
สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม และ สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. โดย กลุ่มแผนงานสื่อสร้างสรรค์ ได้แก่ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สนับสนุนทุนแก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จัด “อบรมเชิงปฏิบัติการแก่ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ภายใต้ชุด โครงการมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก”
เพื่อเสริมทักษะและเปิดเวทีแลกเปลี่ยนการจัดกระบวนการเรียนรู้และพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กเล็ก ให้เติบโตอย่างมีสุขภาวะที่ดีครบด้าน โดยกิจกรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-7 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมเดอะ รอยัล เจมส์ กอล์ฟ รีสอร์ท อ.ศาลายา จ.นครปฐม
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กล่าวว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นพื้นที่สำคัญในการดูแลและพัฒนาเด็กช่วงวัย 2-5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่สมองเจริญเติบโตสูงสุดกว่า 80% ของชีวิตมนุษย์ หากได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ จะสามารถสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ มีข้อมูลการสำรวจประเมินคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากองค์การยูนิเซฟ กว่า 200 แห่งทั่วประเทศ พบว่า มีเพียงร้อยละ 67 เท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ สสส. จึงให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยเปิดโอกาสให้ครู ศพด. ที่สมัครเข้ามาร่วมโครงการจำนวน 220 ศูนย์ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร และภาคีเครือข่าย สสส. ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย
กระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดี ประกอบด้วย สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี ซึ่งจะทำให้ครูผู้เข้าอบรมได้เข้าใจกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ในการพัฒนาสุขภาวะเด็กอย่างรอบด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจ ผ่านวิถีอาหารและการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน การเล่น และศิลปะต่างๆ อาทิ ดนตรี งานวาด งานปั้น ฯลฯ
ทพ.กฤษดา กล่าวเพิ่มเติมว่า สสส. มุ่งหวังว่าการจัดอบรมในครั้งนี้จะสร้างแรงดาลใจให้ครูในศูนย์ฯ ได้เห็นคุณค่าของงาน เกิดความสุขในการพัฒนาเด็ก สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคและความรู้ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายครู ศพด. ที่จะเกิดขึ้นผ่านทางโซเซียลมีเดียเพจ “มหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์” ซึ่งจะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเป็นกำลังใจให้กันและกัน เพื่อร่วมสร้างสรรค์การพัฒนาเด็กให้เติบโตอย่างมีความสุขและมีสุขภาวะที่ดีครบทุกด้านต่อไป
รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า “โครงการได้ดำเนินการในปีแรกด้วยการสนับสนุน ให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 168 ศูนย์ ได้ใช้กระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านการเรียนรู้ ทักษะชีวิต และส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัย เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างน่ายินดี เช่น เด็กๆในศูนย์เกิดความสุขจากการได้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ในศูนย์ ได้เปิดประสบการณ์ใหม่ในการเรียนรู้สุขภาวะและเกิดพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัยด้วยกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ ชุมชนเห็นคุณค่าของงานที่ครูในศูนย์ฯได้ดำเนินงานและเข้ามาร่วมพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ในศูนย์ฯ”
” ในปีที่ 2 เป็นการขยายผลและต่อยอดจากโครงการในปีแรก โดยสนับสนุนการจัดกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 220 ศูนย์ เน้นการบูรณาการแนวคิดสุขภาวะด้วยกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีความเข้าใจแนวคิดและกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ เข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการเด็กปฐมวัย สามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน และเกิดแรงบันดาลใจในการทำงานด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายครูศพด”
นางสาวเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน กล่าวว่า “โครงการฯ ยังได้ยกระดับศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ร่วมโครงการในปีที่ 1 จำนวน 21 ศูนย์ ให้เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ โดยจะมีจุดเด่น ทั้งด้านการบริหารจัดการศูนย์ฯ มีนวัตกรรมในด้านการจัดกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ ครูมีความรู้ ศักยภาพ และแรงบันดาลใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้แก่เด็ก รวมทั้งสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน สร้างเครือข่าย ต่อยอด ขยายผลโดยพัฒนาและสร้างสรรค์อย่างหลากหลายจากต้นทุนด้านพื้นที่ บุคคล ภูมิปัญญาท้องถิ่นและ แหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยโครงการฯจะได้ติดตามหนุนเสริมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบอย่างต่อเนื่อง ส่วนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 168 ศูนย์ซึ่งได้ร่วมโครงการในปีที่ผ่านมา ก็จะได้รับการติดตามหนุนเสริมศักยภาพและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายครูในโครงการฯ โดยได้เปิดช่องทางการสื่อสารเชื่อมต่อเครือข่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ Facebook : มหัศจรรย์ ศพด”
พื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้วิถีสุขภาวะ ของชุมชน เริ่มวันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ณ พื้นที่ใจกลางเมืองเพชรบุรี • ทอดน่องท่องชุมชนและตลาดเก่า ฟังเรื่องเล่าของการเปลี่ยนแปลง อุดหนุนพ่อค้าแม่ขายในท้องถิ่น ยินดีต้อนรับทุกท่านทุกวัน • ค้นหามุมบันดาลใจ สร้างงานศิลปะอย่างวาดภาพ ถ่ายภาพ เขียนบทความ หรือบทกวี มุมสุนทรีย์มีให้เลือกมากมาย • ชมงานศิลปะเชิงช่างหลากหลาย ที่ช่างศิลป์พื้นบ้านหลายท่านสร้างสรรค์ไว้ให้เป็นมรดกเมือง ในวัดเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี • ร่วมกิจกรรม “เพื่อความเข้าใจในสายน้ำเพชร” ล่องเรือคายัคกับชมรมมหิงสาสายสืบ และชมนิทรรศการศิลปะที่ระเบียงแกลลอรี่ • อิ่มอร่อยกับอาหารรสชาติดี ตำหรับและฝีมือคนในชุมชนปรุงเอง หรือร่วมเรียนรู้วิธีทำกับกิจกรรมเวิร์คช็อปอาหารที่บ้านเรียนรู้ตั้งสวัสดิรัตน์ • สนุกสนานกับการปั้นดินให้ดัง และดำน้ำกับครูเจี๊บ สมบัติแม่น้ำเพชร ไขข้อข้องใจมีอะไรซ่อนอยู่ใต้แม่น้ำเพชร • ชมการสาธิต หรือ ร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อปงานศิลปะงานช่างเมืองเพชรฝีมือคุณเอง ที่สามารถนำกลับไปเป็นของที่ระลึกได้ด้วย (มีทุกวันเสาร์) • ร่วมกิจกรรมถนนจักรยาน สนุกสนานกับการปั่นหลายรูปแบบ ปั่นออกกำลังกาย ปั่นไปไหว้พระ ปั่นไปเรียนรู้ ปั่นไปดูงานศิลปะ • […]
สถาบันสือเด็กและเยาวชน ร่วมกับกลุ่ม We are Happy จัดสัมมนา “คู่มือครูพัฒนาพลเมืองเด็ก หนังสือช่วยเด็กสร้างโลก” เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 ณ ห้องประชุม 202 อาคารดร.สิโรจน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพฯ การจัดสัมมนาขึ้นครั้งนี้เพื่อเผยแพร่และส่งมอบหนังสือ ช่วยเด็กสร้างโลก โดยให้ข้อมูลในการ เผยแพร่ และสาธิตกระบวนการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ และเพื่อพัฒนาครูแกนนำจำนวน 25 คนในศูนย์เด็กเล็กแกนนำให้สามารถ อธิบาย และนำคู่มือไปขยายผลได้ในกลุ่มเครือข่ายต่อไป
อะไรกันหนอ “นักสื่อสารชุมชน” เรียกกันง่ายๆ ก็คือ “นักข่าวชุมชน” นั่นเอง กิจกรรมนี้ต้องใช้ความร่วมมือจากนักจัดการบวนการการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง เช่น คณะนิเทศน์ศาสตร์ นักข่าวพลเมืองของไทยพีบีเอส หรือ คนมีความรู้ด้านสื่อสารมวลชน เข้าไปร่วมจัดกิจกรรมให้กับ นักสื่อสารชุมชน ขอยกตัวอย่างชุมชนบ้านโซงเลง ต.หนองม้า จ.ศรีสะเกษ ซึ่งจัดการบวนการโดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ที่ชวนกลุ่มเยาวชน ออกมาร่วมทำกิจกรรม ดึงเยาวชนออกจากร้านเกมและอบายมุกต่างๆ ให้เรียนรู้การสื่อสารทั้งการทำหนังสั้น สารคดี การทำสตอรี่บอร์ด การใช้กล้อง การตัดต่อ จนเป็นข่าวให้กับนักข่าวพลเมืองของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กระบวนการเรียนรู้ให้เกิด Somebody การได้ร่วมเรียนรู้ด้วยกันของเยาวชน ทำให้เกิดการเข้าสังคม และเรียนรู้การรับฟังผู้อื่น ได้ออกสืบเสาะหาของดี และเรื่องราวต่างๆในชุมชน การลงพื้นที่ทำให้ร่างกายได้ขยับ เป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งและช่วยสร้างสัมพันธ์อันดีต่อกันของคนชุมชน เกิดการพบปะ พูดคุย เรียนรู้ในวิถีและอาชีพที่แตกต่างๆ สื่อสารเรื่องราวดีๆ ทั้งวิถีและวัฒนธรรมให้สังคมภายนอกได้รับรู้ เช่นการสื่อสารวิถีชีวิตการหาปลาของคนในชุมชน เยาวชนต้องออกเดินทางติดต่อกับกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ ให้สาธิตการหาปลา ขึ้นรถ ลงเรือ เพื่อจะถ่ายทำเพื่อสื่อสารเรื่องราวออกไป การออกมาจากร้านเกม ถือเป็นการออกจากภาวะการเนื่องนิ่ง ได้ใช้ความคิด วางแผน ทดลองทำ เรียนรู้ถูกผิด และเยาวชนเองก็จะเกิดความภูมิใจเมื่อได้รับการยอมรับจากชุมชน และได้ทบทวนค้นหาตัวเองว่าชอบและถนัดอะไร […]
วันที่ 21-22 เมษายน 2557 ณ โรงแรมโรยัลเจมส์ลอดจ์ ศาลายา จัดโดยสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ความเป็นมา แนวคิดและหลักการ 3 ดี แนวคิดหรือหลักการ 3 ดี คือ แนวคิดในการพัฒนาเพื่อนำไปสู่สุขภาวะของเด็กและเยาวชน ซึ่ง 3 ดีหมายรวมถึงสิ่งที่ดี 3 ประการ ได้แก่ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เป้าหมายของแนวคิดหรือหลักการนี้ตามที่ได้กล่าวแล้วคือการพัฒนาเพื่อนำไปสู่สุขภาวะของเด็กและเยาวชน การให้เด็กมีความถึงพร้อมกาย จิต สังคมและปัญญา และอยู่ในสังคมที่สงบสุข หรืออาจกล่าวสั้นๆได้ว่า สุขภาวะดี คนมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง พื้นที่ดี พื้นที่สร้างสรรค์ มีความหมายกว้างโดยรวมถึง พื้นที่ทางกายภาพซึ่งเป็นสถานที่ พื้นที่สร้างให้เกิดการเรียนรู้ รวมถึงเวทีที่บุคคลต่างๆภายในชุมชนมีกิจกรรม มีการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจระหว่างบุคคลที่มาเข้าร่วมกิจกรรม ภูมิดี ภูมิเข้มแข็ง หมายถึง การมีทักษะในการเท่าทันสื่อ และความสามารถในการปกป้องตนเองจากสื่อที่หลากหลาย การใช้ประโยชน์จากสื่อที่สร้างสรรค์ และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในแง่ของกระบวนการทำงานและตัวรูปธรรมกิจกรรมของโครงการที่เข้าร่วมสัมมนา มีทั้งกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เชิงบวก เช่น […]