Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
ประชุมครูแกนนำ โรงเรียน 3ดี เน้นเนื้อหาเท่าทันสื่อ และพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ | ชุมชน 3 ดี
ประชุมครูแกนนำ โรงเรียน 3ดี เน้นเนื้อหาเท่าทันสื่อ และพัฒนาสื่อสร้างสรรค์

เมื่อวันพุธที่ 29 มิถุนายน 2559 โดยทีมโค้ชชิ่งโครงการไอซีทีแฮปปี้ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ได้จัดการประชุมครูแกนนำ โรงเรียน 3ดี : สื่อดี พื้นที่ ภูมิดี
590704_news2
เพื่อร่วมจัดทำและวางแผนการทำโครงการปี 2559 ภายใต้การสนับสนุนจากสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ซึ่งในปีนี้โครงการแต่ละโรงเรียนมุ่งเน้นเชิงลึกและชัดเจนมากขึ้นมีการเพิ่มเติมเนื้อหาการรู้เท่าทันสื่อในการบูรณาการรายวิชาและการ สร้างสื่อสร้างสรรค์ภายใต้กระบวนการสอนแบบ PBL การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูผู้สอนและนักเรียน

บรรยากาศในการประชุมเป็นกันเอง สบายๆ คุณครูได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันด้วยค่ะ และทางโครงการฯ ยังได้มอบสื่อความรู้ใหม่ๆ Roll up ชุดใหม่ ของที่ระลึก ฯลฯ เพื่อให้ครูแกนนำ นำไปใช้ในกิจกรรมภายใต้โครงการฯ

 

ข้อมูลและภาพจาก Icthappy

บทความที่เกี่ยวข้อง

เยาวชนภาคีเครือข่ายภาคใต้ กว่า 20 เครือข่าย ร่วมกันเปิดพื้นที่ สร้างสรรค์ความงามในท้องถิ่นของตนเพื่อจุดประกายความหวัง ความสุขของคนใต้ โดยเยาวชนคนรุ่นใหม่ แลกเปลี่ยน ค้นหา อะไรคือ “ความเป็นเรา หัวใจภาคใต้” ผ่านการลงพื้นที่จริง ทำจริง …ปฏิบัติการปลุก ใจ เมืองจึงเริ่มขึ้น 23-25 มิ.ย. 60 ค้นหารากเหง้า ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี ผ่านห้องเรียนภูมิปัญญา ที่ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี 2 ก.ค. 60 ปลุกจิตสำนึกร่วมรักษาทะเลธรรมชาติ ด้วยหลักสิทธิมนุษยชน ผ่านห้องเรียน แลเล แล หาดสมิลา จ.สงขลา 8 ก.ค. 60 ทะเลคือชีวิตของเรา…สัมผัสวิถีชีวิตความผูกพันของคนใต้กับท้องทะเล ผ่านห้องเรียน อ.จะนะ จ.สงขลา 14-16 ก.ค. 60 เข้าใจอัตลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผ่านห้องเรียนอัตลักษณ์และพหุวัฒนธรรม สามจังหวัดชายแดนใต้ เพราะเราเชื่อว่า “พลังของเยาวชน สามารถจุดประกาย ความสุข […]

น้องแซค เริ่มต้นเข้ากิจกรรมกับเครือข่ายสร้างสรรค์โดยการให้สัมภาษณ์เรื่องเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง “ผมเป็นรุ่นแรกที่ได้ไปเมืองทองในการนำผลิตภัณฑ์นักเรียนไปจำหน่าย หลังจากนั้นก็ได้ทำงานภายนอกโดยได้ร่วมงานกับ มพด. โดยมีพี่หนิง (ดวงใจ ที่ยงดีฤทธิ์) เป็นคนให้คำปรึกษาและสนับสนุนกลุ่มของผม  ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมสัญจร กิจกรรมออกบูทศิลปะต่างๆ” การทำงานในกลุ่มเด็ก มองเห็นว่าการทำงานของเครือข่ายพื้นที่สร้างสรรค์ ทำให้เด็กๆมีพื้นที่ในการทำกิจกรรม มีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นที่สร้างสรรค์  ให้โอกาสให้ทุกๆคนในสังคมได้มีส่วนร่วม และแสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ “ผมคิดว่าทำอะไรก็ได้ที่สร้างสรรค์และมีการแบ่งปันโอกาสแห่งความสุขให้กับทุกคน” กิจกรรมศรีสะเกษติดยิ้มที่กำลังทำนั้นเด็กๆกลุ่มเยาวชนพลเมืองสร้างสุข ได้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นและเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์ไว้และกิจกรรมที่กำลังดำเนินการตอนนี้คือ กิจกรรมตลาดบ้านฉันปันยิ้มที่จะรวมเด็กๆและผู้คนในชุมชนตลาดสดราษีไศลมาทำกิจกรรมร่วมกันโดยการบูรณากลางตลาดสดให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์โดยการนำศิลปะเข้าไปสู่ตลาดนำไปสู่การนำเสนองานศรีสะเกษติดยิ้มปี 2 การทำกิจกรรมครั้งนี้  ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินงาน และสนับสนุนบุตรหลานเข้ามาทำกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์และยังเกิดความภาคภูมิใจในตัวของบุตรหลาน “ตอนนี้น้องๆที่เขามาในกลุ่มเราคุยกันว่าพ่อแม่พี่น้องใครในกลุ่มบ้านใครมีอะไรดีๆที่อยากมีพื้นที่ในการมาขายมาโชว์สินค้าบ้าง อยากให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการออกมาทำกิจกรรมกับลูกๆ มาเห็นว่าลูกทำอะไร เริ่มเอาครอบครัวที่สนใจ และชุมชนยังเป็นกำลังหลักในเรื่องการนำเสนอภูมิปัญญา” การทำกิจกรรมนี้ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆของคนในสังคม รวมทั้งได้แนวคิดในการต่อยอด “ผมคิดว่าเมื่อตัวเองได้เป็นนักปกครองอย่างที่หมาย ตามที่ผมได้เรียนมา ผมจะสนับสนุนเขตปกครองของตนเองให้เป็นตัวอย่างพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กอย่างแน่นอน” โดยก่อนที่เข้ามาทำกิจกรรมก็ยังไม่มีคนรู้จักกลุ่มเยาวชน หลังจากที่มาทำกิจกรรมคนในสังคมเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นมามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมโดยให้บุตรหลานมาร่วมทำกิจกรรมที่จัดขึ้น เมื่อถามว่าคิดว่าทำไมเราและคนอื่นต้องทำกิจกรรม น้องแซคได้เล่าว่า “ผมคิดว่าเรามีแรงบันดาลใจผลักดัน ยกตัวอย่างผมเองได้แรงบันดาลใจจากครู (นายอุดมวิทย์ สุระโคตร ) ผอ. โรงเรียน บ้านกระเดาอุ่มแสง และที่สำคัญ พี่หนิง (ดวงใจ เที่ยงดีฤทธิ์) ที่สนับสนุนและไม่ทิ้งเด็กๆ วันที่ไปสัมมนาที่กรุงเทพ พี่หนิงร้องให้และพูดว่าท้อ ผมเลยได้แรงบันดาลใจที่จะช่วยกันทำงานที่จะรวมพลังเด็กๆในการทำงานทำกิจกรรมต่างๆเพื่อสังคมบ้านเรา” […]

จังหวัดเพชรบุรี โดยเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี จัดมหกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิต เพชรบุรี ดีจัง มาส่งต่อกัน โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี เทศบาลเมืองเพชรบุรี สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมสมทบสนับสนุนงบประมาณ หน่วยงานราชการ องค์กร บริษัท เอกชน ชุมชนพร้อมใจร่วมจัดกิจกรรม ด้านเอกชนเจ้าของที่ดิน 2 แปลงให้ใช้พื้นที่ส่วนบุคคลเป็นลานกิจกรรม สืบเนื่องจากกลุ่มเด็กและเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ได้ริเริ่มจัดงานมหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ เพชรบุรี ดีจัง นำเสนอสื่อ ศิลปะ และวัฒนธรรมของชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดเพชรบุรีที่เกิดจากการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน จากโครงการพื้นที่สร้างสรรค์ เพชรบุรี ดีจัง ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนทั้งในท้องถิ่นและต่างจังหวัด ตลอดจนยังเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนทั่วไปอีกด้วย โดยที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. แต่ปีนี้ทาง สสส. ลดงบประมาณลง ด้วยเหตุนี้ นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี จึงได้มอบนโยบายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดมหกรรมครั้งนี้ และขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรีอีกจำนวนหนึ่งด้วย ด้านกิจกรรมในปีนี้ นางสาวสุนิสา ประทุมเทือง […]

ภาคีเครือข่ายภาคใต้ ของ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ได้ร่วมกันประชุมกลุ่มย่อย โดยมีกลุ่มสงขลาฟอรั่ม กลุ่มศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน จะนะ และกลุ่มยังยิ้ม ณ อำเภอเทพา จ.สงขลา เพื่อวางโมเดลการทำงานและสร้างการสื่อสารในพื้นที่ ในประเด็นการพัฒนาบนฐานทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชน  ระหว่างวันที่ 27 และ 28 ก.พ. โดยเน้นกิจกรรมที่ควรจะสามารถ Spark คนในพื้นที่ด้วยโมเดล “การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง” รวมถึงการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการสร้างความเป็นพลเมืองให้กับเด็ก และเยาวชน รวมทั้งคนในพื้นที่ภาคใต้   โดยวันที่ 28 ก.พ. 60 ภาคีเครือข่ายภาคใต้กลุ่มฐานภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และนวัตกรรม ประกอบด้วยกลุ่ม กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ กลุ่มพัทลุงยิ้ม แล กลุ่มละครมาหยา ได้แลกเปลี่ยนและนำเสนอโมเดลกระบวนการเรียนรู้ผ่านภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และนวัตกรรม ทั้งในส่วนของประวัติศาสตร์ สื่อพื้นบ้าน ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้และSpark แรงบันดาลใจให้กับของเยาวชนในพื้นที่