เยาวชนภาคีเครือข่ายภาคใต้ กว่า 20 เครือข่าย ร่วมกันเปิดพื้นที่ สร้างสรรค์ความงามในท้องถิ่นของตนเพื่อจุดประกายความหวัง ความสุขของคนใต้ โดยเยาวชนคนรุ่นใหม่ แลกเปลี่ยน ค้นหา อะไรคือ “ความเป็นเรา หัวใจภาคใต้” ผ่านการลงพื้นที่จริง ทำจริง …ปฏิบัติการปลุก ใจ เมืองจึงเริ่มขึ้น
23-25 มิ.ย. 60 ค้นหารากเหง้า ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี ผ่านห้องเรียนภูมิปัญญา ที่ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี
2 ก.ค. 60 ปลุกจิตสำนึกร่วมรักษาทะเลธรรมชาติ ด้วยหลักสิทธิมนุษยชน ผ่านห้องเรียน แลเล แล หาดสมิลา จ.สงขลา
8 ก.ค. 60 ทะเลคือชีวิตของเรา…สัมผัสวิถีชีวิตความผูกพันของคนใต้กับท้องทะเล ผ่านห้องเรียน
อ.จะนะ จ.สงขลา
14-16 ก.ค. 60 เข้าใจอัตลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผ่านห้องเรียนอัตลักษณ์และพหุวัฒนธรรม สามจังหวัดชายแดนใต้
เพราะเราเชื่อว่า “พลังของเยาวชน สามารถจุดประกาย ความสุข ความหวังในพื้นที่ภาคใต้”…แล้วพบกัน!
“หุ่นเงาทำให้เด็กมีเวทีแสดงออก การได้ออกแสดงเป็นเรื่องสำคัญเพราะเด็กมีของดีต้องได้อวด(ดี) ในเวลาที่แสดงแล้วเด็กจะรู้ว่าเมื่อถูกชมแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร หรือเมื่อผิดพลาดแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร เรียนรู้ที่เจ็บ และเรียนรู้ที่ยิ้ม จึงจะทำให้เด็กเติบโตและพัฒนาได้เร็ว” สุภิญญา บุญเฉลย ผู้ประสานงาน กลุ่มลูกขุนน้ำ แห่งหมู่บ้านคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช เอ่ยคำนี้ด้วยรอยยิ้มขณะเล่าเรื่องราวของเด็กๆ ในกลุ่มลูกขุนน้ำ เธอเรียกแทนตัวเองว่ามาอู กลุ่มลูกขุนน้ำเข้าร่วมพื้นที่นี้…ดีจังเป็นปีที่ 3 เธอเล่าว่าปีแรกเป็นแขกรับเชิญและเข้าร่วมเต็มตัวใน 2 ปี หลังเธอและเด็กๆ พบความสำเร็จจากการเลือกสื่อที่ดีนั่นก็คือ “หุ่นเงา” “หุ่นเงาสามารถประสานได้ทุกฝ่าย ทำให้เด็กได้สืบค้นเรื่องราวในชุมชน ผู้ใหญ่ได้ถ่ายทอด เช็คเสียงสะท้อนจากทุกฝ่ายได้ ซึ่งต่างจากการทำเอกสารประเภทงานวิจัย เพราะสื่อหุ่นเงาเวลาเล่นจะมีเสียงตอบรับจากผู้ชมได้ในทันทีขณะเล่น ซึ่งเด็กรู้สึกและรับรู้ได้เช่นกัน ผู้ชมก็เข้าใจสิ่งที่เด็กสื่อได้บางครั้งอาจจะไม่เข้าใจแต่ก็รู้ว่าเด็กตั้งใจจะทำอะไร จากการทำโครงการที่ผ่านมาเห็นพัฒนาการของเด็ก เช่น มีระเบียบวินัย มีการฝึกซ้อม รู้เรื่องราวของชุมชน ภูมิใจที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนตนเอง” เรียนรู้ต่อเติม ด้วยความพยายามที่จะหาของดีในชุมชนแรกๆ เธอจึงชวนเด็กๆ ไปใช้ธนูคันกระสุน เป็นธนูแบบดั้งเดิมที่มีก้อนหินเป็นกระสุน ซึ่งมีอยู่เฉพาะในชุมชนนี้ และมีปราชญ์ชาวบ้านรู้เรื่องนี้ที่นี่ “มาอูรู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวกลาง(ตัวเชื่อมระหว่างยุค โดยธรรมชาติของชุมชนคีรีวงการถ่ายทอดในทุกๆเรื่องจะส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น)ได้จึงคิดจะให้ผู้ใหญ่สอนเด็กๆในหมู่บ้านโดยตรง แต่เนื่องจากธนูคันกระสุนเป็นเครื่องมือที่ยากเกินไปเพราะต้องฝึกฝนและต้องใช้ความชำนาญ บางคนหัดยิงพลาดไปโดนนิ้วตัวเองเกิดอันตรายกับเด็กๆ ถึงแม้จะเสียดายเพราะธนูคันกระสุนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนก็ตามแต่ความปลอดภัยของเด็กก็ต้องมาก่อนสิ่งใด” ปีที่สองเธอจึงทำซุ้มกิจกรรมและซุ้มศิลปะในโรงเรียนแต่ละแห่งในตำบล รอบๆ หมู่บ้าน แต่ปัญหามีมาทดสอบคนตั้งใจเสมอ พอเข้าไปทำกิจกรรมกับโรงเรียนทำให้เธอรู้ว่าโรงเรียนเองก็มีภาระมาก […]
จังหวัดเพชรบุรี โดยเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี จัดมหกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิต เพชรบุรี ดีจัง มาส่งต่อกัน โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี เทศบาลเมืองเพชรบุรี สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมสมทบสนับสนุนงบประมาณ หน่วยงานราชการ องค์กร บริษัท เอกชน ชุมชนพร้อมใจร่วมจัดกิจกรรม ด้านเอกชนเจ้าของที่ดิน 2 แปลงให้ใช้พื้นที่ส่วนบุคคลเป็นลานกิจกรรม สืบเนื่องจากกลุ่มเด็กและเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ได้ริเริ่มจัดงานมหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ เพชรบุรี ดีจัง นำเสนอสื่อ ศิลปะ และวัฒนธรรมของชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดเพชรบุรีที่เกิดจากการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน จากโครงการพื้นที่สร้างสรรค์ เพชรบุรี ดีจัง ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนทั้งในท้องถิ่นและต่างจังหวัด ตลอดจนยังเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนทั่วไปอีกด้วย โดยที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. แต่ปีนี้ทาง สสส. ลดงบประมาณลง ด้วยเหตุนี้ นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี จึงได้มอบนโยบายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดมหกรรมครั้งนี้ และขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรีอีกจำนวนหนึ่งด้วย ด้านกิจกรรมในปีนี้ นางสาวสุนิสา ประทุมเทือง […]
ด้วยความเป็นครูที่ต้องการให้เด็กได้เรียนหนังสือ หลังจาก ศรีใจ วงคำลือย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่เงา ต.แม่สวด อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ก็ทุ่มเททุกทางเพื่อให้เด็กชาวเขาได้เข้าสู่ระบบโรงเรียน ต้องเดินเท้าเข้าป่าเพื่อไปตามเด็กที่ช่วยพ่อแม่ทำไรมาเรียนหนังสือ นอกจากนั้นยังก้าวข้ามความอาย เวลาเห็นพืชผักผลไม้ที่พ่อค้าทิ้งขว้างก็ไม่รีรอที่จะ ขอมาทำอาหารให้เด็กๆหรือแม้กระทั้งถังสังฆทานจากวัด รวมไปถึงร้านขายของชำของภรรยาก็จะไปขอเชื่อสินค้าเพื่อนำมาใช้ในโรงเรียนเนื่องจากเด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กไม่มีสัญชาติไม่ได้เงินสนับสนุนอาหารจากรัฐ “เมื่อเขาด้อยโอกาส ก็อยากให้โอกาสเรา สร้างโอกาสการศึกษาให้เขาได้ เอาลูกเขามาดูแลแล้วต้องดูแลให้ดีที่สุด” หมายเหตุ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ ๑๔ แรงบันดาลใจ หน้าที่ ๑๕๒ –๑๖๔
ชุมชนมีชีวิต เด็กมีพื้นที่เล่น ผู้ใหญ่มีพื้นที่ยิ้ม…. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2558เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ชวนมาสนุกกับเทศกาล “เพลินบางกอกนี้…ดีจัง 3 ดีมีชีวิต” บริเวณลานยิ้มริมน้ำคลองบางหลวง วัดหงส์รัตนาราม บางกอกใหญ่ เพื่อเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กเยาวชน ครอบครัว และคนในชุมชน ร่วมขับเคลื่อนบางกอกให้เป็น “เมืองวิถีสุข” เทศกาล“เพลินบางกอก…นี้ดีจัง 3 ดีมีชีวิต”จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “3 ดี” (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) เป็นกระบวนที่ให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ ได้มีส่วนร่วมในการลองคิด ลองค้น เรียนรู้ และลงมือสรรค์สร้างกิจกรรมที่มาจากรากฐานของคนในชุมชน การเกิดขึ้นของเทศกาลนี้จากความคิดของคนรุ่นใหม่ในย่านบางกอกใหญ่ เจมส์, ตัน และใบเตย แกนนำเยาวชนในชุมชนร่วมกันเปิดห้องเรียนชุมชน “สื่อดี” สื่อที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เช่น บ้านภูมิปัญญาเรือกระทงกาบมะพร้าว บิดกลีบบัว ภาพเขียนลายรดน้ำ การทำขนมช่อม่วง และการละเล่นพื้นบ้าน นอกจากนี้ยังได้เปิด “พื้นที่ดี” เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่าน “ภาพศิลปะซอยเล่นซอยศิลป์” ภาพวาดเล่าเรื่องวิถีชีวิตอัตลักษณ์ของดีแต่ละชุมชนบนกำแพงตามตรอกซอกซอย ซึ่งสะท้อนความคิด ความเชื่อ และความเป็นอยู่ของคนในชุมชนผ่านกระบวนการถ่ายทอด และสืบทอดจากรุ่นต่อรุ่นของคนในชุมชนไม่ให้สูญหายไป เสมือนการค้นหารากเหง้าตัวตนของคนในชุมชน เช่น […]