Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
น้องบิว: นักสื่อสารสร้างสรรค์ในสลัม | ชุมชน 3 ดี
น้องบิว: นักสื่อสารสร้างสรรค์ในสลัม

“ เมื่อก่อนหนูอายมากเลยนะที่จะต้องบอกกับเพื่อนว่าบ้านหนูอยู่ในสลัมดวงแข (ชุมชนวัดดวงแข )ไม่อยากให้เพื่อนมาที่บ้าน  ตอนนี้เพื่อนๆไม่เพียงแค่มาที่บ้านหนู   แต่ยังมาช่วยหนูพัฒนาชุมชน อีกด้วย” 

จากน้องบิว   (ศิริรัตน์  หนูทิม) เด็กในชุมชนแออัดเมืองที่ไม่เคยมีความรู้สึกภาคภูมิใจตนเอง ไม่มีความภาคภูมิใจในที่อยู่ของตนเอง  มีชีวิตอยู่ไปวันๆไม่มีเป้าหมายในชีวิต กลายเป็นแกนนำเยาวชนชุมชนวัดดวงแข ที่มีความภาคภูมิใจ  ภูมิใจรักในชุมชนแออดัดที่ตนเองอยู่  มีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีความมุ่งมั่นที่อยากจะไปให้ถึงฝัน แกนนำเด็กหลักที่สร้างการเปลี่ยนแปลงชุมให้กับชุมชนแออัด  กลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กเยาวชนและชุมชน  เป็นคนที่ลุกขึ้นมาบอกใครๆเรื่องปัญหาชุมชนตนเอง  เชิญชวนผู้คนมาร่วมช่วยพัฒนาชุมชน  สร้างรายได้ให้กับพ่อค้าแม่ค้าในชุมชน  สร้างความรู้สึกรักชุมชนให้ผู้คนในชุมชน  บิวเล่าว่า

“ ตอนเด็กๆ ก็เข้ามาเล่น และทำกิจกรรมที่บ้านพัก ( ศูนย์ดวงแข มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ) บ่อยๆ แต่ก็เข้าบ้างไม่เข้าบ้าง เวลาบ้านพักมีกิจกรรมที่ไหนก็จะได้ไปกับป้าหมี  ป้าติ๋ม หยก

ต้องยอมรับว่าช่วงเวลานั้น ไม่คิดว่าชีวิตจะเป็นอย่างไรต่อ  ไม่ได้มีเป้าหมายในชีวิตว่าจะเรียนต่อ

ม.ปลายสายอะไร จะเรียนต่อมหาวิทยาลัยไหม  หนูยังไม่รู้เลยว่า ชีวิตหนูจะทำไงต่อ แม่ให้เรียนก็เรียน ถ้าไม่ให้เรียนก็ออกมาทำงาน”

จนบิวได้ไปเข้าค่ายสื่อสารสร้างสรรค์   ในค่ายบิวได้เรียนรู้ศิลปะหลายอย่าง  ร่วมทั้งการสื่อสารด้วย   บิวก็เริ่มรู้แล้วว่าเราสนใจเรื่องอะไร  พอพี่จากมพด.มาอบรมทำหนังสั้นให้ ต้องทำหนังสั้นเผยแพร่เรื่องราวในชุมชนดวงแข  บิวได้เป็นผู้กำกับ ต้องทำทุกอย่าง ได้จับกล้อง ซึ่งมันก็ดูจะไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับเด็กในเมืองที่ได้จับกล้อง แต่สำหรับตัวบิวเอง การที่บิวได้จับกล้องได้ถ่ายรูป บิวรู้สึกดี  รู้สึกชอบ ผลงานของเราถูกนำไปให้คนภายนอกได้ดู ก็รู้สึกดีใจแล้ว  หลังจากนั้นเวลา มพด.มีกิจกรรมอะไรหรือต้องไปอบรมที่ไหนก็จะอยากไปกว่าเมื่อก่อน

แต่ที่บิวคิดว่า สิ่งที่ทำให้บิวมีเป้าหมายในชีวิต  ทำให้บิวรู้ว่าบิวอยากจะเป็นอะไร ก็คือ การที่ได้ผลิตสื่อกับพี่ๆ  เพราะพี่คอยสอน  คอยบอก ติชม ภาพที่บิวถ่าย  เหมือนมีที่ปรึกษา

นอกจากหนังสั้นแนะนำชุมชนวัดดวงแขแล้ว  บิวและแกนนำเยาวชนยังผลิตสื่ออีกหลายอย่าง เช่น  โบชัวร์แผนที่เรืองยิ้ม  เป็นแผนที่แนะนำร้านอร่อยในย่านรองเมือง ซึ่งบิวและเด็กๆในชุมชนช่วยกันผลิต  เริ่มตั้งแต่สำรวจร้านอาหารที่ สะอาด  อร่อย  และถูก เด็กๆสามารถไปซื้อมารับประทานได้  หลังจากนั้นก็ช่วยกันออกแบบจนสำเร็จ  เป็นสื่อที่ภาคภูมิใจของเด็กๆและผู้ใหญ่ในชุมชนวัดดวงแข   

บิวเหมือนเด็กวัยรุ่นเมืองทั่วไป   ที่มีความคิดเป็นของตัวเอง   แต่ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นออกมา ไม่ค่อยชอบอธิบาย  อาจจะเป็นเพราะกลัวพูดออกมาแล้วคนอื่นจะไม่เข้าใจ   แต่ด้วยทุกครั้งที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม บิวต้องถูกให้ออกมานำเสนอหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตลอด  จึงเป็นเสมือนเวทีให้บิวได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง และได้ฝึกตนเองไปโดยไม่รู้ตัว  ตอนนี้บิวเด็กที่ความคิดดีแต่ไม่ยอมพูด  กลายเป็นแกนนำเยาวชนที่ถ่ายทอดเรื่องราวของเด็กชุมชนแออัดในเมืองที่ออกมาจากความเข้าใจให้คนภายนอกได้รับรู้  บิวเคยบอกว่า

“การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเด็กหญิงคนหนึ่งซึ่งไม่เคยนึกถึงเป้าหมายในชีวิต กลายมาเป็นคนที่มุ่งมั่นตามฝันของตนเอง กลายมาเป็นเด็กที่กล้าบอกเล่าเรื่องราวชุมชนแออัดที่ตนอาศัย  กลายเป็นต้นแบบของเด็กๆในชุมชน  การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่นี้เกิดขึ้นได้จากการเปิดพื้นที่เล็กๆของสังคมให้เขาได้มีจุดยืน  ให้เขาได้มีตัวตน”

บทความที่เกี่ยวข้อง

“หุ่นเงาทำให้เด็กมีเวทีแสดงออก การได้ออกแสดงเป็นเรื่องสำคัญเพราะเด็กมีของดีต้องได้อวด(ดี) ในเวลาที่แสดงแล้วเด็กจะรู้ว่าเมื่อถูกชมแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร หรือเมื่อผิดพลาดแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร เรียนรู้ที่เจ็บ และเรียนรู้ที่ยิ้ม จึงจะทำให้เด็กเติบโตและพัฒนาได้เร็ว” สุภิญญา บุญเฉลย ผู้ประสานงาน กลุ่มลูกขุนน้ำ แห่งหมู่บ้านคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช เอ่ยคำนี้ด้วยรอยยิ้มขณะเล่าเรื่องราวของเด็กๆ ในกลุ่มลูกขุนน้ำ เธอเรียกแทนตัวเองว่ามาอู กลุ่มลูกขุนน้ำเข้าร่วมพื้นที่นี้…ดีจังเป็นปีที่ 3 เธอเล่าว่าปีแรกเป็นแขกรับเชิญและเข้าร่วมเต็มตัวใน 2 ปี หลังเธอและเด็กๆ พบความสำเร็จจากการเลือกสื่อที่ดีนั่นก็คือ “หุ่นเงา” “หุ่นเงาสามารถประสานได้ทุกฝ่าย ทำให้เด็กได้สืบค้นเรื่องราวในชุมชน ผู้ใหญ่ได้ถ่ายทอด เช็คเสียงสะท้อนจากทุกฝ่ายได้ ซึ่งต่างจากการทำเอกสารประเภทงานวิจัย เพราะสื่อหุ่นเงาเวลาเล่นจะมีเสียงตอบรับจากผู้ชมได้ในทันทีขณะเล่น ซึ่งเด็กรู้สึกและรับรู้ได้เช่นกัน ผู้ชมก็เข้าใจสิ่งที่เด็กสื่อได้บางครั้งอาจจะไม่เข้าใจแต่ก็รู้ว่าเด็กตั้งใจจะทำอะไร จากการทำโครงการที่ผ่านมาเห็นพัฒนาการของเด็ก เช่น มีระเบียบวินัย มีการฝึกซ้อม รู้เรื่องราวของชุมชน ภูมิใจที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนตนเอง” เรียนรู้ต่อเติม ด้วยความพยายามที่จะหาของดีในชุมชนแรกๆ เธอจึงชวนเด็กๆ ไปใช้ธนูคันกระสุน เป็นธนูแบบดั้งเดิมที่มีก้อนหินเป็นกระสุน ซึ่งมีอยู่เฉพาะในชุมชนนี้ และมีปราชญ์ชาวบ้านรู้เรื่องนี้ที่นี่ “มาอูรู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวกลาง(ตัวเชื่อมระหว่างยุค โดยธรรมชาติของชุมชนคีรีวงการถ่ายทอดในทุกๆเรื่องจะส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น)ได้จึงคิดจะให้ผู้ใหญ่สอนเด็กๆในหมู่บ้านโดยตรง แต่เนื่องจากธนูคันกระสุนเป็นเครื่องมือที่ยากเกินไปเพราะต้องฝึกฝนและต้องใช้ความชำนาญ บางคนหัดยิงพลาดไปโดนนิ้วตัวเองเกิดอันตรายกับเด็กๆ ถึงแม้จะเสียดายเพราะธนูคันกระสุนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนก็ตามแต่ความปลอดภัยของเด็กก็ต้องมาก่อนสิ่งใด” ปีที่สองเธอจึงทำซุ้มกิจกรรมและซุ้มศิลปะในโรงเรียนแต่ละแห่งในตำบล รอบๆ หมู่บ้าน แต่ปัญหามีมาทดสอบคนตั้งใจเสมอ พอเข้าไปทำกิจกรรมกับโรงเรียนทำให้เธอรู้ว่าโรงเรียนเองก็มีภาระมาก […]

ชวนใช้กระทงกาบมะพร้าว ของชุมชนวัดโพธิ์เรียง ลอยกระทงซึ่งอยู่แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เป็นส่วนหนึ่งของ เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง เป็นการรวมตัวกันของชุมชนเมืองในย่านบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ เขตพระนคร เขตบึงกุ่ม เขตบางนาและเขตสวนหลวง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว โดยจัดสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก-เยาวชน นำเด็ก-เยาวชนออกจากปัจจัยเสี่ยง ทั้งปัญหายาเสพติด อบายมุขเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ โดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดีในการขับเคลื่อนนั่นก็คือ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เริ่มสำรวจความต้องการและการมีส่วนร่วมของเด็ก-เยาวชน สู่ภาคส่วนต่างๆในชุมชน ได้ทำให้เกิดการขยับขยายเป็นเครือข่าย 17 ชุมชน ย่านบางกอกน้อย-บางกอกใหญ่ และขยายไปยังเขตอื่นๆของกรุงเทพมหานคร การเปิดพื้นที่ทำให้เกิดกลุ่มเยาวชนที่ใช้สื่อศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและฟื้นฟูสื่อวัฒนธรรมของดีที่มีอยู่ในชุมชน ต่อยอดแหล่งเรียนรู้กลุ่มอาชีพ และสร้างความภูมิใจของชุมชน มีกระบวนการทำงานสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และพัฒนาไปสู่การสร้างเศรษฐกิจ เกิดรายได้ กลับคืนสู่ชุมชน   ในย่านนี้ ในอดีตเป็นสวนมะพร้าว สวนผลไม้ ทำของกินจากมะพร้าว ตามบ้านจึงมีกาบมะพร้าวอยู่มาก เมื่อถึงคืนวันเพ็ญเดือน 12 จึงเกิดความคิดประดิษฐ์กระทงจากกาบมะพร้าวผสมไม้ไผ่และไม้ระกำ ทำเป็นรูปทรงเรืออีโปง แล้วให้คนในหมู่บ้านมาลอยกระทงกันริมฝั่งคลอง เพื่อเป็นการขอขมาพระแม่คงคาและลอยทุกข์โศกโรคภัยให้พ้นจากตัวเองและครอบครัว แต่นานวันภูมิปัญญาเรือกระทงกาบมะพร้าวค่อยๆ เลือนหาย เพราะมีกระทงรูปแบบใหม่มาแทนที่ […]

29 พ.ค. เยาวชนบางกอกนี้…ดีจัง  และชุมชนวัดอัมพวา จัดกิจกรรม อัยย๊ะ เยาวชนเปิดท้าย สไตล์สื่อสร้างสรรค์ โดยรวมพลเยาวชนจาก 3 พื้นที่ นั่นคือบางพลัด บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย  เปิดท้ายสื่อสร้างสรรค์ บอกเล่าเรื่องดีๆ กิจกรรมดีๆ เด็กๆมีพื้นที่ได้เล่น ผู้ใหญ่มีพื้นที่ยิ้ม ขับเคลื่อนชุมชนให้มีชีวิต ด้วย 3 ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยการสนับสนุนของเครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง   มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา และสถาบันสือเด็กและเยาวชน ติดตามกิจกรรม https://www.facebook.com/profile.php?id=100005934120805&fref=photo    

เพชรบุรีดีจัง มาส่งต่อกัน บนแพไม้ไผ่ริมแม่น้ำเพชรบุรี มหกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ที่มีชีวิต ผ่านไปอีกปีแล้ว “เพชรบุรีดีจัง”  มาส่งต่อกัน ย่านชุมชนเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ประกอบด้วย ถนนดำเนินเกษม แยกเพชรนคร ถึงน้ำพุ ถนนริมน้ำหลังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ลานวิหารพระคันธาราฐ วัดพลับพลาชัย ถนนซอยริมน้ำแยกสะพานใหญ่ ถึงสะพานจอมเกล้า ได้มีการจัด “งานมหกรรมเพชรบุรีดีจัง มาส่งต่อกัน” ครั้งที่ 7 ขึ้น ระหว่างวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 18-19 มี.ค.60 ที่ผ่านมา สำหรับกิจกรรมมีการจัดซุ้ม และการแสดงของกลุ่มเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ศิลปวัฒนธรรมในชุมชน และจากเครือข่ายพื้นที่ทั่วประเทศ ถนนสายศิลปะ ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ลานกิจกรรมสำหรับเด็กๆ ลานท่าน้ำสวนสุนทรภู่ วัดพลับพลาชัย โดยทุกท่านสามารถร่วมกิจกรรมได้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังได้ชมเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรมที่มีมาแต่สมัยอดีต สนุกกับงานสร้างสรรค์ศิลปะ และการออกแบบอันหลากหลาย เรียนรู้และสร้างสรรค์งานสกุลช่างเมืองเพชร เพลินไปบนถนนอนามัยและซอยตลาดริมน้ำ ย้อนรอยตลาดเก่าเรียนรู้วิถีชีวิตชาวจีนย่านตลาดริมน้ำ ผ่านกิจกรรมเปิดบ้านชุมชนชมเครื่องเรือน โดยทุกถนนมีการประดับตกแต่งด้วยโคมไฟที่หลากหลายอย่างสวยงามตระการตา และกิจกรรมต่างๆ เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จัดอย่างต่อเนื่องทุกปี ครั้งนี้เป็นปีที่ 7 แล้ว โดยจังหวัดเพชรบุรี ร่วมกับเครือข่ายเพชรบุรีดีจัง และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ […]