
ผ่านไปแล้วกับการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ถอดบทเรียน-กำหนดยุทธศาสตร์ร่วมเครือข่าย สสย. ภายใต้ชื่อ “3 ดี ดีจัง Young แจ๋ว “ เพื่อถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานปีที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 15-17 กพ. 60 ซึ่งงานนี้จัดโดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ร่วมกับสโมสรพื้นที่นี้ดีจัง โดยมีภาคีเครือข่ายที่ทำงานร่วมกับสสย. กว่า 120 คนทั่วประเทศเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
โดยในวันแรกได้ร่วมกันปักหมุด Young แจ๋ว 3 ดี ไตรพลวัต (เยาวชน กิจกรรม ชุมชน) นวัตกรรม Young แจ๋วร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาของเครือข่าย
วันที่สอง วันนี้เติมความแจ๋ว จากการฟังบทเรียนการทำงานเยาวชน สื่อ และชุมชน จากคุณโจ้ ปลื้มจิต สยามกัมมาจล, คุณเปี๊ยก สมเกียรติ สำนักข่าวพลเมือง ไทยพีบีเอส และคุณต่อ ระพีพัฒน์ เครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนบทเรียนวงย่อยร่วมกัน หลังจากนั้นภาคีเครือข่ายได้ปักหมุดต้นทุนในพื้นที่จนกลายเกิดเรื่องแจ๋วๆให้กับเด็ก เยาวชนและคนในพื้นที่ และทำอย่างไร? ที่จะให้(เยาวชน+กิจกรรม+ชุมชน) แจ๋วกว่าเดิม! เพื่อนำข้อมูลไปขยายผลและกำหนดยุทธศาสตร์การทำงานร่วมกัน
วันที่สาม วันนี้ภาคีเครือข่ายได้เติม หัวใจ Young แจ๋ว ให้แจ๋วกว่าเดิม โดยสรุปประเด็นที่ได้รวบรวมจากการระดมความคิดของภาคีเครือข่ายทั้งในแง่ของนวัตกรรมความคิดยังแจ๋ว และทำอย่างไรให้แจ๋วกว่าเดิม ภายใต้บริบท เด็ก สื่อสาร/กิจกรรม ชุมชน รวมทั้งการถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานขับเคลื่อนสังคมจากคนรุ่นใหม่ “ดีจัง Young ทีม” ในการวางยุทธศาสตร์และกำหนดทิศทางการทำงานในการขยายเครือข่ายและวางแนวทางร่วมกันในการสร้างการมีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในเด็ก ชุมชน และสังคม
หลังการสรุปบทเรียนครั้งนี้ถือเป็นการสานสายใยการเรียนรู้ สู่สำนึกเยาวชนพลเมือง ขับเคลื่อนชุมชนสร้างสรรค์ เพื่อเปลี่ยนแปลงสุขภาวะต่อไป
กลุ่มลานยิ้ม เสนอ นิทรรศการศิลปะและภาพถ่ายเล่าเรื่อง : การเดินทางของลมหายใจ อากาศ คือ สิทธิขั้นพื้นฐานของทุกชีวิต การเดินทางของลมหายใจก็เช่นกัน ทุกคนมีสิทธิที่จะมีลมหายใจต่อไป แต่ในปัจจุบันนี้ การทำให้ลมหายใจหายไป มันง่ายเสียเหลือเกิน ตายช้า ตายเร็ว ใครเป็นคนกำหนดกันแน่? ในเมื่อเรากำลังหายใจโดยไม่ถามหาความจริงอีกต่อไป เรากำลังหายใจ ในขณะที่มอง การอุ้มหาย เป็นเรื่องไกลตัว เรากำลังหายใจ ในขณะที่ปัญญาชนกำลังปฏิเสธ ชุมชน ของตัวเอง เรากำลังหายใจ ในขณะที่ ชนชาติพันธุ์ ต้องย้ายถิ่นฐานเดิม เรากำลังหายใจ ในขณะที่ วัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นเพียงเครื่องมือทางการเมืองของรัฐ เรากำลังหายใจ ในขณะที่มอง ประชาธิปไตย เป็นภัยกับความมั่นคง เรากำลังหายใจ ในขณะที่ ป่าไม้ ถูกแทนที่ด้วยไร่ข้าวโพดและอ่างเก็บน้ำ เรากำลังหายใจ ในขณะที่บอกว่า หมอกควัน แก้ไม่ได้ เป็นเรื่องของเวรกรรม ทุกอย่างดำเนินไป . . . เมื่อเรากำลังหาย(ไป)ใจ มาร่วมกัน บันทึกการเดินทางของลมหายใจไปด้วยกัน ส่งภาพมาที่ nontawat95755@gmail.com ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บ้านนักเขียนห้องเรียนสีสันศิลปะ พัทลุง […]
ะ 3 มิ.ย. นี้เวลา 17.00 นี้เป็นต้นไป กลุ่มไม้ขีดไฟจัดกิจกรรมดีๆเพื่อเด็กและครอบครัวค่ะ “เดิ่นนี้ดีจัง ตอน มหัศจรรย์การเล่น” จูงมือกันมา ทำกิจกรรมสนุกๆที่สวนไฟฝัน พาลูกมาฟังนิทาน จากครูปรีดา ปัญญาจันทร์ เพลินฟังเดี่ยวขิม และดนตรีสบายๆแบบครอบครัว ชมละครหุ่นเงา กระตุ้นจินตนาการ พ่อโอ๊ค จากพระนครนอนเล่น มาเล่าเรื่องเล่นแล้วลูกได้อะไร และมากมายกิจกรรม ลงมือทำ ศิลปะ ประดิษฐ์ ทำขนม ลงมือทำ ลงมือทาน ทำฟรี ดูฟรี ตลอดงาน กลุ่มไม้ขีดไฟฝากบอกว่าอยากชวนทุกคนมาจริงๆนะคะ ติดตามความเคลื่อนไหวที่ https://web.facebook.com/maikeedfaigroup/?pnref=story
“หลังเปิดอาเซียน เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเรานะ ไม่รู้จะต้องกลับไปประเทศหรือเปล่า จะอยู่ที่นี่พวกเราก็ไม่มีบ้าน เราก็อยากกลับบ้านนะ เอาความรู้ที่ได้ไปสอนน้อง ไปบอกคนที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่กลับไปเราก็ทำอะไรไม่ได้มาก…” ทุกอย่างพลันเงียบลงหลังเธอพูดจบ ก่อนเธอจะเบือนหน้าจากคู่สนทนาเพื่อปรับความรู้สึกก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวต่อไป กิกิ หรือ Pawk Kaw Ki สาวน้อยวัย 22 ปี จากเมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำตันลยิน หรือ แม่น้ำสาละวิน ห่างจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว 50 กิโลเมตร เธอเข้ามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน “ตอนเด็กๆ ก็คิดว่าอยู่ที่ประเทศไทยมันไม่มีความหมายอะไร เรียนจบแล้วก็ไปทำงาน แบบที่เพื่อนไปทำ จะกลับไปพม่าก็มีแต่เด็กกับคนแก่เท่านั้น เขาไปทำงานที่กรุงเทพกันหมด เพื่อนบางคนก็ไม่รู้ไปไหนหายไปเป็นสิบๆ ปีแล้ว” คำว่า “เรียน” ของ กิกิ หมายถึงการเรียนในศูนย์การเรียนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นศูนย์การเรียนที่สอนเด็กต่างชาติโดยมีครูจากพม่ามาสอนภาษาอังกฤษและภาษาพม่าให้กับเด็กๆ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และสร้างอาสาสมัครผู้นำเยาวชน Peer Youth ก่อนจะเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนชื่อ Rays of Youth ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำกิจกรรมและเป็นแกนนำในศูนย์การเรียนให้มีจิตสาธารณะ […]
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กเชิญชวนทุกท่านที่สนใจเรื่องเล่นของเด็กๆ ไม่จำกัดเพศ อายุ “มาร่วมแลกเปลี่ยน” กับงานสัมมนานานาชาติ “สิทธิการเล่นของเด็กในภาวะวิกฤติ” International Seminar on Access to Play in Crisis วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องสมรรถนานา โรงแรมนูโวซิตี้ สามเสนซอย 2 เขตพระนคร กรุงเทพฯขอเพียงคุณเห็นว่าเรื่องเล่น ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ แต่เป็นเรื่องสำคัญสำหรับเด็กๆทุกคนบนโลก ในงานสัมมนาคุณจะได้ความรู้จาก “งานวิจัยการเล่นของเด็กในสภาวะวิกฤติ”?? โดย นักวิจัยจาก 6 ประเทศ ??️ ??️️ ??️ ?? ??️ ??️ (ญี่ปุ่น,เนปาล,อินเดีย,ไทย,เลบานอน,ตุรกรี,) และสาระความรู้เรื่องการเล่นอีกมากมาย *****มีล่ามแปลภาษา อังกฤษ-ไทย ตลอดทั้งงาน***** สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมได้ที่ : คุณสุนีย์ สารมิตร 02- 433-6292 กด 0