
4 ก.ค. 58 มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ร่วมกันจัดทำโครงการโรงเรียน 3 ดี เพื่อสร้างพลเมืองในวิถีประชาธิปไตย และทางโครงการฯได้ขอพบผู้บริหาร ครู และนักเรียนแกนนำโรงเรียน 3 ดี
ทั้ง 11 โรงเรียน เพื่อแนะนำโครงการ แผนกิจกรรม และกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นต่างๆ ภายในโครงการฯ และยังได้นำสื่อการเรียนรู้ใหม่ๆ โรลอัพความรู้ ไปมอบให้กับโรงเรียนไว้ใช้ในชมรมฯ อีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
สสย.จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างวิทยากรกระบวนการในเรื่อง พลัง 3 ดี กับการสร้างพลเมืองเด็ก ระหว่างวันที่ 26-27 ธันวาคม 2257 ณ โรงแรมเอบีน่า เฮ้าส์ จุดประสงค์ของการสัมมนาในครั้งนี้คือ การเรียนรู้แนวคิดและหลักการของชุมชน 3 ดีและการสร้างพลเมืองเด็ก รวมถึงการสร้างวิทยากรในหัวข้อทั้งสอง เพื่อให้สามารถไปเผยแพร่ขยายผลต่อในระดับชุมชนได้
กลุ่มเด็กเมือง ชวนตะลอนเพลินชมเมืองยิ้ม โคราชดี๋ดอกเด่ เพลินฟังประวัติศาสตร์ถนนจอมพล 4 ประตูเมืองโคราช แวะเที่ยวMuseum & เสมาลัย story house วันละ 2 รอบ ในวันเสาร์อาทิตย์ 28-29 มกราคมนี้ แล้วไปเพลินต่อที่ลานย่าโม เทศกาลงานยิ้ม โคราช 2017 มาเดี่ยวก็ไม่เหงา มาเป็นคู่ก็สนุก มาเป็นกลุ่มก็เพลินดี จองตะลอนได้ที่ 0872519768 ชวนมาเพลินกับเรื่องราวโคราชยิ้มกันค่ะ ติดตามความเคลื่อนไหวที่ FB:https://www.facebook.com/profile.php?id=100005330894729
กลุ่มองค์กรด ้านสื่อศิลปวัฒนธรรมเพื่อเด ็กเยาวชนและชุมชนหลายองค์กร นำโดยกลุ่มละครชุมชน “กั๊บไฟ” ร่วมกับสถาบันสื่อเด็ กและเยาวชน (สสย.) มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนส ่งเสริมการสร้างสุขภาพ (สสส.) เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ ให้กับเด็กเยาวชนและความสัม พันธ์ที่ดีในครอบครัว รวมทั้งหวังส่งเสริมการมีส่วนร ่วมของเด็กเยาวชน ชุมชน เชิดชู ศิลปิน ครูภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้านชาติพันธุ์ต่า งๆ และองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้อ ง เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนั กรู้เรื่องพื้นที่สร้างสรรค ์กับสาธารณชนในทุกๆ ปี ร่วมกับองค์กรสาธารณประโยชน ์ กลุ่มศิลปินอิสระ และองค์กรด้านสื่อสร้างสรรค ์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพเด็ ก เยาวชน ครอบครัว และชุมชน กว่า 20 องค์กร จัดงาน “ข่วงนี้ดีแต้” ในวันที่ 27-28 มกราคม 60 ณ โครงการบ้านข้างวัด(ซ.วัดอุ โมงค์) ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ภายในงานมีกิจกรรมสร้างสรรค์หลาก หลาย […]
อะไรกันหนอ “นักสื่อสารชุมชน” เรียกกันง่ายๆ ก็คือ “นักข่าวชุมชน” นั่นเอง กิจกรรมนี้ต้องใช้ความร่วมมือจากนักจัดการบวนการการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง เช่น คณะนิเทศน์ศาสตร์ นักข่าวพลเมืองของไทยพีบีเอส หรือ คนมีความรู้ด้านสื่อสารมวลชน เข้าไปร่วมจัดกิจกรรมให้กับ นักสื่อสารชุมชน ขอยกตัวอย่างชุมชนบ้านโซงเลง ต.หนองม้า จ.ศรีสะเกษ ซึ่งจัดการบวนการโดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ที่ชวนกลุ่มเยาวชน ออกมาร่วมทำกิจกรรม ดึงเยาวชนออกจากร้านเกมและอบายมุกต่างๆ ให้เรียนรู้การสื่อสารทั้งการทำหนังสั้น สารคดี การทำสตอรี่บอร์ด การใช้กล้อง การตัดต่อ จนเป็นข่าวให้กับนักข่าวพลเมืองของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กระบวนการเรียนรู้ให้เกิด Somebody การได้ร่วมเรียนรู้ด้วยกันของเยาวชน ทำให้เกิดการเข้าสังคม และเรียนรู้การรับฟังผู้อื่น ได้ออกสืบเสาะหาของดี และเรื่องราวต่างๆในชุมชน การลงพื้นที่ทำให้ร่างกายได้ขยับ เป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งและช่วยสร้างสัมพันธ์อันดีต่อกันของคนชุมชน เกิดการพบปะ พูดคุย เรียนรู้ในวิถีและอาชีพที่แตกต่างๆ สื่อสารเรื่องราวดีๆ ทั้งวิถีและวัฒนธรรมให้สังคมภายนอกได้รับรู้ เช่นการสื่อสารวิถีชีวิตการหาปลาของคนในชุมชน เยาวชนต้องออกเดินทางติดต่อกับกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ ให้สาธิตการหาปลา ขึ้นรถ ลงเรือ เพื่อจะถ่ายทำเพื่อสื่อสารเรื่องราวออกไป การออกมาจากร้านเกม ถือเป็นการออกจากภาวะการเนื่องนิ่ง ได้ใช้ความคิด วางแผน ทดลองทำ เรียนรู้ถูกผิด และเยาวชนเองก็จะเกิดความภูมิใจเมื่อได้รับการยอมรับจากชุมชน และได้ทบทวนค้นหาตัวเองว่าชอบและถนัดอะไร […]