Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
ผอ.เสถียร พันธ์งาม: สานครู เชื่อมเด็กเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น | ชุมชน 3 ดี
ผอ.เสถียร พันธ์งาม: สานครู เชื่อมเด็กเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น

ผอ.เสถียร พันธ์งาม โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) ได้เข้ามาร่วมงานกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก โดยมองว่า  “เท่าที่ดูนักเรียนในโรงเรียน มีปัญหาในเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ รู้สึกเหมือนการศึกษาที่ผ่านมาไม่มีทิศทางอะไรมากมาย ก็ทำไปจัดไปตามหน้าที่ จัดไปเรื่อยๆ จัดเป็นปีๆ จบเป็นปีๆ ไป แต่เป้าที่แท้จริงดูเหมือนมันไม่ชัด เลยคิดว่าถ้าเราจะจัดการศึกษาให้เกิดประโยชน์กับลูกหลานอย่างยั่งยืน น่าจะเอาเรื่องเป้าหมายของชาติที่เขาเขียนไว้ 8 ประการ ในหลักสูตรของผู้รักษาอันพึงประสงค์ 8 ประการที่ว่า เราต้องเอามาขมวดเข้าว่าแท้จริงแล้ว 8 ประการที่ว่า มันคืออะไรกันแน่ ก็เลยมาตกผลึกที่ว่ามันน่าจะเริ่มต้นที่ให้เด็กรู้จักหน้าที่ตนเองก่อน เลยตั้งเป้าว่าต้องสร้างเด็กให้มีความรับผิดชอบรู้หน้าที่ว่าตั้งแต่มาถึงโรงเรียนตั้งแต่เช้าจนเลิกเรียน เขาควรจะมีขั้นมีตอนก่อนว่ามาถึงโรงเรียนเขาทำอะไรบ้าง”

โดยความรับผิดชอบจะต้องเป็นไปตามเด็กแต่ละช่วงแต่ละกลุ่มแต่ละคน เพราะเด็กโดยรวมแล้วจะไม่ค่อยรับผิดชอบต่อหน้าที่เท่าไรไม่ว่าจะอยู่บ้านหรือโรงเรียนจะเป็นแค่ผู้คอยรับบริการต่างๆ ถ้าช่วยทำงานในส่วนรวมจะไม่ค่อยใสใจเท่าไร เลยคิดว่าถึงเวลาแล้วละถ้าจะรอภาพใหญ่ของประเทศมันคงจะไม่ได้แล้วต้องมาคิดแคบๆ ที่บริเวณโรงเรียนที่เราสามารถรับผิดชอบได้ สามารถกำหนดนโยบายกำหนดทิศทางได้ด้วยตัวเอง เลยคิดว่าน่าจะเริ่มต้นที่เราก่อนที่โรงเรียนของเราก่อน

เริ่มต้นคิด…

  ทำกิจกรรมปรับกระบวนการในแต่ละวัน เพื่อที่จะลองดูว่าครูและนักเรียนจะมีปฏิกิริยายังไรบ้าง ซึ่งก็พบปัญหาอยู่ ครูส่วนใหญ่ ก็รู้สึกว่า มันยุ่งยาก

“แรงต่อต้านมีค่อนข้างมากแต่เมื่อเรายืนยันและอธิบายสิ่งที่เราทำเพราะอะไร เพราะปัญหาที่เราเห็นพ้องด้วยกันว่าเด็กไม่มีระเบียบวินัย ไม่ค่อยมีความรับผิดชอบทำอะไรก็พอแล้วแล้วไป”

จากความมุ่งมั่นที่จะทำ ผอ.เสถียรได้สร้างกลุ่มคุณครูที่เข้าใจแกนนำก็ดำเนินโดยทีมครูที่เข้าใจ ส่วนตัวนักเรียน คิดว่าความเคยชินที่อยู่ในระบบที่ค่อนข้างไม่ค่อยได้รับผิดชอบก็จะเปลี่ยนตัวเขายาก น่าจะเปลี่ยนได้อย่างเดียวคือครูประจำฉันต้องกำกับให้แคบเข้ามาที่ห้องเรียน ส่วนชุมชนผู้ปกครองไม่ค่อยมีปัญหาจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสารของครูไปถึงผู้ปกครอง ครูที่ยังไม่ค่อยเห็นด้วยเขารู้สึกว่าเขามีภาระมากขึ้น แต่ผอ.ก็ยืนยันในสิ่งที่ทำ และการเรียนการสอนก็คิดว่ามันไม่ได้ผลกระทบอะไร มันก็เชื่อมโยงต่อกัน พอผ่านไปสักระยะหนึ่งเขาก็เริ่มเข้าใจ คิดว่ามันน่าจะเป็นแนวทางใหม่สำหรับในการจัดการศึกษา

“หากเราเคยทำยังไงก็ยังทำแบบนั้นไปทั่วมันก็จะแก้ปัญหาของชาติไม่ได้”

หลังจากทำไปแล้วผู้ปกครองก็เห็นว่าเราทำจริง ก็เริ่มหันมาให้ความร่วมมือให้กำลังใจทั้งคุณครูและทีมแกนนำ ตอนแรกก็ โดนผลกระทบอยู่พอสมควรวิธีแก้ปัญหาก็คือพูดคุย ทั้งพูดคุยเป็นการส่วนตัว และพูดคุยในระบบ ใครไม่เห็นด้วยตรงไหนเพราะอะไรเราก็ถามถามทีละขั้นทีละตอนทีละกิจกรรม ที่ไม่เห็นด้วยเพราะเพราะอะไร ขอให้เอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นตัวตั้งอย่าเอาความสุขส่วนตัวเป็นตัวตั้งถ้าอธิบายได้ว่ามันไม่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมผมยินดีที่จะแก้ไขแต่ถ้ายังชี้ไม่ได้ว่าส่วนรวมเสียอะไรก็ยังยืนยันที่จะทำต่อ

กิจกรรมที่เด่นมากคือ กิจกรรมฟายเดย์อีสฟายเดย์ เกิดจากแนวคิดที่ว่าวันศุกร์คือวันบินใช้แนวคิดจากการที่ได้ไปดูงานที่ปีนังที่จอร์จทาวน์เขาหยุดปิดเมืองทำกิจกรรมกันในวันอาทิตย์ปิดถนนหลักของเมืองและให้ประชาชน ออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน แล้วแต่ครอบครัวแล้วแต่ความถนัดหลากหลาย ก็เลยได้แนวคิดนั้นมาแล้วมาปรับใช้ในโรงเรียน โดยให้สักวันนึงเป็นวันที่อิสระเสรีทั้งครูและนักเรียน บนหลักการที่มีเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแต่งกายเรื่องการออกแบบกิจกรรมให้เป็นอิสระของครูกับนักเรียนได้คิด ร่วมกันคิดว่า ศุกร์นี้จะทำอะไรไปที่ไหนถ้าอยู่ในห้องเรียนก็ต้องเป็นการเรียนที่เรียนได้ปฏิบัติได้ฝึกถ้าเป็นเรื่องของการสร้างทักษะการอ่านก็ให้เด็กได้ฝึกการอ่านจริงๆ ถ้าเรื่องของการคิดก็ให้คิด ถึงจะอยู่ในห้องก็ตามแต่กระบวนการต้องเป็นการฝึก  แต่ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้ออกนอกห้องเรียน ออกนอกโรงเรียนเลยก็ได้ไปเรียนพอกลับมา ก็จะกลับมาสรุปบทเรียนการกลับมาใครได้ข้อมูลอะไรก็มาล้อมวงกันเป็นกลุ่มว่าไปวันนี้ได้อะไรให้ทุกคนได้มีสิทธิ์พูดถ้าไม่พูดก็เขียน จากนั้นก็จะออกมาเป็นบทสรุปว่าไปวันนี้ได้อะไร หลังจากทำกิจกรรม ฟายเดย์นี้ ประเมินโดยทางกายภาพที่สัมผัสได้ ความพึงพอใจของครูและนักเรียนชัดมากเด็กมีความสุขมากเมื่อถึงวันศุกร์ เขาจะยิ้มแย้มแจ่มใสตื่นเต้นว่าจะได้ไปที่ไหนอย่างไรและที่สำคัญเขาได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าจะไปไหน ทำมาเต็มที่ 1 เทอมที่ผ่านมาประเมินดูแล้วมั่นใจว่าโครงการนี้กิจกรรมนี้จะต้องสานต่อไปตลอดและมันมาตอบโจทย์ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของรัฐบาลด้วย ซึ่งเราจะทำลึกกว่าของเขาด้วยซ้ำ

สิ่งที่เห็นพัฒนาของเด็กคือ 1 เด็กกล้าออกแบบ เด็กกล้าบอกว่าอยากจะเรียนอะไร ซึ่งอาจจะต่างกันในแต่ละครั้งแต่สุดท้ายเขาก็จะหาบทสรุปได้ว่าจะไปไหนก่อนหลัง ประการที่ 2 เวลาที่มาสรุปบทเรียนเมื่อคุณครูตั้งโจทย์ว่า เธอไปเธอจะต้องเก็บข้อมูลทุกเรื่องที่เธอเห็นมันเป็นการฝึกให้เด็กเกิดการสังเกตทักษะทางวิทยาศาสตร์เกิดเลยไปให้เก็บบันทึกจำตามความเข้าใจไม่ว่าเห็นอะไรทุกมิติ ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อมเรื่องบุคคล เรื่องต่างๆที่เห็นให้เก็บมาเมื่อเด็กเก็บข้อมูลทุกอย่างเด็กก็จะมีอะไรมาพูดมาแล้วทุกคนมันทำให้เด็กอยากจะแย่งกันพูดเวลาสรุปเรียนคิดว่าเป็นกระบวนการที่มองเห็นภาพอย่างชัดเจนว่าเด็กกล้าพูดเพราะพูดในสิ่งที่เขาเพิ่งผ่านมาไม่ต้องคิดอะไรมากเราในสิ่งที่เขาไปพบไปเห็นมา เด็กก็จะเกิดกระบวนการสังเกตและจดบันทึกและสอดคล้องกับปรัชญาโรงเรียน เด็กได้สิ่งเหล่านี้มาเล่าสู่กันฟังมาแชร์กันไปที่เดียวกันหัวหมออาจจะต่างกันเป็นกระบวนการที่ประเมินแล้วไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ว่าเด็กทำได้ อย่างน้องอนุบาล ให้ถอดบทเรียน เรื่องบอกซิว่าสิ่งที่ทำให้เกิดเสียงให้วาดภาพออกมาปรากฏว่ามีเด็กตอบว่าต้นไม้ทำให้เกิดเสียงซึ่งคุณครูก็ถามว่ามันเกิดเสียงได้อย่างไร ตัว ครูก็ตั้งคำตอบไว้แต่คำตอบที่เด็กตอบมันตรงกันข้าม เด็กเขาบอกว่าเอาอะไรไปเคาะมันก็เกิดเสียงเด็กเขียนสิ่งที่อยู่รอบตัวว่ามันใช่หมดเลย รถต้นไม้ถังขยะเขาวาดรูปออกมาหมดเพราะเสียงมันเกิดจากการกระทบกันของวัตถุ นั่นคือเด็กเขาไปถึงขนาดนั้นอย่างนี้เป็นต้น

ล่าสุดเราถอดบทเรียนบูรณาการการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้กีฬาภายในนั้นเป็นฐาน หลังจากแข่งกีฬาเสร็จเรียบร้อยก็มาถอดบทเรียนกัน ก็มีการออกแบบ มายแม๊พปิ้ง วงกลมซ้อนกัน หลายวง มีชิ้นงานมากมายเกิดขึ้น ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทำทั้งระบบมันได้ผลเกินคาดเพราะเด็กเราสามารถเขียนเชื่อมอยู่ได้ กีฬามันเชื่อมไปสู่การเรียนรู้ 4 ด้านอย่างไร ด้านความรู้ที่เขากำลังใช้กับ อย่าง 4H ด้านความรู้คือ Head เด็กเขาจะบอก ได้ว่าได้ความรู้เกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาอะไรบ้างเขาก็บอกมาอันที่ 2 ก็คือเรื่องของค่านิยมคุณธรรมน้ำใจนักกีฬาเอชตัวที่ 2 Heart คือเรื่องหัวใจส่วนอันที่ 3 คือการปฏิบัติคือ Hand เขาได้ทำอะไรบ้างเขาก็จะบอกว่าได้เป็นนักกีฬาที่เป็นกองเชียร์ นวดให้เพื่อน ฝ่ายหาน้ำ ก็แตกออกมา และอันสุดท้ายก็คือสุขภาพ เอชตัวที่ 4 คือ Health เจาได้อะไร จากวงหรอ 4 เอช ก็จะไปสู่วงล้อคุณลักษณะ 8 ประการ ก็จะให้เขาบอกว่า 8 ประการได้กี่ข้อก็เขียนออกมา สุดท้ายตบด้วยวงล้อ ความเป็นพลเมืองให้เขาบอกให้ได้ว่าอะไรคือความรับผิดชอบจากกระบวนการแข่งกีฬา ให้เขาอธิบายว่าความรับผิดชอบคือยังไงการมีส่วนร่วมคือยังไงเขามีส่วนร่วมอะไรและสุดท้ายความเป็นธรรมในการแข่งกีฬาเขามองอย่างไรตอนที่เขาแข่งขันได้รับความเป็นธรรมจากกรรมการไหมหรือว่าการได้รับรางวัลต่างๆเขาพอใจไหม เรื่องของความเป็นไปด้วยความเสมอภาคเป็นตรงไปตรงมาไหมอันนี้คือสิ่งที่เราถอดกันมันเป็นอะไรที่มีความสุขมากในความรู้สึกของผอ.และคุณครูสำราญซึ่งเป็นแกนนำในเรื่องของการสร้างความเป็นพลเมือง มันมองเห็นอนาคต ถ้าเราทำแบบนี้อย่างต่อเนื่องดิตเมืองคงจะเป็นเด็กที่รอบด้านมีมิติทางความคิดมีมิติที่เชื่อมโยงเด็กกล้าแสดงออกกล้าพูด นี่คือสิ่งที่เด็กเกิดขึ้น ผอ.ได้กล่าวถึงท้ายอย่างน่าสนใจว่า

“ถ้าเราต้องการจะสร้างเด็กมีคุณภาพ คุณภาพไม่ใช่แค่ในเรื่องของการ สอบได้คะแนนเยอะ แต่ว่าคุณภาพน่าจะเป็นคนที่สมบูรณ์ คิดเป็นวิเคราะห์เป็นรับผิดชอบต่อส่วนรวม แก้ปัญหาด้วยเหตุด้วยผล กล้าที่จะนำเสนอความคิดเห็นของตนเองต่อบุคคลอื่นและปกป้องความไม่เป็นธรรม ถ้าเห็นอะไรที่ไม่ถูกต้องที่จะมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ ของเขาเขากล้าที่จะออกไปอธิบายชี้แจง แต่จะไม่ส่งเสริมในลักษณะของความก้าวร้าว ใช้ความรุนแรงแต่จะให้ใช้ ที่สำคัญที่อยากเห็นที่สุดคืออยากเห็นเด็กโรงเรียนเมืองคงทุกคนจบออกไป ไม่ว่าจะไปเรียนที่ไหนจะต้องเป็นเด็กที่อยู่ในกลุ่มเด็กแนวหน้า คำว่าแนวหน้าไม่ได้ใช่ว่าเรียนวิชาการเก่ง แต่จะต้องเป็นเด็กที่มีความเป็นผู้นำเป็นคนที่กล้าพูดกล้าแสดงออก มีทักษะในการทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย”

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดร. ครรชิต  ไชยโพธิ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกระเดาอุ่มแสง ได้เริ่มมาทำงานพัฒนาเด็ก เริ่มต้นจากการทำงานกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาเด็กนักเรียนโดยใช้วิธีการกระบวนการของมูลนิธิฯ เองซึ่งจะแตกต่างจากที่เราจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน เริ่มต้นมาตั้งแต่ครั้งแรกเริ่มทำงานเรื่องภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่ ในเรื่องของเด็กกับผู้เฒ่าชวนกันเล่าเรื่อง โดยมีวิธีการคือให้เด็กเข้าไปสืบค้นภูมิปัญญาแล้วนำมาทำเป็นสื่อ เช่นหนังสือเล่มเล็กแล้วมีการพัฒนามาเรื่อยๆมาจนถึงที่เรากำลังทำคือการเป็นพลเมือง ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย   “ การทำงานตรงนี้เด็กได้มีการทำงานจริงฝึกปฏิบัติจริงเรียนรู้ได้ด้วยตนเองเด็กเกิดทักษะ ในกระบวนการเรียนการสอนเด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีการถ่ายทำสารคดี หนังสั้น ละครหุ่นเด็กได้มีการแสดงออก เด็กจะเกิดทักษะทั้งด้านพุทธิพิสัยความรู้จิตตะ คุณธรรมจริยธรรม จากกระบวนการในการจัดกิจกรรมที่ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก” รูปแบบการจัดกระบวนการของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กพอได้เห็นแล้วก็อยากจะร่วมงานด้วย เราไม่ได้มองเรื่องงบประมาณเรามองในเรื่องของรูปแบบการพัฒนาเด็กการเข้าถึงเด็ก เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ต่างๆ กระบวนการเหล่านั้นมาได้เชื่อมโยงระหว่างเด็กโรงเรียนชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการเชื่อมโยงกันในการจัดกิจกรรม ทำให้เด็กรู้จักรากเหง้าตนเองรู้จักตนเองรู้จักภูมิปัญญาศิลปะวัฒนธรรมของชุมชนในท้องถิ่นของตนเอง เองการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ทำให้เด็กเกิดสำนึกรักบ้านเกิด ที่สำคัญคือเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมความรับผิดชอบ มันจะได้ทั้งโรงเรียนชุมชนภูมิปัญญา   ความเป็นจริงแล้วในการจัดกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียนก็เหมือนกับของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กเพียงแต่ว่า ความลึกจะต่างกัน จะได้ความลึกได้ทักษะรู้ในเชิงลึกแต่รูปแบบกระบวนการความชัดเจนต่างกันสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กสิ่งที่เห็นได้ชัด เด็กที่ผ่านกระบวนการนี้เราทำมา 4-5ปี จะเห็นในเรื่องของความรับผิดชอบ การเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน จะพวกนี้จะเห็นชัด เด็กจะมีทักษะชีวิตทักษะอาชีพ สามารถที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างดี ชุมชนกับโรงเรียนจะกลมกลืนทำงานไปด้วยกันจะใช้ภูมิปัญญาซึ่งกันและกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชนโรงเรียนเรียนรู้จากภูมิปัญญาพื้นบ้าน เด็กเรียนรู้ในโรงเรียนครูเกิดการพัฒนาวิธีการถ่ายทอดความรู้ใหม่ใหม่จากวิทยากร   กิจกรรมเด่นๆ เริ่มจากกิจกรรมเด็กกับผู้เฒ่าชวนกันเล่าเรื่อง เราได้ให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการสืบค้นภูมิปัญญาในชุมชนมาทำเป็นหนังสือเล่มเล็ก ต่อมาเราทำในเรื่องของสื่อสารสร้างสรรค์เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงเด็กจะได้ทักษะความรู้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการถ่ายทำหนังสั้นสารคดีซึ่งเราสามารถเผยแพร่ผลงานของเรา ออกสู่สาธารณะชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสารคดีที่ได้ออกทางทีวีทำให้หลายหลายที่รู้จักโรงเรียนเราผลงานของนักเรียนเรารู้จักสิ่งดีดีนำงามของโรงเรียน ต่อจากนี้ที่เราจะทำ คือเรื่องของความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย เรานำความเป็นพลเมืองนี้มาบูรณาการ จัดการเรียนการสอน ทุกสาระของโรงเรียนเรา […]

หากชวนใครสักคนล่องใต้ สู่ดินแดนปลายด้ามขวาน ยะลา นราฯ ปัตตานี เขาคนนั้นคงคิดทบทวนอยู่หลายตลบ เพราะข่าวคราวความรุนแรงที่มีให้เห็นในสื่อหลักแขนงต่างๆ น่ากลัวน้อยซะที่ไหน… แต่หากตั้งจิตมั่นสักนิด แล้วค่อยๆ มองลึกฝ่ากลุ่มควันของระเบิดเข้าไป เขาคนนั้นจะเห็นถึงความสวยงามของวัฒนธรรม และธรรมชาติ และหากฟังลึกทะลุกัมปนาทปืนเข้าไป เราจะได้ยินเสียงหัวเราะ… ผมในฐานะบุคคลหนึ่งที่มีถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดนราธิวาส แม้จะมาตั้งหลักหาเลี้ยงชีพยังเมืองหลวง แต่ก็เดินทางไปร่วมกิจกรรมในพื้นที่บ่อยครั้ง เมื่อถูกถามว่า “ไม่กลัวหรือ?” ผมมักตอบกลับ เป็นเชิงชักชวนให้ลงไปเที่ยวด้วยกัน เหมือนดั่ง ซัม – นูรฮีซาม บินมามุ ประธานกลุ่ม ‘ยังยิ้ม – Youth Smile’ อ.แว้ง จ.นราธิวาส ทำเสมอ เมื่อเดินทางไปร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วไทย *นูรฮีซาม บินมามุ ไม้งาม น้ำตก นกเงือก สำหรับเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซัม ไม่ปฏิเสธ เพราะมีอยู่จริง แต่เมื่อถูกข่าวตีแผ่ออกไป สังคมภายนอกจึงมองเหมารวมว่า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันตราย น่ากลัว ทั้งๆ […]

วันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา เครือข่ายบางกอกนี้ดีจัง เครือข่ายผู้นำชุมชน 17 ชุมชนย่านบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ และกลุ่มสื่อศิลปะวัฒนธรรม กลุ่มกิจกรรม ร่วมกันถอดสรุปบทเรียนกิจกรรม ปี 58 เพื่อนำมาต่อยอดพัฒนาต่อสู่ปี 59 เพื่อนำขบวนไปในทางทิศเดียวกัน พร้อมกับพัฒนากระบวนการกลุ่มของตนเอง นำไปสู่การเปิดเส้นทาง “ห้องเรียนชุมชน” เมือง 3 ดี บางกอกนี้…ดีจัง 3ดีวีถีสุข  คงต้องติดตามกันต่อไปค่ะว่า “ห้องเรียนชุมชน” จะเป็นอย่างไร

เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ย่านบางกอกน้อย–ย่านบางกอกใหญ่ 18 ชุมชน ร่วมกับมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ได้จัดค่ายเยาวชน ตะลอน เดิน – ปั่น ตามหายิ้ม ในวันที่ 20–21 มิถุนายน 2558หลังจากที่ได้จัดกิจกรรมตะลุ่ยเรื่องเล่าชาวบางกอกไปในปีที่แล้ว ซึ่งปีนี้มีพลเมืองเด็กแกนนำอาสาทั้งในโรงเรียนและชุมชนทั้ง 2 เขต จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม40 คน ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ได้แบ่งกระบวนการออกเป็น 2 วัน วันที่ 20 มิถุนายน 2558 ได้ทำกระบวนการค่ายเยาวชนเพื่อสร้างกระบวนการ การมีส่วนร่วม จิตอาสา การทำงานเป็นทีม ให้กับกลุ่มเยาวชน โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรม “ฉันคือใคร” โดยการในน้องๆ ออกแบบโปสการ์ดของตัวเองเพื่อแสดงอัตลักษณ์ตัวตน กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และสร้างทีม เพื่อทำให้เยาวชนได้รู้จักกันมากขึ้นและมีการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีมเปิดหู เปิดตา เปิดโลกทัศน์ โดยเรียนรู้4 สถานีผ่านการปฏิบัติ ได้แก่ “เธอฉันจับมือไปด้วยกัน” เรียนรู้ ภาวะผู้นำ ความร่วมมือกันในการทำกิจกรรม “แบ่งปัน สายสัมพันธ์ยืนยาว” เรียนรู้ การใช้ชีวิตรวมหมู่ การทำงานเป็นทีม […]