
เพราะเด็กคือ “ความหวัง” ของแผ่นดิน ถ้าหากจะกล่าวว่า อนาคตของประเทศจะเป็นอย่างไรต่อไป ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตของเด็กไทยในปัจจุบันก็คงไม่ผิดนัก ด้านการเรียนรู้ของเด็กต้องเริ่มตั้งแต่วัยทารก ซึ่งช่วงเวลาหกปีแรกนี้เองนับเป็นช่วงที่สำคัญยิ่ง เพราะถือเป็นรากฐานของการพัฒนา และนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีตลอดไป
สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) ร่วมกับสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ(สำนัก 5) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้สนับสนุน โครงการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับการพัฒนาการเด็กเล็ก โดยร่วมจัดทำชุดโครงการ “มหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” ให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศขึ้นในปี 57 จำนวน 138 ปี 58 จำนวน 200 ศูนย์ ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างเห็นความสำคัญ และยังส่งเสริมให้การเลี้ยงดูเด็กในช่วงปฐมวัยให้มีคุณภาพมากที่สุด เห็นได้จากโครงการต่างๆ ที่มุ่งส่งเสริมให้พ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูเด็ก มีความรู้ความสามารถ โดยมีหลักการในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการดี เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพเหมาะสมตามช่วงวัย ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
รุจจิราภรณ์ พรมมิ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งน้อย องค์การบริหารส่วนตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เล่าว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ภายใต้สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถือเป็นหนึ่งส่วนเล็กๆ ที่มีความสำคัญในการทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่ เพราะช่วยพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของเด็กเล็กได้ ทั้งยังเป็นที่เตรียมความพร้อมเด็กก่อนวัยเรียน ให้มีทักษะทุกด้านพร้อมที่จะเข้าเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับต่อไป เด็กๆในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกว่าร้อยละ 90 มาจากครอบครัวรากหญ้าที่เป็นกลุ่มประชากรจำนวนมากที่สุดในประเทศ ซึ่งนั่นก็หมายความว่า เด็กกลุ่มนี้ถือเป็นเด็กกลุ่มใหญ่ที่เราเรียกได้ว่าเป็น “ความหวังของแผ่นดิน”
รุจจิราภรณ์ บอกอีกว่า ครูผู้ดูแลเด็ก คือกลุ่มคนเล็กๆที่แบกความรับผิดชอบอย่างยิ่งใหญ่ ด้วยเพราะหน้าที่ของเราคือการสร้างชาติ และแน่นอนว่าการสร้างคนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากนักเพราะพวกเราต่างทำหน้าที่นี้ด้วยหัวใจที่ยินดียิ่ง พวกเรามีความพร้อมที่จะเรียนรู้ฝึกฝน ตั้งใจพัฒนา และลับคมอาวุธทางปัญญาของตนเองเสมอ เพื่อนำมาใช้ในการสร้างคน สร้างชาติ ซึ่งเราเชื่อมั่นเหลือเกินว่า เด็กจะดีได้เพราะมีครูดีคอยอบรมสั่งสอน
โครงการมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปีที่ 2 ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราได้มีพลังใจพลังกายในการทำหน้าที่สร้างคน สร้างชาติต่อไปได้ เพราะการเข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าวทำให้เราได้พัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการและสร้างพื้นที่ สร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้วยแนวคิด 3 ดี ได้แก่ สื่อดี พื้นที่ดีและภูมิดี ทำให้เราได้คิดวิเคราะห์หาต้นทุน 3 ดีในท้องถิ่นของเรา เพื่อเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพและมีพัฒนาการสมวัย
ความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการมหัศจรรย์สื่อ สร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ณ ผืนแผ่นดินถิ่นล้านนาจากทั้ง 51 ศพด. คือการผลิตและใช้สื่อที่มีชื่อว่า “สืบฮีตสานฮอย ………” มาส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเล่นอย่างมีคุณภาพให้กับเด็กๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของพวกเรา ซึ่งพวกเราได้ใช้หลักแนวคิด 3ดีและได้ค้นพบว่าผืนแผ่นดินถิ่นล้านนานี้มีของดีที่เป็นเอกลักษณ์มีคุณค่า และมีเสน่ห์มาสร้างสรรค์เป็นสื่อ ไม่ว่าจะเป็นเอกลักษณ์จาวยองแห่งเมืองหละปูน , วิถีไตลื้อ ไตพวนแห่งเมืองภูกามยาว(พยาว) , จ้องก้านไม้ป๋ายกระดาษบ่อสร้างแห่งนครพิงค์ , เครื่องถ้วยก๋าไก่เขลางค์นคร , ปู่ม่าน ย่าม่านแห่งน่านนคร ,เรื่องเล่าประวัติศาตร์เมืองศรีสัชชนาลัย , ตำนานชาละวันเมืองพิจิตร , ผ้าหม้อฮ้อมเมืองแป่ หรือมนต์เสน่ห์ชาติพันธุ์อันหลากหลายจากแดนเชียงรายรฤก เป็นต้น
ด้านคุณครูนิภาพร ปาระมี แห่งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดแม่แรง สังกัดเทศบาลตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ได้ เล่าถึงแรงบันดาลใจในการผลิตสื่อ ‘สืบฮีตสานฮอย จาวยองน้อยเมืองหละปูน หรือ ตุ๊กตาจาวยองจากถุงเท้า’ ว่า สื่อชื้นนี้เกิดจากแอบเห็นเด็กๆ นำถุงเท้าที่เพื่อนถอดแล้วเก็บใส่กระเป๋าไม่หมด นำมาสวมมือแล้วเอามาพูดคุยเล่นกับเพื่อน ตนจึงเกิดแนวคิดนำถุงเท้ามาทำตุ๊กตา โดยเริ่มจากเป็นตัวสัตว์ก่อน เมื่อนำมาใช้เล่านิทานก็พบว่า เด็กๆ ชอบมากและสามารถดึงดูดความสนใจจากพวกได้เป็นอย่างดี ตนจึงต่อยอดจากตุ๊กตารูปสัตว์สู่การทำตุ๊กตาจาวยอง โดยนำเศษผ้าฝ้ายทอมือที่เป็นเอกลักษณ์ชาวยองมาตกแต่งเพิ่มกับถุงเท้าจนเป็น ตุ๊กตาจาวยองที่สวยงาม และนำไปสู่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กๆ โดยใช้หลักแนวคิด 3ดี จากโครงการฯ เพื่อเป็นฐานเชื่อมโยงสู่การเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม กล่าวคือเด็กๆ ในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดแม่แรง จะได้เรียนรู้ซึมซับวิถีแห่งวัฒนธรรมอันดีงามของจาวยอง ไม่ว่าจะเป็นสำเนียงภาษาพูดแบบจาวยอง การแต่งกายแบบจาวยอง อาหารการกินแบบจาวยอง รวมถึงวิถีชีวิตฮีตฮอยจาวยอง เป็นต้น
คุณครูนิภาพร เล่าต่ออีกว่า สิ่งเหล่านี้เป็นการถ่ายทอดผ่านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ โดยใช้ตุ๊กตาจาวยองจากถุงเท้าเป็นสื่อการเรียนรู้ อย่างการเล่านิทาน โดยนอกจากใช้ตุ๊กตาจาวยองเป็นตัวละครแล้ว เรื่องราวที่นำมาเล่าก็ยังเป็นเรื่องราวของจาวยองด้วยเช่นกัน หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายก็นำการละเล่นแบบจาวยองมาให้ เด็กได้เล่น แม้แต่ด้านโภชนาการเด็กๆ ก็จะได้ทำอาหารพื้นบ้านจาวยองและรับประทานร่วมกัน ซึ่งในกระบวนการทั้งหมด ตนได้มีการออกแบบกิจกรรมเพื่อเชื่อมร้อยให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วน ร่วมในทุกขั้นตอนของกิจกรรม ทั้งการนำพ่ออุ้ย แม่อุ้ยมาเล่านิทานพื้นบ้านจาวยองให้เด็กฟัง ด้านผู้ปกครองก็จะสาธิตและร่วมทำอาหารพื้นบ้านจาวยอง ผู้นำชุมชนเป็นวิทยากรพาเด็กๆ ไปเรียนรู้ตามแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมฮีตฮอยจาวยองในหมู่บ้าน เป็นต้น
“จากกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้โดยการใช้สื่ออย่าง สรรค์ดัง ทำให้เด็กๆมีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านดีขึ้นเป็นลำดับ สำหรับผู้ปกครองและชุมชน มีความพึงพอใจมากที่ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดแม่แรงได้สร้างกระบวนการ เรียนรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยนำรากเหง้าของวัฒนธรรมจาวยองมาเป็นฐาน ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีกับผู้ปกครองและชุมชน ซึ่งกระบวนการจัดกิจกรรรมทั้งหมดที่ได้เล่ามานั้น นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กๆ แล้ว ยังสร้างความตระหนักให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของวิถีชีวิตจาวด้วย เช่นกัน” คุณครูนิภาพร บอกเล่าอย่างภูมิใจ
“มหัศจรรย์สื่อ สร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปีที่ 2” เป็นโครงที่ทำให้เกิดกระบวนการเชื่อมโยงของสื่อสร้างสรรค์ที่มอบคุณค่าแห่ง การเรียนรู้ให้กับทุกช่วงวัยได้อย่างน่ามหัศจรรย์
เรื่องโดย : รุจจิราภรณ์ พรมมิ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งน้อย อบต.ฝายแก้ว อ.ภูเพียง จ.น่าน
ผอ.เสถียร พันธ์งาม โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) ได้เข้ามาร่วมงานกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก โดยมองว่า “เท่าที่ดูนักเรียนในโรงเรียน มีปัญหาในเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ รู้สึกเหมือนการศึกษาที่ผ่านมาไม่มีทิศทางอะไรมากมาย ก็ทำไปจัดไปตามหน้าที่ จัดไปเรื่อยๆ จัดเป็นปีๆ จบเป็นปีๆ ไป แต่เป้าที่แท้จริงดูเหมือนมันไม่ชัด เลยคิดว่าถ้าเราจะจัดการศึกษาให้เกิดประโยชน์กับลูกหลานอย่างยั่งยืน น่าจะเอาเรื่องเป้าหมายของชาติที่เขาเขียนไว้ 8 ประการ ในหลักสูตรของผู้รักษาอันพึงประสงค์ 8 ประการที่ว่า เราต้องเอามาขมวดเข้าว่าแท้จริงแล้ว 8 ประการที่ว่า มันคืออะไรกันแน่ ก็เลยมาตกผลึกที่ว่ามันน่าจะเริ่มต้นที่ให้เด็กรู้จักหน้าที่ตนเองก่อน เลยตั้งเป้าว่าต้องสร้างเด็กให้มีความรับผิดชอบรู้หน้าที่ว่าตั้งแต่มาถึงโรงเรียนตั้งแต่เช้าจนเลิกเรียน เขาควรจะมีขั้นมีตอนก่อนว่ามาถึงโรงเรียนเขาทำอะไรบ้าง” โดยความรับผิดชอบจะต้องเป็นไปตามเด็กแต่ละช่วงแต่ละกลุ่มแต่ละคน เพราะเด็กโดยรวมแล้วจะไม่ค่อยรับผิดชอบต่อหน้าที่เท่าไรไม่ว่าจะอยู่บ้านหรือโรงเรียนจะเป็นแค่ผู้คอยรับบริการต่างๆ ถ้าช่วยทำงานในส่วนรวมจะไม่ค่อยใสใจเท่าไร เลยคิดว่าถึงเวลาแล้วละถ้าจะรอภาพใหญ่ของประเทศมันคงจะไม่ได้แล้วต้องมาคิดแคบๆ ที่บริเวณโรงเรียนที่เราสามารถรับผิดชอบได้ สามารถกำหนดนโยบายกำหนดทิศทางได้ด้วยตัวเอง เลยคิดว่าน่าจะเริ่มต้นที่เราก่อนที่โรงเรียนของเราก่อน เริ่มต้นคิด… ทำกิจกรรมปรับกระบวนการในแต่ละวัน เพื่อที่จะลองดูว่าครูและนักเรียนจะมีปฏิกิริยายังไรบ้าง ซึ่งก็พบปัญหาอยู่ ครูส่วนใหญ่ ก็รู้สึกว่า มันยุ่งยาก “แรงต่อต้านมีค่อนข้างมากแต่เมื่อเรายืนยันและอธิบายสิ่งที่เราทำเพราะอะไร เพราะปัญหาที่เราเห็นพ้องด้วยกันว่าเด็กไม่มีระเบียบวินัย ไม่ค่อยมีความรับผิดชอบทำอะไรก็พอแล้วแล้วไป” จากความมุ่งมั่นที่จะทำ ผอ.เสถียรได้สร้างกลุ่มคุณครูที่เข้าใจแกนนำก็ดำเนินโดยทีมครูที่เข้าใจ ส่วนตัวนักเรียน คิดว่าความเคยชินที่อยู่ในระบบที่ค่อนข้างไม่ค่อยได้รับผิดชอบก็จะเปลี่ยนตัวเขายาก น่าจะเปลี่ยนได้อย่างเดียวคือครูประจำฉันต้องกำกับให้แคบเข้ามาที่ห้องเรียน ส่วนชุมชนผู้ปกครองไม่ค่อยมีปัญหาจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสารของครูไปถึงผู้ปกครอง ครูที่ยังไม่ค่อยเห็นด้วยเขารู้สึกว่าเขามีภาระมากขึ้น แต่ผอ.ก็ยืนยันในสิ่งที่ทำ […]
สสย.จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างวิทยากรกระบวนการในเรื่อง พลัง 3 ดี กับการสร้างพลเมืองเด็ก ระหว่างวันที่ 26-27 ธันวาคม 2257 ณ โรงแรมเอบีน่า เฮ้าส์ จุดประสงค์ของการสัมมนาในครั้งนี้คือ การเรียนรู้แนวคิดและหลักการของชุมชน 3 ดีและการสร้างพลเมืองเด็ก รวมถึงการสร้างวิทยากรในหัวข้อทั้งสอง เพื่อให้สามารถไปเผยแพร่ขยายผลต่อในระดับชุมชนได้
ะ 3 มิ.ย. นี้เวลา 17.00 นี้เป็นต้นไป กลุ่มไม้ขีดไฟจัดกิจกรรมดีๆเพื่อเด็กและครอบครัวค่ะ “เดิ่นนี้ดีจัง ตอน มหัศจรรย์การเล่น” จูงมือกันมา ทำกิจกรรมสนุกๆที่สวนไฟฝัน พาลูกมาฟังนิทาน จากครูปรีดา ปัญญาจันทร์ เพลินฟังเดี่ยวขิม และดนตรีสบายๆแบบครอบครัว ชมละครหุ่นเงา กระตุ้นจินตนาการ พ่อโอ๊ค จากพระนครนอนเล่น มาเล่าเรื่องเล่นแล้วลูกได้อะไร และมากมายกิจกรรม ลงมือทำ ศิลปะ ประดิษฐ์ ทำขนม ลงมือทำ ลงมือทาน ทำฟรี ดูฟรี ตลอดงาน กลุ่มไม้ขีดไฟฝากบอกว่าอยากชวนทุกคนมาจริงๆนะคะ ติดตามความเคลื่อนไหวที่ https://web.facebook.com/maikeedfaigroup/?pnref=story
เมื่อนึกถึงคำนี้ “รองเมือง” ใครหลายๆคนนึกถึงสถานีรถไฟหัวลำโพง วันนี้เว็บไซต์สามดีชวนคุณออกมาเดินเล่น ชวนคุณขยับมาอีกนิดไปดูกำแพงสวยๆ ในชุมชนวัดดวงแขกัน ถือเป็นชุมชนสามดีของเราอีกแห่งหนึ่งค่ะ ชุมชนนี้ได้ร่วมมือกันปรับภูมิทัศน์ชุมชนให้น่าอยู่โดยการเชิญศิลปินและ ชวนเด็กๆและคนในชุมชน ทาสีกำแพงและวาดภาพกำแพง สร้างสีสันให้ชุมชนน่าอยู่ คุณครูหรือคุณพ่อ คุณแม่ สามารถพาเด็กๆ ไปเดินชม พร้อมรับฟังหลากเรื่องเล่าโดยคนในชุมชนได้ ชุมชนวัดดวงแขนั้น ได้รับการรองรองเป็นชุมชนจากสำนักงานเขตปทุมวันเมื่อปี 2547 ตั้งอยู่บริเวณถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน มีพื้นที่ 3.5 ไร่ มีจำนวนประชากรตามทะเบียนบ้าน 52หลังคาเรือน 139 ครอบครัว 410 คน และมีประชากรตามบ้านเช่าอีก 500 คน ซึ่งพื้นที่ชุมชนนั้นมี 3 ส่วน คือเช่าอาศัยพื้นที่กรมธนารักษ์ ที่ดินชาวบ้านที่มีโฉนดและพื้นที่จากคลองนางหงส์ที่ตื้นเขิน คลองนางหงส์นั้นที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 มีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมเพื่อแบ่งพระราชฐานเป็นชั้นนอกและชั้นใน โดยมีคลองนางหงส์เชื่อมต่อคลองผดุงกรุงเกษมให้น้ำไหลไปลงยังคลองแสนแสบแถบ บริเวณชุมชนกรุงเกษมชุมชนวัดบรมนิวาส และสะพานเจริญผล ต่อมารัชสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงก่อสร้างทางรถไฟสายแรกของประเทศไทยจากหัวลำโพง – ปากน้ำ (สมุทรปราการ) คลองนางหงส์จึงถูกถมเป็นรางรถไฟ และเมื่อคลองนางหงส์ถูกถมแล้วจึงทำให้ส่วนที่ต่อจากรางรถไฟ ตื้นเขินกลายเป็นแผ่นดิน ชาวบ้านจึงมาปลูกบ้านอยู่อาศัยเป็นระยะเวลากว่า 100 ปี สำหรับใครที่สนใจแวะเข้าไปชมติดต่อได้ที่ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ศูนย์ดวงแข 02 – 215 […]