Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
หุ่นเงาลูกขุนน้ำ | ชุมชน 3 ดี
หุ่นเงาลูกขุนน้ำ

“หุ่นเงาทำให้เด็กมีเวทีแสดงออก การได้ออกแสดงเป็นเรื่องสำคัญเพราะเด็กมีของดีต้องได้อวด(ดี) ในเวลาที่แสดงแล้วเด็กจะรู้ว่าเมื่อถูกชมแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร หรือเมื่อผิดพลาดแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร เรียนรู้ที่เจ็บ และเรียนรู้ที่ยิ้ม จึงจะทำให้เด็กเติบโตและพัฒนาได้เร็ว”

maouu

สุภิญญา บุญเฉลย ผู้ประสานงาน กลุ่มลูกขุนน้ำ แห่งหมู่บ้านคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช เอ่ยคำนี้ด้วยรอยยิ้มขณะเล่าเรื่องราวของเด็กๆ ในกลุ่มลูกขุนน้ำ เธอเรียกแทนตัวเองว่ามาอู

กลุ่มลูกขุนน้ำเข้าร่วมพื้นที่นี้…ดีจังเป็นปีที่ 3 เธอเล่าว่าปีแรกเป็นแขกรับเชิญและเข้าร่วมเต็มตัวใน 2 ปี หลังเธอและเด็กๆ พบความสำเร็จจากการเลือกสื่อที่ดีนั่นก็คือ “หุ่นเงา”

“หุ่นเงาสามารถประสานได้ทุกฝ่าย ทำให้เด็กได้สืบค้นเรื่องราวในชุมชน ผู้ใหญ่ได้ถ่ายทอด เช็คเสียงสะท้อนจากทุกฝ่ายได้ ซึ่งต่างจากการทำเอกสารประเภทงานวิจัย เพราะสื่อหุ่นเงาเวลาเล่นจะมีเสียงตอบรับจากผู้ชมได้ในทันทีขณะเล่น ซึ่งเด็กรู้สึกและรับรู้ได้เช่นกัน ผู้ชมก็เข้าใจสิ่งที่เด็กสื่อได้บางครั้งอาจจะไม่เข้าใจแต่ก็รู้ว่าเด็กตั้งใจจะทำอะไร จากการทำโครงการที่ผ่านมาเห็นพัฒนาการของเด็ก เช่น มีระเบียบวินัย มีการฝึกซ้อม รู้เรื่องราวของชุมชน ภูมิใจที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนตนเอง”

เรียนรู้ต่อเติม

ด้วยความพยายามที่จะหาของดีในชุมชนแรกๆ เธอจึงชวนเด็กๆ ไปใช้ธนูคันกระสุน เป็นธนูแบบดั้งเดิมที่มีก้อนหินเป็นกระสุน ซึ่งมีอยู่เฉพาะในชุมชนนี้ และมีปราชญ์ชาวบ้านรู้เรื่องนี้ที่นี่

“มาอูรู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวกลาง(ตัวเชื่อมระหว่างยุค โดยธรรมชาติของชุมชนคีรีวงการถ่ายทอดในทุกๆเรื่องจะส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น)ได้จึงคิดจะให้ผู้ใหญ่สอนเด็กๆในหมู่บ้านโดยตรง แต่เนื่องจากธนูคันกระสุนเป็นเครื่องมือที่ยากเกินไปเพราะต้องฝึกฝนและต้องใช้ความชำนาญ บางคนหัดยิงพลาดไปโดนนิ้วตัวเองเกิดอันตรายกับเด็กๆ ถึงแม้จะเสียดายเพราะธนูคันกระสุนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนก็ตามแต่ความปลอดภัยของเด็กก็ต้องมาก่อนสิ่งใด”

ปีที่สองเธอจึงทำซุ้มกิจกรรมและซุ้มศิลปะในโรงเรียนแต่ละแห่งในตำบล รอบๆ หมู่บ้าน แต่ปัญหามีมาทดสอบคนตั้งใจเสมอ พอเข้าไปทำกิจกรรมกับโรงเรียนทำให้เธอรู้ว่าโรงเรียนเองก็มีภาระมาก อีกทั้งกลุ่มลูกขุนน้ำเองก็ไม่ได้มีอำนาจที่จะสั่งการโรงเรียนได้ ทางโรงเรียนจึงจัดสรรค์เวลาให้ตามสมควร อีกทั้งวันที่จะทำกิจกรรมกับเด็กในโรงเรียนได้ก็ต้องเป็นวันธรรมดา ซึ่งทำอะไรไม่ได้มากนัก ที่สำคัญก็คือ การขับเคลื่อนกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์กับทางโรงเรียนขึ้นอยู่กับนโยบายของโรงเรียนว่าส่งเสริมกิจกรรมเด็กมากน้อยแค่ไหน

หลังความพยายามเรามักพบความสำเร็จ ปีที่สามนี่เอง เธอได้ใช้หุ่นเงา เป็นสื่อกลางที่สามารถเชื่อมความสัมพันธ์ของทุกคนในชุมชนได้ เด็กกับพี่เลี้ยงก็ไม่ลำบากที่จะพบและเรียนรู้ไปด้วยกัน เพราะสามารถใช้วันหยุดไปสืบค้นข้อมูลในชุมชนได้ และได้รับการยอมรับจากชุมชน จึงค่อยๆ จัดอบรม จัดแสดงไปทีละหมู่บ้าน

“เรานำหุ่นเงา จากทุกพื้นที่มาจัดมหกรรมปลายปี รวมหุ่นเงาจากทุกพื้นที่โดยพื้นที่ทำงาน ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงออกทะเล การจัดงานครั้งนั้นทำให้เราเห็นความหลากหลายของพื้น และหุ่นเงาแต่ละที่ก็อธิบายความเป็นชุมชนและพื้นที่ได้ด้วยตัวหุ่นและเรื่องราว ผ่านเป็นเรื่องเล่าสู่คนชมได้อย่างเข้าใจง่าย

หลังจากครั้งนั้นหุ่นเงาของพวกเราก็เริ่มออกนอกพื้นที่ ได้ไปขอความร่วมมือกับอุทยานการเรียนรู้ จ.นครศรีธรรมราช ขอพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นที่แสดงหุ่นเงา ซึ่งทางอุทยานฯ มีพื้นที่ว่างอยู่ สำหรับจัดการแสดงอยู่แล้ว จึงตอบโจทย์กันและกันได้ หุ่นเงาจึงทำให้เด็กๆมีพื้นที่””

pic6

สื่อดีไม่ได้มีแค่เอกสาร

เดิมทีนั้นมาอูบอกว่า เธอไม่คิดว่าสื่อหุ่นเงานี้จะใช่คำตอบ แต่เกิดจากประสบการณ์ที่เคยผิดพลาดมามาก ทั้งจากงานอื่นๆ ไม่ใช่แค่พื้นที่นี้ดีจัง ทำให้พอนึกออกว่าสื่อแบบไหนที่จะเข้าถึงคนได้ ซึ่งแน่ใจว่าไม่ใช่เอกสารแน่ๆ

“จากที่เคยทำงานวิจัยและเคยผลิตสื่อประเภทการ์ตูนมาก่อน ถึงแม้สื่อที่เราทำออกมันดีแต่ไม่มีคนอ่าน เราก็พยายามหาสื่ออื่นๆ เพื่อจะเข้าถึงและสร้างการมีส่วนร่วม เคยปรึกษากับกลุ่มมานีมานะ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำละครอยู่ที่หาดใหญ่ เลยลองมาให้หุ่นเงาดู ไม่คิดว่าละครที่ใช้หุ่นเงาเป็นสื่อจะมีข้อดีอย่างไม่น่าเชื่อ คือคนเชิดอยู่หลังฉาก เด็กไม่ต้องอายเพราะไม่มีใครมองเห็น ทำให้แก้ปัญหาเรื่องการไม่กล้าแสดงออกของเด็กได้ ต่างจากการแสดงละครเวทีที่ต้องเอาตัวมาเล่นหน้าฉากซะเองซึ่งต้องเผชิญหน้ากับผู้ชมโดยตรง แต่การอยู่หลังฉากก็สร้างความมั่นใจให้เด็กด้วยเช่นกัน หลังจากทำหุ่นเงาไปสักพัก เด็กๆ มีความมั่นใจและเริ่มเรียกร้องที่จะแสดงละครด้วยตัวเองหน้าฉาก ผู้ปกครองก็ให้การสนับสนุน”

หุ่นเงารวมเพื่อนและสร้างทักษะ

มาอูบอกว่าหุ่นเงานั้นทำให้เด็กๆ มีทักษะการทำงานงานฝีมือ นั่นก็คือการตัดตัวหุ่น ซึ่งวิธีการทำหุ่นเงาของกลุ่มลูกขุนน้ำจะทำด้วยวัสดุง่ายๆ วาดโครงร่างหุ่นบนกระดาษแข็ง ตัดกระดาษ ตัดพลาสติก ทำอย่างไรก็ได้ที่ฉายไฟใส่แล้วเกิดเงาได้ จะฉลุปราณีตเหมือนหนังตะลุงก็ได้ หรือจะทำอย่างอื่นๆ ก็ได้ ส่วนเรื่องราวนั้นเป็นเรื่องราวหรือตำนานของชุมชนที่มีอยู่จริง หลังจากเด็กได้เรียนรู้มาเขาจะคิดบทขึ้นมาเองโดยผ่านการเรียบเรียงให้น่าสนใจโดยใช้ทักษะที่ได้รับจากการworkshopหุ่นเงาในช่วงต้นโครงการฯ กระบวนการผลิตหุ่นเงาหนึ่งเรื่องเด็กๆ ได้เรียนรู้การเขียนบท ทำสตอรีบอร์ด วาดหุ่น ตัดหุ่น ทำฉาก การพากย์เสียง การเชิดหุ่น การใช้แสง และอื่นๆ ที่หลากหลายตามแต่ศักยภาพของตนเองด้วยเช่นกัน

“ตัวหุ่นใช้กระดาษเพราะเป็นวัสดุที่หาง่าย เด็กจะออกแบบตัวหุ่นตามบุคลิกในเรื่องราวที่เด็กคิดได้ เคล็ดลับที่สำคัญที่จะทำให้เกิดการใช้สื่อหุ่นเงาก็คือ เด็กต้องมีเวทีแสดงออก และซ้อมบ่อยๆ การแสดงเป็นเรื่องสำคัญเพราะเด็กมีของดีต้องได้อวด(ดี) เพราะในเวลาที่แสดงแล้วเด็กจะรู้ว่าเมื่อถูกชมแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร หรือเมื่อผิดพลาดแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กเติบโตและพัฒนาได้ เรียนรู้ที่เจ็บ และเรียนรู้ที่ยิ้มด้วยตัวเขาเอง” มาอูจบประโยคพร้อมกับรอยยิ้มผุดพรายเต็มดวงหน้า

หมายเหตุ พื้นที่นี้…ดีจัง เป็นแผนรณรงค์ “พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน” ของสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน เพื่อให้ทุกภาคส่วนของสังคมตระหนักในปัญหา ช่วยขจัดและควบคุมสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษต่อเด็ก ร่วมมือร่วมใจกันสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างรอบด้าน เพื่อให้เกิดพื้นที่ดีและกิจกรรมสร้างสรรค์ สำหรับเด็กและเยาวชน อย่างจริงจัง กว้างขวาง เป็นพื้นที่สร้างประสบการณ์ สร้างโอกาสให้เด็กได้เติบโตพัฒนาตามวัย มุ่งตอบสนองความต้องการของเด็ก ครอบครัว ชุมชน

ภาพประกอบจาก เฟสบุ๊คLlookkhunnam และ กาหลง นักเดินทางระยะสั้น

pic1 pic2 pic3 pic4 pic5 pic7 pic8 pic9 “หุ่นเงาทำให้เด็กมีเวทีแสดงออก การได้ออกแสดงเป็นเรื่องสำคัญเพราะเด็กมีของดีต้องได้อวด(ดี) ในเวลาที่แสดงแล้วเด็กจะรู้ว่าเมื่อถูกชมแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร หรือเมื่อผิดพลาดแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร เรียนรู้ที่เจ็บ และเรียนรู้ที่ยิ้ม จึงจะทำให้เด็กเติบโตและพัฒนาได้เร็ว”

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชุมชนมีชีวิต เด็กมีพื้นที่เล่น ผู้ใหญ่มีพื้นที่ยิ้ม…. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2558เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ชวนมาสนุกกับเทศกาล “เพลินบางกอกนี้…ดีจัง 3 ดีมีชีวิต” บริเวณลานยิ้มริมน้ำคลองบางหลวง วัดหงส์รัตนาราม บางกอกใหญ่ เพื่อเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กเยาวชน ครอบครัว และคนในชุมชน ร่วมขับเคลื่อนบางกอกให้เป็น “เมืองวิถีสุข” เทศกาล“เพลินบางกอก…นี้ดีจัง 3 ดีมีชีวิต”จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “3 ดี” (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) เป็นกระบวนที่ให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ ได้มีส่วนร่วมในการลองคิด ลองค้น เรียนรู้ และลงมือสรรค์สร้างกิจกรรมที่มาจากรากฐานของคนในชุมชน การเกิดขึ้นของเทศกาลนี้จากความคิดของคนรุ่นใหม่ในย่านบางกอกใหญ่ เจมส์, ตัน และใบเตย แกนนำเยาวชนในชุมชนร่วมกันเปิดห้องเรียนชุมชน “สื่อดี” สื่อที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เช่น บ้านภูมิปัญญาเรือกระทงกาบมะพร้าว บิดกลีบบัว ภาพเขียนลายรดน้ำ การทำขนมช่อม่วง และการละเล่นพื้นบ้าน นอกจากนี้ยังได้เปิด “พื้นที่ดี” เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่าน “ภาพศิลปะซอยเล่นซอยศิลป์” ภาพวาดเล่าเรื่องวิถีชีวิตอัตลักษณ์ของดีแต่ละชุมชนบนกำแพงตามตรอกซอกซอย ซึ่งสะท้อนความคิด ความเชื่อ และความเป็นอยู่ของคนในชุมชนผ่านกระบวนการถ่ายทอด และสืบทอดจากรุ่นต่อรุ่นของคนในชุมชนไม่ให้สูญหายไป เสมือนการค้นหารากเหง้าตัวตนของคนในชุมชน เช่น […]

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2560  คุณครู 8 กลุ่มสาระและงานแนะแนวของโรงเรียนบางจานวิทยา คณะนักศึกษาฝึกสอน จาก มรภ.เพชรบุรี และกลุ่มลูกหว้า   นำทีมโดย ป๋อม ลูกหว้า Maneeya Emton ก๊อง ลูกหว้า Artit Kong Mocha ร่วมกันเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ ยิ้มเบิกบาน@บางจานวิทยา ให้กับเด็ก ๆ นักเรียน ได้ เล่น และเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันอย่างสนุกสนาน โดยท่านผู้อำนวยการโรงเรียน เฉลิม จำปาวิจิตร ก็ได้ร่วมกิจกรรมนิทานหรรษากับเด็ก ๆ อย่างเป็นกันเอง พื้นที่ดี ๆ แบบนี้ เกิดขึ้นได้ไม่ยาก หากเราร่วมมือกัน รายงานข่าวจาก กลุ่มลูกหว้า

เครือข่ายโคราชยิ้ม จัดงาน เทศกาลงานยิ้ม โคราช 2017 พร้อมนำของดีของชุมชนตนเอง ซึ่งมีเด็กเยาวชนเป็นตัวหลักในการสืบค้นและนำมาเสนอให้เด็กๆ ผู้ปกครองที่มาร่วมงานได้ดู ได้ทำ ได้ชิม!  แม้จะเป็นปีแรก และครั้งแรกของแกนนำเยาวชนที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราว  วิธีการทำ  อันเป็นการสืบสานภูมิปัญญา แต่ทุกคนตั้งใจ รอยยิ้ม เสียงหัวเราะของเด็กๆ หนุนเสริมให้น้องเยาวชนแกนนำเห็นคุณค่าของสิ่งที่ทำ ผู้ใหญ่ที่เป็นพี่เลี้ยงก็ชื่นใจ งานนี้มีแต่รอยยิ้ม!!! งานนี้มีอะไรไปดูกันค่ะ  เรียกได้ว่า “เทศกาลยิ้ม เดิ่น เล่น สนุก ยิ้มได้ทุกวัย” ขอบคุณภาพสวยๆจาก Facebook:: โคราชยิ้ม โคราชบ้านเอง

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนร่วมกับสหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ(สอช.) จัดอบรม กระบวนการ 3 ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี ให้กับเยาวชนจำนวน 40 คน จาก 5 เมืองประกอบด้วย ชุมแสง นครสวรรค์ ระหว่างวันที่ 19-21 เม.ย.2560 ณ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ในการอบรมมีกิจกรรมเรียนรู้เพื่อตระหนักถึงพลังสร้างสรรค์ของเยาวชน ฝึกการคิด การแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เห็นพลังของกลุ่ม ในการอบรมเยาวชน 3 ดี