Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
นิทาน สร้างแนวรบความอบอุ่นให้ครอบครัว | ชุมชน 3 ดี
นิทาน สร้างแนวรบความอบอุ่นให้ครอบครัว

“ สื่อมีเยอะ และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยก็เข้ามาเยอะแยะ ทีวีที่มีช่องที่มีการ์ตูนทั้งวัน ถ้าพ่อแม่ปล่อยให้เด็กอยู่กับทีวี เด็กก็จะติด และสิ่งเหล่านี้แหละที่จะดึงจินตนาการของเด็กหายไป”

พี่โก๋ หรือ จันทรกานทิยมภา กลุ่มหนอนไม้อดีตสมาชิกกลุ่มมะขามป้อมที่ทำงานด้านละครเพื่อการพัฒนา ได้ผันชีวิตตัวเองออกไปทำกิจกรรมอิสระเพื่อพัฒนาเด็ก

560703_tungsa7 560703_tungsa23

มาดูกันว่าในนิทานมีอะไร

ถ้านึกย้อนไปตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายนิทานถือว่าเป็นความสุขของเด็ก เพราะเป็นสายใยสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกถ้ามาโรงเรียนก็จะเป็นครูกับลูกศิษย์ เราจะใช้ตัวนิทานสอนเด็ก พอเด็กได้ฟังสอนเรื่องอะไรเด็กก็จะเชื่อในนิทาน แต่ในนิทานมักมีความเชื่อหลายอย่าง นิทานพื้นบ้านที่นำมาสอนเด็กได้

“การที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้เด็กฟังตั้งแต่เด็กเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เด็กรักในนิทาน พอตักอุ่นๆของพ่อแม่และ มีนิทานกับเสียงนุ่มๆ ของพ่อแม่ พอเด็กได้ฟังเด็กก็จะเป็นเพลินและหลับไปโดยมีมีนิทาน มีตักอุ่น เสียงนุ่มๆ ที่เป็นเหมือนยานอนหลับให้ลูกได้มีมีความสุขนั่นเอง”

นิทานสอนได้หลายอย่าง สอนเรื่องภาษา ศิลปะ จินตนาการ และเด็กมักจะมีจินตนาการที่มากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งผู้ใหญ่คิดไม่ถึงในจินตนาการของเด็ก ถ้าเราจะแยกจินตนาการ ก็เป็นจินตนาการแบบอิสระ และ จินตนาการแบบมิติสัมพันธ์

จินตนาการแบบอิสระก็คือ เด็กในวัยเล็กๆ1-2 ขวบ เด็กอาจจะยังไม่มีประสบการ์โดยตรง จินตนาการเด็กจะมีอิสระ จินตนการเรื่องอะไรก็ได้ที่เด็กได้ฟัง

จินตนาการแบบมิติสัมพันธ์ เด็กโตมากหน่อย ที่ผ่านประสบการณ์และเอาประสบการณ์ที่เค้าพบเห็น พอเราเล่านิทานอะไรให้ฟัง เค้าก็จะร้อง อ๋อ และนึกเชื่อมโยงไปได้ เพราะฉะนั้น นิทานหนึ่งเรื่องสามารถสอนเด็กได้หลายอย่าง

560703_tungsa18

เลือกนิทานอย่างไรให้เหมาะกับเด็ก

การเลือกนิทานเราจะต้องเลือกนิทานที่ไม่ยาวมาก ต้องสั้นๆ มีความสนุก เพราะในนิทานเด็กต้องการความสนุก ความมหัศจรรย์ ตลกขบขัน เด็กต้องการเล่นกับตัวละคร และจินตนาการของเด็กเอง

<span “=””>สิ่งที่เราควรคำนึงในการเลือกนิทานคือ 1.ต้องสนุก 2.เด็กต้องมีส่วนร่วม 3.ต้องมีสาระ ไม่ต้องมากแต่นิทานเรื่องนั้นจะต้องสอนอะไรเด็กได้บ้าง

เคล็ดลับการเล่านิทานให้สนุก ทำอย่างไร

<span “=””>การเล่านิทานมีหลายรูปแบบ เล่าปากเปล่า เล่าโดยใช้สื่อ เล่าโดยใช้หนังสือ หรืออาจจะใช้ศิลปะเรื่องของดนตรี และก็สื่อใกล้ตัว ที่พอจะหยิบมาทำตัวละคร และดนตรีจะทำให้ตื่นเต้นมากขึ้น และถ้าใครร้องเพลงเป็น เล่นดนตรีเป็น ก็จะช่วยให้นิทานเรื่องนั้นๆสนุกมากยิ่งขึ้น

ถ้าคนเล่ามีความคิดสร้างสรรค์ แค่สวมถุงมือข้างเดียวเป็นตัวละครได้เยอะแยะเลย ถ้าใช้มือ ใส่ถุงมือเข้าไปเป็นปลาหมึก เป็นรูปอะไรก็ได้ สิ่งที่จะช่วยสร้างความสนุกจะอยู่ที่ถุงมือ ถ้าเอาถุงมือเข้ามาประกอบในการเล่านิทาน

นิทานกับโลกยุคใหม่

ถ้ามองย้อนไปในการช่วยให้เด็กมีพัฒนาการและมีจินตนาการนั้นมีโครงการ book start ให้พ่อแม่ที่ตั้งท้องเริ่มอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่ในท้อง เด็กก็จะซึมซับมาเรื่อยๆจนเด็กคลอดออกมา จนเด็กโต เด็กเหล่านี้จะมีพัฒนาการทางด้านภาษาดีกว่าเด็กที่พ่อแม่ไม่ได้อ่านตั้งแต่ตั้งท้อง

“ในปัจจุบันสื่อมีเยอะ และเครื่องมือเทคโลยีที่ทันสมัยก็เข้ามาเยอะแยะ ทีวีที่มีช่องที่มีการ์ตูนทั้งวัน ถ้าพ่อแม่ปล่อยให้เด็กอยู่กับทีวี เด็กก็จะติด และสิ่งเหล่านี้แหละที่จะดึงจินตนาการของเด็กหายไป หนังสือเด็กจะไม่สนใจจะไม่ค่อยจับ ถ้าพ่อแม่ปล่อยเด็กแบบนี้นานๆไปเด็กก็จะอยู่หน้าจอทีวี หน้าจอคอมพิวเตอร์ นานๆไปจินตาการเด็กจะน้อยลง ภาษาที่เค้าใช้ก็จะใช้ภาษาที่เข้ามาตามคอมพิวเตอร์ ภาษาวัยรุ่น ถ้าเป็นไปได้พ่อแม่ที่อยากพัฒนาเด็กหานิทานพื้นบ้าน ก็ได้ นิทานเล่มเล็กๆ ถ้าเด็กเล็กก็เลือกนิทานภาพ เพราะภาพจะทำให้เด็กสนุก และเล่านิทานให้เด็กฟังแค่วันละครั้งก่อนนอน เด็กก็จะติดนิสัยรักการอ่านขึ้นมาได้ทันที” พี่โก๋กล่าวทิ้งท้ายถึงความสำคัญของนิทาน

เพราะสื่อและเทคโนโลยีที่มาเร็วจนแทบจะตั้งแนวรบด้านข้อมูลข่าวสารแทบไม่ทันของทั้งโลกโซเชียลมีเดีย ว่าที่ทีวีดิจิตอลที่จะเกิดอีกไม่กี่ปี แต่ไม่ว่าโลกการสื่อสารจะเปลี่ยนแปลงไปมากมายแค่ไหน ลองเชื่อมสายใยรัก ด้วยการเล่านิทานสักเรื่องก่อนนอนให้ลูกได้ฟัง เชื่อว่าแนวรบด้านความอบอุ่นของครอบครัวยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

สุมาลี พะสิม // สัมภาษณ์
สวิชญา ชินพงศธร //- ถ่ายภาพ

สิรินาถ น้อยมูลศรี//เรียบเรียง

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดร. ครรชิต  ไชยโพธิ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกระเดาอุ่มแสง ได้เริ่มมาทำงานพัฒนาเด็ก เริ่มต้นจากการทำงานกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาเด็กนักเรียนโดยใช้วิธีการกระบวนการของมูลนิธิฯ เองซึ่งจะแตกต่างจากที่เราจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน เริ่มต้นมาตั้งแต่ครั้งแรกเริ่มทำงานเรื่องภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่ ในเรื่องของเด็กกับผู้เฒ่าชวนกันเล่าเรื่อง โดยมีวิธีการคือให้เด็กเข้าไปสืบค้นภูมิปัญญาแล้วนำมาทำเป็นสื่อ เช่นหนังสือเล่มเล็กแล้วมีการพัฒนามาเรื่อยๆมาจนถึงที่เรากำลังทำคือการเป็นพลเมือง ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย   “ การทำงานตรงนี้เด็กได้มีการทำงานจริงฝึกปฏิบัติจริงเรียนรู้ได้ด้วยตนเองเด็กเกิดทักษะ ในกระบวนการเรียนการสอนเด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีการถ่ายทำสารคดี หนังสั้น ละครหุ่นเด็กได้มีการแสดงออก เด็กจะเกิดทักษะทั้งด้านพุทธิพิสัยความรู้จิตตะ คุณธรรมจริยธรรม จากกระบวนการในการจัดกิจกรรมที่ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก” รูปแบบการจัดกระบวนการของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กพอได้เห็นแล้วก็อยากจะร่วมงานด้วย เราไม่ได้มองเรื่องงบประมาณเรามองในเรื่องของรูปแบบการพัฒนาเด็กการเข้าถึงเด็ก เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ต่างๆ กระบวนการเหล่านั้นมาได้เชื่อมโยงระหว่างเด็กโรงเรียนชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการเชื่อมโยงกันในการจัดกิจกรรม ทำให้เด็กรู้จักรากเหง้าตนเองรู้จักตนเองรู้จักภูมิปัญญาศิลปะวัฒนธรรมของชุมชนในท้องถิ่นของตนเอง เองการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ทำให้เด็กเกิดสำนึกรักบ้านเกิด ที่สำคัญคือเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมความรับผิดชอบ มันจะได้ทั้งโรงเรียนชุมชนภูมิปัญญา   ความเป็นจริงแล้วในการจัดกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียนก็เหมือนกับของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กเพียงแต่ว่า ความลึกจะต่างกัน จะได้ความลึกได้ทักษะรู้ในเชิงลึกแต่รูปแบบกระบวนการความชัดเจนต่างกันสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กสิ่งที่เห็นได้ชัด เด็กที่ผ่านกระบวนการนี้เราทำมา 4-5ปี จะเห็นในเรื่องของความรับผิดชอบ การเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน จะพวกนี้จะเห็นชัด เด็กจะมีทักษะชีวิตทักษะอาชีพ สามารถที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างดี ชุมชนกับโรงเรียนจะกลมกลืนทำงานไปด้วยกันจะใช้ภูมิปัญญาซึ่งกันและกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชนโรงเรียนเรียนรู้จากภูมิปัญญาพื้นบ้าน เด็กเรียนรู้ในโรงเรียนครูเกิดการพัฒนาวิธีการถ่ายทอดความรู้ใหม่ใหม่จากวิทยากร   กิจกรรมเด่นๆ เริ่มจากกิจกรรมเด็กกับผู้เฒ่าชวนกันเล่าเรื่อง เราได้ให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการสืบค้นภูมิปัญญาในชุมชนมาทำเป็นหนังสือเล่มเล็ก ต่อมาเราทำในเรื่องของสื่อสารสร้างสรรค์เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงเด็กจะได้ทักษะความรู้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการถ่ายทำหนังสั้นสารคดีซึ่งเราสามารถเผยแพร่ผลงานของเรา ออกสู่สาธารณะชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสารคดีที่ได้ออกทางทีวีทำให้หลายหลายที่รู้จักโรงเรียนเราผลงานของนักเรียนเรารู้จักสิ่งดีดีนำงามของโรงเรียน ต่อจากนี้ที่เราจะทำ คือเรื่องของความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย เรานำความเป็นพลเมืองนี้มาบูรณาการ จัดการเรียนการสอน ทุกสาระของโรงเรียนเรา […]

กลุ่ม Music Sharing, เครือข่ายศิลปิน ร่วมกับกลุ่มรักษ์สะเมิง รวมพลจัดงาน “The Street Seed Sharing” วันที่ 1-3 กค. 59 ณ ลาน The street รัชดา เพื่อช่วยฟื้นฟูป่าที่สะเมิง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันทั้งชาวบ้าน กรมป่าไม้ ภาคธุรกิจ เพื่อฟื้นฟูป่าอย่างมีส่วนร่วม …ศิลปินที่มาร่วมงาน อาทิเช่น อะตอม ชนกันต์,เอ๊ะ จิรากร,รัสมี อีสานโซล,Asia seven , Monomania,Mattnimare sunny parade, O-pavee,Alyn ,ส้ม มารี ,Rhythms antique ,ปลิ๊กกี้ ผิงหยาง อ๊ะอาย the voice kidsปอ ภราดร feat. Music sharing  

เครือข่ายเพชรบุรีดีจัง ร่วมกับ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี องค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสาม และวัดนาพรม จัดกิจกรรม “นาพันสามปันสุข” เปิด “โครงการท่องเที่ยววิถีไทย วิถีพุทธ วิถีพอเพียง อย่างยั่งยืน” และ วัดนาพรมประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ “อาคารพิพิธภัณฑ์ชาวนา” ณ ตลาดน้ำนาพันสาม วัดนาพรม อ.เมืองเพชรบุรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2559 โดยมีกิจกรรม “รวมมิตร ติดยิ้ม” ของเครือข่ายเพชรบุรีดีจัง และกิจกรรมของนักศึกษาสาขาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี เข้าร่วมด้วย กิจกรรมนี้ นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน “นาพันสามปันสุข” และนายชัยยะ อังกินันทน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรม “รวมมิตร ติดยิ้ม” และทั้ง 2 ท่านก็ได้เดินเยี่ยมชมซุ้มกิจกรรมของเครือข่ายเพชรบุรี…ดีจัง อย่างใกล้ชิดโดยมีท่านวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี คุณศรีสมร เทพสุวรรณ์ และแกนนำเยาวชน ฝ้ายยย ย. Tanyim Sirikwan และ Sunisa […]

19 มิ.ย.60 สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา เครือข่ายบางกอกนี้ดีจัง เครือข่ายหุ่นเยาวชนไทย เครือข่ายโคราชยิ้ม นครศรีฯดีจังฮู้ จัดประชุมทำความเข้าใจแนวคิด ยุทธศาสตร์ แนวทางการทำงานโครงการพลังพลเมือง พลังสื่อสร้างสรรค์ ปี 2560