Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
หน้าหนาวบ้านไร่ก็น่าเที่ยว | ชุมชน 3 ดี
หน้าหนาวบ้านไร่ก็น่าเที่ยว

เริ่มเข้าหน้าหนาวบ้านไร่ก็น่าเที่ยว
๒ ปีมาแล้วที่คึกคักด้วยผู้คนสัญจรมาเที่ยวแบบผ่านทาง หรือบางทีก็ขอพักค้างอ้างแรมกางเต้นท์นอนบนดอย  ซึมซับสายหมอกหยอกเอินสายลมหนาวบนแก่นมะกรูด  แวะชมไม้ดอกเมืองหนาวที่พากันปลูกให้รื่นรมย์  เด็ดชิมสตรอเบอรี่ปลอดสารที่ไม่ไกลกรุงเทพในแปลงอินทรีย์  เป็นเหตุให้รถติดตั้งแต่หน้าอำเภอจนถึงบนดอยสูง ปรากฏการณ์ใหม่ที่ทำให้ชาวบ้านตื่นตัว

ปีนี้ถือเป็นโอกาสคนในชุมชนตำบลบ้านไร่ จึงซุมหัวกับอบต.บ้านไร่ และคนทำงานด้านเกษตรปลอดสาร อย่างกลุ่มตลาดนัดซาวไฮ่ ชักชวนพี่น้องที่มีผลผลิตเป็นของตนเอง มาเปิดตลาดขายสินค้าท้องถิ่นที่อยู่ในไร่ในสวน ออกมาวางขายของดีบ้านไร่ให้คนท่องเที่ยว

ชักชวนคนทำงานด้านวัฒนธรรมชุมชนมาออกแบบความคิด สร้างวิถีความงามให้เกิดขึ้นในตลาดร่วมมือร่วมใจแห่งนี้
ในชื่อ “ตลาดวัฒนธรรมบ้านไฮ่บ้านเฮา”  เปิดตลาดให้แวะช็อป ชม ชิมกันเต็มอิ่ม   ๓๐ ธันวาคม ปีนี้ จนถึง ๓ มกราคม ปีหน้า

เริ่มต้นเดินเที่ยวในพื้นที่ตลาดนัดซาวไฮ่หน้าบ้านครูเคน   เรื่อยมาจนถึงหน้าอบต.บ้านไร่   ข้ามฝั่งมาหน้าศูนย์โอทอปบ้านไร่ จนถึงบริเวณขนส่งบ้านไร่   เปิดตลาดสองข้างทาง วางสินค้าบ้าน ๆ ของชาวลาวครั่ง  ให้แวะเวียนเที่ยวชมก่อนหรือหลังเที่ยวดอยสูง
เปิดตลาดตั้งแต่เช้ายันค่ำ   ใครอยากพักรถสามารถจอดพักแวะเข้าห้องน้ำได้อย่างสบาย  มีที่จอดรถมากมาย ด้านในบริเวณอบต.บ้านไร่

มาแล้วจะได้อะไร?
เดินแล้วจะเห็นอะไร?
แต่ละโซนมีเรื่องราว แต่ละโซนมีคุณค่าของตนเอง

๑.โซนตลาดนัดซาวไฮ่
กลุ่มคนสวนลงมือทำเอง พากันนำผลผลิตเกษตรปลอดสาร  ที่มีอยู่ในสวนมาให้เลือกชม  แชมพูมะกรูด งาสามสี จากไร่ดินหอม
มะขามแช่อิ่ม ผลไม้สด ๆ จากไร่กอนสะเดิน-ไร่ภูผา   ปิ้งข้าวโขบ ชิมกลอยคลุก ห่อเมี่ยงคำ จากบ้านแม่เปิน   เลือกซื้อผ้ามัดย้อมหลากสีที่บ้านเขาเขียว   เปิดหม้อกินข้าวแกงบ้าน ๆ ข้าวยำสมุนไพร กับป้าลี ไร่ไม้งาม  หยิบจับเครื่องจักสานไว้ใช้สอยที่บ้าน

นอกจากนี้ยังมีไอติมหลอดสมุนไพร ส้มตำโบราณ ปามไข่ทัพคล้ายขนมชั้น กะหรี่ปั๊บ มากมายให้เลือกกินอีกด้วย

๒.โซนอาหารพื้นบ้าน ขนมท้องถิ่น
ใครที่ยังไม่เคยชิมรสชาติอาหารแบบลาวแท้ๆ อย่างคนบ้านไร่เป็นครั้งแรกที่อาหารบ้าน ๆ จะเปิดการปรุงให้ได้ชิมกัน  จนอิ่มพุง พกกลับบ้านได้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นอั่วดอกแค ดอกไม้ป่าบ้านไร่ อาหารตามฤดูกาล   เผาข้าวหลาม ตอกข้าวแตกงา ตำข้าวต้มแร่
ชิมแจ่วหลากหลาย ทั้งแจ่วมะเขือส้ม แจ่วน้ำข้าว แจ่วข้าวคั่ว  แจ่วมะเขือด้าน กินกับข้าวไร่หอม ๆ อร่อยกันไม่รู้ลืม  หรือจะชิมหลามไก่หลามหมูอาหารของชนขมุหากินได้ที่นี่ที่เดียว  ตามด้วยการทำขนมจีนเส้นสด ซดกับน้ำยาป่าจากบ้านหินตุ้ม  ตบท้ายด้วยเด็กน้อย “บ้านไร่ขยับยิ้ม” เปิดร้านปั้นตาควาย   ทอดดอกจอก หยอดลอดช่่อง น้ำสมุนไพรจากป่า  แสดงฝีมือให้คนท่องเที่ยวได้ลองลิ้มรส ขากลับแวะซื้อแหนมต้นอ้อ ภูมิปัญญาคนบ้านไร่กลับบ้านได้เลย

๓.โซนผ้าทอลือนาม เลื่องชื่อ “ลาวบ้านไร่”
ผ่าทอบ้านไร่ มีลายงดงามติดเนื้อติดตัวมาแต่เมืองลาว  งานนี้กลุ่มแม่บ้านในตำบลบ้านไร่ พากันเอาผ้าทอพื้นบ้านมาวางจำหน่ายให้เลือกซื้อ เลือกหาตามใจคนชมชอบผืนไหน เลือกผืนนั้น ตามแต่ใจที่เห็นว่างาม

๔.โซนผลิตภัณฑ์ชุมชน
ผลผลิตจากในไร่ในสวนของคนบ้านไร่ ฤดูกาลที่อร่อยก็มีให้เลือกซื้อเลือกชมอย่างจุใจ ไม่ว่าจะเป็นส้มโอขาวน้ำผึ้ง ขาวแตงกวา กล้วยหอมทอง ฝรั่ง ลำใยอินทรีย์ ข้าวไร่ ฟักทอง ฟักหอม สัปปะรด ผักพื้นบ้านหมากหัวต่อ ฟักข้าว ยอดผีโพง ฯลฯ

๕.โซนวัฒนธรรมความงามประจำชุมชน
ปีนี้ ครูนาม แห้วเพ็ชร จัดเต็ม ขนความงามในชุมชนออกมาให้เรียนรู้ทุกเย็นย่ำค่ำมืดกันทุกวี่วันรำนางด้งนางแคน บ้านสะนำ รำแหย่ไข่มดแดง บ้านศาลาคลองฟังเสียงแคนดีดพิณ จากลุงชมภู กวีบ้าน ๆ จากป้าจำปี  วงซุมข้าวแลง แสตนบายทั้งบ่ายและค่ำ
ศิลปินท่านไหนอยากมาแจมด้วย รีบอ้าแขนต้อนรับไม่เกี่ยงไม่งอนแถมที่พักให้นอนสบายในสวนศิลป์แผ่นดินบ้านไร่
.
ปีใหม่ไม่รู้จะไปที่ไหน
แวะมาเที่ยวบ้านไร่ เที่ยวแก่นมะกรูดแล้ว
ขากลับลองแวะมาเดินเที่ยวตลาดวัฒนธรรมบ้านไฮ่บ้านเฮา
ขนความอร่อยกลับบ้าน เติมหัวใจกันด้วยความงามท้องถิ่น
แล้วท่านจะรู้ว่า “ของดีบ้านไร่” มีอยู่จริง ๆ
ที่น่าสนใจ งานนี้ไม่ได้ใช้งบประมาณจากหน่วยงานใด
ชาวบ้าน องค์กรท้องถิ่น หน่วยงานพัฒนา ต่างช่วยกัน
ก่อร่างสร้างงาน ให้ก่อเกิดกับชุมชนด้วยหัวใ

บทความที่เกี่ยวข้อง

22 ส.ค. 58 เวทีประชาคม ชุมชนวัดโพธิ์เรียง ร่วมกับสำนักงานเขตบางกอกน้อย เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ศชส.ยุติความรุนแรงชุมชนวัดโพธิ์เรียง สน.บางกอกน้อย เจ้าหน้าที่ทหาร หารือเรื่องแนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงในชุมชน เช่น เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด พนัน ความรุนแรง สื่อ และแนวทางการขับเคลื่อนชุมชน 3 ดี “พื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี” ไปสู่ชุมชนลดปัจจัยเสี่ยง “เด็กมีพื้นที่เล่น ผู้ใหญ่มีพื้นที่ยิ้ม ชุมชนมีชีวิต”

สถาบันสือเด็กและเยาวชน ร่วมกับกลุ่ม We are Happy จัดสัมมนา “คู่มือครูพัฒนาพลเมืองเด็ก หนังสือช่วยเด็กสร้างโลก” เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 ณ ห้องประชุม 202 อาคารดร.สิโรจน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพฯ การจัดสัมมนาขึ้นครั้งนี้เพื่อเผยแพร่และส่งมอบหนังสือ ช่วยเด็กสร้างโลก โดยให้ข้อมูลในการ เผยแพร่ และสาธิตกระบวนการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ และเพื่อพัฒนาครูแกนนำจำนวน 25 คนในศูนย์เด็กเล็กแกนนำให้สามารถ อธิบาย และนำคู่มือไปขยายผลได้ในกลุ่มเครือข่ายต่อไป  

ดร. ครรชิต  ไชยโพธิ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกระเดาอุ่มแสง ได้เริ่มมาทำงานพัฒนาเด็ก เริ่มต้นจากการทำงานกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาเด็กนักเรียนโดยใช้วิธีการกระบวนการของมูลนิธิฯ เองซึ่งจะแตกต่างจากที่เราจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน เริ่มต้นมาตั้งแต่ครั้งแรกเริ่มทำงานเรื่องภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่ ในเรื่องของเด็กกับผู้เฒ่าชวนกันเล่าเรื่อง โดยมีวิธีการคือให้เด็กเข้าไปสืบค้นภูมิปัญญาแล้วนำมาทำเป็นสื่อ เช่นหนังสือเล่มเล็กแล้วมีการพัฒนามาเรื่อยๆมาจนถึงที่เรากำลังทำคือการเป็นพลเมือง ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย   “ การทำงานตรงนี้เด็กได้มีการทำงานจริงฝึกปฏิบัติจริงเรียนรู้ได้ด้วยตนเองเด็กเกิดทักษะ ในกระบวนการเรียนการสอนเด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีการถ่ายทำสารคดี หนังสั้น ละครหุ่นเด็กได้มีการแสดงออก เด็กจะเกิดทักษะทั้งด้านพุทธิพิสัยความรู้จิตตะ คุณธรรมจริยธรรม จากกระบวนการในการจัดกิจกรรมที่ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก” รูปแบบการจัดกระบวนการของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กพอได้เห็นแล้วก็อยากจะร่วมงานด้วย เราไม่ได้มองเรื่องงบประมาณเรามองในเรื่องของรูปแบบการพัฒนาเด็กการเข้าถึงเด็ก เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ต่างๆ กระบวนการเหล่านั้นมาได้เชื่อมโยงระหว่างเด็กโรงเรียนชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการเชื่อมโยงกันในการจัดกิจกรรม ทำให้เด็กรู้จักรากเหง้าตนเองรู้จักตนเองรู้จักภูมิปัญญาศิลปะวัฒนธรรมของชุมชนในท้องถิ่นของตนเอง เองการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ทำให้เด็กเกิดสำนึกรักบ้านเกิด ที่สำคัญคือเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมความรับผิดชอบ มันจะได้ทั้งโรงเรียนชุมชนภูมิปัญญา   ความเป็นจริงแล้วในการจัดกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียนก็เหมือนกับของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กเพียงแต่ว่า ความลึกจะต่างกัน จะได้ความลึกได้ทักษะรู้ในเชิงลึกแต่รูปแบบกระบวนการความชัดเจนต่างกันสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กสิ่งที่เห็นได้ชัด เด็กที่ผ่านกระบวนการนี้เราทำมา 4-5ปี จะเห็นในเรื่องของความรับผิดชอบ การเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน จะพวกนี้จะเห็นชัด เด็กจะมีทักษะชีวิตทักษะอาชีพ สามารถที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างดี ชุมชนกับโรงเรียนจะกลมกลืนทำงานไปด้วยกันจะใช้ภูมิปัญญาซึ่งกันและกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชนโรงเรียนเรียนรู้จากภูมิปัญญาพื้นบ้าน เด็กเรียนรู้ในโรงเรียนครูเกิดการพัฒนาวิธีการถ่ายทอดความรู้ใหม่ใหม่จากวิทยากร   กิจกรรมเด่นๆ เริ่มจากกิจกรรมเด็กกับผู้เฒ่าชวนกันเล่าเรื่อง เราได้ให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการสืบค้นภูมิปัญญาในชุมชนมาทำเป็นหนังสือเล่มเล็ก ต่อมาเราทำในเรื่องของสื่อสารสร้างสรรค์เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงเด็กจะได้ทักษะความรู้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการถ่ายทำหนังสั้นสารคดีซึ่งเราสามารถเผยแพร่ผลงานของเรา ออกสู่สาธารณะชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสารคดีที่ได้ออกทางทีวีทำให้หลายหลายที่รู้จักโรงเรียนเราผลงานของนักเรียนเรารู้จักสิ่งดีดีนำงามของโรงเรียน ต่อจากนี้ที่เราจะทำ คือเรื่องของความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย เรานำความเป็นพลเมืองนี้มาบูรณาการ จัดการเรียนการสอน ทุกสาระของโรงเรียนเรา […]

อะไรกันหนอ “นักสื่อสารชุมชน” เรียกกันง่ายๆ ก็คือ “นักข่าวชุมชน” นั่นเอง กิจกรรมนี้ต้องใช้ความร่วมมือจากนักจัดการบวนการการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง เช่น คณะนิเทศน์ศาสตร์ นักข่าวพลเมืองของไทยพีบีเอส หรือ คนมีความรู้ด้านสื่อสารมวลชน เข้าไปร่วมจัดกิจกรรมให้กับ นักสื่อสารชุมชน ขอยกตัวอย่างชุมชนบ้านโซงเลง ต.หนองม้า จ.ศรีสะเกษ ซึ่งจัดการบวนการโดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ที่ชวนกลุ่มเยาวชน ออกมาร่วมทำกิจกรรม ดึงเยาวชนออกจากร้านเกมและอบายมุกต่างๆ ให้เรียนรู้การสื่อสารทั้งการทำหนังสั้น สารคดี การทำสตอรี่บอร์ด การใช้กล้อง การตัดต่อ จนเป็นข่าวให้กับนักข่าวพลเมืองของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กระบวนการเรียนรู้ให้เกิด Somebody การได้ร่วมเรียนรู้ด้วยกันของเยาวชน ทำให้เกิดการเข้าสังคม และเรียนรู้การรับฟังผู้อื่น ได้ออกสืบเสาะหาของดี และเรื่องราวต่างๆในชุมชน การลงพื้นที่ทำให้ร่างกายได้ขยับ เป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งและช่วยสร้างสัมพันธ์อันดีต่อกันของคนชุมชน เกิดการพบปะ พูดคุย เรียนรู้ในวิถีและอาชีพที่แตกต่างๆ สื่อสารเรื่องราวดีๆ ทั้งวิถีและวัฒนธรรมให้สังคมภายนอกได้รับรู้ เช่นการสื่อสารวิถีชีวิตการหาปลาของคนในชุมชน เยาวชนต้องออกเดินทางติดต่อกับกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ ให้สาธิตการหาปลา ขึ้นรถ ลงเรือ เพื่อจะถ่ายทำเพื่อสื่อสารเรื่องราวออกไป การออกมาจากร้านเกม ถือเป็นการออกจากภาวะการเนื่องนิ่ง ได้ใช้ความคิด วางแผน ทดลองทำ เรียนรู้ถูกผิด และเยาวชนเองก็จะเกิดความภูมิใจเมื่อได้รับการยอมรับจากชุมชน และได้ทบทวนค้นหาตัวเองว่าชอบและถนัดอะไร […]