Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
“พัทลุงยิ้ม” ยิ้มแฉ่งเต็มพื้นที่นี้…ดีจัง | ชุมชน 3 ดี
“พัทลุงยิ้ม” ยิ้มแฉ่งเต็มพื้นที่นี้…ดีจัง

“…เขาก็แสวงหาเพื่อน เราเองก็ต้องการเพื่อน มันจึงลงตัวพอดี พอเขาเห็นกิจกรรมที่เราทำ เขาก็อยากทำงานกับเรา ถ้าใครจะทำงานกับพี่นัดมาเลย ไม่ต้องคอยหลายวัน นัดแล้วลงมือทำงานร่วมกันเลย”

เตือนใจ สิทธิบุรี หรือ หลายๆคนเรียกเธอว่า “ป้าป้อม” อดีตนักกิจกรรมมหาวิทยาลัยวิทยาลัยรามคำแหง สั่งสมประสบการณ์การทำงานพัฒนาและงานค่ายกิจกรรมเห็นต้นทุนทางสังคมของบ้านเกิดจึงมุ่งมั่นสร้างการเรียนรู้ ฟื้นฟูวัฒนธรรม และเชื่อมโยงคนในชุมชน ทั้ง 3 วัยมาเป็นครอบครัวเดียวกัน

เริ่มทำงานครั้งแรก ในปี 2530 กับกลุ่มสื่อเพื่อการพัฒนา (AMED) ทำงานกับชาวบ้านในชุมชนแออัด ได้ฝึกกระบวนการคิด และกระบวนการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เป็นระบบ จนถึงปี 2536 เปลี่ยนมาทำงานที่มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีโอกาสเดินทางไปการทำงานในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย ทำให้เพิ่มพูนทักษะ เทคนิคการทำงานพัฒนา การประสานงานในพื้นที่ และมีเครือข่ายการทำงานมากขึ้น ก่อนกลับมาเป็นบัณฑิตอาสา กับ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กรมประชาสงเคราะห์เดิม) และร่วมมือกับเครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคใต้ ในการทำงานพัฒนาที่บ้านเกิด ในตำบลนาโหนด จังหวัดพัทลุง ทำให้เห็นทุนทางสังคม และศักยภาพของพื้นที่ในด้านเกษตร เกิดตกผลึกทางความคิด จึงตัดสินใจตั้งหลักปักฐานสร้างครอบครัว ที่บ้านเกิดของตนเอง ด้วยการยึดอาชีพเกษตร ทำสวนยาง ทำนา ทำสวนเป็นหลัก ควบคู่การทำงานพัฒนาในชุมชนท้องถิ่น

เกิดก่อสวนยางยิ้ม

ต้นทุนชีวิตของ “ป้าป้อม” ที่สั่งสมมาก่อนจะเปิดใต้ถุนบ้านเป็นแหล่งเรียนรู้นั้นก็ทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งเรื่องน้ำ ความมั่นคง ผู้หญิง ผักพื้นบ้าน เรื่องอาหาร ตั้งแต่ปี 2548

“เราเหนื่อยเราก็หยุด พอเราหายเหนื่อยเราก็ลุกขึ้นมาทำใหม่ ตอนนั้นก็ไปใช้ใต้ถุนอนามัย ใช้ลานวัดทำกิจกรรม แต่งานจัดการมันเยอะ ก็เลยปรับมาทำที่บ้านเพราะพื้นที่กว้าง ใช้ใต้ถุนบ้านนี่ละ เป็นลานเล่นให้กับเด็กๆ ที่ทำกิจกรรม แล้วก็เริ่มมาจับเรื่องเด็กเป็นหลัก”

หลังช่วงการปันผลประจำปีของกลุ่มออมทรัพย์ที่ป้าป้อมร่วมดำเนินงานอยู่นั้น ได้แลกเปลี่ยนและตกลงร่วมกันว่า จะนำเงินปันผล ที่ปกติจะแบ่งให้แก่สมาชิกเป็นจำนวนเงินเท่าๆกันนั้น ไปสร้างกิจกรรมการจัดค่ายเด็กและเยาวชนในพื้นที่แทน เพื่อสร้างการเรียนรู้ และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคน 3 วัย 3 ศาสนา ในชุมชน จึงกลายเป็น สวนเรียนรู้ชุมชนบ้านเกาะทัง

และได้ร่วมแนวคิดการทำพื้นที่สร้างสรรค์ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาชน(สสย.) โดยโครงการรณรงค์พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชน “พื้นที่นี้…ดีจัง”จึงร่วมเป็นภาคีเครือข่ายพื้นที่นี้…ดีจัง จนปัจจุบัน 4 ปีแล้ว

ทุกวันนี้บริเวณใต้ถุนบ้านของป้าป้อม เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นห้องสมุดของชุมชนที่มีชีวิต เป็นแหล่งเรียนรู้ และทำกิจกรรมยามว่างของเด็กเยาวชน และคนในชุมชน การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน ทั้ง โครงการปิดเทอม เปิดตา เปิดใจ กับกาลละเล่นพื้นฐานลานสร้างสุข โครงการปิดเทอม เปิดตา เปิดใจ กับขนมพื้นบ้านอาหารท้องถิ่น โครงการศาสนาสัมพันธ์กับการสร้างสุขในชุมชน โครงการมโนราห์เรียนร้องร้อยรำ สื่อสร้างสุข ฯลฯ โดยเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เชื่อมโยงคน 3 วัย ทั้งเด็กเยาวชน ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน เพื่อสร้างความรัก ความอบอุ่นในชุมชน เพื่อเป็นเกราะป้องกันปัญหาสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้น และค่อยๆ กลายเป็น “สวนยางยิ้ม” ในที่สุด

pic9 pic11 pic12 pic13 pic14

แต่งแต้มต่อเติม

หลังจากเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของภาคีพื้นที่สร้างสรรค์ หรือที่เรียกกันว่า “พื้นที่นี้…ดีจัง” ป้าป้อม ก็ทำกิจกรรมกับโรงเรียน วัด อนามัย หลังจากนั้นก็ขยายแนวคิดการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์สู่หมู่บ้าน อำเภอ และจังหวัดใกล้เคียง

จากแนวคิดที่จะขยายงานนี้เอง จึงเกิดงานระดับจังหวัด “พัทลุงยิ้ม” เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 56 ณ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา พัทลุง เป็นเวทีให้คนที่มีแนวคิดคล้ายๆ กันมาพบกัน

“ตอนแรกที่จะทำในเมือง ก็กังวลบ้างเพราะใช้พลังเยอะและมีเงื่อนไขไม่น้อยทีเดียว แต่ก็อุ่นใจเพราะเรามีเครือข่ายพื้นที่นี้ ดีจัง ในตำบลต่างๆ ที่เราไปร่วมทำกิจกรรมไว้แล้ว พอเริ่มลงมือทำก็มีการขยายกลุ่ม ทั้งคนร่วมจัด คนที่มาร่วมเรียนรู้ มีทั้งโรงเรียน ชุมชน ที่สำคัญก็คือคนขาดพื้นที่แบบนี้ ไม่เคยมีกิจกรรมให้เด็กๆและครอบครัวได้ทำร่วมกัน พอเข้ามาร่วมกิจกรรมกับเราแล้วคำตอบคือมันใช่สิ่งที่เขาค้นหาอยู่

การจัดงานครั้งนี้ได้มากกว่าเป้าหมายที่เราตั้งไว้มาก มากกว่าที่เราคิดไว้อีก เป้าหมายงานในครั้งนี้ที่ตั้งไว้เดิมแค่ชวนเพื่อนเครือข่ายยิ้มในพัทลุงที่เราเคยยิ้มสัญจรไปด้วยกัน มาพบ มารวมกัน มาแลกเปลี่ยน กัน โดยจะชวนกลุ่มเรียนรู้ในพื้นที่ยิ้มสัญจรมาเรียนรู้ร่วมกันเท่านั้น แต่เมือถึงเวลาที่จะจัดงานจริงๆ ทางทีมงานมาคุยกันเพื่อเตรียมงาน เราชวนเพื่อนกลุ่มใหม่มาด้วย เกิดการเพื่อนชวนเพื่อน ทำให้ในงานมีความหลากหลายทั้งบนเวทีและในลานเล่น ลานแบ่งปัน”

pic1 pic3

ภาคีร่วมจัดงานครั้งนี้มีทั้งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนเมือง ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบล สถาบันครอบครัวเข้มแข็งพัทลุง และทีมงานชุมทางเขียนด้วยแสง และเพื่อนเครือข่ายชุมชน ภายในงานมีการแสดงและการละเล่นต่างๆ เช่น ลิเกฮูลู จ.พัทลุง ละครใบ้ จากกลุ่มมาหยา จ.กระบี่ Orchestra โรงเรียนสตรีพัทลุง ละครสร้างสรรค์ จากกลุ่มข้าวยำละครเร่ จ.ปัตตานี – หุ่นเงา กลุ่มลูกขุนน้ำ จ.นครศรีธรรมราช – วงดนตรี วงโฮป แฟมิลี่

ซุ้มกิจกรรมตามรอยขนมพื้นบ้าน อาหารท้องถิ่น จ.พัทลุง ถุงผ้าเก็บรัก เข็มกลัดชิ้นเดียวในโลก ผ้ามัดย้อมเก็บสุข เพ้นท์สีก้อนหิน – ผ้าบาติก กังหัน ความรู้ ว่าวไทย ทิชชู่มหัศจรรย์ ศิลปะชูใจ ตุ๊กตาปูนพาสเตอร์ ชวนน้องกินผัก โปสการ์ดเดินทางของกลุ่มศิลปินเขียนด้วยแสง ร้อยลูกปัดหลากสี โมบายเดินเผา ส่งเสริมการอ่าน การเล่านิทานพื้นเมือง นิทานทุ่งซ่า – ของเล่นเดินทาง- นวดแลกเล่า – นิทานมีชีวิต ฯลฯ

“เราได้คุยกับเพื่อนใหม่ สิ่งที่เราได้รับกลับมามันเป็นบวกทำให้คนทำงานได้คิด ได้วางแผนต่อว่าจะทำอะไรต่อ แล้วในงานนี้ทำให้เราได้เพื่อนใหม่ทั้งนักพัฒนารุ่นใหม่ เครือข่ายศิลปินที่ถึงเวลาที่เราจะต้องคุยกัน จะร่วมกันทำเรื่องดีๆ เหล่านี้ต่อได้อย่างไร เขาก็แสวงหาเพื่อน เราเองก็ต้องการเพื่อน มันจึงลงตัวพอดี พอเขาเห็นกิจกรรมที่เราทำ เขาก็อยากทำงานกับเรา ถ้าใครจะทำงานกับพี่นัดมาเลย ไม่ต้องคอยหลายวัน นัดแล้วลงมือทำงานร่วมกันเลย”

งานนี้อาจจะเรียกได้ว่าได้เปิดเวทีให้คนที่มีหัวใจ มีแนวคิดคล้ายกันได้มาพบกันและถึงเวลาที่ทุกกลุ่มจะมาคุยกันเพื่อก้าวต่อไปอย่างไร จะมีพื้นที่สร้างสรรค์ในพื้นที่ไหนอีกบ้าง ต้องติดตาม

อ้างอิง “พื้นที่สร้างสรรค์”

แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) ให้ความหมาย “พื้นที่สร้างสรรค์ว่า” เป็นพื้นที่สร้างประสบการณ์ สร้างโอกาสให้เด็กได้เติบโตพัฒนาตามวัย มุ่งตอบสนองความต้องการของเด็ก ครอบครัว ชุมชน

โครงการรณรงค์พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชน “พื้นที่นี้…ดีจัง” ได้นิยามพื้นที่สร้างสรรค์จากการประชุมระดมสมองของภาคีเครือข่ายร่วมกันว่า “เล่น เรียนรู้ ริเริ่ม ร่วมทำ แบ่งปัน”

พื้นที่ทางกายภาพ นั่นคือพื้นที่สำหรับเล่นและทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งบ้าน โรงเรียน และชุมชน ต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัย เด็กๆ ทำกิจกรรมได้ตามวัยอย่างอิสระและสร้างสรรค์

พื้นที่ทางความคิด นั่นคือเปิดเวทีให้เด็กและเยาวชนได้แสดงออก แสดงความสามารถ มีสวนในการตัดสินใจ จัดกระบวนการ จัดกิจกรรมของตนเอง สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก ส่งเสริมให้ค้นพบศักยภาพและคุณค่าของตนเอง

พื้นที่ทางสื่อ นั่นคือสื่อนับเป็นบริบททางสังคมที่เป็นสาธารณะ ทุกคนสามารถรับและเข้าถึงได้ สื่อสาธารณะทุกประเภทจึงควรมีหน้าที่แบ่งปันพื้นที่ให้กับเด็กอย่างพอเพียง

พื้นที่ทางสังคม นั่นคือเปิดโอกาสให้เด็กมีสิทธิ มีส่วนร่วมในการแบ่งปัน จัดสรรทรัพยากรในสังคม มีส่วนกำหนดทิศทางในการบริการหรือสวัสดิการสำหรับเด็ก

สัมภาษณ์ – สุมาลี พะสิม เจ้าหน้าที่จัดการความรู้และสื่อสารสาธารณะ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน

ภาพประกอบ – หนุมานชาญสมร ชวิน ถวัลย์ภิยโย, Lookkhunnam Kiriwong

pic2 pic4 pic5 pic6 pic8 pic15 pic16 pic17 pic18 pic20

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพราะเด็กคือ “ความหวัง” ของแผ่นดิน  ถ้าหากจะกล่าวว่า อนาคตของประเทศจะเป็นอย่างไรต่อไป ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตของเด็กไทยในปัจจุบันก็คงไม่ผิดนัก ด้านการเรียนรู้ของเด็กต้องเริ่มตั้งแต่วัยทารก ซึ่งช่วงเวลาหกปีแรกนี้เองนับเป็นช่วงที่สำคัญยิ่ง เพราะถือเป็นรากฐานของการพัฒนา และนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีตลอดไป สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) ร่วมกับสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ(สำนัก 5) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ได้สนับสนุน โครงการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับการพัฒนาการเด็กเล็ก โดยร่วมจัดทำชุดโครงการ “มหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” ให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศขึ้นในปี 57 จำนวน 138  ปี 58 จำนวน 200 ศูนย์ ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างเห็นความสำคัญ และยังส่งเสริมให้การเลี้ยงดูเด็กในช่วงปฐมวัยให้มีคุณภาพมากที่สุด เห็นได้จากโครงการต่างๆ ที่มุ่งส่งเสริมให้พ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูเด็ก มีความรู้ความสามารถ โดยมีหลักการในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการดี เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพเหมาะสมตามช่วงวัย ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา รุจจิราภรณ์ พรมมิ  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งน้อย องค์การบริหารส่วนตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เล่าว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ภายใต้สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น […]

20 สิงหาคม 2559 นี้พบกันครับ ณ สวนสาธารณะเขาแคน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ……………………………….. 1. สนุกมือทำ กับ ฐานกิจกรรมมากมายที่ขนมาเพื่อทุกคน ให้ทุกท่านได้ลงมือทำ อาหาร ศิลปะ ประดิษฐ์ ระบายสี ทำเอง ภูมิใจได้ของ กลับบ้าน 2. สนุกชม ดนตรีมากความสามารถจากกลุ่มวัยรุ่นที่รวมกลุ่มรวมตัวกัน มากมายในห้องซ้อมดนตรี อ.ปากช่อง พร้อมความสนุครบวัย เพราะเรามี ลิเก ศิลปะร่วมสมัย เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ชมดี 3 สนุกช๊อบ ในตลาดนัดคุณหนู ที่จะชวนน้องๆค้นของเก่า เอามาขาย เรียนรู้การหา และการออม (ครอบครัวใดสนใจ เปิดแผงให้น้องๆได้เรียนรู้ ติดต่อจองพื้นที่ด่วนๆ รับจำนวนจำกัด 081-7321412) และพี่เศษสุดๆ กับการขนหนังสือมือสองมาจำน่ายในราคาเล่มล่ะ 1 บาท จากมูลนิธิกระจกเงา ………………………… ปล. งานเดิ่นนี้ดีจัง เปิดพื้นที่ให้ทุกท่าน มาร่วมสร้างสรรค์ กิจกรรมดีๆให้เด็ก […]

สถาบันสือเด็กและเยาวชน ร่วมกับกลุ่ม We are Happy จัดสัมมนา “คู่มือครูพัฒนาพลเมืองเด็ก หนังสือช่วยเด็กสร้างโลก” เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 ณ ห้องประชุม 202 อาคารดร.สิโรจน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพฯ การจัดสัมมนาขึ้นครั้งนี้เพื่อเผยแพร่และส่งมอบหนังสือ ช่วยเด็กสร้างโลก โดยให้ข้อมูลในการ เผยแพร่ และสาธิตกระบวนการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ และเพื่อพัฒนาครูแกนนำจำนวน 25 คนในศูนย์เด็กเล็กแกนนำให้สามารถ อธิบาย และนำคู่มือไปขยายผลได้ในกลุ่มเครือข่ายต่อไป  

ดร. ครรชิต  ไชยโพธิ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกระเดาอุ่มแสง ได้เริ่มมาทำงานพัฒนาเด็ก เริ่มต้นจากการทำงานกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาเด็กนักเรียนโดยใช้วิธีการกระบวนการของมูลนิธิฯ เองซึ่งจะแตกต่างจากที่เราจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน เริ่มต้นมาตั้งแต่ครั้งแรกเริ่มทำงานเรื่องภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่ ในเรื่องของเด็กกับผู้เฒ่าชวนกันเล่าเรื่อง โดยมีวิธีการคือให้เด็กเข้าไปสืบค้นภูมิปัญญาแล้วนำมาทำเป็นสื่อ เช่นหนังสือเล่มเล็กแล้วมีการพัฒนามาเรื่อยๆมาจนถึงที่เรากำลังทำคือการเป็นพลเมือง ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย   “ การทำงานตรงนี้เด็กได้มีการทำงานจริงฝึกปฏิบัติจริงเรียนรู้ได้ด้วยตนเองเด็กเกิดทักษะ ในกระบวนการเรียนการสอนเด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีการถ่ายทำสารคดี หนังสั้น ละครหุ่นเด็กได้มีการแสดงออก เด็กจะเกิดทักษะทั้งด้านพุทธิพิสัยความรู้จิตตะ คุณธรรมจริยธรรม จากกระบวนการในการจัดกิจกรรมที่ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก” รูปแบบการจัดกระบวนการของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กพอได้เห็นแล้วก็อยากจะร่วมงานด้วย เราไม่ได้มองเรื่องงบประมาณเรามองในเรื่องของรูปแบบการพัฒนาเด็กการเข้าถึงเด็ก เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ต่างๆ กระบวนการเหล่านั้นมาได้เชื่อมโยงระหว่างเด็กโรงเรียนชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการเชื่อมโยงกันในการจัดกิจกรรม ทำให้เด็กรู้จักรากเหง้าตนเองรู้จักตนเองรู้จักภูมิปัญญาศิลปะวัฒนธรรมของชุมชนในท้องถิ่นของตนเอง เองการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ทำให้เด็กเกิดสำนึกรักบ้านเกิด ที่สำคัญคือเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมความรับผิดชอบ มันจะได้ทั้งโรงเรียนชุมชนภูมิปัญญา   ความเป็นจริงแล้วในการจัดกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียนก็เหมือนกับของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กเพียงแต่ว่า ความลึกจะต่างกัน จะได้ความลึกได้ทักษะรู้ในเชิงลึกแต่รูปแบบกระบวนการความชัดเจนต่างกันสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กสิ่งที่เห็นได้ชัด เด็กที่ผ่านกระบวนการนี้เราทำมา 4-5ปี จะเห็นในเรื่องของความรับผิดชอบ การเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน จะพวกนี้จะเห็นชัด เด็กจะมีทักษะชีวิตทักษะอาชีพ สามารถที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างดี ชุมชนกับโรงเรียนจะกลมกลืนทำงานไปด้วยกันจะใช้ภูมิปัญญาซึ่งกันและกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชนโรงเรียนเรียนรู้จากภูมิปัญญาพื้นบ้าน เด็กเรียนรู้ในโรงเรียนครูเกิดการพัฒนาวิธีการถ่ายทอดความรู้ใหม่ใหม่จากวิทยากร   กิจกรรมเด่นๆ เริ่มจากกิจกรรมเด็กกับผู้เฒ่าชวนกันเล่าเรื่อง เราได้ให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการสืบค้นภูมิปัญญาในชุมชนมาทำเป็นหนังสือเล่มเล็ก ต่อมาเราทำในเรื่องของสื่อสารสร้างสรรค์เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงเด็กจะได้ทักษะความรู้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการถ่ายทำหนังสั้นสารคดีซึ่งเราสามารถเผยแพร่ผลงานของเรา ออกสู่สาธารณะชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสารคดีที่ได้ออกทางทีวีทำให้หลายหลายที่รู้จักโรงเรียนเราผลงานของนักเรียนเรารู้จักสิ่งดีดีนำงามของโรงเรียน ต่อจากนี้ที่เราจะทำ คือเรื่องของความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย เรานำความเป็นพลเมืองนี้มาบูรณาการ จัดการเรียนการสอน ทุกสาระของโรงเรียนเรา […]