Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
ฮัมดี ขาวสะอาด : ผู้นำเยาวชนมุสลิม 3 จังหวัดชายแดนใต้ | ชุมชน 3 ดี
ฮัมดี ขาวสะอาด : ผู้นำเยาวชนมุสลิม 3 จังหวัดชายแดนใต้

จากเยาวชนมุสลิมที่เกือบเข้าสู่กระบวนการ   กลายเป็นผู้นำที่ใช้พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กสร้างสันติภาพในใจคน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้   

“ ถ้าไม่มีวิธีการหรือสิ่งอื่นใดในการสร้างสันติภาพ  ผมจะเข้าสู่กระบวนการ” 

      ชายหนุ่มในวัย 25 ปีที่พยายามค้นหาวิธีการสร้างสันติภาพมาตลอดชีวิตบอก    

การเปิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กใน 3 จังหวัดว่ายากแล้ว   การเปิดใจผู้คนยากยิ่งกว่า… 

ฮัมดีในวัยเด็กมีโอกาสได้คลุกคลีกับคุณพ่อผู้มีจิตสาธารณะ   ฮัมดีจึงซึมซับความเป็นจิตอาสามาจากคุณพ่อเต็มๆ   ฮัมดี หรือ แบร์ดีของเยาวชนใต้  เป็นคนมีจิตใจดี ซื่อสัตย์ ละเอียดอ่อน มีน้ำใจ  คิดบวก

มีเหตุและผล ประนีประนอม  เข้าใจความหลากหลายของผู้คน เข้าถึงผู้คนชุมชน เคารพชุมชน   เป็นคนให้โอกาสคน    ยืดหยุ่น     มองจังหวะในการเข้าพัฒนางานได้ดี   เปิดกว้างไม่ติดกรอบใดๆ   มีมุมมองเชิงการสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม มุ่งมั่นในการทำงานช่วยเหลือคนอื่น  เชื่อในวิธีการสันติวิธีเพื่อสร้างสันติภาพ   

เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ฮัมดีเป็นกลายแกนนำในการทำกิจกรรรมต่างๆของโรงเรียนตั้งแต่ม.ต้น จนถึงเรียนมหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในกลุ่มเยาวชนของชุมชนศรัทธาทำงานพัฒนาชุมชน 

“ ผมเป็นแกนนำรวมกลุ่มเด็กต่างจังหวัดยากจนที่เข้ามาเรียนในเมืองทำกิจกรรมของมหาวิทยาลัย กิจกรรมทำให้พวกเรามีข้าวกิน เกิดการเรียนรู้ และเกิดประสบการณ์ที่หาจากบทเรียนไม่ได้ในห้องเรียน ”         

จากการได้รับรู้สถานการณ์ความทุกข์ยากลำบากผู้คนของ 3 จังหวัด ฮัมดี ในวัย 25 ปี พยายามค้นหาวิธีเพื่อสร้างสันติภาพในดินแดนสามจังหวัดชายแดนใต้มาตลอดชีวิต  และตั้งใจว่าถ้าไม่มีวิธีการหรือหนทางอื่นใดในการสร้างสันติภาพแล้ว เขาจะเข้าสู่กระบวนการ    

ระหว่างช่วงทางสองแพร่งในอุดมการณ์ที่แน่วแน่เพื่อค้นหาวิธีการสร้างเปลี่ยนแปลงให้เกิดสันติภาพ   ในปีพ.ศ. 2553 ฮัมดีอายุ 23 ปีได้เลือกเข้ามาทำงานกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ( มพด. ) ในหน้าที่การสร้างกลไกชุมชนเพื่อปกป้องคุ้มครองเด็ก   และฮัมดีได้ค้นพบวิธีการที่เขาค้นหามานาน และเชื่อมั่นว่าจะนำไปสู่การสร้างสันติภาพในที่สุด    

“ ในพื้นที่ 3 จังหวัดใต้การเปิดพื้นที่สำหรับเด็กเยาวชนว่ายากแล้ว  แต่การเปิดพื้นที่ในใจคน( ผู้ใหญ่ )ยากยิ่งกว่า   ผมเชื่อมั่นว่าการเปิดพื้นที่ เปิดโอกาสให้ผู้คนไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร  จะติดยา  จะทำผิด หรือถูกฎหมาย  จะเป็นอย่างไรก็ตาม ได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน พูดคุยกัน  แลกเปลี่ยน สร้างความสัมพันธ์ นั่นคือจุดเริ่มต้นของหนทางที่จะสันติภาพให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ”

“ การสื่อสารที่สร้างสรรค์ จะช่วยนำสันติภาพมาสู่ 3 จังหวัดชายแดนใต้    เราจะสร้างให้เด็กเยาวชนของเราเป็นนักสื่อสารที่ดี  มีจิตสำนึก  สื่อสารเรื่องราวที่ดีของบ้านเราสู่ผู้อื่น  พลังของเยาวชนจะสร้างการเปลี่ยนแปลงและสร้างสันติภาพเกิดขึ้นในที่สุด”   

ฮัมดีเป็นคนเบื้องหลังที่คอยผลักดัน ให้แนวคิดการทำงาน เปิดโอกาส สนับสนุน เป็นเพื่อนร่วมเดินทางในการสร้างกลุ่มแกนนำเยาวชนที่ให้เกิดกลุ่มอิงะกัมปง  และกำลังมุ่งมั่นสร้างกลุ่มเยาวชน

จิตอาสารุ่นใหม่ทั้งในมหาวิทยาลัย ของ๓จังหวัด  และนอกระบบ ภายใต้ชื่อ ธนาคารใจอาสา  และฮัมดียังเป็นผู้นำทางความคิดที่ขับเคลื่อนสร้างสันติภาพด้วยการเปิดพื้นที่สำหรับเด็กเยาวชน  ผลักดันให้เด็กเยาวชนเปิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กใน  3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  มุ่งหวังว่าการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์

จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ให้เยาวชน เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ สร้างความสัมพันธ์ของผู้คนใน 3 จังหวัด และจะเกิดสันติภาพในที่สุด      

บทความที่เกี่ยวข้อง

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ร่วมกับชุมชนวัดดวงแข เตรียมจัดงาน “มหกรรมรองเมืองเรืองยิ้ม” ซึ่งคราวนี้มาในตอน “เรื่องกินเรื่องใหญ่” นำเสนอการทำงานพัฒนาเด็กและวิถีชุมชนภายใต้เรื่องราวของอาหารการกินอยู่ ที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว พบกับกิจกรรม work shop อาหารวัฒนธรรม ,ทัวร์ชมชุมชน ,การแสดงเด็ก ,ร้านอาหารชุม ,ชมแลนด์มาร์ครองเมือง ++ พบกันวันที่ 2 เมษายน 2560 เวลา 15.00-19.00 น. ณ ถนน รองเมือง ศูนย์พัฒนาเด็กดวงแข ติดตามความเคลื่อนไหว้ที่ https://www.facebook.com/iamchildpage/

เมื่อวันพุธที่ 29 มิถุนายน 2559 โดยทีมโค้ชชิ่งโครงการไอซีทีแฮปปี้ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ได้จัดการประชุมครูแกนนำ โรงเรียน 3ดี : สื่อดี พื้นที่ ภูมิดี เพื่อร่วมจัดทำและวางแผนการทำโครงการปี 2559 ภายใต้การสนับสนุนจากสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ซึ่งในปีนี้โครงการแต่ละโรงเรียนมุ่งเน้นเชิงลึกและชัดเจนมากขึ้นมีการเพิ่มเติมเนื้อหาการรู้เท่าทันสื่อในการบูรณาการรายวิชาและการ สร้างสื่อสร้างสรรค์ภายใต้กระบวนการสอนแบบ PBL การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูผู้สอนและนักเรียน บรรยากาศในการประชุมเป็นกันเอง สบายๆ คุณครูได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันด้วยค่ะ และทางโครงการฯ ยังได้มอบสื่อความรู้ใหม่ๆ Roll up ชุดใหม่ ของที่ระลึก ฯลฯ เพื่อให้ครูแกนนำ นำไปใช้ในกิจกรรมภายใต้โครงการฯ   ข้อมูลและภาพจาก Icthappy

“หลังเปิดอาเซียน เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเรานะ ไม่รู้จะต้องกลับไปประเทศหรือเปล่า จะอยู่ที่นี่พวกเราก็ไม่มีบ้าน เราก็อยากกลับบ้านนะ เอาความรู้ที่ได้ไปสอนน้อง ไปบอกคนที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่กลับไปเราก็ทำอะไรไม่ได้มาก…” ทุกอย่างพลันเงียบลงหลังเธอพูดจบ ก่อนเธอจะเบือนหน้าจากคู่สนทนาเพื่อปรับความรู้สึกก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวต่อไป กิกิ หรือ Pawk Kaw Ki สาวน้อยวัย 22 ปี จากเมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำตันลยิน หรือ แม่น้ำสาละวิน ห่างจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว 50 กิโลเมตร เธอเข้ามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน “ตอนเด็กๆ ก็คิดว่าอยู่ที่ประเทศไทยมันไม่มีความหมายอะไร เรียนจบแล้วก็ไปทำงาน แบบที่เพื่อนไปทำ จะกลับไปพม่าก็มีแต่เด็กกับคนแก่เท่านั้น เขาไปทำงานที่กรุงเทพกันหมด เพื่อนบางคนก็ไม่รู้ไปไหนหายไปเป็นสิบๆ ปีแล้ว” คำว่า “เรียน” ของ กิกิ หมายถึงการเรียนในศูนย์การเรียนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นศูนย์การเรียนที่สอนเด็กต่างชาติโดยมีครูจากพม่ามาสอนภาษาอังกฤษและภาษาพม่าให้กับเด็กๆ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และสร้างอาสาสมัครผู้นำเยาวชน Peer Youth ก่อนจะเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนชื่อ Rays of Youth ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำกิจกรรมและเป็นแกนนำในศูนย์การเรียนให้มีจิตสาธารณะ ในการทำงานเพื่อสังคมและเพิ่มทักษะให้เยาวชนกลุ่มนี้มีคุณภาพต่อไป […]

ภาคีเครือข่ายภาคใต้ ของ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ได้ร่วมกันประชุมกลุ่มย่อย โดยมีกลุ่มสงขลาฟอรั่ม กลุ่มศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน จะนะ และกลุ่มยังยิ้ม ณ อำเภอเทพา จ.สงขลา เพื่อวางโมเดลการทำงานและสร้างการสื่อสารในพื้นที่ ในประเด็นการพัฒนาบนฐานทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชน  ระหว่างวันที่ 27 และ 28 ก.พ. โดยเน้นกิจกรรมที่ควรจะสามารถ Spark คนในพื้นที่ด้วยโมเดล “การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง” รวมถึงการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการสร้างความเป็นพลเมืองให้กับเด็ก และเยาวชน รวมทั้งคนในพื้นที่ภาคใต้   โดยวันที่ 28 ก.พ. 60 ภาคีเครือข่ายภาคใต้กลุ่มฐานภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และนวัตกรรม ประกอบด้วยกลุ่ม กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ กลุ่มพัทลุงยิ้ม แล กลุ่มละครมาหยา ได้แลกเปลี่ยนและนำเสนอโมเดลกระบวนการเรียนรู้ผ่านภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และนวัตกรรม ทั้งในส่วนของประวัติศาสตร์ สื่อพื้นบ้าน ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้และSpark แรงบันดาลใจให้กับของเยาวชนในพื้นที่