Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
จังหวัดเพชรบุรีเปิดพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิตใจกลางเมือง | ชุมชน 3 ดี
จังหวัดเพชรบุรีเปิดพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิตใจกลางเมือง

จังหวัดเพชรบุรี โดยเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี จัดมหกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิต เพชรบุรี ดีจัง มาส่งต่อกัน โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี เทศบาลเมืองเพชรบุรี สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมสมทบสนับสนุนงบประมาณ หน่วยงานราชการ องค์กร บริษัท เอกชน ชุมชนพร้อมใจร่วมจัดกิจกรรม ด้านเอกชนเจ้าของที่ดิน 2 แปลงให้ใช้พื้นที่ส่วนบุคคลเป็นลานกิจกรรม

สืบเนื่องจากกลุ่มเด็กและเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ได้ริเริ่มจัดงานมหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ เพชรบุรี ดีจัง นำเสนอสื่อ ศิลปะ และวัฒนธรรมของชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดเพชรบุรีที่เกิดจากการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน จากโครงการพื้นที่สร้างสรรค์ เพชรบุรี ดีจัง ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนทั้งในท้องถิ่นและต่างจังหวัด ตลอดจนยังเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนทั่วไปอีกด้วย โดยที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. แต่ปีนี้ทาง สสส. ลดงบประมาณลง ด้วยเหตุนี้ นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี จึงได้มอบนโยบายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดมหกรรมครั้งนี้ และขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรีอีกจำนวนหนึ่งด้วย

ด้านกิจกรรมในปีนี้ นางสาวสุนิสา ประทุมเทือง แกนนำเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรีดีจัง ผู้ประสานงานมหกรรมครั้งนี้ ได้กล่าวว่า “จากการที่เครือข่ายได้ร่วมกันขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์กันมาถึงปีนี้ก็เป็นปีที่ 6 แล้ว ทำให้หลายพื้นที่มีการเติบโตขึ้น จากพื้นที่สร้างสรรค์เล็ก ๆ ในชุมชน กลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ทั้งชุมชน เกิดความร่วมมือร่วมใจกันมากขึ้น มีพื้นที่เรียนรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ปีนี้เราก็ใช้ชื่อมหกรรมว่า มหกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิต เพชรบุรี ดีจัง มาส่งต่อกัน เพื่อให้ทุกคนในเพชรบุรี ได้มาร่วมมือกัน ดูแล รักษา พื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่เรียนรู้ในชุมชนไว้ ช่วยกันเล่าช่วยกันบอกต่อให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ขึ้นในทุก ๆ พื้นที่ทุกชุมชน และก็อยากให้ทางจังหวัดเพชรบุรี ได้จัดงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ที่คนเมืองเพชรได้ร่วมกันเริ่มต้นนี้ไว้ ให้สามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไปเรื่อย ๆ  โดยงานมหกรรมครั้งนี้ จะมีขึ้นในวันเสาร์ – อาทิตย์ที่ 18 – 19 มีนาคม 2560 นี้ ในพื้นทีชุมชนใจกลางเมืองเพชรบุรี มีกิจกรรมทั้งภาคกลางวันและช่วงค่ำก็จะเริ่มประมาณ 5 โมงเย็นเป็นต้นไป”

“ส่วนด้านผู้ร่วมจัดกิจกรรมในงานมหกรรมปีนี้ กลุ่มเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรีดีจังยังคงเป็นแกนนำในการจัดมหกรรม ร่วมกับกลุ่มรักษ์ตลาดริมน้ำและกลุ่มชุมชนชาวถนนคลองกระแชง เหมือนทุกปีที่ผ่านมา แต่ปีนี้มีองค์กรที่ร่วมจัดเพิ่มมากขึ้น ประกอบด้วย เทศบาลเมืองเพชรบุรี  สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี สถาบันอาศรมศิลป์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กศน.เพชรบุรี กลุ่มศิลปินถ่ายภาพและศิลปินวาดภาพ ชาวชุมชนตำบลนาพันสามและวัดนาพรม เครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี ชุมชนผึ้งน้อยมหัศจรรย์ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัทไปรษณีย์ไทย จังหวัดเพชรบุรี ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารออมสิน และจะมีเพื่อนภาคีพื้นที่นี้ดีจังจาก 6 จังหวัด มาร่วมจัดกิจกรรมด้วย โดยมีน้อง ๆ จากโรงเรียนบางจานวิทยา และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มาร่วมเป็นอาสาสมัครในงาน มีหน่วยปฐมพยาบาลจากโรงพยาบาลเมืองเพชรธนบุรี และจากศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง โรงพยาบาลพระจอมเกล้า มาคอยบริการหากเกิดการเจ็บป่วย ส่วนด้านการจราจรและความปลอดภัย ก็ได้รับความอนุเคราะห์จากสถานีตำรวจภูธรเมืองเพชรบุรีจัดกำลังเจ้าหน้าที่มาดูแล และมี อปพร. จากเทศบาลเมืองเพชรบุรีมาร่วมสนับสนุนด้วย นอกจากนี้ก็ยังมีเครือข่ายขององค์กรและชุมชนที่ร่วมจัดงานอีกหลายภาคส่วนที่ไม่สามารถจะกล่าวถึงได้หมด”

สำหรับกิจกรรมก็มีหลากหลาย ทั้งกิจกรรมเรียนรู้ที่เป็นการชวนกันลงมือทำและการแสดง มีการเปิดบ้านและการจัดกิจกรรมของคนในชุมชน ทั้งในซอยริมน้ำ ถนนคลองกระแชงและถนนดำเนินเกษม กิจกรรมทางน้ำที่ปีนี้ได้รับความเมตตาจากเจ้าอาวาสวัดนาพรม จัดเรือพายและคนในชุมชนมาร่วมสร้างสีสันให้กับมหกรรมในแม่น้ำเพชรบุรีอีกด้วย ส่วนกิจกรรมภาคกลางวันในปีนี้ก็มีเพิ่มมากขึ้น จะมีการจัดเสวนาถึงราชาเรื่องสั้น มนัส จรรยงค์ ที่จะมีนายกสามคมนักเขียนแห่งประเทศไทยพร้อมด้วยนักเขียนชื่อดังระดับประเทศมาร่วมเสวนาด้วย มีกิจกรรมเดินชุมชน กิจกรรมสอนทำอาหาร และกิจกรรมทางน้ำ  ส่วนพิธีเปิดก็จะมีด้วยกัน 4 พื้นที่ ต่างเวลากัน เริ่มด้วย 13.00 น. พิธีเปิดกิจกรรมภาคกลางวัน โดยวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี ณ บ้านจรรยงค์ ถนนคลองกระแชง 17.00 น. เปิด ณ ลานตั้งสวัสดิรัตน์ โดยนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบุรี ซอยริมน้ำ ใกล้สะพานจอมเกล้า 18.00 น. พิธีเปิดกิจกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิตและถนนสายกิจกรรม 3 ส. โดยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี ณ บริเวณสี่แยกเพชรนคร 19.00 น. พิธีเปิดงานมหกรรม เพชรบุรี ดีจัง มาส่งต่อกัน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ณ ท่าน้ำวัดพลับพลาชัย และท่าน้ำตลาดสดเพชรบุรี ก็อยากจะขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และมาร่วมพิธีเปิดมหกรรมครั้งนี้พร้อม ๆ กัน”

ด้านสถานที่จัดมหกรรม ได้รับการชี้แจงจากนางสาวเนตรนภา รุ่มรวย เยาวชนกลุ่มรักษ์หนองปรง ที่รับหน้าที่หัวหน้าฝ่ายสถานที่กล่าวว่า “สำหรับพื้นที่จัดงานปีนี้ ก็ใช้พื้นที่เหมือนปีที่ผ่านมา คือ ถนนดำเนินเกษม ตั้งแต่สี่แยกไปรษณีย์ ถึงหน้า วัดมหาธาตุ ถนนหลังจวน ถนนคลองกระแชงตลอดสาย และในซอยริมน้ำซึ่งอยู่ฝั่งตลาดสด ลานรอบน้ำพุ ลานสุนทรภู่ ลานวิหารคันธารราฐ วัดพลับพลาชัย และที่พิเศษปีนี้ เราได้รับความเมตตาจากผู้ใหญ่ใจดี มอบพื้นที่ส่วนตัวให้ใช้เป็นลานกิจกรรม คือลานตั้งสวัสดิรัตน์  ในซอยริมน้ำ จากห้างทองไทยง่วนฮง และลานเดอะซันปันสุข บริเวณหน้าตึกชุมสายโทรศัพท์ จากเจ้าของห้างเดอะซัน และสำนักงานทรัพย์สินฯ ก็อนุญาตให้ใช้พื้นที่ในตลาดสดเพชรบุรี จัดกิจกรรมได้ด้วย นอกจากนี้ก็มีชาวชุมชนอีกหลายบ้าน ที่เปิดบ้านจัดกิจกรรมร่วมกันด้วย ก็ขอถือโอกาสขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีทุกท่านไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ”

งานมหกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิต เพชรบุรี ดีจัง มาส่งต่อกัน ได้รับการสนับสนุนจาก จังหวัดเพชรบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี เทศบาลเมืองเพชรบุรี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี สโมสรพื้นที่นี้ ดีจัง สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับ เด็กและเยาวชน ตลอดจนครอบครัว และผู้สนใจทั่วไป ได้มาเรียนรู้ สื่อ ศิลปะ ของพื้นที่ชุมชนตามบริบทของพื้นที่หรือองค์กรที่มาร่วมจัดกิจกรรม สร้างสังคมการเรียนรู้ไร้พรมแดน ภายใต้แนวคิด “เล่น เรียนรู้ ริเริ่ม ร่วมทำ แบ่งปัน” โดยมีเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง เป็นแกนนำออกแบบพื้นที่และกิจกรรมโดยใช้หลักการ 3 ส. คือ สื่อสาร สร้างสรรค์ มีส่วนร่วม เพื่อให้เกิด สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี นำสังคมไปสู่ ชุมชน วิถี ชีวิต สุขภาวะ จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมงานมหกรรมในครั้งนี้ มาร่วมกัน เปลี่ยนประเทศไทยจากจุดเล็ก ๆ ด้วยจินตนาการอันยิ่งใหญ่ นี้พร้อม ๆ กัน

 

ขอขอบคุณพี่ ๆ สื่อมวลชนทุกท่านทุกสำนัก ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมของเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ด้วยดี ตลอดมา

ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ https://www.facebook.com/phetburideejung/?ref=ts&fref=ts

บทความที่เกี่ยวข้อง

4 ก.ค. 58 มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ร่วมกันจัดทำโครงการโรงเรียน 3 ดี เพื่อสร้างพลเมืองในวิถีประชาธิปไตย และทางโครงการฯได้ขอพบผู้บริหาร ครู และนักเรียนแกนนำโรงเรียน 3 ดี ทั้ง 11 โรงเรียน เพื่อแนะนำโครงการ แผนกิจกรรม และกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นต่างๆ ภายในโครงการฯ และยังได้นำสื่อการเรียนรู้ใหม่ๆ โรลอัพความรู้ ไปมอบให้กับโรงเรียนไว้ใช้ในชมรมฯ อีกด้วย ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย

“ เมื่อก่อนหนูอายมากเลยนะที่จะต้องบอกกับเพื่อนว่าบ้านหนูอยู่ในสลัมดวงแข (ชุมชนวัดดวงแข )ไม่อยากให้เพื่อนมาที่บ้าน  ตอนนี้เพื่อนๆไม่เพียงแค่มาที่บ้านหนู   แต่ยังมาช่วยหนูพัฒนาชุมชน อีกด้วย”  จากน้องบิว   (ศิริรัตน์  หนูทิม) เด็กในชุมชนแออัดเมืองที่ไม่เคยมีความรู้สึกภาคภูมิใจตนเอง ไม่มีความภาคภูมิใจในที่อยู่ของตนเอง  มีชีวิตอยู่ไปวันๆไม่มีเป้าหมายในชีวิต กลายเป็นแกนนำเยาวชนชุมชนวัดดวงแข ที่มีความภาคภูมิใจ  ภูมิใจรักในชุมชนแออดัดที่ตนเองอยู่  มีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีความมุ่งมั่นที่อยากจะไปให้ถึงฝัน แกนนำเด็กหลักที่สร้างการเปลี่ยนแปลงชุมให้กับชุมชนแออัด  กลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กเยาวชนและชุมชน  เป็นคนที่ลุกขึ้นมาบอกใครๆเรื่องปัญหาชุมชนตนเอง  เชิญชวนผู้คนมาร่วมช่วยพัฒนาชุมชน  สร้างรายได้ให้กับพ่อค้าแม่ค้าในชุมชน  สร้างความรู้สึกรักชุมชนให้ผู้คนในชุมชน  บิวเล่าว่า “ ตอนเด็กๆ ก็เข้ามาเล่น และทำกิจกรรมที่บ้านพัก ( ศูนย์ดวงแข มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ) บ่อยๆ แต่ก็เข้าบ้างไม่เข้าบ้าง เวลาบ้านพักมีกิจกรรมที่ไหนก็จะได้ไปกับป้าหมี  ป้าติ๋ม หยก ต้องยอมรับว่าช่วงเวลานั้น ไม่คิดว่าชีวิตจะเป็นอย่างไรต่อ  ไม่ได้มีเป้าหมายในชีวิตว่าจะเรียนต่อ ม.ปลายสายอะไร จะเรียนต่อมหาวิทยาลัยไหม  หนูยังไม่รู้เลยว่า ชีวิตหนูจะทำไงต่อ แม่ให้เรียนก็เรียน ถ้าไม่ให้เรียนก็ออกมาทำงาน” จนบิวได้ไปเข้าค่ายสื่อสารสร้างสรรค์   ในค่ายบิวได้เรียนรู้ศิลปะหลายอย่าง  ร่วมทั้งการสื่อสารด้วย   บิวก็เริ่มรู้แล้วว่าเราสนใจเรื่องอะไร  […]

กลุ่มเยาวชนอิงะกัมปง  หมู่บ้านปาโงปะแต  ต.โคกสะตอ  อ.รือเสาะ  จ.นราธิวาส    จากเยาวชนไม่ถึง 10 คนกลุ่มสุดท้ายที่เหลืออยู่ที่รอดพ้นจากอิทธิพลของยาเสพติด  จากกลุ่มเด็กเยาวชนนอกระบบ (เรียนโรงเรียนสอนศาสนา และไม่ได้เรียน ) ขี้อาย พูดไม่เก่ง กลัวผู้คน ( มีอาการเป็นไข้ บางคนหายใจ   ไม่ออก เมื่อพบเจอผู้คน ) จากเยาวชนที่ถูกสงสัยเรื่องก่อความรุนแรง  สู่แกนนำเด็กเยาวชนที่สร้างพื้นที่ปลอดภัย  ปลอดยาเสพติด 100%    สร้างกองทุนเพื่อช่วยเด็กเยาวชนในชุมชนที่ยากจนไม่ได้เรียนหนังสือ และผู้สูงอายุ เปลี่ยนแปลงพื้นที่สีแดง ทั้งเรื่องยาเสพติด ความรุนแรง  ความหวาดระแวงกันและกัน  กลายเป็นพื้นที่ความสัมพันธ์ที่ดี เอื้อเฟื้อแบ่งปันช่วยเหลือทำงานร่วมกันระหว่างราชการกับชุมชน  จากกลุ่มเด็กเยาวชนนอกระบบ ไม่รู้จักเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์  กลายเป็นผู้สร้างสื่อสร้างสรรค์หนังสั้นอนา ซีสที่สร้างผลกระทบลดเรื่องยาเสพติดในชุมชนได้อย่างแนบเนียน  เป็นกลุ่มเด็กเยาวชนกลุ่มแรกที่ลุกขึ้นมา การทำงานจิตอาสาเพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ จากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมปฏิเสธเสื้อกันหนาวไม่กี่ตัวที่ได้รับบริจาค  เพื่อการส่งต่อ และเริ่มต้นงานเล็กๆ ด้วยจิตอาสาเกินร้อย  แบกไม้กวาดไม้ถูพื้นลงพื้นที่ทำความสะอาดโรงเรียนที่น้ำท่วม( หลังน้ำลด ) กลายเป็นผู้จุดประกายงานจิตอาสาเยาวชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ […]

ด้วยความเป็นครูที่ต้องการให้เด็กได้เรียนหนังสือ หลังจาก ศรีใจ  วงคำลือย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่เงา  ต.แม่สวด  อ.สบเมย  จ.แม่ฮ่องสอน  ก็ทุ่มเททุกทางเพื่อให้เด็กชาวเขาได้เข้าสู่ระบบโรงเรียน  ต้องเดินเท้าเข้าป่าเพื่อไปตามเด็กที่ช่วยพ่อแม่ทำไรมาเรียนหนังสือ    นอกจากนั้นยังก้าวข้ามความอาย  เวลาเห็นพืชผักผลไม้ที่พ่อค้าทิ้งขว้างก็ไม่รีรอที่จะ ขอมาทำอาหารให้เด็กๆหรือแม้กระทั้งถังสังฆทานจากวัด รวมไปถึงร้านขายของชำของภรรยาก็จะไปขอเชื่อสินค้าเพื่อนำมาใช้ในโรงเรียนเนื่องจากเด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กไม่มีสัญชาติไม่ได้เงินสนับสนุนอาหารจากรัฐ  “เมื่อเขาด้อยโอกาส ก็อยากให้โอกาสเรา สร้างโอกาสการศึกษาให้เขาได้  เอาลูกเขามาดูแลแล้วต้องดูแลให้ดีที่สุด” หมายเหตุ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ ๑๔ แรงบันดาลใจ  หน้าที่ ๑๕๒ –๑๖๔