Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
ศรีสะเกษติดยิ้ม | ชุมชน 3 ดี
ศรีสะเกษติดยิ้ม

ที่ตั้ง : จ.ศรีสะเกษ

ผสานพลังสร้างสื่อดีร่วมกัน

ติดต่อ : http://www.facebook.com/Sisaket Smile

เมื่อมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก เครือข่ายมหาวิทยาลัย ศิลปินนักเขียน ผสานความร่วมมือกัน และเน้น       ส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างแนวคิด ในเรื่องพื้นที่ 3 ดีวิถีพลเมือง ผ่านวิถีชีวิต วัฒนธรรม  ภูมิปัญญา          สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ โดยใช้กระบวนการสื่อสร้างสรรค์ หนังสั้น สารคดี ละคร ศิลปะ สื่อภาพเล่าเรื่อง การแสดงพื้นบ้าน เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและครอบครัว ชุมชน ชักชวนแกนนำเยาวชนให้เข้ามามีบทบาทในการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน  จนกลายเป็นการเชื่อมโยงให้เด็กและชุมชนมีส่วนร่วมในการเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน กลายเป็นการเพิ่มพื้นที่สื่อดีให้มากขึ้นในหลายแห่ง อาทิ

1. โรงเรียนบ้านกระเดาอุ่มแสง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ

โรงเรียนแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารกลางวันของนักเรียนด้วยการทำพื้นที่เกษตรกรรม และเลี้ยงสัตว์ เกิดเป็นสวนเกษตรมหาสนุก เริ่มต้นตั้งแต่เรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยอินทรีย์  ปลูกผักรดน้ำ ปลูกผักสวนครัว   ลงมือทำนาจริงในพื้นที่ 4 ไร่และนำข้าวมาปีละ 1-2 ตัน มาขายและเลี้ยงเด็กทั้งโรงเรียน  เรียนรู้ไปจนถึง การจัดการต้นทุน ผลผลิต การแปรรูปข้าวเป็นอาหารและขนม ส่งเสริมให้เด็กๆ ทำเป็นอาชีพ 

เชื่อมโยงไปชุมชนให้ปราชญ์ชาวบ้านมาสอนการทำนา นำความรู้จากชุมชน มาผสมผสานเข้ากับ          การเรียนรู้ของเด็กในโรงเรียน สร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิด

2. โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) ต.หนองม้า อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ   

โรงเรียนที่ใช้แนวคิด 3 ดีในการพัฒนาการเรียนการสอนของเด็กๆ โดยใช้ศิลปวัฒนธรรมชุมชนเป็นสื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้วัฒนธรรมของตัวเอง นั่นคือเครื่องดนตรีสไน ซึ่งทำจากเขาควาย  หรือเขาสัตว์ที่ตายแล้ว  เป็นเครื่องดนตรีของชนเผ่าเยอ   จนเกิดเป็นวงดนตรีสไนใจเยอ ประจำโรงเรียน  จนโรงเรียนได้ตัวแทนโรงเรียนที่ส่งเสริมการอนุรักษณ์วัฒนธรรมระดับประเทศ ด้านการสืบทอดวัฒนธรรม

3. โรงเรียนบ้านเพียมาต อ.ราษีไศล  จ.ศรีสะเกษ

โรงเรียนใช้พื้นที่เกษตรเป็นสื่อในการเรียนรู้ของเด็กๆ ทั้งปลูกพืช  เลี้ยงหมู ไก่  วัว  โดยให้นักเรียนตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยม 3 เข้าร่วมกิจกรรมผลผลิตที่ได้จะเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน สร้างอาหารปลอดภัยให้กับนักเรียนและเป็นตัวอย่างของชุมชน ที่สำคัญคือเชื่อมโยงหลักสูตรสวดสรภัญญะในโรงเรียน ให้ผู้เฒ่าผู้แก่มาสอนที่โรงเรียน  สร้างความภูมิใจและให้ผู้เฒ่าผู้แก่เห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น

นอกจากพื้นที่เกษตรแล้วยังใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะพื้นบ้าน เข้ามาเป็นสื่อที่ดีให้นักเรียนได้เรียนรู้   ชวนผู้เฒ่าผู้แก่เข้ามาสอน ทั้งพิณ  แคน สะไน  และหนังตะลุง

4. กลุ่มเยาวชนบ้านโซงเลง  ต.หนองม้า อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

กลุ่มเยาวชนที่หมู่บ้านโซงเลง ที่รวมตัวกันผลิตสื่อทั้งหนังสั้นและข่าว  เพื่อสื่อสารเรื่องราวของชุมชน     ให้คนภายนอกได้รับรู้  ผลงานที่ผ่านมานำเสนอข่าววิถีชีวิตและภูมิปัญญาของหมู่บ้าน  ในรายการ       นักข่าวพลเมือง ออกอากาศทางช่อง ThaiPBS  การเรียนรู้และผลิตสื่อ มีการอบรมจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้องๆ  เป็นระยะ