Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
ผอ. ศรีใจ วงคำลือ ( ผอ.ขี้ขอ ): ขอ…เพื่อเด็กดอย | ชุมชน 3 ดี
ผอ. ศรีใจ วงคำลือ ( ผอ.ขี้ขอ ): ขอ…เพื่อเด็กดอย

ด้วยความเป็นครูที่ต้องการให้เด็กได้เรียนหนังสือ หลังจาก ศรีใจ  วงคำลือย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่เงา  ต.แม่สวด  อ.สบเมย  จ.แม่ฮ่องสอน  ก็ทุ่มเททุกทางเพื่อให้เด็กชาวเขาได้เข้าสู่ระบบโรงเรียน  ต้องเดินเท้าเข้าป่าเพื่อไปตามเด็กที่ช่วยพ่อแม่ทำไรมาเรียนหนังสือ    นอกจากนั้นยังก้าวข้ามความอาย  เวลาเห็นพืชผักผลไม้ที่พ่อค้าทิ้งขว้างก็ไม่รีรอที่จะ ขอมาทำอาหารให้เด็กๆหรือแม้กระทั้งถังสังฆทานจากวัด รวมไปถึงร้านขายของชำของภรรยาก็จะไปขอเชื่อสินค้าเพื่อนำมาใช้ในโรงเรียนเนื่องจากเด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กไม่มีสัญชาติไม่ได้เงินสนับสนุนอาหารจากรัฐ 

“เมื่อเขาด้อยโอกาส ก็อยากให้โอกาสเรา สร้างโอกาสการศึกษาให้เขาได้  เอาลูกเขามาดูแลแล้วต้องดูแลให้ดีที่สุด”

หมายเหตุ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ ๑๔ แรงบันดาลใจ  หน้าที่ ๑๕๒ –๑๖๔

บทความที่เกี่ยวข้อง

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน จัดสัมมนาทบทวนบทเรียนการทำงานพื้นที่สร้างสรรค์ “พบปะเพื่อนภาคี 3ดี 4ด้าน ผสานพลังยิ้ม” ที่ ร.ร.บางกอกเซนเตอร์ ห้องอัญมณี วันที่ 25 – 26 ก.พ. โดยมีภาคีเครือข่ายในยุทธศาสตร์พื้นที่สุขภาวะ 3 ดีต้นแบบ เมืองสื่อสร้างสรรค์ และ พื้นที่นี้..ดีจัง รุ่น 1-2 รวมทั้งสิ้น 35 โครงการ จำนวน 150 คน เข้าร่วมทบทวนบทเรียน อนึ่งการจัดงานครั้งนี้ นอกจากจะทบทวนสรุปบทเรียนเสริมพลังการทำงานเชิงแนวคิดและเชิงปฎิบัติการพื้นที่สร้างสรรค์ 3 ดีแล้ว ยังแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานพื้นที่สร้างสรรค์ในแต่ละพื้นที่ แต่ละโครงการ และระดมสมองร่วมกันกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์พื้นที่สุขภาวะร่วมกันต่อไป

เยาวชนภาคีเครือข่ายภาคใต้ กว่า 20 เครือข่าย ร่วมกันเปิดพื้นที่ สร้างสรรค์ความงามในท้องถิ่นของตนเพื่อจุดประกายความหวัง ความสุขของคนใต้ โดยเยาวชนคนรุ่นใหม่ แลกเปลี่ยน ค้นหา อะไรคือ “ความเป็นเรา หัวใจภาคใต้” ผ่านการลงพื้นที่จริง ทำจริง …ปฏิบัติการปลุก ใจ เมืองจึงเริ่มขึ้น 23-25 มิ.ย. 60 ค้นหารากเหง้า ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี ผ่านห้องเรียนภูมิปัญญา ที่ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี 2 ก.ค. 60 ปลุกจิตสำนึกร่วมรักษาทะเลธรรมชาติ ด้วยหลักสิทธิมนุษยชน ผ่านห้องเรียน แลเล แล หาดสมิลา จ.สงขลา 8 ก.ค. 60 ทะเลคือชีวิตของเรา…สัมผัสวิถีชีวิตความผูกพันของคนใต้กับท้องทะเล ผ่านห้องเรียน อ.จะนะ จ.สงขลา 14-16 ก.ค. 60 เข้าใจอัตลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผ่านห้องเรียนอัตลักษณ์และพหุวัฒนธรรม สามจังหวัดชายแดนใต้ เพราะเราเชื่อว่า “พลังของเยาวชน สามารถจุดประกาย ความสุข […]

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2560  คุณครู 8 กลุ่มสาระและงานแนะแนวของโรงเรียนบางจานวิทยา คณะนักศึกษาฝึกสอน จาก มรภ.เพชรบุรี และกลุ่มลูกหว้า   นำทีมโดย ป๋อม ลูกหว้า Maneeya Emton ก๊อง ลูกหว้า Artit Kong Mocha ร่วมกันเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ ยิ้มเบิกบาน@บางจานวิทยา ให้กับเด็ก ๆ นักเรียน ได้ เล่น และเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันอย่างสนุกสนาน โดยท่านผู้อำนวยการโรงเรียน เฉลิม จำปาวิจิตร ก็ได้ร่วมกิจกรรมนิทานหรรษากับเด็ก ๆ อย่างเป็นกันเอง พื้นที่ดี ๆ แบบนี้ เกิดขึ้นได้ไม่ยาก หากเราร่วมมือกัน รายงานข่าวจาก กลุ่มลูกหว้า

ดร. ครรชิต  ไชยโพธิ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกระเดาอุ่มแสง ได้เริ่มมาทำงานพัฒนาเด็ก เริ่มต้นจากการทำงานกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาเด็กนักเรียนโดยใช้วิธีการกระบวนการของมูลนิธิฯ เองซึ่งจะแตกต่างจากที่เราจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน เริ่มต้นมาตั้งแต่ครั้งแรกเริ่มทำงานเรื่องภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่ ในเรื่องของเด็กกับผู้เฒ่าชวนกันเล่าเรื่อง โดยมีวิธีการคือให้เด็กเข้าไปสืบค้นภูมิปัญญาแล้วนำมาทำเป็นสื่อ เช่นหนังสือเล่มเล็กแล้วมีการพัฒนามาเรื่อยๆมาจนถึงที่เรากำลังทำคือการเป็นพลเมือง ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย   “ การทำงานตรงนี้เด็กได้มีการทำงานจริงฝึกปฏิบัติจริงเรียนรู้ได้ด้วยตนเองเด็กเกิดทักษะ ในกระบวนการเรียนการสอนเด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีการถ่ายทำสารคดี หนังสั้น ละครหุ่นเด็กได้มีการแสดงออก เด็กจะเกิดทักษะทั้งด้านพุทธิพิสัยความรู้จิตตะ คุณธรรมจริยธรรม จากกระบวนการในการจัดกิจกรรมที่ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก” รูปแบบการจัดกระบวนการของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กพอได้เห็นแล้วก็อยากจะร่วมงานด้วย เราไม่ได้มองเรื่องงบประมาณเรามองในเรื่องของรูปแบบการพัฒนาเด็กการเข้าถึงเด็ก เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ต่างๆ กระบวนการเหล่านั้นมาได้เชื่อมโยงระหว่างเด็กโรงเรียนชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการเชื่อมโยงกันในการจัดกิจกรรม ทำให้เด็กรู้จักรากเหง้าตนเองรู้จักตนเองรู้จักภูมิปัญญาศิลปะวัฒนธรรมของชุมชนในท้องถิ่นของตนเอง เองการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ทำให้เด็กเกิดสำนึกรักบ้านเกิด ที่สำคัญคือเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมความรับผิดชอบ มันจะได้ทั้งโรงเรียนชุมชนภูมิปัญญา   ความเป็นจริงแล้วในการจัดกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียนก็เหมือนกับของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กเพียงแต่ว่า ความลึกจะต่างกัน จะได้ความลึกได้ทักษะรู้ในเชิงลึกแต่รูปแบบกระบวนการความชัดเจนต่างกันสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กสิ่งที่เห็นได้ชัด เด็กที่ผ่านกระบวนการนี้เราทำมา 4-5ปี จะเห็นในเรื่องของความรับผิดชอบ การเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน จะพวกนี้จะเห็นชัด เด็กจะมีทักษะชีวิตทักษะอาชีพ สามารถที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างดี ชุมชนกับโรงเรียนจะกลมกลืนทำงานไปด้วยกันจะใช้ภูมิปัญญาซึ่งกันและกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชนโรงเรียนเรียนรู้จากภูมิปัญญาพื้นบ้าน เด็กเรียนรู้ในโรงเรียนครูเกิดการพัฒนาวิธีการถ่ายทอดความรู้ใหม่ใหม่จากวิทยากร   กิจกรรมเด่นๆ เริ่มจากกิจกรรมเด็กกับผู้เฒ่าชวนกันเล่าเรื่อง เราได้ให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการสืบค้นภูมิปัญญาในชุมชนมาทำเป็นหนังสือเล่มเล็ก ต่อมาเราทำในเรื่องของสื่อสารสร้างสรรค์เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงเด็กจะได้ทักษะความรู้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการถ่ายทำหนังสั้นสารคดีซึ่งเราสามารถเผยแพร่ผลงานของเรา ออกสู่สาธารณะชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสารคดีที่ได้ออกทางทีวีทำให้หลายหลายที่รู้จักโรงเรียนเราผลงานของนักเรียนเรารู้จักสิ่งดีดีนำงามของโรงเรียน ต่อจากนี้ที่เราจะทำ คือเรื่องของความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย เรานำความเป็นพลเมืองนี้มาบูรณาการ จัดการเรียนการสอน ทุกสาระของโรงเรียนเรา […]