Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
รวมนิทานภาพ จากโครงการตัวเล็กเสียงดัง | ชุมชน 3 ดี
รวมนิทานภาพ จากโครงการตัวเล็กเสียงดัง

591221-story1“รวมนิทานสัตว์พิเศษ” นิทานภาพสีสวย เรื่องและภาพฝีมือเด็ก ๆ ผลเล่มล่าสุดในโครงการ “ตัวเล็กเสียงดัง” ของ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน

หนังสือรวมนิทานสัตว์พิเศษเล่มนี้ เป็นผลงานของเด็ก ๆชาติพันธุ์และลูกหลานแรงงานหลากชาติพันธุ์จากประเทศพม่า ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 พวกเขาทั้ง 16 คนได้มาร่วมกันทำความเข้าใจกับสิทธิเด็กและประเด็นปัญหาการใช้แรงงานเด็ก เรียนรู้ศิลปะการแต่งนิทานและวาดภาพประกอบ ก่อนจะลงมือสร้างสรรค์นิทานภาพชุดนี้ออกมาด้วยตนเอง กิจกรรมของเด็ก ๆและหนังสือเล่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การแตร์เดซอมม์ เนเธอร์แลนด์ ในโครงการเพื่อการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด และได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากศูนย์การเรียนช่าทูเหล่ โรงเรียนบ้านท่าอาจ และโรงเรียนคริสเตียนแม่หละโกร จังหวัดตาก

โครงการ “ตัวเล็กเสียงดัง“ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน คือการส่งเสริมความตระหนักในสิทธิเด็ก และการรวมพลังของเด็ก ๆชาติพันธุ์ ผู้ลี้ภัย และลูกหลานแรงงานข้ามชาติในการสื่อสารเรื่องราว ความคิด ความฝันของพวกเขาผ่านงานศิลปะประเภทต่าง ๆ ด้วยความหวังว่าสังคมไทยจะหันมามองและฟังเสียงพวกเขา เสมือนเช่นเป็นลูกหลานคนหนึ่ง

รวมนิทานสัตว์พิเศษ คือการถ่ายทอดความใฝ่ฝันต่อสิทธิต่อการศึกษาพื้นฐาน สถานะทางกฎหมายที่ทำให้เข้าถึงเสรีภาพและบริการจากรัฐ ค่าแรงอันยุติธรรม และความเอื้ออาทรของสังคมที่มองทุกคนเป็นคนเท่ากัน เด็ก ๆ ผู้สร้างสรรค์ล้วนหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะมิเพียงเป็นที่ถูกใจของน้อง ๆ เพื่อน ๆ ตลอดจนครูและพ่อแม่ทุกคน หากยังจะช่วยย้ำเตือนให้สังคมได้ตระหนักด้วยว่า เด็ก ๆ ที่ได้รับการส่งเสริมให้ได้เข้าถึงการศึกษาและพัฒนานั้น ล้วนมีพลังมหาศาลพอจะปราบเสือร้ายให้กับสังคมนี้ได้เสมอ
อ่านออนไลน์ / ดาวน์โหลด
นิทานสัตว์พิเศษ
** ดาวน์โหลดอ่านกันได้แล้วจากลิงค์ข้างบนนี้ ก่อนที่หนังสือจะออกจากโรงพิมพ์ในช่วงคริสต์มาส
** หนังสือเล่มนี้เราทำขึ้นสำหรับใช้งานในชุมชน จึงจัดพิมพ์จำนวนจำกัด ผู้ที่สนใจอยากได้ไว้อ่านที่บ้านหรือนำไปใช้งาน
1. ขอความกรุณาแจ้งชื่อและที่อยู่มาทาง inbox
2. กรณีขอรับเป็นรายบุคคล คือต้องการเก็บไว้ส่วนตัว สามารถรับได้ท่านละ 1 เล่ม
3. กรณีขอรับเป็นกลุ่มหรือองค์กร คือจะนำไปใช้งานในชุมชน ขอความกรุณาแจ้งรายละเอียดว่าท่านต้องการกี่เล่ม และจะนำหนังสือไปวางไว้ที่ใดบ้าง
4. กรณีรายบุคคล ขอความกรุณาสมทบค่าส่งหนังสือเล่มละ 42 บาท และบริจาคค่าหนังสือเท่าใดก็ได้ตามศรัทธา


591221-story2
สัตว์ป่าสามัคคีและเรื่องเล่าอื่นๆ

โดย เด็กๆปกาเกอะญอ โครงการสิทธิเด็ก มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน
สนับสนุนโดยองค์การช่วยเหลือเด็ก สวีเดน

นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดนได้ร่วมกับอาสาสมัครเยาวชนชาวปกาเอะญอ(กะเหรี่ยง)ในชุมชนชายแดน ดำเนินกิจกรรมการศึกษาสิทธิเด็กในชุมชน โดยในแต่ละปี เด็กๆได้ทดลองทำแบบฝึกหัดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน โดยใช้เสรีภาพในการรวมกลุ่มและการแสดงออกความคิดเห็นของตน

ในปีพ.ศ. 2553 อาสาสมัครและเด็กๆในโครงการได้เรียนรู้และทำกิจกรรมรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนซึ่งเป็นต้นเหตุหนึ่งในการเกิดภัยพิบัติในโลกมนุษย์ เด็กๆได้เรียนทั้งทฤษฎีสมัยใหม่ และจากภูมิปัญญาของคนเฒ่าคนแก่ในชุมชน อีกทั้งยังได้ฝึกฝนทำกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ต่อชุมชน และเพื่อนเด็กๆในสังคมเมือง

หนังสือเล่มนี้ คือผลงานคัดสรรค์ของเด็กๆชาวปกาเกอะญอในชุมชนชายแดน ซึ่งส่งเสียงแห่งจินตนาการ ความคิดเห็น ความสร้างสรรค์ และความใฝ่ฝันอันบริสุทธิ์ต่อสิทธิเด็ก และบทบาทของเด็กๆต่อชุมชนที่ตนอยู่และต่อโลกมนุษย์ทั้งใบ ที่มีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา อาศัยอยู่ร่วมกัน

อ่านออนไลน์ / ดาวน์โหลด
สัตว์ป่าสามัคคีและเรื่องเล่าอื่นๆ (ภาษาไทย)
สัตว์ป่าสามัคคีและเรื่องเล่าอื่นๆ (ภาษาปกาเกอะญอ)


591221-story3
หมีโหน่งหนีน้ำท่วม-ช้างน้อยเป็นหวัด นิทานสองภาษา(ไทย-กะเหรี่ยง)

เป็นอีกหนึ่งผลงานของเด็กๆชาวกะเหรี่ยงหมู่บ้านทีหนึโคะและค่ายผู้ลี้ภัยแม่หละ ซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นสื่อความรู้เรื่องการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติให้กับพวกเขาเองและรุ่นน้องๆต่อไป นิทานภาพชุดนี้ชนะการประกวดเรียงความและนิทานของเด็ก ๆ ในโครงการสิทธิเด็กปี พ.ศ. 2552 การผลิตหนังสือเล่มนี้ประสบความสำเร็จ ด้วยการมีส่วนร่วมของผู้ใหญ่ชาวกะเหรี่ยงที่มาช่วยแปลรวมทั้งตรวจสอบภาษา และเด็กชาวกรุงเทพฯที่มาแต่งแต้มเดิมสีสันให้หนังสืองดงาม แม้แต่ละคนอาจยังไม่มีโอกาสมาพบปะกัน พวกเขาก็ได้รู้จักกันผ่านผลงานร่วมชิ้นนี้แล้ว

เพื่อนไร้พรมแดนขอขอบคุณองค์การช่วยเหลือเด็ก สวีเดน , องค์การคริสเตียน เอด , เด็ก ๆ ครู อาสาสมัครทุกรุ่นและผู้นำชุมชนของกว่าสิบชุมชน ที่มีส่วนร่วมในโครงการตลอดสี่ปีที่ผ่านมา

อ่านออนไลน์ / ดาวน์โหลด
หมีโหน่งหนีน้ำท่วม
ช้างน้อยเป็นหวัด
……………………….…………………………………………………………………………………………………………….
ท่านสามารถกด Follow เพื่อรับสื่อสิ่งพิมพ์ใหม่ๆจากมูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดนและติดตามอ่าน นิตยสารเพื่อนไร้ทุกฉบับ งานวิจัย คู่มือต่างๆได้ตามลิงค์ที่แนบมาด้วยนี้ https://issuu.com/friendswithoutbor…

ด้วยความศรัทธาในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน

บทความที่เกี่ยวข้อง

สมัชชาเยาวชนพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะทางปัญญาบนฐานชุมชน วันที่ 24 – 26 มิถุนายน 2559 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรีดีจัง   วันที่ 1 – วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2559 : “วันปันยิ้ม” รู้จักทักทาย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 08.00 น.         ลงทะเบียน 09.00 น.         รู้จักแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน (สสย.) แนะนำเครือข่ายพื้นที่นี้…ดีจัง ชี้แจงความเป็นมา วัตถุประสงค์ สมัชชาเยาวชนพื้นที่สร้างสรรค์ฯ 10.00 น.         รู้จักทักทาย สื่อความหมาย “ต่างคนต่างมาจากทุกสารทิศ ด้วยชีวิตจิตใจสร้างสรรค์ชุมชน” 12.00 น.         อาหารกลางวัน 13.00 น.         เปิดตลาดนัด “บ้านเธอ บ้านฉัน เราปันยิ้ม” 17.00 น.         เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีชีวิต […]

ะ 3 มิ.ย. นี้เวลา 17.00 นี้เป็นต้นไป กลุ่มไม้ขีดไฟจัดกิจกรรมดีๆเพื่อเด็กและครอบครัวค่ะ   “เดิ่นนี้ดีจัง ตอน มหัศจรรย์การเล่น”  จูงมือกันมา ทำกิจกรรมสนุกๆที่สวนไฟฝัน พาลูกมาฟังนิทาน จากครูปรีดา ปัญญาจันทร์ เพลินฟังเดี่ยวขิม และดนตรีสบายๆแบบครอบครัว ชมละครหุ่นเงา กระตุ้นจินตนาการ พ่อโอ๊ค จากพระนครนอนเล่น มาเล่าเรื่องเล่นแล้วลูกได้อะไร และมากมายกิจกรรม ลงมือทำ ศิลปะ ประดิษฐ์ ทำขนม ลงมือทำ ลงมือทาน ทำฟรี ดูฟรี ตลอดงาน กลุ่มไม้ขีดไฟฝากบอกว่าอยากชวนทุกคนมาจริงๆนะคะ ติดตามความเคลื่อนไหวที่ https://web.facebook.com/maikeedfaigroup/?pnref=story

“ เมื่อก่อนหนูอายมากเลยนะที่จะต้องบอกกับเพื่อนว่าบ้านหนูอยู่ในสลัมดวงแข (ชุมชนวัดดวงแข )ไม่อยากให้เพื่อนมาที่บ้าน  ตอนนี้เพื่อนๆไม่เพียงแค่มาที่บ้านหนู   แต่ยังมาช่วยหนูพัฒนาชุมชน อีกด้วย”  จากน้องบิว   (ศิริรัตน์  หนูทิม) เด็กในชุมชนแออัดเมืองที่ไม่เคยมีความรู้สึกภาคภูมิใจตนเอง ไม่มีความภาคภูมิใจในที่อยู่ของตนเอง  มีชีวิตอยู่ไปวันๆไม่มีเป้าหมายในชีวิต กลายเป็นแกนนำเยาวชนชุมชนวัดดวงแข ที่มีความภาคภูมิใจ  ภูมิใจรักในชุมชนแออดัดที่ตนเองอยู่  มีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีความมุ่งมั่นที่อยากจะไปให้ถึงฝัน แกนนำเด็กหลักที่สร้างการเปลี่ยนแปลงชุมให้กับชุมชนแออัด  กลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กเยาวชนและชุมชน  เป็นคนที่ลุกขึ้นมาบอกใครๆเรื่องปัญหาชุมชนตนเอง  เชิญชวนผู้คนมาร่วมช่วยพัฒนาชุมชน  สร้างรายได้ให้กับพ่อค้าแม่ค้าในชุมชน  สร้างความรู้สึกรักชุมชนให้ผู้คนในชุมชน  บิวเล่าว่า “ ตอนเด็กๆ ก็เข้ามาเล่น และทำกิจกรรมที่บ้านพัก ( ศูนย์ดวงแข มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ) บ่อยๆ แต่ก็เข้าบ้างไม่เข้าบ้าง เวลาบ้านพักมีกิจกรรมที่ไหนก็จะได้ไปกับป้าหมี  ป้าติ๋ม หยก ต้องยอมรับว่าช่วงเวลานั้น ไม่คิดว่าชีวิตจะเป็นอย่างไรต่อ  ไม่ได้มีเป้าหมายในชีวิตว่าจะเรียนต่อ ม.ปลายสายอะไร จะเรียนต่อมหาวิทยาลัยไหม  หนูยังไม่รู้เลยว่า ชีวิตหนูจะทำไงต่อ แม่ให้เรียนก็เรียน ถ้าไม่ให้เรียนก็ออกมาทำงาน” จนบิวได้ไปเข้าค่ายสื่อสารสร้างสรรค์   ในค่ายบิวได้เรียนรู้ศิลปะหลายอย่าง  ร่วมทั้งการสื่อสารด้วย   บิวก็เริ่มรู้แล้วว่าเราสนใจเรื่องอะไร  […]

“…เขาก็แสวงหาเพื่อน เราเองก็ต้องการเพื่อน มันจึงลงตัวพอดี พอเขาเห็นกิจกรรมที่เราทำ เขาก็อยากทำงานกับเรา ถ้าใครจะทำงานกับพี่นัดมาเลย ไม่ต้องคอยหลายวัน นัดแล้วลงมือทำงานร่วมกันเลย” เตือนใจ สิทธิบุรี หรือ หลายๆคนเรียกเธอว่า “ป้าป้อม” อดีตนักกิจกรรมมหาวิทยาลัยวิทยาลัยรามคำแหง สั่งสมประสบการณ์การทำงานพัฒนาและงานค่ายกิจกรรมเห็นต้นทุนทางสังคมของบ้านเกิดจึงมุ่งมั่นสร้างการเรียนรู้ ฟื้นฟูวัฒนธรรม และเชื่อมโยงคนในชุมชน ทั้ง 3 วัยมาเป็นครอบครัวเดียวกัน เริ่มทำงานครั้งแรก ในปี 2530 กับกลุ่มสื่อเพื่อการพัฒนา (AMED) ทำงานกับชาวบ้านในชุมชนแออัด ได้ฝึกกระบวนการคิด และกระบวนการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เป็นระบบ จนถึงปี 2536 เปลี่ยนมาทำงานที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีโอกาสเดินทางไปการทำงานในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย ทำให้เพิ่มพูนทักษะ เทคนิคการทำงานพัฒนา การประสานงานในพื้นที่ และมีเครือข่ายการทำงานมากขึ้น ก่อนกลับมาเป็นบัณฑิตอาสา กับ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กรมประชาสงเคราะห์เดิม) และร่วมมือกับเครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคใต้ ในการทำงานพัฒนาที่บ้านเกิด ในตำบลนาโหนด จังหวัดพัทลุง ทำให้เห็นทุนทางสังคม และศักยภาพของพื้นที่ในด้านเกษตร เกิดตกผลึกทางความคิด จึงตัดสินใจตั้งหลักปักฐานสร้างครอบครัว ที่บ้านเกิดของตนเอง ด้วยการยึดอาชีพเกษตร ทำสวนยาง ทำนา ทำสวนเป็นหลัก ควบคู่การทำงานพัฒนาในชุมชนท้องถิ่น […]