Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
สสส. ผนึกกำลังเครือข่ายหนุนครู ศพด. สร้างศักยภาพเด็กด้วยพลังสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ | ชุมชน 3 ดี
สสส. ผนึกกำลังเครือข่ายหนุนครู ศพด. สร้างศักยภาพเด็กด้วยพลังสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์

สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม และ สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. โดย กลุ่มแผนงานสื่อสร้างสรรค์ ได้แก่ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สนับสนุนทุนแก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จัด “อบรมเชิงปฏิบัติการแก่ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ภายใต้ชุด โครงการมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก”

เพื่อเสริมทักษะและเปิดเวทีแลกเปลี่ยนการจัดกระบวนการเรียนรู้และพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กเล็ก ให้เติบโตอย่างมีสุขภาวะที่ดีครบด้าน โดยกิจกรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-7 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมเดอะ รอยัล เจมส์ กอล์ฟ รีสอร์ท อ.ศาลายา จ.นครปฐม

580704_child1

ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กล่าวว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นพื้นที่สำคัญในการดูแลและพัฒนาเด็กช่วงวัย 2-5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่สมองเจริญเติบโตสูงสุดกว่า 80% ของชีวิตมนุษย์ หากได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ จะสามารถสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ มีข้อมูลการสำรวจประเมินคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากองค์การยูนิเซฟ กว่า 200 แห่งทั่วประเทศ พบว่า มีเพียงร้อยละ 67 เท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ สสส. จึงให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยเปิดโอกาสให้ครู ศพด. ที่สมัครเข้ามาร่วมโครงการจำนวน 220 ศูนย์ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร และภาคีเครือข่าย สสส. ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย

กระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดี ประกอบด้วย สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี ซึ่งจะทำให้ครูผู้เข้าอบรมได้เข้าใจกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ในการพัฒนาสุขภาวะเด็กอย่างรอบด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจ ผ่านวิถีอาหารและการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน การเล่น และศิลปะต่างๆ อาทิ ดนตรี งานวาด งานปั้น ฯลฯ

ทพ.กฤษดา กล่าวเพิ่มเติมว่า สสส. มุ่งหวังว่าการจัดอบรมในครั้งนี้จะสร้างแรงดาลใจให้ครูในศูนย์ฯ ได้เห็นคุณค่าของงาน เกิดความสุขในการพัฒนาเด็ก สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคและความรู้ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายครู ศพด. ที่จะเกิดขึ้นผ่านทางโซเซียลมีเดียเพจ “มหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์” ซึ่งจะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเป็นกำลังใจให้กันและกัน เพื่อร่วมสร้างสรรค์การพัฒนาเด็กให้เติบโตอย่างมีความสุขและมีสุขภาวะที่ดีครบทุกด้านต่อไป

รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า “โครงการได้ดำเนินการในปีแรกด้วยการสนับสนุน ให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 168 ศูนย์ ได้ใช้กระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านการเรียนรู้ ทักษะชีวิต และส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัย เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างน่ายินดี เช่น เด็กๆในศูนย์เกิดความสุขจากการได้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ในศูนย์ ได้เปิดประสบการณ์ใหม่ในการเรียนรู้สุขภาวะและเกิดพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัยด้วยกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ ชุมชนเห็นคุณค่าของงานที่ครูในศูนย์ฯได้ดำเนินงานและเข้ามาร่วมพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ในศูนย์ฯ”

” ในปีที่ 2 เป็นการขยายผลและต่อยอดจากโครงการในปีแรก โดยสนับสนุนการจัดกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 220 ศูนย์ เน้นการบูรณาการแนวคิดสุขภาวะด้วยกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีความเข้าใจแนวคิดและกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ เข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการเด็กปฐมวัย สามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน และเกิดแรงบันดาลใจในการทำงานด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายครูศพด”

นางสาวเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน กล่าวว่า “โครงการฯ ยังได้ยกระดับศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ร่วมโครงการในปีที่ 1 จำนวน 21 ศูนย์ ให้เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ โดยจะมีจุดเด่น ทั้งด้านการบริหารจัดการศูนย์ฯ มีนวัตกรรมในด้านการจัดกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ ครูมีความรู้ ศักยภาพ และแรงบันดาลใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้แก่เด็ก รวมทั้งสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน สร้างเครือข่าย ต่อยอด ขยายผลโดยพัฒนาและสร้างสรรค์อย่างหลากหลายจากต้นทุนด้านพื้นที่ บุคคล ภูมิปัญญาท้องถิ่นและ แหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยโครงการฯจะได้ติดตามหนุนเสริมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบอย่างต่อเนื่อง ส่วนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 168 ศูนย์ซึ่งได้ร่วมโครงการในปีที่ผ่านมา ก็จะได้รับการติดตามหนุนเสริมศักยภาพและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายครูในโครงการฯ โดยได้เปิดช่องทางการสื่อสารเชื่อมต่อเครือข่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ Facebook : มหัศจรรย์ ศพด”

580704_child3 580704_child4 580704_child5

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อวันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา กลุ่มลูกหว้า เพชรบุรี ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ได้ไปร่วมถอดบทเรียน 7 ปี พื้นที่นี้ ดีจัง เพื่อเดินหน้าสู่ปีที่ 8 กันต่อไปที่โรงแรม Riverine จังหวัดนนทบุรี ร่วมกับเพื่อนเครือข่ายจากทั่วประเทศที่มีกันอยู่ประมาณ 20 กลุ่ม ซึ่งเพชรบุรี ดีจัง ได้เริ่มเข้าร่วมเป็นภาคีพื้นที่นี้ ดีจัง เมื่อปี 2554 และร่วมขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนในจังหวัดเพชรบุรีมาอย่างต่อเนื่อง ผลสรุป 6 ปี ของเราออกมาประมาณนี้ค่ะ   ช่วงเริ่มต้น เราริเริ่มสร้างเครือข่ายกันเมื่อปี 2554 กลุ่มเยาวชน 14 กลุ่ม จาก 8 อำเภอ รวมกันเป็นเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน สร้างและพัฒนาเยาวชนแกนนำ ค้นหา สื่อ ศิลปะ จากศิลปิน หรือผู้รู้ ในชุมชนของตนเอง […]

เยาวชนภาคีเครือข่ายภาคใต้ กว่า 20 เครือข่าย ร่วมกันเปิดพื้นที่ สร้างสรรค์ความงามในท้องถิ่นของตนเพื่อจุดประกายความหวัง ความสุขของคนใต้ โดยเยาวชนคนรุ่นใหม่ แลกเปลี่ยน ค้นหา อะไรคือ “ความเป็นเรา หัวใจภาคใต้” ผ่านการลงพื้นที่จริง ทำจริง …ปฏิบัติการปลุก ใจ เมืองจึงเริ่มขึ้น 23-25 มิ.ย. 60 ค้นหารากเหง้า ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี ผ่านห้องเรียนภูมิปัญญา ที่ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี 2 ก.ค. 60 ปลุกจิตสำนึกร่วมรักษาทะเลธรรมชาติ ด้วยหลักสิทธิมนุษยชน ผ่านห้องเรียน แลเล แล หาดสมิลา จ.สงขลา 8 ก.ค. 60 ทะเลคือชีวิตของเรา…สัมผัสวิถีชีวิตความผูกพันของคนใต้กับท้องทะเล ผ่านห้องเรียน อ.จะนะ จ.สงขลา 14-16 ก.ค. 60 เข้าใจอัตลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผ่านห้องเรียนอัตลักษณ์และพหุวัฒนธรรม สามจังหวัดชายแดนใต้ เพราะเราเชื่อว่า “พลังของเยาวชน สามารถจุดประกาย ความสุข […]

เมื่อวันพุธที่ 29 มิถุนายน 2559 โดยทีมโค้ชชิ่งโครงการไอซีทีแฮปปี้ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ได้จัดการประชุมครูแกนนำ โรงเรียน 3ดี : สื่อดี พื้นที่ ภูมิดี เพื่อร่วมจัดทำและวางแผนการทำโครงการปี 2559 ภายใต้การสนับสนุนจากสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ซึ่งในปีนี้โครงการแต่ละโรงเรียนมุ่งเน้นเชิงลึกและชัดเจนมากขึ้นมีการเพิ่มเติมเนื้อหาการรู้เท่าทันสื่อในการบูรณาการรายวิชาและการ สร้างสื่อสร้างสรรค์ภายใต้กระบวนการสอนแบบ PBL การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูผู้สอนและนักเรียน บรรยากาศในการประชุมเป็นกันเอง สบายๆ คุณครูได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันด้วยค่ะ และทางโครงการฯ ยังได้มอบสื่อความรู้ใหม่ๆ Roll up ชุดใหม่ ของที่ระลึก ฯลฯ เพื่อให้ครูแกนนำ นำไปใช้ในกิจกรรมภายใต้โครงการฯ   ข้อมูลและภาพจาก Icthappy

“หุ่นเงาทำให้เด็กมีเวทีแสดงออก การได้ออกแสดงเป็นเรื่องสำคัญเพราะเด็กมีของดีต้องได้อวด(ดี) ในเวลาที่แสดงแล้วเด็กจะรู้ว่าเมื่อถูกชมแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร หรือเมื่อผิดพลาดแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร เรียนรู้ที่เจ็บ และเรียนรู้ที่ยิ้ม จึงจะทำให้เด็กเติบโตและพัฒนาได้เร็ว” สุภิญญา บุญเฉลย ผู้ประสานงาน กลุ่มลูกขุนน้ำ แห่งหมู่บ้านคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช เอ่ยคำนี้ด้วยรอยยิ้มขณะเล่าเรื่องราวของเด็กๆ ในกลุ่มลูกขุนน้ำ เธอเรียกแทนตัวเองว่ามาอู กลุ่มลูกขุนน้ำเข้าร่วมพื้นที่นี้…ดีจังเป็นปีที่ 3 เธอเล่าว่าปีแรกเป็นแขกรับเชิญและเข้าร่วมเต็มตัวใน 2 ปี หลังเธอและเด็กๆ พบความสำเร็จจากการเลือกสื่อที่ดีนั่นก็คือ “หุ่นเงา” “หุ่นเงาสามารถประสานได้ทุกฝ่าย ทำให้เด็กได้สืบค้นเรื่องราวในชุมชน ผู้ใหญ่ได้ถ่ายทอด เช็คเสียงสะท้อนจากทุกฝ่ายได้ ซึ่งต่างจากการทำเอกสารประเภทงานวิจัย เพราะสื่อหุ่นเงาเวลาเล่นจะมีเสียงตอบรับจากผู้ชมได้ในทันทีขณะเล่น ซึ่งเด็กรู้สึกและรับรู้ได้เช่นกัน ผู้ชมก็เข้าใจสิ่งที่เด็กสื่อได้บางครั้งอาจจะไม่เข้าใจแต่ก็รู้ว่าเด็กตั้งใจจะทำอะไร จากการทำโครงการที่ผ่านมาเห็นพัฒนาการของเด็ก เช่น มีระเบียบวินัย มีการฝึกซ้อม รู้เรื่องราวของชุมชน ภูมิใจที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนตนเอง” เรียนรู้ต่อเติม ด้วยความพยายามที่จะหาของดีในชุมชนแรกๆ เธอจึงชวนเด็กๆ ไปใช้ธนูคันกระสุน เป็นธนูแบบดั้งเดิมที่มีก้อนหินเป็นกระสุน ซึ่งมีอยู่เฉพาะในชุมชนนี้ และมีปราชญ์ชาวบ้านรู้เรื่องนี้ที่นี่ “มาอูรู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวกลาง(ตัวเชื่อมระหว่างยุค โดยธรรมชาติของชุมชนคีรีวงการถ่ายทอดในทุกๆเรื่องจะส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น)ได้จึงคิดจะให้ผู้ใหญ่สอนเด็กๆในหมู่บ้านโดยตรง แต่เนื่องจากธนูคันกระสุนเป็นเครื่องมือที่ยากเกินไปเพราะต้องฝึกฝนและต้องใช้ความชำนาญ บางคนหัดยิงพลาดไปโดนนิ้วตัวเองเกิดอันตรายกับเด็กๆ ถึงแม้จะเสียดายเพราะธนูคันกระสุนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนก็ตามแต่ความปลอดภัยของเด็กก็ต้องมาก่อนสิ่งใด” ปีที่สองเธอจึงทำซุ้มกิจกรรมและซุ้มศิลปะในโรงเรียนแต่ละแห่งในตำบล รอบๆ หมู่บ้าน แต่ปัญหามีมาทดสอบคนตั้งใจเสมอ พอเข้าไปทำกิจกรรมกับโรงเรียนทำให้เธอรู้ว่าโรงเรียนเองก็มีภาระมาก […]