง แต่ก็เดินทางไปร่วมกิจกรรมในพื้นที่บ่อยครั้ง เมื่อถูกถามว่า “ไม่กลัวหรือ?” ผมมักตอบกลับ เป็นเชิงชักชวนให้ลงไปเที่ยวด้วยกัน เหมือนดั่ง ซัม – นูรฮีซาม บินมามุ ประธานกลุ่ม ‘ยังยิ้ม – Youth Smile’ อ.แว้ง จ.นราธิวาส ทำเสมอ เมื่อเดินทางไปร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วไทย *นูรฮีซาม บินมามุ ไม้งาม น้ำตก นกเงือก สำหรับเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซัม ไม่ปฏิเสธ เพราะมีอยู่จริง แต่เมื่อถูกข่าวตีแผ่ออกไป สังคมภายนอกจึงมองเหมารวมว่า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันตราย น่ากลัว ทั้งๆ […]
เยาวชนภาคีเครือข่ายภาคใต้ กว่า 20 เครือข่าย ร่วมกันเปิดพื้นที่ สร้างสรรค์ความงามในท้องถิ่นของตนเพื่อจุดประกายความหวัง ความสุขของคนใต้ โดยเยาวชนคนรุ่นใหม่ แลกเปลี่ยน ค้นหา อะไรคือ “ความเป็นเรา หัวใจภาคใต้” ผ่านการลงพื้นที่จริง ทำจริง …ปฏิบัติการปลุก ใจ เมืองจึงเริ่มขึ้น 23-25 มิ.ย. 60 ค้นหารากเหง้า ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี ผ่านห้องเรียนภูมิปัญญา ที่ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี 2 ก.ค. 60 ปลุกจิตสำนึกร่วมรักษาทะเลธรรมชาติ ด้วยหลักสิทธิมนุษยชน ผ่านห้องเรียน แลเล แล หาดสมิลา จ.สงขลา 8 ก.ค. 60 ทะเลคือชีวิตของเรา…สัมผัสวิถีชีวิตความผูกพันของคนใต้กับท้องทะเล ผ่านห้องเรียน อ.จะนะ จ.สงขลา 14-16 ก.ค. 60 เข้าใจอัตลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผ่านห้องเรียนอัตลักษณ์และพหุวัฒนธรรม สามจังหวัดชายแดนใต้ เพราะเราเชื่อว่า “พลังของเยาวชน สามารถจุดประกาย ความสุข […]