Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
ดี ต่อ ใจ ณ แพร่งภูธร | ชุมชน 3 ดี
ดี ต่อ ใจ ณ แพร่งภูธร

Japanดีจัง (1)

พื้นที่นี้..ดีจัง มีโครงการแลกเปลี่ยนความร่วมมือพื้นที่สร้างสรรค์ไทยกับศิลปะชุมชนญี่ปุ่น โดยการสนับสนุนของ Asia Center มูลนิธิญีปุ่่น ผ่านการประสานงานอย่างแข็งขันและเอื้ออารี ของ ดร.ชิน นาคากาว่า แห่ง Urban Research Plaza มหาวิทยาลัยโอซากาซิตี้ ความช่วยเหลือเกื้อกูลฉันมิตรของ ดร.ทากาโกะ อิวาซาว่า แห่ง Hokkaido University of Education ผู้มาทำวิจัยพื้นที่นี้..ดีจัง ตระเวณไปเกือบทุกพื้นที่ เมื่อสองปีที่ผ่านมา

ปีที่แล้วเราพาตัวแทนเครือข่ายพื้นที่นี้..ดีจัง ไปร่วมงานเทศกาล Obon dance และ Tropical Music Festival ที่ชุมชนดั้งเดิมมุซาซิ แห่งหมู่บ้านTotsukawa ในเขตปริมณฑลของเมืองนาระ ประเทศญีปุ่่น

ปีนี้ ศิลปินญีปุ่น 4 คน มาเมืองไทยตั้งแต่วันที่ 28 กุมภา เพือร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในปฏิบัติการศิลปะชุมชน ” ดี ต่อ ใจ ณ แพร่งภูธร” โดยแบ่งออกเป็นสองสาย

600308_news1

สายแรก เดินทางไปเชียงใหม่ เพื่อร่วมเวิร์คชอปนิทานเพลงกับกลุ่มรักษ์ลาหู่ ณ หมู่บ้านสุดชายแดนไทย-พม่า บ้านกองผักปิ้ง และ แกน้อย อ.เชียงดาว Suzumura Nodoka สาวน้อยน่ารักเป็นนักวาดการ์ตูน เล่านิทาน และทำกิจกรรมศิลปะกับผู้พิการทางสมองที่องค์กรการกุศล Tanpopo-No-Ye และอีกหนึ่งหนุ่มไฟแรง Nishimura Akihiro จบการศึกษาดนตรีด้านเปียโน มาร่วมทำกิจกรรมสร้างสรรค์กับเด็กๆ หลายต่อหลายโครงการ ทั้งคู่พกพาความหนุ่มสาวมาเรียนรู้โลกกว้าง ใช้ชีวิตบนดอย เต้นรำร้องเพลงลาหู่ กินน้ำพริกลาหู่ เปิดโลกนิทานและเสียงเพลงร่วมกับเด็กลาหู่

สายที่สอง เป็นรุ่นซีเนียร์หน่อย ชายหนุ่มทั้งคู่สนใจในประเด็นศิลปะสำหรับเด็กเมือง Kojima Takashi เป็นนักดนตรีแนวร่วมสมัยที่ทำงานองค์กรไม่แสวงหากำไรชื่อ Cobon เพื่อทำกิจกรรมดนตรีศิลปะกับเด็กในเมืองโอซากา มาพร้อมกับคู่หู Takuro Iwabuchi ทำงานด้านเขียน ด้านหนังสือ และ ศิลปะ ทั้งสองคนคิดโปรแกรมและคู่มือเวิร์คชอปศิลปะชื่อว่า “อะไรกันเนี่ย! What’s Cool!” เพื่อเปิดโลกศิลปะไร้รูปแบบให้เป็นโลกเรียนรู้จินตนาการสร้างสรรค์สำหรับเด็กๆ สองหนุ่มนี้มาทำเวิร์คชอปกับก๊วนเด็กแพร่งแก๊งอาสารักยิ้ม อยู่ที่สามแพร่ง

ทั้งสองสาย จะกลับมารวมกันเพื่อนำเสนอผลงานที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำงานร่วมกับเพื่อนภาคีพื้นที่นี้…ดีจังและเด็กๆ ทั้งจากหมู่บ้านลาหู่และชุมชนสามแพร่ง ในงาน ดี ต่อ ใจ ณ แพร่งภูธร 11-12 มีนาคมนี้ (ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดใด พกพาหัวใจมาก็พอ)

600308_news2

มาพบเพื่อน Japanดีจัง ที่สามแพร่งกัน

ติดตามรายละเอียดการเวิร์คชอปJapanดีจังในแต่ละสายตอนต่อไปก่อนมาชมผลงานพวกเขาที่ ดี ต่อ ใจ ณ แพร่งภูธร นะครับ

เรื่องและภาพจาก  Vorapoj Osathapiratana

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2560  คุณครู 8 กลุ่มสาระและงานแนะแนวของโรงเรียนบางจานวิทยา คณะนักศึกษาฝึกสอน จาก มรภ.เพชรบุรี และกลุ่มลูกหว้า   นำทีมโดย ป๋อม ลูกหว้า Maneeya Emton ก๊อง ลูกหว้า Artit Kong Mocha ร่วมกันเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ ยิ้มเบิกบาน@บางจานวิทยา ให้กับเด็ก ๆ นักเรียน ได้ เล่น และเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันอย่างสนุกสนาน โดยท่านผู้อำนวยการโรงเรียน เฉลิม จำปาวิจิตร ก็ได้ร่วมกิจกรรมนิทานหรรษากับเด็ก ๆ อย่างเป็นกันเอง พื้นที่ดี ๆ แบบนี้ เกิดขึ้นได้ไม่ยาก หากเราร่วมมือกัน รายงานข่าวจาก กลุ่มลูกหว้า

18 มิ.ย. 59 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ บทบาทพี่เลี้ยง สหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ(สอช.)  ในการทำงานพัฒนาเด็กด้วยกระบวนการ 3ดี  มีผู้เข้าร่วมเกือบ 100 คนจาก 21เมือง   ส่งผ่านความรู้โดยสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน

20 สิงหาคม 2559 นี้พบกันครับ ณ สวนสาธารณะเขาแคน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ……………………………….. 1. สนุกมือทำ กับ ฐานกิจกรรมมากมายที่ขนมาเพื่อทุกคน ให้ทุกท่านได้ลงมือทำ อาหาร ศิลปะ ประดิษฐ์ ระบายสี ทำเอง ภูมิใจได้ของ กลับบ้าน 2. สนุกชม ดนตรีมากความสามารถจากกลุ่มวัยรุ่นที่รวมกลุ่มรวมตัวกัน มากมายในห้องซ้อมดนตรี อ.ปากช่อง พร้อมความสนุครบวัย เพราะเรามี ลิเก ศิลปะร่วมสมัย เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ชมดี 3 สนุกช๊อบ ในตลาดนัดคุณหนู ที่จะชวนน้องๆค้นของเก่า เอามาขาย เรียนรู้การหา และการออม (ครอบครัวใดสนใจ เปิดแผงให้น้องๆได้เรียนรู้ ติดต่อจองพื้นที่ด่วนๆ รับจำนวนจำกัด 081-7321412) และพี่เศษสุดๆ กับการขนหนังสือมือสองมาจำน่ายในราคาเล่มล่ะ 1 บาท จากมูลนิธิกระจกเงา ………………………… ปล. งานเดิ่นนี้ดีจัง เปิดพื้นที่ให้ทุกท่าน มาร่วมสร้างสรรค์ กิจกรรมดีๆให้เด็ก […]

“ ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในสลัม  แต่อย่าให้ใครเรียกเราไอ้เด็กสลัม ”   ป้าหมีบอกกับเด็กๆในชุมชนเสมอ ป้าหมีมีอาชีพขายเร่ขายเสื้อผ้าเด็กในสถานีรถไฟหัวลำโพง  เริ่มต้นการทำงานเพื่อเด็กในชุมชน ด้วยการเป็นแม่บ้านทำความสะอาดศูนย์ดวงแข ( ศูนย์การการเล่นและกิจกรรมพัฒนาเด็ก )  ทุกวันป้าหมีเห็นปัญหาของเด็กๆที่เข้ามาเล่นและทำกิจกรรมที่ศูนย์ฯ  ซึมซับการทำงานพัฒนาเด็ก  ป้าหมีรู้สึกว่าตนเองอยู่ไม่ได้แล้วต้องช่วยเด็กๆ พ่อแม่เด็กต้องรับรู้ถึงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว และช่วยกันแก้ไข     ป้าหมีก้าวเข้ามาเป็นอาสาสมัครดูแลการเล่นและจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กเติมตัว  เด็กๆมี พัฒนาการที่ดีอย่างเห็นได้ชัด  ชุมชนเริ่มให้ความร่วมมือ  ถึงแม้ว่าป้าหมีจะมีปัญหาชีวิตครอบครัวที่หนักหน่วงมามาก  ชุมชนหลายคนไม่เข้าใจด่าทอป้าหมี “ ตัวเองก็จะเอาไม่รอด  ดูแลลูกของตัวเองให้ดีเถอะ ค่อยมายุ่งเรื่องของคนอื่น” ป้าหมีเหนื่อยใจแต่ไม่เคยคิดจะหยุดทำงาน จากการทำงานในศูนย์ป้าหมีเป็นผู้เชื่อมโยงข้อมูลเด็กสู่ชุมชน ข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนา   ป้าหมี ไม่ทำงานแค่ในศูนย์ ดึกดื่นเที่ยงคนก็ไม่นอนเพราะต้องสอดส่องดูแลเด็กๆในชุมชน  ใช้ห้องพักขนาด 3 x 3ม. ที่เรียนว่าบ้านเป็นที่พักพิงให้เด็กที่หนีออกจากบ้าน เด็กมีปัญหากับครอบครัว  และเป็นที่ให้คำปรึกษาเด็กๆที่ทุกร้อนใจ มีปัญหา   “  พี่เป็นเด็กครอบครัวแตกแยก   พี่เข้าใจจิตใจเด็กๆดี”  “ ไฟไหม้ชุมชนหลายครั้งไม่เคยมีใครช่วยเราได้เลย  วัดก็ให้พวกเราไปนอนหน้าเมรุ  ดูอนิจอนาถอนาถาเหลือเกิน ” ป้าหมีพูดทั้งน้ำตาทุกครั้งเมื่อนึกถึงเหตุการณ์นั้น  […]