Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
น้องแซค ศรีสะเกษติดยิ้ม: นักสร้างสรรค์พื้นที่วิถีสุข | ชุมชน 3 ดี
น้องแซค ศรีสะเกษติดยิ้ม: นักสร้างสรรค์พื้นที่วิถีสุข

น้องแซค เริ่มต้นเข้ากิจกรรมกับเครือข่ายสร้างสรรค์โดยการให้สัมภาษณ์เรื่องเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง

“ผมเป็นรุ่นแรกที่ได้ไปเมืองทองในการนำผลิตภัณฑ์นักเรียนไปจำหน่าย หลังจากนั้นก็ได้ทำงานภายนอกโดยได้ร่วมงานกับ มพด. โดยมีพี่หนิง (ดวงใจ ที่ยงดีฤทธิ์) เป็นคนให้คำปรึกษาและสนับสนุนกลุ่มของผม  ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมสัญจร กิจกรรมออกบูทศิลปะต่างๆ”

การทำงานในกลุ่มเด็ก มองเห็นว่าการทำงานของเครือข่ายพื้นที่สร้างสรรค์ ทำให้เด็กๆมีพื้นที่ในการทำกิจกรรม มีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นที่สร้างสรรค์  ให้โอกาสให้ทุกๆคนในสังคมได้มีส่วนร่วม และแสดงศักยภาพอย่างเต็มที่

“ผมคิดว่าทำอะไรก็ได้ที่สร้างสรรค์และมีการแบ่งปันโอกาสแห่งความสุขให้กับทุกคน”

กิจกรรมศรีสะเกษติดยิ้มที่กำลังทำนั้นเด็กๆกลุ่มเยาวชนพลเมืองสร้างสุข ได้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นและเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์ไว้และกิจกรรมที่กำลังดำเนินการตอนนี้คือ กิจกรรมตลาดบ้านฉันปันยิ้มที่จะรวมเด็กๆและผู้คนในชุมชนตลาดสดราษีไศลมาทำกิจกรรมร่วมกันโดยการบูรณากลางตลาดสดให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์โดยการนำศิลปะเข้าไปสู่ตลาดนำไปสู่การนำเสนองานศรีสะเกษติดยิ้มปี 2

การทำกิจกรรมครั้งนี้  ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินงาน และสนับสนุนบุตรหลานเข้ามาทำกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์และยังเกิดความภาคภูมิใจในตัวของบุตรหลาน

“ตอนนี้น้องๆที่เขามาในกลุ่มเราคุยกันว่าพ่อแม่พี่น้องใครในกลุ่มบ้านใครมีอะไรดีๆที่อยากมีพื้นที่ในการมาขายมาโชว์สินค้าบ้าง อยากให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการออกมาทำกิจกรรมกับลูกๆ มาเห็นว่าลูกทำอะไร เริ่มเอาครอบครัวที่สนใจ และชุมชนยังเป็นกำลังหลักในเรื่องการนำเสนอภูมิปัญญา”

การทำกิจกรรมนี้ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆของคนในสังคม รวมทั้งได้แนวคิดในการต่อยอด

“ผมคิดว่าเมื่อตัวเองได้เป็นนักปกครองอย่างที่หมาย ตามที่ผมได้เรียนมา ผมจะสนับสนุนเขตปกครองของตนเองให้เป็นตัวอย่างพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กอย่างแน่นอน”

โดยก่อนที่เข้ามาทำกิจกรรมก็ยังไม่มีคนรู้จักกลุ่มเยาวชน หลังจากที่มาทำกิจกรรมคนในสังคมเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นมามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมโดยให้บุตรหลานมาร่วมทำกิจกรรมที่จัดขึ้น

เมื่อถามว่าคิดว่าทำไมเราและคนอื่นต้องทำกิจกรรม น้องแซคได้เล่าว่า

“ผมคิดว่าเรามีแรงบันดาลใจผลักดัน ยกตัวอย่างผมเองได้แรงบันดาลใจจากครู (นายอุดมวิทย์ สุระโคตร ) ผอ. โรงเรียน บ้านกระเดาอุ่มแสง และที่สำคัญ พี่หนิง (ดวงใจ เที่ยงดีฤทธิ์) ที่สนับสนุนและไม่ทิ้งเด็กๆ วันที่ไปสัมมนาที่กรุงเทพ พี่หนิงร้องให้และพูดว่าท้อ ผมเลยได้แรงบันดาลใจที่จะช่วยกันทำงานที่จะรวมพลังเด็กๆในการทำงานทำกิจกรรมต่างๆเพื่อสังคมบ้านเรา”

การทำกิจกรรมต่างๆที่ผ่านมาทำให้เรารู้ในเรื่องที่ยังไม่รู้และรับเอาประสบการณ์ที่ดีมาปรับใช้เป็นคุณค่าชีวิตที่หาซื้อไม่ได้ รู้จักการแก้ไขปัญหาที่เข้ามา ท้อเหนื่อยก็มีกำลังใจจากเพื่อนๆ ช่วยกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน จัดสัมมนาทบทวนบทเรียนการทำงานพื้นที่สร้างสรรค์ “พบปะเพื่อนภาคี 3ดี 4ด้าน ผสานพลังยิ้ม” ที่ ร.ร.บางกอกเซนเตอร์ ห้องอัญมณี วันที่ 25 – 26 ก.พ. โดยมีภาคีเครือข่ายในยุทธศาสตร์พื้นที่สุขภาวะ 3 ดีต้นแบบ เมืองสื่อสร้างสรรค์ และ พื้นที่นี้..ดีจัง รุ่น 1-2 รวมทั้งสิ้น 35 โครงการ จำนวน 150 คน เข้าร่วมทบทวนบทเรียน อนึ่งการจัดงานครั้งนี้ นอกจากจะทบทวนสรุปบทเรียนเสริมพลังการทำงานเชิงแนวคิดและเชิงปฎิบัติการพื้นที่สร้างสรรค์ 3 ดีแล้ว ยังแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานพื้นที่สร้างสรรค์ในแต่ละพื้นที่ แต่ละโครงการ และระดมสมองร่วมกันกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์พื้นที่สุขภาวะร่วมกันต่อไป

เมื่อนึกถึงคำนี้ “รองเมือง” ใครหลายๆคนนึกถึงสถานีรถไฟหัวลำโพง  วันนี้เว็บไซต์สามดีชวนคุณออกมาเดินเล่น ชวนคุณขยับมาอีกนิดไปดูกำแพงสวยๆ ในชุมชนวัดดวงแขกัน   ถือเป็นชุมชนสามดีของเราอีกแห่งหนึ่งค่ะ ชุมชนนี้ได้ร่วมมือกันปรับภูมิทัศน์ชุมชนให้น่าอยู่โดยการเชิญศิลปินและ ชวนเด็กๆและคนในชุมชน ทาสีกำแพงและวาดภาพกำแพง สร้างสีสันให้ชุมชนน่าอยู่  คุณครูหรือคุณพ่อ คุณแม่ สามารถพาเด็กๆ ไปเดินชม  พร้อมรับฟังหลากเรื่องเล่าโดยคนในชุมชนได้     ชุมชนวัดดวงแขนั้น ได้รับการรองรองเป็นชุมชนจากสำนักงานเขตปทุมวันเมื่อปี 2547 ตั้งอยู่บริเวณถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน มีพื้นที่ 3.5 ไร่ มีจำนวนประชากรตามทะเบียนบ้าน 52หลังคาเรือน 139 ครอบครัว 410 คน และมีประชากรตามบ้านเช่าอีก 500 คน ซึ่งพื้นที่ชุมชนนั้นมี 3 ส่วน คือเช่าอาศัยพื้นที่กรมธนารักษ์ ที่ดินชาวบ้านที่มีโฉนดและพื้นที่จากคลองนางหงส์ที่ตื้นเขิน คลองนางหงส์นั้นที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 มีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมเพื่อแบ่งพระราชฐานเป็นชั้นนอกและชั้นใน โดยมีคลองนางหงส์เชื่อมต่อคลองผดุงกรุงเกษมให้น้ำไหลไปลงยังคลองแสนแสบแถบ บริเวณชุมชนกรุงเกษมชุมชนวัดบรมนิวาส และสะพานเจริญผล ต่อมารัชสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงก่อสร้างทางรถไฟสายแรกของประเทศไทยจากหัวลำโพง – ปากน้ำ (สมุทรปราการ) คลองนางหงส์จึงถูกถมเป็นรางรถไฟ และเมื่อคลองนางหงส์ถูกถมแล้วจึงทำให้ส่วนที่ต่อจากรางรถไฟ ตื้นเขินกลายเป็นแผ่นดิน ชาวบ้านจึงมาปลูกบ้านอยู่อาศัยเป็นระยะเวลากว่า 100 ปี สำหรับใครที่สนใจแวะเข้าไปชมติดต่อได้ที่ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ศูนย์ดวงแข 02 – 215 […]

ด้วยความเป็นครูที่ต้องการให้เด็กได้เรียนหนังสือ หลังจาก ศรีใจ  วงคำลือย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่เงา  ต.แม่สวด  อ.สบเมย  จ.แม่ฮ่องสอน  ก็ทุ่มเททุกทางเพื่อให้เด็กชาวเขาได้เข้าสู่ระบบโรงเรียน  ต้องเดินเท้าเข้าป่าเพื่อไปตามเด็กที่ช่วยพ่อแม่ทำไรมาเรียนหนังสือ    นอกจากนั้นยังก้าวข้ามความอาย  เวลาเห็นพืชผักผลไม้ที่พ่อค้าทิ้งขว้างก็ไม่รีรอที่จะ ขอมาทำอาหารให้เด็กๆหรือแม้กระทั้งถังสังฆทานจากวัด รวมไปถึงร้านขายของชำของภรรยาก็จะไปขอเชื่อสินค้าเพื่อนำมาใช้ในโรงเรียนเนื่องจากเด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กไม่มีสัญชาติไม่ได้เงินสนับสนุนอาหารจากรัฐ  “เมื่อเขาด้อยโอกาส ก็อยากให้โอกาสเรา สร้างโอกาสการศึกษาให้เขาได้  เอาลูกเขามาดูแลแล้วต้องดูแลให้ดีที่สุด” หมายเหตุ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ ๑๔ แรงบันดาลใจ  หน้าที่ ๑๕๒ –๑๖๔

อะไรกันหนอ “นักสื่อสารชุมชน” เรียกกันง่ายๆ ก็คือ “นักข่าวชุมชน” นั่นเอง กิจกรรมนี้ต้องใช้ความร่วมมือจากนักจัดการบวนการการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง เช่น คณะนิเทศน์ศาสตร์ นักข่าวพลเมืองของไทยพีบีเอส หรือ คนมีความรู้ด้านสื่อสารมวลชน เข้าไปร่วมจัดกิจกรรมให้กับ นักสื่อสารชุมชน ขอยกตัวอย่างชุมชนบ้านโซงเลง ต.หนองม้า จ.ศรีสะเกษ ซึ่งจัดการบวนการโดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ที่ชวนกลุ่มเยาวชน ออกมาร่วมทำกิจกรรม ดึงเยาวชนออกจากร้านเกมและอบายมุกต่างๆ ให้เรียนรู้การสื่อสารทั้งการทำหนังสั้น สารคดี การทำสตอรี่บอร์ด การใช้กล้อง การตัดต่อ จนเป็นข่าวให้กับนักข่าวพลเมืองของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กระบวนการเรียนรู้ให้เกิด Somebody การได้ร่วมเรียนรู้ด้วยกันของเยาวชน ทำให้เกิดการเข้าสังคม และเรียนรู้การรับฟังผู้อื่น ได้ออกสืบเสาะหาของดี และเรื่องราวต่างๆในชุมชน การลงพื้นที่ทำให้ร่างกายได้ขยับ เป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งและช่วยสร้างสัมพันธ์อันดีต่อกันของคนชุมชน เกิดการพบปะ พูดคุย เรียนรู้ในวิถีและอาชีพที่แตกต่างๆ สื่อสารเรื่องราวดีๆ ทั้งวิถีและวัฒนธรรมให้สังคมภายนอกได้รับรู้ เช่นการสื่อสารวิถีชีวิตการหาปลาของคนในชุมชน เยาวชนต้องออกเดินทางติดต่อกับกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ ให้สาธิตการหาปลา ขึ้นรถ ลงเรือ เพื่อจะถ่ายทำเพื่อสื่อสารเรื่องราวออกไป การออกมาจากร้านเกม ถือเป็นการออกจากภาวะการเนื่องนิ่ง ได้ใช้ความคิด วางแผน ทดลองทำ เรียนรู้ถูกผิด และเยาวชนเองก็จะเกิดความภูมิใจเมื่อได้รับการยอมรับจากชุมชน และได้ทบทวนค้นหาตัวเองว่าชอบและถนัดอะไร […]