Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
ป้าหมี ป้าติ๋ม: แม่พระของเด็กในชุมชนแออัด | ชุมชน 3 ดี
ป้าหมี ป้าติ๋ม: แม่พระของเด็กในชุมชนแออัด

“ ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในสลัม  แต่อย่าให้ใครเรียกเราไอ้เด็กสลัม ”   ป้าหมีบอกกับเด็กๆในชุมชนเสมอ

ป้าหมีมีอาชีพขายเร่ขายเสื้อผ้าเด็กในสถานีรถไฟหัวลำโพง  เริ่มต้นการทำงานเพื่อเด็กในชุมชน

ด้วยการเป็นแม่บ้านทำความสะอาดศูนย์ดวงแข ( ศูนย์การการเล่นและกิจกรรมพัฒนาเด็ก )  ทุกวันป้าหมีเห็นปัญหาของเด็กๆที่เข้ามาเล่นและทำกิจกรรมที่ศูนย์ฯ  ซึมซับการทำงานพัฒนาเด็ก  ป้าหมีรู้สึกว่าตนเองอยู่ไม่ได้แล้วต้องช่วยเด็กๆ พ่อแม่เด็กต้องรับรู้ถึงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว และช่วยกันแก้ไข    

ป้าหมีก้าวเข้ามาเป็นอาสาสมัครดูแลการเล่นและจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กเติมตัว  เด็กๆมี

พัฒนาการที่ดีอย่างเห็นได้ชัด  ชุมชนเริ่มให้ความร่วมมือ  ถึงแม้ว่าป้าหมีจะมีปัญหาชีวิตครอบครัวที่หนักหน่วงมามาก  ชุมชนหลายคนไม่เข้าใจด่าทอป้าหมี

“ ตัวเองก็จะเอาไม่รอด  ดูแลลูกของตัวเองให้ดีเถอะ ค่อยมายุ่งเรื่องของคนอื่น”

ป้าหมีเหนื่อยใจแต่ไม่เคยคิดจะหยุดทำงาน

จากการทำงานในศูนย์ป้าหมีเป็นผู้เชื่อมโยงข้อมูลเด็กสู่ชุมชน ข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนา   ป้าหมี

ไม่ทำงานแค่ในศูนย์ ดึกดื่นเที่ยงคนก็ไม่นอนเพราะต้องสอดส่องดูแลเด็กๆในชุมชน  ใช้ห้องพักขนาด

3 x 3ม. ที่เรียนว่าบ้านเป็นที่พักพิงให้เด็กที่หนีออกจากบ้าน เด็กมีปัญหากับครอบครัว  และเป็นที่ให้คำปรึกษาเด็กๆที่ทุกร้อนใจ มีปัญหา     พี่เป็นเด็กครอบครัวแตกแยก   พี่เข้าใจจิตใจเด็กๆดี” 

“ ไฟไหม้ชุมชนหลายครั้งไม่เคยมีใครช่วยเราได้เลย  วัดก็ให้พวกเราไปนอนหน้าเมรุ  ดูอนิจอนาถอนาถาเหลือเกิน ”

ป้าหมีพูดทั้งน้ำตาทุกครั้งเมื่อนึกถึงเหตุการณ์นั้น  ป้าหมีเป็นหนึ่งในแกนนำหลัก ที่ลุกขึ้นมาเดิน

สำรวจชุมชนสำมะโนครัว เพราะป้าหมีเชื่อว่า  ปัญหาเด็กและชุมชนจะไม่ถูปแก้ไข ถ้าชุมชนที่อยู่ไม่เป็นชุมชนของกทม.   ป้าหมีจึงเดินหน้าร่วมกับแกนนำอีก 11 คนขอยื่นการตั้งตั้งชุมชนวัดดวงแขเป็นชุมชนของกทม.  เกือบ 10 กว่าปีของการทำงานเพื่อเด็กและชุมชน  ป้าหมียังคงไม่ท้อถอยยังคงทำงานต่อเนื่องมาตลอดถึงแม้ชีวิตจะรุ่มลุ่มๆดอนๆ  แต่ป้าหมีบอกเสมอว่า   

“เด็กๆได้ดีสักคนสองคน  ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ”    

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผ่านไปแล้วกับการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ถอดบทเรียน-กำหนดยุทธศาสตร์ร่วมเครือข่าย สสย. ภายใต้ชื่อ “3 ดี ดีจัง Young แจ๋ว “ เพื่อถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานปีที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 15-17 กพ. 60   ซึ่งงานนี้จัดโดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ร่วมกับสโมสรพื้นที่นี้ดีจัง  โดยมีภาคีเครือข่ายที่ทำงานร่วมกับสสย. กว่า 120 คนทั่วประเทศเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยในวันแรกได้ร่วมกันปักหมุด Young แจ๋ว 3 ดี ไตรพลวัต (เยาวชน กิจกรรม ชุมชน) นวัตกรรม Young แจ๋วร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาของเครือข่าย วันที่สอง วันนี้เติมความแจ๋ว จากการฟังบทเรียนการทำงานเยาวชน สื่อ และชุมชน จากคุณโจ้ ปลื้มจิต สยามกัมมาจล, คุณเปี๊ยก สมเกียรติ สำนักข่าวพลเมือง ไทยพีบีเอส และคุณต่อ ระพีพัฒน์ เครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคม เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนบทเรียนวงย่อยร่วมกัน หลังจากนั้นภาคีเครือข่ายได้ปักหมุดต้นทุนในพื้นที่จนกลายเกิดเรื่องแจ๋วๆให้กับเด็ก เยาวชนและคนในพื้นที่ และทำอย่างไร? ที่จะให้(เยาวชน+กิจกรรม+ชุมชน) […]

20 ส.ค.58 ก้าวย่างสู่ปี2. น้องๆเยาวชนอาสาบางกอกนี้…ดีจัง เข้มข้นกับกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและลงลึกกับกระบวนการอาสาชวนเพื่อนๆน้องๆ เข้าสู่กระบวนการตามหายิ้มในชุมชน เด็กๆชวนกันมาสกัดข้อมูลพร้อมเตรียมนำเสนอชวนผู้ใหญ่มาสร้างยิ้มให้ชุมชนมีชีวิตเด็กๆมีพื้นที่เล่น ไปให้กำลังใจเด็กๆกัน …พลเมืองอาสาสร้างยิ้ม

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน จัดสัมมนาทบทวนบทเรียนการทำงานพื้นที่สร้างสรรค์ “พบปะเพื่อนภาคี 3ดี 4ด้าน ผสานพลังยิ้ม” ที่ ร.ร.บางกอกเซนเตอร์ ห้องอัญมณี วันที่ 25 – 26 ก.พ. โดยมีภาคีเครือข่ายในยุทธศาสตร์พื้นที่สุขภาวะ 3 ดีต้นแบบ เมืองสื่อสร้างสรรค์ และ พื้นที่นี้..ดีจัง รุ่น 1-2 รวมทั้งสิ้น 35 โครงการ จำนวน 150 คน เข้าร่วมทบทวนบทเรียน อนึ่งการจัดงานครั้งนี้ นอกจากจะทบทวนสรุปบทเรียนเสริมพลังการทำงานเชิงแนวคิดและเชิงปฎิบัติการพื้นที่สร้างสรรค์ 3 ดีแล้ว ยังแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานพื้นที่สร้างสรรค์ในแต่ละพื้นที่ แต่ละโครงการ และระดมสมองร่วมกันกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์พื้นที่สุขภาวะร่วมกันต่อไป

ผอ.เสถียร พันธ์งาม โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) ได้เข้ามาร่วมงานกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก โดยมองว่า  “เท่าที่ดูนักเรียนในโรงเรียน มีปัญหาในเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ รู้สึกเหมือนการศึกษาที่ผ่านมาไม่มีทิศทางอะไรมากมาย ก็ทำไปจัดไปตามหน้าที่ จัดไปเรื่อยๆ จัดเป็นปีๆ จบเป็นปีๆ ไป แต่เป้าที่แท้จริงดูเหมือนมันไม่ชัด เลยคิดว่าถ้าเราจะจัดการศึกษาให้เกิดประโยชน์กับลูกหลานอย่างยั่งยืน น่าจะเอาเรื่องเป้าหมายของชาติที่เขาเขียนไว้ 8 ประการ ในหลักสูตรของผู้รักษาอันพึงประสงค์ 8 ประการที่ว่า เราต้องเอามาขมวดเข้าว่าแท้จริงแล้ว 8 ประการที่ว่า มันคืออะไรกันแน่ ก็เลยมาตกผลึกที่ว่ามันน่าจะเริ่มต้นที่ให้เด็กรู้จักหน้าที่ตนเองก่อน เลยตั้งเป้าว่าต้องสร้างเด็กให้มีความรับผิดชอบรู้หน้าที่ว่าตั้งแต่มาถึงโรงเรียนตั้งแต่เช้าจนเลิกเรียน เขาควรจะมีขั้นมีตอนก่อนว่ามาถึงโรงเรียนเขาทำอะไรบ้าง” โดยความรับผิดชอบจะต้องเป็นไปตามเด็กแต่ละช่วงแต่ละกลุ่มแต่ละคน เพราะเด็กโดยรวมแล้วจะไม่ค่อยรับผิดชอบต่อหน้าที่เท่าไรไม่ว่าจะอยู่บ้านหรือโรงเรียนจะเป็นแค่ผู้คอยรับบริการต่างๆ ถ้าช่วยทำงานในส่วนรวมจะไม่ค่อยใสใจเท่าไร เลยคิดว่าถึงเวลาแล้วละถ้าจะรอภาพใหญ่ของประเทศมันคงจะไม่ได้แล้วต้องมาคิดแคบๆ ที่บริเวณโรงเรียนที่เราสามารถรับผิดชอบได้ สามารถกำหนดนโยบายกำหนดทิศทางได้ด้วยตัวเอง เลยคิดว่าน่าจะเริ่มต้นที่เราก่อนที่โรงเรียนของเราก่อน เริ่มต้นคิด…   ทำกิจกรรมปรับกระบวนการในแต่ละวัน เพื่อที่จะลองดูว่าครูและนักเรียนจะมีปฏิกิริยายังไรบ้าง ซึ่งก็พบปัญหาอยู่ ครูส่วนใหญ่ ก็รู้สึกว่า มันยุ่งยาก “แรงต่อต้านมีค่อนข้างมากแต่เมื่อเรายืนยันและอธิบายสิ่งที่เราทำเพราะอะไร เพราะปัญหาที่เราเห็นพ้องด้วยกันว่าเด็กไม่มีระเบียบวินัย ไม่ค่อยมีความรับผิดชอบทำอะไรก็พอแล้วแล้วไป” จากความมุ่งมั่นที่จะทำ ผอ.เสถียรได้สร้างกลุ่มคุณครูที่เข้าใจแกนนำก็ดำเนินโดยทีมครูที่เข้าใจ ส่วนตัวนักเรียน คิดว่าความเคยชินที่อยู่ในระบบที่ค่อนข้างไม่ค่อยได้รับผิดชอบก็จะเปลี่ยนตัวเขายาก น่าจะเปลี่ยนได้อย่างเดียวคือครูประจำฉันต้องกำกับให้แคบเข้ามาที่ห้องเรียน ส่วนชุมชนผู้ปกครองไม่ค่อยมีปัญหาจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสารของครูไปถึงผู้ปกครอง ครูที่ยังไม่ค่อยเห็นด้วยเขารู้สึกว่าเขามีภาระมากขึ้น แต่ผอ.ก็ยืนยันในสิ่งที่ทำ […]