Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
สร้างเมือง 3 ดีครบวงจร | ชุมชน 3 ดี
สร้างเมือง 3 ดีครบวงจร

วันที่ 21-22 เมษายน 2557 ณ โรงแรมโรยัลเจมส์ลอดจ์ ศาลายา จัดโดยสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) 

ความเป็นมา

แนวคิดและหลักการ 3 ดี

แนวคิดหรือหลักการ 3 ดี คือ แนวคิดในการพัฒนาเพื่อนำไปสู่สุขภาวะของเด็กและเยาวชน ซึ่ง 3 ดีหมายรวมถึงสิ่งที่ดี 3 ประการ ได้แก่ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี

เป้าหมายของแนวคิดหรือหลักการนี้ตามที่ได้กล่าวแล้วคือการพัฒนาเพื่อนำไปสู่สุขภาวะของเด็กและเยาวชน การให้เด็กมีความถึงพร้อมกาย จิต สังคมและปัญญา และอยู่ในสังคมที่สงบสุข หรืออาจกล่าวสั้นๆได้ว่า สุขภาวะดี คนมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง


พื้นที่ดี พื้นที่สร้างสรรค์ มีความหมายกว้างโดยรวมถึง พื้นที่ทางกายภาพซึ่งเป็นสถานที่ พื้นที่สร้างให้เกิดการเรียนรู้ รวมถึงเวทีที่บุคคลต่างๆภายในชุมชนมีกิจกรรม มีการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจระหว่างบุคคลที่มาเข้าร่วมกิจกรรม

ภูมิดี ภูมิเข้มแข็ง หมายถึง การมีทักษะในการเท่าทันสื่อ และความสามารถในการปกป้องตนเองจากสื่อที่หลากหลาย การใช้ประโยชน์จากสื่อที่สร้างสรรค์ และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ในแง่ของกระบวนการทำงานและตัวรูปธรรมกิจกรรมของโครงการที่เข้าร่วมสัมมนา มีทั้งกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เชิงบวก เช่น การส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ ตระหนักในประวัติศาสตร์ชุมชนของตนเอง การอนุรักษ์ศิลปะดนตรีพื้นบ้าน การทำเกษตรอินทรีย์และพัฒนาชุมชนโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การส่งเสริมให้เด็กได้สร้างสื่อที่สร้างสรรค์ด้วยตนเอง เช่น ละคร หนังสั้น ในขณะเดียวกันก็มีหลายๆองค์กรที่ทำกิจกรรมที่เน้นการสร้างกลไกปกป้องเด็กและเยาวชนจากสื่อที่มีพิษภัย การฝึกอบรมครูให้มีทักษะในการสอนกระบวนการเท่าทันสื่อแก่เด็กในโรงเรียน ภาคีเครือข่ายของสสย.ที่มาร่วมสัมมนาในครั้งนี้ มีการทำงานในหลากหลายระดับทั้งในระดับ ระดับจังหวัดและระดับชุมชน (ในระดับชุมชนอาจครอบคลุมถึงโรงเรียนและครอบครัว)

570421_tonbab4

เรียนรู้และการมุ่งสู่ความยั่งยืนในอนาคต

ประเด็นที่ได้เรียนรู้คือแม้ว่าการดำเนินงานอาจจะพบอุปสรรคปัญหามากมาย แต่ยังมองเห็นแง่ที่งดงาม ความหวังจากผลงานที่ออกมาจากหลายๆโครงการ

จากการสัมมนาพบว่า กิจกรรมที่แต่ละโครงการ แต่ละองค์กรดำเนินการอยู่สร้างความสุขกายสุขใจแก่เด็ก เยาวชน คนในชุมชน และผู้จัดกิจกรรมเอง ทุกคนได้เรียนรู้ มีความสุข สนุกสนานและได้มีโอกาสพัฒนากาย จิต สังคม ปัญญาไปพร้อมๆกัน หลายกิจกรรมที่ดำเนินการเน้นการปลุกจิตสำนักให้รักบ้านเกิด หวงแหนในวัฒนธรรมพื้นบ้านของตนเอง เช่น ชุมชนชาวเยอ(ชนพื้นบ้านในเขตจังหวัดศรีสะเกษ) หรือ ของกลุ่มชนเผ่าที่หลากหลายชาติพันธุ์ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน

หลายกิจกรรมสร้างและพัฒนาให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปด้านที่ดีขึ้น เช่น การลดขนมกรุบกรอบที่ไร้ประโยชน์ การงดการดื่มน้ำอัดลม การที่สมาชิกในครอบครัวให้ความสำคัญกับการจัดเวลาให้แก่กันและกัน มีกิจกรรมร่วมกันมากขึ้น และรวมถึงการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่ทางความคิดของสมาชิกในชุมชน การรณรงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่ที่ชุกชุมด้วยยาเสพติด ภัยอันตรายต่างๆ กลายสภาพเป็นพื้นที่ที่เปิดสำหรับทุกคนในชุมชน สรุปได้ว่าข้อดีเด่นของกิจกรรมที่สร้างจากแนวคิด 3 ดี ทำให้คนในชุมชนและผู้ทำกิจกรรมมีความสุข และยังสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงไปสู่พฤติกรรมด้านบวกของคน ครอบครัวและชุมชนอีกด้วย

ความยั่งยืนเป็นประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่ง คำถามมีอยู่ว่าทำอย่างไรคนในชุมชนจึงจะสามารถดำเนินการจัดกิจกรรมที่มีคุณค่างดงามดังที่ได้กล่าวแล้วได้เองอย่างต่อเนื่อง ในที่สัมมนามีการกล่าวถึงการสร้างแกนนำกลุ่มเยาวชน การสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มเยาวชนโดยให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการกิจกรรม 3 ดีให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การดำเนินการ การติดตามประเมินผล เพราะเยาวชนจะต้องมารับผิดชอบชุมชนของตนเองในอนาคต รวมถึงประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นหนี่ง ได้แก่ การผลักดันแผนการทำงานพัฒนาเด็กและเยาวชนเข้าสู่นโยบายขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด) เพื่อให้การดำเนินการมีเจ้าภาพและงบประมาณที่ชัดเจนสม่ำเสมอต่อเนื่อง

570421_tonbab7

บทความที่เกี่ยวข้อง

เริ่มเข้าหน้าหนาวบ้านไร่ก็น่าเที่ยว ๒ ปีมาแล้วที่คึกคักด้วยผู้คนสัญจรมาเที่ยวแบบผ่านทาง หรือบางทีก็ขอพักค้างอ้างแรมกางเต้นท์นอนบนดอย  ซึมซับสายหมอกหยอกเอินสายลมหนาวบนแก่นมะกรูด  แวะชมไม้ดอกเมืองหนาวที่พากันปลูกให้รื่นรมย์  เด็ดชิมสตรอเบอรี่ปลอดสารที่ไม่ไกลกรุงเทพในแปลงอินทรีย์  เป็นเหตุให้รถติดตั้งแต่หน้าอำเภอจนถึงบนดอยสูง ปรากฏการณ์ใหม่ที่ทำให้ชาวบ้านตื่นตัว ปีนี้ถือเป็นโอกาสคนในชุมชนตำบลบ้านไร่ จึงซุมหัวกับอบต.บ้านไร่ และคนทำงานด้านเกษตรปลอดสาร อย่างกลุ่มตลาดนัดซาวไฮ่ ชักชวนพี่น้องที่มีผลผลิตเป็นของตนเอง มาเปิดตลาดขายสินค้าท้องถิ่นที่อยู่ในไร่ในสวน ออกมาวางขายของดีบ้านไร่ให้คนท่องเที่ยว ชักชวนคนทำงานด้านวัฒนธรรมชุมชนมาออกแบบความคิด สร้างวิถีความงามให้เกิดขึ้นในตลาดร่วมมือร่วมใจแห่งนี้ ในชื่อ “ตลาดวัฒนธรรมบ้านไฮ่บ้านเฮา”  เปิดตลาดให้แวะช็อป ชม ชิมกันเต็มอิ่ม   ๓๐ ธันวาคม ปีนี้ จนถึง ๓ มกราคม ปีหน้า เริ่มต้นเดินเที่ยวในพื้นที่ตลาดนัดซาวไฮ่หน้าบ้านครูเคน   เรื่อยมาจนถึงหน้าอบต.บ้านไร่   ข้ามฝั่งมาหน้าศูนย์โอทอปบ้านไร่ จนถึงบริเวณขนส่งบ้านไร่   เปิดตลาดสองข้างทาง วางสินค้าบ้าน ๆ ของชาวลาวครั่ง  ให้แวะเวียนเที่ยวชมก่อนหรือหลังเที่ยวดอยสูง เปิดตลาดตั้งแต่เช้ายันค่ำ   ใครอยากพักรถสามารถจอดพักแวะเข้าห้องน้ำได้อย่างสบาย  มีที่จอดรถมากมาย ด้านในบริเวณอบต.บ้านไร่ มาแล้วจะได้อะไร? เดินแล้วจะเห็นอะไร? แต่ละโซนมีเรื่องราว แต่ละโซนมีคุณค่าของตนเอง ๑.โซนตลาดนัดซาวไฮ่ กลุ่มคนสวนลงมือทำเอง พากันนำผลผลิตเกษตรปลอดสาร  ที่มีอยู่ในสวนมาให้เลือกชม […]

29 พ.ค. เยาวชนบางกอกนี้…ดีจัง  และชุมชนวัดอัมพวา จัดกิจกรรม อัยย๊ะ เยาวชนเปิดท้าย สไตล์สื่อสร้างสรรค์ โดยรวมพลเยาวชนจาก 3 พื้นที่ นั่นคือบางพลัด บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย  เปิดท้ายสื่อสร้างสรรค์ บอกเล่าเรื่องดีๆ กิจกรรมดีๆ เด็กๆมีพื้นที่ได้เล่น ผู้ใหญ่มีพื้นที่ยิ้ม ขับเคลื่อนชุมชนให้มีชีวิต ด้วย 3 ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยการสนับสนุนของเครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง   มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา และสถาบันสือเด็กและเยาวชน ติดตามกิจกรรม https://www.facebook.com/profile.php?id=100005934120805&fref=photo    

เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ย่านบางกอกน้อย–ย่านบางกอกใหญ่ 18 ชุมชน ร่วมกับมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ได้จัดค่ายเยาวชน ตะลอน เดิน – ปั่น ตามหายิ้ม ในวันที่ 20–21 มิถุนายน 2558หลังจากที่ได้จัดกิจกรรมตะลุ่ยเรื่องเล่าชาวบางกอกไปในปีที่แล้ว ซึ่งปีนี้มีพลเมืองเด็กแกนนำอาสาทั้งในโรงเรียนและชุมชนทั้ง 2 เขต จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม40 คน ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ได้แบ่งกระบวนการออกเป็น 2 วัน วันที่ 20 มิถุนายน 2558 ได้ทำกระบวนการค่ายเยาวชนเพื่อสร้างกระบวนการ การมีส่วนร่วม จิตอาสา การทำงานเป็นทีม ให้กับกลุ่มเยาวชน โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรม “ฉันคือใคร” โดยการในน้องๆ ออกแบบโปสการ์ดของตัวเองเพื่อแสดงอัตลักษณ์ตัวตน กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และสร้างทีม เพื่อทำให้เยาวชนได้รู้จักกันมากขึ้นและมีการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีมเปิดหู เปิดตา เปิดโลกทัศน์ โดยเรียนรู้4 สถานีผ่านการปฏิบัติ ได้แก่ “เธอฉันจับมือไปด้วยกัน” เรียนรู้ ภาวะผู้นำ ความร่วมมือกันในการทำกิจกรรม “แบ่งปัน สายสัมพันธ์ยืนยาว” เรียนรู้ การใช้ชีวิตรวมหมู่ การทำงานเป็นทีม […]

เพชรบุรีดีจัง มาส่งต่อกัน บนแพไม้ไผ่ริมแม่น้ำเพชรบุรี มหกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ที่มีชีวิต ผ่านไปอีกปีแล้ว “เพชรบุรีดีจัง”  มาส่งต่อกัน ย่านชุมชนเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ประกอบด้วย ถนนดำเนินเกษม แยกเพชรนคร ถึงน้ำพุ ถนนริมน้ำหลังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ลานวิหารพระคันธาราฐ วัดพลับพลาชัย ถนนซอยริมน้ำแยกสะพานใหญ่ ถึงสะพานจอมเกล้า ได้มีการจัด “งานมหกรรมเพชรบุรีดีจัง มาส่งต่อกัน” ครั้งที่ 7 ขึ้น ระหว่างวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 18-19 มี.ค.60 ที่ผ่านมา สำหรับกิจกรรมมีการจัดซุ้ม และการแสดงของกลุ่มเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ศิลปวัฒนธรรมในชุมชน และจากเครือข่ายพื้นที่ทั่วประเทศ ถนนสายศิลปะ ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ลานกิจกรรมสำหรับเด็กๆ ลานท่าน้ำสวนสุนทรภู่ วัดพลับพลาชัย โดยทุกท่านสามารถร่วมกิจกรรมได้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังได้ชมเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรมที่มีมาแต่สมัยอดีต สนุกกับงานสร้างสรรค์ศิลปะ และการออกแบบอันหลากหลาย เรียนรู้และสร้างสรรค์งานสกุลช่างเมืองเพชร เพลินไปบนถนนอนามัยและซอยตลาดริมน้ำ ย้อนรอยตลาดเก่าเรียนรู้วิถีชีวิตชาวจีนย่านตลาดริมน้ำ ผ่านกิจกรรมเปิดบ้านชุมชนชมเครื่องเรือน โดยทุกถนนมีการประดับตกแต่งด้วยโคมไฟที่หลากหลายอย่างสวยงามตระการตา และกิจกรรมต่างๆ เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จัดอย่างต่อเนื่องทุกปี ครั้งนี้เป็นปีที่ 7 แล้ว โดยจังหวัดเพชรบุรี ร่วมกับเครือข่ายเพชรบุรีดีจัง และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ […]