Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
กลุ่มเยาวชนอิงะกัมปง: พี่เลี้ยงผู้สร้างสรรค์สิ่งดีๆให้เกิดขึ้นในพื้นที่ | ชุมชน 3 ดี
กลุ่มเยาวชนอิงะกัมปง: พี่เลี้ยงผู้สร้างสรรค์สิ่งดีๆให้เกิดขึ้นในพื้นที่

กลุ่มเยาวชนอิงะกัมปง  หมู่บ้านปาโงปะแต  ต.โคกสะตอ  อ.รือเสาะ  จ.นราธิวาส   

จากเยาวชนไม่ถึง 10 คนกลุ่มสุดท้ายที่เหลืออยู่ที่รอดพ้นจากอิทธิพลของยาเสพติด 

จากกลุ่มเด็กเยาวชนนอกระบบ (เรียนโรงเรียนสอนศาสนา และไม่ได้เรียน ) ขี้อาย พูดไม่เก่ง กลัวผู้คน ( มีอาการเป็นไข้ บางคนหายใจ   ไม่ออก เมื่อพบเจอผู้คน )

จากเยาวชนที่ถูกสงสัยเรื่องก่อความรุนแรง  สู่แกนนำเด็กเยาวชนที่สร้างพื้นที่ปลอดภัย  ปลอดยาเสพติด 100%   

สร้างกองทุนเพื่อช่วยเด็กเยาวชนในชุมชนที่ยากจนไม่ได้เรียนหนังสือ และผู้สูงอายุ เปลี่ยนแปลงพื้นที่สีแดง

ทั้งเรื่องยาเสพติด ความรุนแรง  ความหวาดระแวงกันและกัน  กลายเป็นพื้นที่ความสัมพันธ์ที่ดี เอื้อเฟื้อแบ่งปันช่วยเหลือทำงานร่วมกันระหว่างราชการกับชุมชน 

จากกลุ่มเด็กเยาวชนนอกระบบ ไม่รู้จักเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์  กลายเป็นผู้สร้างสื่อสร้างสรรค์หนังสั้นอนา

ซีสที่สร้างผลกระทบลดเรื่องยาเสพติดในชุมชนได้อย่างแนบเนียน  เป็นกลุ่มเด็กเยาวชนกลุ่มแรกที่ลุกขึ้นมา

การทำงานจิตอาสาเพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้

จากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมปฏิเสธเสื้อกันหนาวไม่กี่ตัวที่ได้รับบริจาค  เพื่อการส่งต่อ และเริ่มต้นงานเล็กๆ

ด้วยจิตอาสาเกินร้อย  แบกไม้กวาดไม้ถูพื้นลงพื้นที่ทำความสะอาดโรงเรียนที่น้ำท่วม( หลังน้ำลด ) กลายเป็นผู้จุดประกายงานจิตอาสาเยาวชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสร้างผลกระทบผู้ใหญ่และศอบต.ต้องลุกขึ้นมาสานต่องานจิตอาสาเยาวชน   จากแค่เสื้อกันหนาวไม่กี่ตัว

จากสมาชิกในกลุ่มไม่ถึงทีมฟุตบอลกลายเป็นมากกว่า 2 ทีมฟุตบอล   ปัจจุบันมีการสร้างรุ่นที่2 สานต่องาน

พัฒนาเด็กและชุมชนตนเอง  และสู่งานที่กล้าหาญ และสร้างแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ แกนนำกลุ่มอิงะกัมปง

บอกกับมพด.ว่า   พวกเราขอทำตำบลต้นแบบงานสร้างแกนนำเยาวชนจิตอาสา    และพวกเขาจะเป็น

พี่เลี้ยงที่จะสร้างแกนนำเยาวชนเพื่อนบ้านทั้งหมด 8 หมู่บ้านด้วยตนเอง   

บทความที่เกี่ยวข้อง

20 ส.ค.58 ก้าวย่างสู่ปี2. น้องๆเยาวชนอาสาบางกอกนี้…ดีจัง เข้มข้นกับกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและลงลึกกับกระบวนการอาสาชวนเพื่อนๆน้องๆ เข้าสู่กระบวนการตามหายิ้มในชุมชน เด็กๆชวนกันมาสกัดข้อมูลพร้อมเตรียมนำเสนอชวนผู้ใหญ่มาสร้างยิ้มให้ชุมชนมีชีวิตเด็กๆมีพื้นที่เล่น ไปให้กำลังใจเด็กๆกัน …พลเมืองอาสาสร้างยิ้ม

“…เขาก็แสวงหาเพื่อน เราเองก็ต้องการเพื่อน มันจึงลงตัวพอดี พอเขาเห็นกิจกรรมที่เราทำ เขาก็อยากทำงานกับเรา ถ้าใครจะทำงานกับพี่นัดมาเลย ไม่ต้องคอยหลายวัน นัดแล้วลงมือทำงานร่วมกันเลย” เตือนใจ สิทธิบุรี หรือ หลายๆคนเรียกเธอว่า “ป้าป้อม” อดีตนักกิจกรรมมหาวิทยาลัยวิทยาลัยรามคำแหง สั่งสมประสบการณ์การทำงานพัฒนาและงานค่ายกิจกรรมเห็นต้นทุนทางสังคมของบ้านเกิดจึงมุ่งมั่นสร้างการเรียนรู้ ฟื้นฟูวัฒนธรรม และเชื่อมโยงคนในชุมชน ทั้ง 3 วัยมาเป็นครอบครัวเดียวกัน เริ่มทำงานครั้งแรก ในปี 2530 กับกลุ่มสื่อเพื่อการพัฒนา (AMED) ทำงานกับชาวบ้านในชุมชนแออัด ได้ฝึกกระบวนการคิด และกระบวนการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เป็นระบบ จนถึงปี 2536 เปลี่ยนมาทำงานที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีโอกาสเดินทางไปการทำงานในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย ทำให้เพิ่มพูนทักษะ เทคนิคการทำงานพัฒนา การประสานงานในพื้นที่ และมีเครือข่ายการทำงานมากขึ้น ก่อนกลับมาเป็นบัณฑิตอาสา กับ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กรมประชาสงเคราะห์เดิม) และร่วมมือกับเครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคใต้ ในการทำงานพัฒนาที่บ้านเกิด ในตำบลนาโหนด จังหวัดพัทลุง ทำให้เห็นทุนทางสังคม และศักยภาพของพื้นที่ในด้านเกษตร เกิดตกผลึกทางความคิด จึงตัดสินใจตั้งหลักปักฐานสร้างครอบครัว ที่บ้านเกิดของตนเอง ด้วยการยึดอาชีพเกษตร ทำสวนยาง ทำนา ทำสวนเป็นหลัก ควบคู่การทำงานพัฒนาในชุมชนท้องถิ่น […]

วันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา เครือข่ายบางกอกนี้ดีจัง เครือข่ายผู้นำชุมชน 17 ชุมชนย่านบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ และกลุ่มสื่อศิลปะวัฒนธรรม กลุ่มกิจกรรม ร่วมกันถอดสรุปบทเรียนกิจกรรม ปี 58 เพื่อนำมาต่อยอดพัฒนาต่อสู่ปี 59 เพื่อนำขบวนไปในทางทิศเดียวกัน พร้อมกับพัฒนากระบวนการกลุ่มของตนเอง นำไปสู่การเปิดเส้นทาง “ห้องเรียนชุมชน” เมือง 3 ดี บางกอกนี้…ดีจัง 3ดีวีถีสุข  คงต้องติดตามกันต่อไปค่ะว่า “ห้องเรียนชุมชน” จะเป็นอย่างไร

“หุ่นเงาทำให้เด็กมีเวทีแสดงออก การได้ออกแสดงเป็นเรื่องสำคัญเพราะเด็กมีของดีต้องได้อวด(ดี) ในเวลาที่แสดงแล้วเด็กจะรู้ว่าเมื่อถูกชมแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร หรือเมื่อผิดพลาดแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร เรียนรู้ที่เจ็บ และเรียนรู้ที่ยิ้ม จึงจะทำให้เด็กเติบโตและพัฒนาได้เร็ว” สุภิญญา บุญเฉลย ผู้ประสานงาน กลุ่มลูกขุนน้ำ แห่งหมู่บ้านคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช เอ่ยคำนี้ด้วยรอยยิ้มขณะเล่าเรื่องราวของเด็กๆ ในกลุ่มลูกขุนน้ำ เธอเรียกแทนตัวเองว่ามาอู กลุ่มลูกขุนน้ำเข้าร่วมพื้นที่นี้…ดีจังเป็นปีที่ 3 เธอเล่าว่าปีแรกเป็นแขกรับเชิญและเข้าร่วมเต็มตัวใน 2 ปี หลังเธอและเด็กๆ พบความสำเร็จจากการเลือกสื่อที่ดีนั่นก็คือ “หุ่นเงา” “หุ่นเงาสามารถประสานได้ทุกฝ่าย ทำให้เด็กได้สืบค้นเรื่องราวในชุมชน ผู้ใหญ่ได้ถ่ายทอด เช็คเสียงสะท้อนจากทุกฝ่ายได้ ซึ่งต่างจากการทำเอกสารประเภทงานวิจัย เพราะสื่อหุ่นเงาเวลาเล่นจะมีเสียงตอบรับจากผู้ชมได้ในทันทีขณะเล่น ซึ่งเด็กรู้สึกและรับรู้ได้เช่นกัน ผู้ชมก็เข้าใจสิ่งที่เด็กสื่อได้บางครั้งอาจจะไม่เข้าใจแต่ก็รู้ว่าเด็กตั้งใจจะทำอะไร จากการทำโครงการที่ผ่านมาเห็นพัฒนาการของเด็ก เช่น มีระเบียบวินัย มีการฝึกซ้อม รู้เรื่องราวของชุมชน ภูมิใจที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนตนเอง” เรียนรู้ต่อเติม ด้วยความพยายามที่จะหาของดีในชุมชนแรกๆ เธอจึงชวนเด็กๆ ไปใช้ธนูคันกระสุน เป็นธนูแบบดั้งเดิมที่มีก้อนหินเป็นกระสุน ซึ่งมีอยู่เฉพาะในชุมชนนี้ และมีปราชญ์ชาวบ้านรู้เรื่องนี้ที่นี่ “มาอูรู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวกลาง(ตัวเชื่อมระหว่างยุค โดยธรรมชาติของชุมชนคีรีวงการถ่ายทอดในทุกๆเรื่องจะส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น)ได้จึงคิดจะให้ผู้ใหญ่สอนเด็กๆในหมู่บ้านโดยตรง แต่เนื่องจากธนูคันกระสุนเป็นเครื่องมือที่ยากเกินไปเพราะต้องฝึกฝนและต้องใช้ความชำนาญ บางคนหัดยิงพลาดไปโดนนิ้วตัวเองเกิดอันตรายกับเด็กๆ ถึงแม้จะเสียดายเพราะธนูคันกระสุนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนก็ตามแต่ความปลอดภัยของเด็กก็ต้องมาก่อนสิ่งใด” ปีที่สองเธอจึงทำซุ้มกิจกรรมและซุ้มศิลปะในโรงเรียนแต่ละแห่งในตำบล รอบๆ หมู่บ้าน แต่ปัญหามีมาทดสอบคนตั้งใจเสมอ พอเข้าไปทำกิจกรรมกับโรงเรียนทำให้เธอรู้ว่าโรงเรียนเองก็มีภาระมาก […]