Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
งานเดิ่นนี้ดีจัง เปิดพื้นที่ให้ทุกท่าน มาร่วมสร้างสรรค์ | ชุมชน 3 ดี
งานเดิ่นนี้ดีจัง เปิดพื้นที่ให้ทุกท่าน มาร่วมสร้างสรรค์

20 สิงหาคม 2559 นี้พบกันครับ
ณ สวนสาธารณะเขาแคน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
………………………………..
1. สนุกมือทำ กับ ฐานกิจกรรมมากมายที่ขนมาเพื่อทุกคน
ให้ทุกท่านได้ลงมือทำ อาหาร ศิลปะ ประดิษฐ์ ระบายสี ทำเอง
ภูมิใจได้ของ กลับบ้าน

2. สนุกชม ดนตรีมากความสามารถจากกลุ่มวัยรุ่นที่รวมกลุ่มรวมตัวกัน มากมายในห้องซ้อมดนตรี อ.ปากช่อง
พร้อมความสนุครบวัย เพราะเรามี ลิเก ศิลปะร่วมสมัย เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ชมดี

3 สนุกช๊อบ ในตลาดนัดคุณหนู ที่จะชวนน้องๆค้นของเก่า เอามาขาย เรียนรู้การหา และการออม (ครอบครัวใดสนใจ เปิดแผงให้น้องๆได้เรียนรู้ ติดต่อจองพื้นที่ด่วนๆ รับจำนวนจำกัด 081-7321412)

และพี่เศษสุดๆ กับการขนหนังสือมือสองมาจำน่ายในราคาเล่มล่ะ 1 บาท จากมูลนิธิกระจกเงา
…………………………
ปล. งานเดิ่นนี้ดีจัง เปิดพื้นที่ให้ทุกท่าน มาร่วมสร้างสรรค์
กิจกรรมดีๆให้เด็ก ขนมไทย ศิลปะ อาหาร นำ้ดื่ม ขนม
แจ้งความจำนงค์ได้เลยครับ

TheMatchesGroup

บทความที่เกี่ยวข้อง

อะไรกันหนอ “นักสื่อสารชุมชน” เรียกกันง่ายๆ ก็คือ “นักข่าวชุมชน” นั่นเอง กิจกรรมนี้ต้องใช้ความร่วมมือจากนักจัดการบวนการการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง เช่น คณะนิเทศน์ศาสตร์ นักข่าวพลเมืองของไทยพีบีเอส หรือ คนมีความรู้ด้านสื่อสารมวลชน เข้าไปร่วมจัดกิจกรรมให้กับ นักสื่อสารชุมชน ขอยกตัวอย่างชุมชนบ้านโซงเลง ต.หนองม้า จ.ศรีสะเกษ ซึ่งจัดการบวนการโดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ที่ชวนกลุ่มเยาวชน ออกมาร่วมทำกิจกรรม ดึงเยาวชนออกจากร้านเกมและอบายมุกต่างๆ ให้เรียนรู้การสื่อสารทั้งการทำหนังสั้น สารคดี การทำสตอรี่บอร์ด การใช้กล้อง การตัดต่อ จนเป็นข่าวให้กับนักข่าวพลเมืองของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กระบวนการเรียนรู้ให้เกิด Somebody การได้ร่วมเรียนรู้ด้วยกันของเยาวชน ทำให้เกิดการเข้าสังคม และเรียนรู้การรับฟังผู้อื่น ได้ออกสืบเสาะหาของดี และเรื่องราวต่างๆในชุมชน การลงพื้นที่ทำให้ร่างกายได้ขยับ เป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งและช่วยสร้างสัมพันธ์อันดีต่อกันของคนชุมชน เกิดการพบปะ พูดคุย เรียนรู้ในวิถีและอาชีพที่แตกต่างๆ สื่อสารเรื่องราวดีๆ ทั้งวิถีและวัฒนธรรมให้สังคมภายนอกได้รับรู้ เช่นการสื่อสารวิถีชีวิตการหาปลาของคนในชุมชน เยาวชนต้องออกเดินทางติดต่อกับกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่ ให้สาธิตการหาปลา ขึ้นรถ ลงเรือ เพื่อจะถ่ายทำเพื่อสื่อสารเรื่องราวออกไป การออกมาจากร้านเกม ถือเป็นการออกจากภาวะการเนื่องนิ่ง ได้ใช้ความคิด วางแผน ทดลองทำ เรียนรู้ถูกผิด และเยาวชนเองก็จะเกิดความภูมิใจเมื่อได้รับการยอมรับจากชุมชน และได้ทบทวนค้นหาตัวเองว่าชอบและถนัดอะไร […]

4 ก.ค. 58 มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ร่วมกันจัดทำโครงการโรงเรียน 3 ดี เพื่อสร้างพลเมืองในวิถีประชาธิปไตย และทางโครงการฯได้ขอพบผู้บริหาร ครู และนักเรียนแกนนำโรงเรียน 3 ดี ทั้ง 11 โรงเรียน เพื่อแนะนำโครงการ แผนกิจกรรม และกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นต่างๆ ภายในโครงการฯ และยังได้นำสื่อการเรียนรู้ใหม่ๆ โรลอัพความรู้ ไปมอบให้กับโรงเรียนไว้ใช้ในชมรมฯ อีกด้วย ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย

“ยงยุทธ” ยกพื้นที่รองเมือง ต้นแบบโมเดล “เมือง 3 ดี” ดึงเยาวชนหลุดจากปัจจัยเสี่ยงในชุมชน ประกาศสานฝันเด็กไทย ผลักดันสู่นโยบายระดับชาติ “สสส.” ปักหมุดขยายพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อเด็กทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 3 เมษายน ณ บริเวณย่านถนนรองเมือง (ข้างกำแพงสถานีรถไฟหัวลำโพง) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายรองเมืองเรืองยิ้ม อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ไปรษณีย์ไทย จัดงาน “รองเมือง…เรืองยิ้ม” ตอน ปทุมวัน…ปันยิ้ม โดยมี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายสังคม เป็นประธานเปิดงาน พร้อมรับข้อเรียกร้องจากเด็ก เยาวชน ที่ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนให้เกิดต้นแบบพื้นที่สร้างสรรค์ เมือง 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี เพื่อเป็นกลไกให้เยาวชนได้มีพื้นที่เชิงบวก ในการสร้างสรรค์กิจกรรม เรียนรู้ทักษะชีวิตและพัฒนาจิตสำนึกพลเมือง ศ.ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า เด็ก เยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่รัฐบาลต้องการสนับสนุนให้มีสุขภาวะที่ดี มีการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตเป็นพลเมืองที่รับผิดชอบต่อสังคม ยุทธศาสตร์เมือง 3 ดี ที่ […]

“ ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในสลัม  แต่อย่าให้ใครเรียกเราไอ้เด็กสลัม ”   ป้าหมีบอกกับเด็กๆในชุมชนเสมอ ป้าหมีมีอาชีพขายเร่ขายเสื้อผ้าเด็กในสถานีรถไฟหัวลำโพง  เริ่มต้นการทำงานเพื่อเด็กในชุมชน ด้วยการเป็นแม่บ้านทำความสะอาดศูนย์ดวงแข ( ศูนย์การการเล่นและกิจกรรมพัฒนาเด็ก )  ทุกวันป้าหมีเห็นปัญหาของเด็กๆที่เข้ามาเล่นและทำกิจกรรมที่ศูนย์ฯ  ซึมซับการทำงานพัฒนาเด็ก  ป้าหมีรู้สึกว่าตนเองอยู่ไม่ได้แล้วต้องช่วยเด็กๆ พ่อแม่เด็กต้องรับรู้ถึงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว และช่วยกันแก้ไข     ป้าหมีก้าวเข้ามาเป็นอาสาสมัครดูแลการเล่นและจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กเติมตัว  เด็กๆมี พัฒนาการที่ดีอย่างเห็นได้ชัด  ชุมชนเริ่มให้ความร่วมมือ  ถึงแม้ว่าป้าหมีจะมีปัญหาชีวิตครอบครัวที่หนักหน่วงมามาก  ชุมชนหลายคนไม่เข้าใจด่าทอป้าหมี “ ตัวเองก็จะเอาไม่รอด  ดูแลลูกของตัวเองให้ดีเถอะ ค่อยมายุ่งเรื่องของคนอื่น” ป้าหมีเหนื่อยใจแต่ไม่เคยคิดจะหยุดทำงาน จากการทำงานในศูนย์ป้าหมีเป็นผู้เชื่อมโยงข้อมูลเด็กสู่ชุมชน ข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนา   ป้าหมี ไม่ทำงานแค่ในศูนย์ ดึกดื่นเที่ยงคนก็ไม่นอนเพราะต้องสอดส่องดูแลเด็กๆในชุมชน  ใช้ห้องพักขนาด 3 x 3ม. ที่เรียนว่าบ้านเป็นที่พักพิงให้เด็กที่หนีออกจากบ้าน เด็กมีปัญหากับครอบครัว  และเป็นที่ให้คำปรึกษาเด็กๆที่ทุกร้อนใจ มีปัญหา   “  พี่เป็นเด็กครอบครัวแตกแยก   พี่เข้าใจจิตใจเด็กๆดี”  “ ไฟไหม้ชุมชนหลายครั้งไม่เคยมีใครช่วยเราได้เลย  วัดก็ให้พวกเราไปนอนหน้าเมรุ  ดูอนิจอนาถอนาถาเหลือเกิน ” ป้าหมีพูดทั้งน้ำตาทุกครั้งเมื่อนึกถึงเหตุการณ์นั้น  […]