
เมื่อนึกถึงคำนี้ “รองเมือง” ใครหลายๆคนนึกถึงสถานีรถไฟหัวลำโพง วันนี้เว็บไซต์สามดีชวนคุณออกมาเดินเล่น ชวนคุณขยับมาอีกนิดไปดูกำแพงสวยๆ ในชุมชนวัดดวงแขกัน ถือเป็นชุมชนสามดีของเราอีกแห่งหนึ่งค่ะ
ชุมชนนี้ได้ร่วมมือกันปรับภูมิทัศน์ชุมชนให้น่าอยู่โดยการเชิญศิลปินและ ชวนเด็กๆและคนในชุมชน ทาสีกำแพงและวาดภาพกำแพง สร้างสีสันให้ชุมชนน่าอยู่ คุณครูหรือคุณพ่อ คุณแม่ สามารถพาเด็กๆ ไปเดินชม พร้อมรับฟังหลากเรื่องเล่าโดยคนในชุมชนได้
ชุมชนวัดดวงแขนั้น ได้รับการรองรองเป็นชุมชนจากสำนักงานเขตปทุมวันเมื่อปี 2547 ตั้งอยู่บริเวณถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน มีพื้นที่ 3.5 ไร่ มีจำนวนประชากรตามทะเบียนบ้าน 52หลังคาเรือน 139 ครอบครัว 410 คน และมีประชากรตามบ้านเช่าอีก 500 คน ซึ่งพื้นที่ชุมชนนั้นมี 3 ส่วน คือเช่าอาศัยพื้นที่กรมธนารักษ์ ที่ดินชาวบ้านที่มีโฉนดและพื้นที่จากคลองนางหงส์ที่ตื้นเขิน
คลองนางหงส์นั้นที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 มีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมเพื่อแบ่งพระราชฐานเป็นชั้นนอกและชั้นใน โดยมีคลองนางหงส์เชื่อมต่อคลองผดุงกรุงเกษมให้น้ำไหลไปลงยังคลองแสนแสบแถบ บริเวณชุมชนกรุงเกษมชุมชนวัดบรมนิวาส และสะพานเจริญผล ต่อมารัชสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงก่อสร้างทางรถไฟสายแรกของประเทศไทยจากหัวลำโพง – ปากน้ำ (สมุทรปราการ) คลองนางหงส์จึงถูกถมเป็นรางรถไฟ และเมื่อคลองนางหงส์ถูกถมแล้วจึงทำให้ส่วนที่ต่อจากรางรถไฟ ตื้นเขินกลายเป็นแผ่นดิน ชาวบ้านจึงมาปลูกบ้านอยู่อาศัยเป็นระยะเวลากว่า 100 ปี
สำหรับใครที่สนใจแวะเข้าไปชมติดต่อได้ที่ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ศูนย์ดวงแข 02 – 215 6544 , 02 – 613 7932
ติดตามอ่านเรื่องบันดาลใจจากคนในชุมชนคลิกจ้า
ป้าหมี ป้าติ๋ม: แม่พระของเด็กในชุมชนแออัด
น้องบิว: นักสื่อสารสร้างสรรค์ในสลัม
ข้อมูลและภาพจาก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก
ดร. ครรชิต ไชยโพธิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกระเดาอุ่มแสง ได้เริ่มมาทำงานพัฒนาเด็ก เริ่มต้นจากการทำงานกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาเด็กนักเรียนโดยใช้วิธีการกระบวนการของมูลนิธิฯ เองซึ่งจะแตกต่างจากที่เราจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน เริ่มต้นมาตั้งแต่ครั้งแรกเริ่มทำงานเรื่องภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่ ในเรื่องของเด็กกับผู้เฒ่าชวนกันเล่าเรื่อง โดยมีวิธีการคือให้เด็กเข้าไปสืบค้นภูมิปัญญาแล้วนำมาทำเป็นสื่อ เช่นหนังสือเล่มเล็กแล้วมีการพัฒนามาเรื่อยๆมาจนถึงที่เรากำลังทำคือการเป็นพลเมือง ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย “ การทำงานตรงนี้เด็กได้มีการทำงานจริงฝึกปฏิบัติจริงเรียนรู้ได้ด้วยตนเองเด็กเกิดทักษะ ในกระบวนการเรียนการสอนเด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีการถ่ายทำสารคดี หนังสั้น ละครหุ่นเด็กได้มีการแสดงออก เด็กจะเกิดทักษะทั้งด้านพุทธิพิสัยความรู้จิตตะ คุณธรรมจริยธรรม จากกระบวนการในการจัดกิจกรรมที่ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก” รูปแบบการจัดกระบวนการของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กพอได้เห็นแล้วก็อยากจะร่วมงานด้วย เราไม่ได้มองเรื่องงบประมาณเรามองในเรื่องของรูปแบบการพัฒนาเด็กการเข้าถึงเด็ก เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ต่างๆ กระบวนการเหล่านั้นมาได้เชื่อมโยงระหว่างเด็กโรงเรียนชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการเชื่อมโยงกันในการจัดกิจกรรม ทำให้เด็กรู้จักรากเหง้าตนเองรู้จักตนเองรู้จักภูมิปัญญาศิลปะวัฒนธรรมของชุมชนในท้องถิ่นของตนเอง เองการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ทำให้เด็กเกิดสำนึกรักบ้านเกิด ที่สำคัญคือเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมความรับผิดชอบ มันจะได้ทั้งโรงเรียนชุมชนภูมิปัญญา ความเป็นจริงแล้วในการจัดกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียนก็เหมือนกับของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กเพียงแต่ว่า ความลึกจะต่างกัน จะได้ความลึกได้ทักษะรู้ในเชิงลึกแต่รูปแบบกระบวนการความชัดเจนต่างกันสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กสิ่งที่เห็นได้ชัด เด็กที่ผ่านกระบวนการนี้เราทำมา 4-5ปี จะเห็นในเรื่องของความรับผิดชอบ การเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน จะพวกนี้จะเห็นชัด เด็กจะมีทักษะชีวิตทักษะอาชีพ สามารถที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างดี ชุมชนกับโรงเรียนจะกลมกลืนทำงานไปด้วยกันจะใช้ภูมิปัญญาซึ่งกันและกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชนโรงเรียนเรียนรู้จากภูมิปัญญาพื้นบ้าน เด็กเรียนรู้ในโรงเรียนครูเกิดการพัฒนาวิธีการถ่ายทอดความรู้ใหม่ใหม่จากวิทยากร กิจกรรมเด่นๆ เริ่มจากกิจกรรมเด็กกับผู้เฒ่าชวนกันเล่าเรื่อง เราได้ให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการสืบค้นภูมิปัญญาในชุมชนมาทำเป็นหนังสือเล่มเล็ก ต่อมาเราทำในเรื่องของสื่อสารสร้างสรรค์เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงเด็กจะได้ทักษะความรู้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการถ่ายทำหนังสั้นสารคดีซึ่งเราสามารถเผยแพร่ผลงานของเรา ออกสู่สาธารณะชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสารคดีที่ได้ออกทางทีวีทำให้หลายหลายที่รู้จักโรงเรียนเราผลงานของนักเรียนเรารู้จักสิ่งดีดีนำงามของโรงเรียน ต่อจากนี้ที่เราจะทำ คือเรื่องของความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย เรานำความเป็นพลเมืองนี้มาบูรณาการ จัดการเรียนการสอน ทุกสาระของโรงเรียนเรา […]
ภาคีเครือข่ายภาคใต้ ของ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ได้ร่วมกันประชุมกลุ่มย่อย โดยมีกลุ่มสงขลาฟอรั่ม กลุ่มศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน จะนะ และกลุ่มยังยิ้ม ณ อำเภอเทพา จ.สงขลา เพื่อวางโมเดลการทำงานและสร้างการสื่อสารในพื้นที่ ในประเด็นการพัฒนาบนฐานทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชน ระหว่างวันที่ 27 และ 28 ก.พ. โดยเน้นกิจกรรมที่ควรจะสามารถ Spark คนในพื้นที่ด้วยโมเดล “การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง” รวมถึงการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการสร้างความเป็นพลเมืองให้กับเด็ก และเยาวชน รวมทั้งคนในพื้นที่ภาคใต้ โดยวันที่ 28 ก.พ. 60 ภาคีเครือข่ายภาคใต้กลุ่มฐานภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และนวัตกรรม ประกอบด้วยกลุ่ม กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ กลุ่มพัทลุงยิ้ม แล กลุ่มละครมาหยา ได้แลกเปลี่ยนและนำเสนอโมเดลกระบวนการเรียนรู้ผ่านภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และนวัตกรรม ทั้งในส่วนของประวัติศาสตร์ สื่อพื้นบ้าน ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้และSpark แรงบันดาลใจให้กับของเยาวชนในพื้นที่
ะ 3 มิ.ย. นี้เวลา 17.00 นี้เป็นต้นไป กลุ่มไม้ขีดไฟจัดกิจกรรมดีๆเพื่อเด็กและครอบครัวค่ะ “เดิ่นนี้ดีจัง ตอน มหัศจรรย์การเล่น” จูงมือกันมา ทำกิจกรรมสนุกๆที่สวนไฟฝัน พาลูกมาฟังนิทาน จากครูปรีดา ปัญญาจันทร์ เพลินฟังเดี่ยวขิม และดนตรีสบายๆแบบครอบครัว ชมละครหุ่นเงา กระตุ้นจินตนาการ พ่อโอ๊ค จากพระนครนอนเล่น มาเล่าเรื่องเล่นแล้วลูกได้อะไร และมากมายกิจกรรม ลงมือทำ ศิลปะ ประดิษฐ์ ทำขนม ลงมือทำ ลงมือทาน ทำฟรี ดูฟรี ตลอดงาน กลุ่มไม้ขีดไฟฝากบอกว่าอยากชวนทุกคนมาจริงๆนะคะ ติดตามความเคลื่อนไหวที่ https://web.facebook.com/maikeedfaigroup/?pnref=story
เพชรบุรีดีจัง มาส่งต่อกัน บนแพไม้ไผ่ริมแม่น้ำเพชรบุรี มหกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ที่มีชีวิต ผ่านไปอีกปีแล้ว “เพชรบุรีดีจัง” มาส่งต่อกัน ย่านชุมชนเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ประกอบด้วย ถนนดำเนินเกษม แยกเพชรนคร ถึงน้ำพุ ถนนริมน้ำหลังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ลานวิหารพระคันธาราฐ วัดพลับพลาชัย ถนนซอยริมน้ำแยกสะพานใหญ่ ถึงสะพานจอมเกล้า ได้มีการจัด “งานมหกรรมเพชรบุรีดีจัง มาส่งต่อกัน” ครั้งที่ 7 ขึ้น ระหว่างวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 18-19 มี.ค.60 ที่ผ่านมา สำหรับกิจกรรมมีการจัดซุ้ม และการแสดงของกลุ่มเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ศิลปวัฒนธรรมในชุมชน และจากเครือข่ายพื้นที่ทั่วประเทศ ถนนสายศิลปะ ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ลานกิจกรรมสำหรับเด็กๆ ลานท่าน้ำสวนสุนทรภู่ วัดพลับพลาชัย โดยทุกท่านสามารถร่วมกิจกรรมได้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังได้ชมเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรมที่มีมาแต่สมัยอดีต สนุกกับงานสร้างสรรค์ศิลปะ และการออกแบบอันหลากหลาย เรียนรู้และสร้างสรรค์งานสกุลช่างเมืองเพชร เพลินไปบนถนนอนามัยและซอยตลาดริมน้ำ ย้อนรอยตลาดเก่าเรียนรู้วิถีชีวิตชาวจีนย่านตลาดริมน้ำ ผ่านกิจกรรมเปิดบ้านชุมชนชมเครื่องเรือน โดยทุกถนนมีการประดับตกแต่งด้วยโคมไฟที่หลากหลายอย่างสวยงามตระการตา และกิจกรรมต่างๆ เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จัดอย่างต่อเนื่องทุกปี ครั้งนี้เป็นปีที่ 7 แล้ว โดยจังหวัดเพชรบุรี ร่วมกับเครือข่ายเพชรบุรีดีจัง และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ […]