Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
กีกี้ กลุ่มเยาวชนRay of youth: แรงงานเด็กพม่า สู่นักสื่อสารชายแดน | ชุมชน 3 ดี
กีกี้ กลุ่มเยาวชนRay of youth: แรงงานเด็กพม่า สู่นักสื่อสารชายแดน

“หลังเปิดอาเซียน เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเรานะ ไม่รู้จะต้องกลับไปประเทศหรือเปล่า จะอยู่ที่นี่พวกเราก็ไม่มีบ้าน เราก็อยากกลับบ้านนะ เอาความรู้ที่ได้ไปสอนน้อง ไปบอกคนที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่กลับไปเราก็ทำอะไรไม่ได้มาก…”

ทุกอย่างพลันเงียบลงหลังเธอพูดจบ ก่อนเธอจะเบือนหน้าจากคู่สนทนาเพื่อปรับความรู้สึกก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวต่อไป

กิกิ หรือ Pawk Kaw Ki สาวน้อยวัย 22 ปี จากเมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำตันลยิน หรือ แม่น้ำสาละวิน ห่างจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว 50 กิโลเมตร เธอเข้ามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน

“ตอนเด็กๆ ก็คิดว่าอยู่ที่ประเทศไทยมันไม่มีความหมายอะไร เรียนจบแล้วก็ไปทำงาน แบบที่เพื่อนไปทำ จะกลับไปพม่าก็มีแต่เด็กกับคนแก่เท่านั้น เขาไปทำงานที่กรุงเทพกันหมด เพื่อนบางคนก็ไม่รู้ไปไหนหายไปเป็นสิบๆ ปีแล้ว”

คำว่า “เรียน” ของ กิกิ หมายถึงการเรียนในศูนย์การเรียนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นศูนย์การเรียนที่สอนเด็กต่างชาติโดยมีครูจากพม่ามาสอนภาษาอังกฤษและภาษาพม่าให้กับเด็กๆ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และสร้างอาสาสมัครผู้นำเยาวชน Peer Youth ก่อนจะเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนชื่อ Rays of Youth ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำกิจกรรมและเป็นแกนนำในศูนย์การเรียนให้มีจิตสาธารณะ ในการทำงานเพื่อสังคมและเพิ่มทักษะให้เยาวชนกลุ่มนี้มีคุณภาพต่อไป ซึ่งกิกิได้ผ่านกระบวนการเหล่านี้ เธอจึงเลือกเส้นทางการสร้างเยาวชน แทนที่จะผันตัวเองไปเป็นแรงงาน

“ให้” เพื่อให้ไม่สิ้นสุด 

“เท่าที่เรารู้ เราก็อยากให้คนอื่นๆได้รู้เหมือนเรารู้ แล้วพอเขารู้ก็จะป้องกันเขาไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ ไม่หลงเชื่อใครง่ายๆ เพราะหนูก็เคยเป็นเด็กในศูนย์การเรียนรู้ที่แม่สอด ตอนนั้นหนูเห็นเพื่อนที่จบแล้วก็ไม่มีงานทำ เพราะไม่ได้ใบรับรองการศึกษา พ่อแม่ก็จะคิดว่ามาเรียนจบแล้วได้อะไร จบแล้วต้องทำงาน ก็เลยไม่มีใครอยากเรียนจนจบ ถึงเรียนจบไปก็ต้องไปทำงานใช้แรงงานในนา โรงงาน ร้านอาหาร เพราะเขาคิดว่าการศึกษาก็แค่การอ่านได้ก็พอแล้ว คนที่ไม่มีการศึกษาก็เลี้ยงตัวเองได้ เราอยากให้พ่อแม่รู้ว่าการศึกษาก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ดีสำหรับการป้องกันตัวและดีสำหรับการใช้ชีวิต”

ด้วยความเชื่อนี้ทุกการอบรมที่ได้มีโอกาสเข้าร่วม รวมทั้งการอบรบของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ในโครงการสื่อสารสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเด็กในสภาวะวิกฤติ อโดยการสนับสนุนของแผนงาน สื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าเสริมสุขภาพ (สสส.) มีเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้เด็กมีทักษะชีวิตเพื่อการอยู่รอดในภาวะวิกฤติ และเพื่อให้สังคมรับรู้ เข้าใจภาวะวิกฤติของเด็กในสภาวะยากลำบาก และนำไปสู่การความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน  โดยมีกรอบแนวคิดในการทำงานคือ “อยู่ให้รอด เล่นให้ปลอดภัย คิดอย่างสร้างสรรค์ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ” เป็นการทำงานกับกลุ่มเด็กชาติพันธุ์ เด็กต่างชาติที่ประสบภัยพิบัติและแรงงานเด็กต่างชาติ ทั้งจังหวัดระนอง สมุทรปราการ สมุทรสาคร นนทบุรี พังงา เชียงราย เชียงใหม่ กลุ่มเยาวชน สปป.ลาว และตาก โดยสอนการทำละครหน้าขาว หุ่นเงา และครีแอนิเมชั่น

“อบรม 3 วันค่ะ แล้วเราก็กลับมาพัฒนาตัวเองกันก่อน ค่อยจัดอบรมแกนนำเยาวชนในชุมชมอีก 20 คน ถัดไปอีกปีก็ไปสอนที่ศูนย์การเรียนรู้ของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดนดูแลอยู่ เด็กเยาวชนสอนกันได้ดีกว่าเราลงสอนเองเพราะน้องเขารู้และเข้าใจปัญหาในชุมชนดีกว่าพวกเรา ”


ศูนย์การเรียนในแม่สอดมีทั้งหมด 74 แห่ง และมี 11 แห่ง ที่อยู่ในความดูแลของมูลนิธิฯ ซึ่งกิกิและ

น้องเยาวชน ต้องเข้าไปทำกิจกรรมร่วมกับครูและนักเรียน การได้ความรู้ครั้งนั้นทำให้กลุ่มเยาวชน Rays of youth ได้ใช้เป็นสื่อในการอบรม ให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ รวมถึงเล่าเรื่องราวของตัวเองผ่านสื่อได้ ทั้งละครหน้าขาวการค้ามนุษย์ ทำให้เด็กรู้ถึงกลการหล่อลวงในรูปแบบต่างๆ รู้ถึงสิทธิของตัวเอง ใช้และบอกต่อกับครอบครัวตัวเองได้ ครีแอนิเมชั่นเรื่องจราจร ละครหุ่นเงาที่มีเนื้อหาสื่อสารความเข้าใจกับคนไทยต่อปัญหาที่คนต่างชาติต้องอพยพลี้ภัยมาอยู่ที่แม่สอด

“เราทำครีแอนิเมชั่นให้ความรู้เรื่องการจราจรเพราะในแม่สอดคนพม่าเยอะและไม่เข้าใจสัญญาณจราจร แค่ไฟแดง เขียว เหลือง เขายังไม่รู้กันเลย บางคนโดนรถชนก็จะไปรับการรักษาลำบากมาก เพราะไม่มีบัตร แล้วถ้าเราจะให้ความรู้เขาเรื่องนี้โดยการไปพูดให้เขาฟัง เขาก็จะไม่เห็นภาพ แต่ถ้าเราทำสื่อเป็นหนังการ์ตูน พอเขาดูแล้วก็จะทำให้เข้าใจได้มากกว่าเราไปพูดเฉยๆ เขาจะสนใจ แล้วเขาก็ได้ความรู้ด้วย”

              นอกจากสื่อ 3 อย่างนั้นแล้ว ยังได้รับการอบรมผลิตสารคดีของ MTV Exit ทำให้ได้ทักษะการเขียนบทและถ่ายภาพ เข้าร่วมอบรมนักข่าวพลเมืองของไทยพีบีเอส ทำให้สื่อสารและขยายประเด็นแรงงานต่างชาติในพื้นที่แม่สอดไม่สู่สื่อกระแสหลักได้ แต่ถึงอย่างไร กิกิ และ เพื่อนเยาวชน Rays of Youth ก็ไม่ทิ้งชุมชน นำละครไปเล่นและให้ความรู้เสมอ

“เราลงชุมชนตลอดปีแรกเราจะลง 5 ชุมชน เอาละครหน้าขาว เอาหุ่นเงาไปเล่นให้ดู ถ้าเราทำกิจกรรมตอนเช้า หรือตอนกลางวัน ชาวบ้านก็จะไม่อยู่เพราะต้องทำงาน พวกเราก็ต้องไปเล่นละครกันตอนกลางคืน เรามีเพลง มีการเต้นด้วยจะได้สนุกแล้วก็ได้ความรู้”

ก่อร่างสร้างคน

จากจุดเริ่มกลุ่มเยาวชน 3 คน นั่นคือ กิกิ จูลี่ (Su HtelLwin) และ วิค (วิคตอเรีย ทีสุขาติ) ตอนนี้มีแกนนำเยาวชนกว่า 50 คน อบรมให้กับเยาวชนกว่า 1,000 คน

“ตอนนี้ไม่ว่าจะทำสื่ออะไรทั้งหนังสั้น เขียนบท ทำสคริป สัมภาษณ์ ทำหุ่น เล่นละคร พวกเขาทำได้หมด แล้วไม่ใช่แค่พวกเขาที่รู้นะ น้องก็จะสอนกันต่อไป


เหนื่อยนะ…(พักคิดก่อนจะตอบ) แต่ไม่เหนื่อย เพราะว่ามีกำลังใจ เห็นแล้วภูมิใจในตัวเองที่ช่วยเหลือชุมชนกะเหรี่ยงในแม่สอด เหนื่อย…ก็ไม่เป็นไร เพราะสนุกและชอบงานที่เราทำ”

จบประโยครอยยิ้มผุดพรายเต็มใบหน้าอธิบายถ้อยประโยคเมื่อครู่ ว่ามีความสุขได้เต็มภาคภูมิแล้ว ทั้งที่เธอเองก็ยังแน่ใจนักว่าหลังการเปิดเสรีอาเซียนจะเป็นอย่างไร แต่เธอก็ยอมรับว่าสิ่งที่เธอทำวันนี้คือสิ่งที่เธอได้เลือกแล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนร่วมกับสหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ(สอช.) จัดอบรม กระบวนการ 3 ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี ให้กับเยาวชนจำนวน 40 คน จาก 5 เมืองประกอบด้วย ชุมแสง นครสวรรค์ ระหว่างวันที่ 19-21 เม.ย.2560 ณ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ในการอบรมมีกิจกรรมเรียนรู้เพื่อตระหนักถึงพลังสร้างสรรค์ของเยาวชน ฝึกการคิด การแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เห็นพลังของกลุ่ม ในการอบรมเยาวชน 3 ดี

เริ่มเสาร์อาทิตย์นี้ ชุมชนป้อมมหากาฬมีงานชุมชนสร้างสรรค์ส่งท้ายปีเก่ามาเชิญชวนเพื่อนๆ ทุกคนร่วมแบ่งปัน เพื่อเตรียมตัวรับมือกับคำสั่งไล่รื้อภายในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า …. งาน มาหากัน ณ ป้อมมหากาฬ เป็นงานที่ศิลปิน นักออกแบบ นักจัดการทางศิลปะ ร่วมมืกับชาวบ้านเวิร์คชอปทำแพคเกจจิ้งสินค้าภายในชุมชน จัดทำของที่ระลึกและศิลปะทำมืออีกมากมายไว้รอต้อนรับเพื่อนๆ เสาร์อาทิตย์ 24-25 ธันวานี้ เบื้องหลังความคิดที่มาของงานจากปากคำ Roj Siam Ruay ผู้ร่วมออกแบบผลิตภัณฑ์ในงาน มาหากัน ณ ป้อมมหากาฬ กล่าวไว้น่าสนใจมาก “การสร้างอัตลักษณ์อย่างง่าย : ให้จำคำนี้ไว้ “แวดล้อมคือตัวตน” ทุกสิ่งอันจะช่วยกันเล่าและเกลี้ยกล่อมให้คนดูงาน เข้าใจและนึกไปถึงถิ่นฐานที่มาได้ ในภาพเป็นชุดตรายางจากสิ่งรายรอบของชุมชนป้อมมหากาฬ(บางส่วน) มีคน เด็ก แมว ต้นไม้ สุ่มไก่ ศาลพระภูมิ พวงมะโหตร ฯลฯ เมื่อมันทำงานพร้อมๆกัน ‘ภาพจำติด’ จะสร้างให้ผู้ที่เคยสัมผัสพื้นที่เข้าใจได้ว่านี่คือเรื่องเกี่ยวกับชาวป้อมมหากาฬ ที่มาของแบบนั้นเป็นต้นทุนเรื่องราวที่ดี เป็นเรื่องจริง ปรากฏจริง แล้วยิ่งถ้าไม้ที่ทำด้ามตรายาง เป็นไม้ที่เหลือจากการไล่รื้อด้วยล่ะ? คุณว่ามันจะเป็นที่อื่นได้ไหม?” ติดตามรายละเอียดได้ที่เพจ มาหากันนะ … ส่วนงาน ต่อ […]

“หลังเปิดอาเซียน เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเรานะ ไม่รู้จะต้องกลับไปประเทศหรือเปล่า จะอยู่ที่นี่พวกเราก็ไม่มีบ้าน เราก็อยากกลับบ้านนะ เอาความรู้ที่ได้ไปสอนน้อง ไปบอกคนที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่กลับไปเราก็ทำอะไรไม่ได้มาก…” ทุกอย่างพลันเงียบลงหลังเธอพูดจบ ก่อนเธอจะเบือนหน้าจากคู่สนทนาเพื่อปรับความรู้สึกก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวต่อไป กิกิ หรือ Pawk Kaw Ki สาวน้อยวัย 22 ปี จากเมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำตันลยิน หรือ แม่น้ำสาละวิน ห่างจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว 50 กิโลเมตร เธอเข้ามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน “ตอนเด็กๆ ก็คิดว่าอยู่ที่ประเทศไทยมันไม่มีความหมายอะไร เรียนจบแล้วก็ไปทำงาน แบบที่เพื่อนไปทำ จะกลับไปพม่าก็มีแต่เด็กกับคนแก่เท่านั้น เขาไปทำงานที่กรุงเทพกันหมด เพื่อนบางคนก็ไม่รู้ไปไหนหายไปเป็นสิบๆ ปีแล้ว” คำว่า “เรียน” ของ กิกิ หมายถึงการเรียนในศูนย์การเรียนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นศูนย์การเรียนที่สอนเด็กต่างชาติโดยมีครูจากพม่ามาสอนภาษาอังกฤษและภาษาพม่าให้กับเด็กๆ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และสร้างอาสาสมัครผู้นำเยาวชน Peer Youth ก่อนจะเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนชื่อ Rays of Youth ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำกิจกรรมและเป็นแกนนำในศูนย์การเรียนให้มีจิตสาธารณะ […]

เมื่อนึกถึงคำนี้ “รองเมือง” ใครหลายๆคนนึกถึงสถานีรถไฟหัวลำโพง  วันนี้เว็บไซต์สามดีชวนคุณออกมาเดินเล่น ชวนคุณขยับมาอีกนิดไปดูกำแพงสวยๆ ในชุมชนวัดดวงแขกัน   ถือเป็นชุมชนสามดีของเราอีกแห่งหนึ่งค่ะ ชุมชนนี้ได้ร่วมมือกันปรับภูมิทัศน์ชุมชนให้น่าอยู่โดยการเชิญศิลปินและ ชวนเด็กๆและคนในชุมชน ทาสีกำแพงและวาดภาพกำแพง สร้างสีสันให้ชุมชนน่าอยู่  คุณครูหรือคุณพ่อ คุณแม่ สามารถพาเด็กๆ ไปเดินชม  พร้อมรับฟังหลากเรื่องเล่าโดยคนในชุมชนได้     ชุมชนวัดดวงแขนั้น ได้รับการรองรองเป็นชุมชนจากสำนักงานเขตปทุมวันเมื่อปี 2547 ตั้งอยู่บริเวณถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน มีพื้นที่ 3.5 ไร่ มีจำนวนประชากรตามทะเบียนบ้าน 52หลังคาเรือน 139 ครอบครัว 410 คน และมีประชากรตามบ้านเช่าอีก 500 คน ซึ่งพื้นที่ชุมชนนั้นมี 3 ส่วน คือเช่าอาศัยพื้นที่กรมธนารักษ์ ที่ดินชาวบ้านที่มีโฉนดและพื้นที่จากคลองนางหงส์ที่ตื้นเขิน คลองนางหงส์นั้นที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 มีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมเพื่อแบ่งพระราชฐานเป็นชั้นนอกและชั้นใน โดยมีคลองนางหงส์เชื่อมต่อคลองผดุงกรุงเกษมให้น้ำไหลไปลงยังคลองแสนแสบแถบ บริเวณชุมชนกรุงเกษมชุมชนวัดบรมนิวาส และสะพานเจริญผล ต่อมารัชสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงก่อสร้างทางรถไฟสายแรกของประเทศไทยจากหัวลำโพง – ปากน้ำ (สมุทรปราการ) คลองนางหงส์จึงถูกถมเป็นรางรถไฟ และเมื่อคลองนางหงส์ถูกถมแล้วจึงทำให้ส่วนที่ต่อจากรางรถไฟ ตื้นเขินกลายเป็นแผ่นดิน ชาวบ้านจึงมาปลูกบ้านอยู่อาศัยเป็นระยะเวลากว่า 100 ปี สำหรับใครที่สนใจแวะเข้าไปชมติดต่อได้ที่ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ศูนย์ดวงแข 02 – 215 […]