Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
กิจกรรมที่ผ่านมา | ชุมชน 3 ดี
ข่าวสารและกิจกรรม
รวบรวมข่าวสารและกิจกรรมที่ผ่านมาและกำลังจะเกิดขึ้น ของ 3 ดี
กิจกรรมที่ผ่านมา (34)

สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม และ สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. โดย กลุ่มแผนงานสื่อสร้างสรรค์ ได้แก่ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สนับสนุนทุนแก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จัด “อบรมเชิงปฏิบัติการแก่ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ภายใต้ชุด โครงการมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” เพื่อเสริมทักษะและเปิดเวทีแลกเปลี่ยนการจัดกระบวนการเรียนรู้และพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กเล็ก ให้เติบโตอย่างมีสุขภาวะที่ดีครบด้าน โดยกิจกรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-7 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมเดอะ รอยัล เจมส์ กอล์ฟ รีสอร์ท อ.ศาลายา จ.นครปฐม ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กล่าวว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นพื้นที่สำคัญในการดูแลและพัฒนาเด็กช่วงวัย 2-5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่สมองเจริญเติบโตสูงสุดกว่า 80% ของชีวิตมนุษย์ หากได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ จะสามารถสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ มีข้อมูลการสำรวจประเมินคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากองค์การยูนิเซฟ กว่า 200 แห่งทั่วประเทศ พบว่า มีเพียงร้อยละ 67 เท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ สสส. จึงให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยเปิดโอกาสให้ครู ศพด. […]

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน จัดสัมมนาทบทวนบทเรียนการทำงานพื้นที่สร้างสรรค์ “พบปะเพื่อนภาคี 3ดี 4ด้าน ผสานพลังยิ้ม” ที่ ร.ร.บางกอกเซนเตอร์ ห้องอัญมณี วันที่ 25 – 26 ก.พ. โดยมีภาคีเครือข่ายในยุทธศาสตร์พื้นที่สุขภาวะ 3 ดีต้นแบบ เมืองสื่อสร้างสรรค์ และ พื้นที่นี้..ดีจัง รุ่น 1-2 รวมทั้งสิ้น 35 โครงการ จำนวน 150 คน เข้าร่วมทบทวนบทเรียน อนึ่งการจัดงานครั้งนี้ นอกจากจะทบทวนสรุปบทเรียนเสริมพลังการทำงานเชิงแนวคิดและเชิงปฎิบัติการพื้นที่สร้างสรรค์ 3 ดีแล้ว ยังแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานพื้นที่สร้างสรรค์ในแต่ละพื้นที่ แต่ละโครงการ และระดมสมองร่วมกันกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์พื้นที่สุขภาวะร่วมกันต่อไป

สสย.จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างวิทยากรกระบวนการในเรื่อง พลัง 3 ดี กับการสร้างพลเมืองเด็ก ระหว่างวันที่ 26-27 ธันวาคม 2257 ณ โรงแรมเอบีน่า เฮ้าส์ จุดประสงค์ของการสัมมนาในครั้งนี้คือ การเรียนรู้แนวคิดและหลักการของชุมชน 3 ดีและการสร้างพลเมืองเด็ก รวมถึงการสร้างวิทยากรในหัวข้อทั้งสอง เพื่อให้สามารถไปเผยแพร่ขยายผลต่อในระดับชุมชนได้

4 ก.ค. 58 มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย และมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ร่วมกันจัดทำโครงการโรงเรียน 3 ดี เพื่อสร้างพลเมืองในวิถีประชาธิปไตย และทางโครงการฯได้ขอพบผู้บริหาร ครู และนักเรียนแกนนำโรงเรียน 3 ดี ทั้ง 11 โรงเรียน เพื่อแนะนำโครงการ แผนกิจกรรม และกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นต่างๆ ภายในโครงการฯ และยังได้นำสื่อการเรียนรู้ใหม่ๆ โรลอัพความรู้ ไปมอบให้กับโรงเรียนไว้ใช้ในชมรมฯ อีกด้วย ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย

มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชนในเครือข่ายโรงเรียน 3 ดี และน้องๆจากกลุ่มบางกอกนี้ดีจัง สื่อเด็กเปลี่ยนโลก ในวันที่ 26 – 27 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา มีน้องๆ เด็กและเยาวชน ครูเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 80 คน โดยกิจกรรมเริ่มตั้งแต่ทีมพี่เลี้ยงได้เข้าไปพบน้องๆ พูดคุย และแจกภารกิจ เอ๊ะ!!! กับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนหรือชุมชน และให้คิดคำพูดโดนๆ 1 ประโยค พร้อมท่าทางประกอบ และเตรียมการแสดงที่บ่งบอกถึงความเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มเด็กสร้างสื่อแต่ละโรงเรียน และนำภารกิจต่างๆ มาปล่อยของกันในค่ายนี้ ในวันงานวันแรกช่วงเช้าจะมีเวทีแสดงนิทรรศการผลงานของโรงเรียน 3 ดี ,บางกอกนี้ดีจัง,สื่อเด็กเปลี่ยนโลก มาจัดแสดง ร่วมสนุกกันเป็นการสร้างบรรยากาศให้ดูสนุกสนานและเป็นกันเอง จากนั้นทางทีมก็ได้ให้ความรู้กับน้องๆ ผ่านกิจกรรมที่เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมตลอด ได้แสดงออกทางความคิด แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเตรียมพลเมืองเด็กของเราให้รู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างพลเมืองในวีถีประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ได้แก่ กิจกรรม ” ชื่นชม ไม่ชื่นชอบ, สถานีเรียนรู้ทั้ง 4 สถานี […]

22 ส.ค. 58 เวทีประชาคม ชุมชนวัดโพธิ์เรียง ร่วมกับสำนักงานเขตบางกอกน้อย เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ศชส.ยุติความรุนแรงชุมชนวัดโพธิ์เรียง สน.บางกอกน้อย เจ้าหน้าที่ทหาร หารือเรื่องแนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงในชุมชน เช่น เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด พนัน ความรุนแรง สื่อ และแนวทางการขับเคลื่อนชุมชน 3 ดี “พื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี” ไปสู่ชุมชนลดปัจจัยเสี่ยง “เด็กมีพื้นที่เล่น ผู้ใหญ่มีพื้นที่ยิ้ม ชุมชนมีชีวิต”

20 ส.ค.58 ก้าวย่างสู่ปี2. น้องๆเยาวชนอาสาบางกอกนี้…ดีจัง เข้มข้นกับกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและลงลึกกับกระบวนการอาสาชวนเพื่อนๆน้องๆ เข้าสู่กระบวนการตามหายิ้มในชุมชน เด็กๆชวนกันมาสกัดข้อมูลพร้อมเตรียมนำเสนอชวนผู้ใหญ่มาสร้างยิ้มให้ชุมชนมีชีวิตเด็กๆมีพื้นที่เล่น ไปให้กำลังใจเด็กๆกัน …พลเมืองอาสาสร้างยิ้ม

“ยงยุทธ” ยกพื้นที่รองเมือง ต้นแบบโมเดล “เมือง 3 ดี” ดึงเยาวชนหลุดจากปัจจัยเสี่ยงในชุมชน ประกาศสานฝันเด็กไทย ผลักดันสู่นโยบายระดับชาติ “สสส.” ปักหมุดขยายพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อเด็กทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 3 เมษายน ณ บริเวณย่านถนนรองเมือง (ข้างกำแพงสถานีรถไฟหัวลำโพง) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายรองเมืองเรืองยิ้ม อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ไปรษณีย์ไทย จัดงาน “รองเมือง…เรืองยิ้ม” ตอน ปทุมวัน…ปันยิ้ม โดยมี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายสังคม เป็นประธานเปิดงาน พร้อมรับข้อเรียกร้องจากเด็ก เยาวชน ที่ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนให้เกิดต้นแบบพื้นที่สร้างสรรค์ เมือง 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี เพื่อเป็นกลไกให้เยาวชนได้มีพื้นที่เชิงบวก ในการสร้างสรรค์กิจกรรม เรียนรู้ทักษะชีวิตและพัฒนาจิตสำนึกพลเมือง ศ.ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า เด็ก เยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่รัฐบาลต้องการสนับสนุนให้มีสุขภาวะที่ดี มีการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตเป็นพลเมืองที่รับผิดชอบต่อสังคม ยุทธศาสตร์เมือง 3 ดี ที่ […]

สถาบันสือเด็กและเยาวชน ร่วมกับกลุ่ม We are Happy จัดสัมมนา “คู่มือครูพัฒนาพลเมืองเด็ก หนังสือช่วยเด็กสร้างโลก” เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 ณ ห้องประชุม 202 อาคารดร.สิโรจน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพฯ การจัดสัมมนาขึ้นครั้งนี้เพื่อเผยแพร่และส่งมอบหนังสือ ช่วยเด็กสร้างโลก โดยให้ข้อมูลในการ เผยแพร่ และสาธิตกระบวนการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ และเพื่อพัฒนาครูแกนนำจำนวน 25 คนในศูนย์เด็กเล็กแกนนำให้สามารถ อธิบาย และนำคู่มือไปขยายผลได้ในกลุ่มเครือข่ายต่อไป  

วันที่ 21-22 เมษายน 2557 ณ โรงแรมโรยัลเจมส์ลอดจ์ ศาลายา จัดโดยสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)  ความเป็นมา แนวคิดและหลักการ 3 ดี แนวคิดหรือหลักการ 3 ดี คือ แนวคิดในการพัฒนาเพื่อนำไปสู่สุขภาวะของเด็กและเยาวชน ซึ่ง 3 ดีหมายรวมถึงสิ่งที่ดี 3 ประการ ได้แก่ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เป้าหมายของแนวคิดหรือหลักการนี้ตามที่ได้กล่าวแล้วคือการพัฒนาเพื่อนำไปสู่สุขภาวะของเด็กและเยาวชน การให้เด็กมีความถึงพร้อมกาย จิต สังคมและปัญญา และอยู่ในสังคมที่สงบสุข หรืออาจกล่าวสั้นๆได้ว่า สุขภาวะดี คนมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง พื้นที่ดี พื้นที่สร้างสรรค์ มีความหมายกว้างโดยรวมถึง พื้นที่ทางกายภาพซึ่งเป็นสถานที่ พื้นที่สร้างให้เกิดการเรียนรู้ รวมถึงเวทีที่บุคคลต่างๆภายในชุมชนมีกิจกรรม มีการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจระหว่างบุคคลที่มาเข้าร่วมกิจกรรม ภูมิดี ภูมิเข้มแข็ง หมายถึง การมีทักษะในการเท่าทันสื่อ และความสามารถในการปกป้องตนเองจากสื่อที่หลากหลาย การใช้ประโยชน์จากสื่อที่สร้างสรรค์ และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในแง่ของกระบวนการทำงานและตัวรูปธรรมกิจกรรมของโครงการที่เข้าร่วมสัมมนา มีทั้งกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เชิงบวก เช่น […]

บทความ (8)

เมื่อนึกถึงคำนี้ “รองเมือง” ใครหลายๆคนนึกถึงสถานีรถไฟหัวลำโพง  วันนี้เว็บไซต์สามดีชวนคุณออกมาเดินเล่น ชวนคุณขยับมาอีกนิดไปดูกำแพงสวยๆ ในชุมชนวัดดวงแขกัน   ถือเป็นชุมชนสามดีของเราอีกแห่งหนึ่งค่ะ ชุมชนนี้ได้ร่วมมือกันปรับภูมิทัศน์ชุมชนให้น่าอยู่โดยการเชิญศิลปินและ ชวนเด็กๆและคนในชุมชน ทาสีกำแพงและวาดภาพกำแพง สร้างสีสันให้ชุมชนน่าอยู่  คุณครูหรือคุณพ่อ คุณแม่ สามารถพาเด็กๆ ไปเดินชม  พร้อมรับฟังหลากเรื่องเล่าโดยคนในชุมชนได้     ชุมชนวัดดวงแขนั้น ได้รับการรองรองเป็นชุมชนจากสำนักงานเขตปทุมวันเมื่อปี 2547 ตั้งอยู่บริเวณถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน มีพื้นที่ 3.5 ไร่ มีจำนวนประชากรตามทะเบียนบ้าน 52หลังคาเรือน 139 ครอบครัว 410 คน และมีประชากรตามบ้านเช่าอีก 500 คน ซึ่งพื้นที่ชุมชนนั้นมี 3 ส่วน คือเช่าอาศัยพื้นที่กรมธนารักษ์ ที่ดินชาวบ้านที่มีโฉนดและพื้นที่จากคลองนางหงส์ที่ตื้นเขิน คลองนางหงส์นั้นที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 มีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมเพื่อแบ่งพระราชฐานเป็นชั้นนอกและชั้นใน โดยมีคลองนางหงส์เชื่อมต่อคลองผดุงกรุงเกษมให้น้ำไหลไปลงยังคลองแสนแสบแถบ บริเวณชุมชนกรุงเกษมชุมชนวัดบรมนิวาส และสะพานเจริญผล ต่อมารัชสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงก่อสร้างทางรถไฟสายแรกของประเทศไทยจากหัวลำโพง – ปากน้ำ (สมุทรปราการ) คลองนางหงส์จึงถูกถมเป็นรางรถไฟ และเมื่อคลองนางหงส์ถูกถมแล้วจึงทำให้ส่วนที่ต่อจากรางรถไฟ ตื้นเขินกลายเป็นแผ่นดิน ชาวบ้านจึงมาปลูกบ้านอยู่อาศัยเป็นระยะเวลากว่า 100 ปี สำหรับใครที่สนใจแวะเข้าไปชมติดต่อได้ที่ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ศูนย์ดวงแข 02 – 215 […]

“รวมนิทานสัตว์พิเศษ” นิทานภาพสีสวย เรื่องและภาพฝีมือเด็ก ๆ ผลเล่มล่าสุดในโครงการ “ตัวเล็กเสียงดัง” ของ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน หนังสือรวมนิทานสัตว์พิเศษเล่มนี้ เป็นผลงานของเด็ก ๆชาติพันธุ์และลูกหลานแรงงานหลากชาติพันธุ์จากประเทศพม่า ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 พวกเขาทั้ง 16 คนได้มาร่วมกันทำความเข้าใจกับสิทธิเด็กและประเด็นปัญหาการใช้แรงงานเด็ก เรียนรู้ศิลปะการแต่งนิทานและวาดภาพประกอบ ก่อนจะลงมือสร้างสรรค์นิทานภาพชุดนี้ออกมาด้วยตนเอง กิจกรรมของเด็ก ๆและหนังสือเล่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การแตร์เดซอมม์ เนเธอร์แลนด์ ในโครงการเพื่อการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด และได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากศูนย์การเรียนช่าทูเหล่ โรงเรียนบ้านท่าอาจ และโรงเรียนคริสเตียนแม่หละโกร จังหวัดตาก โครงการ “ตัวเล็กเสียงดัง“ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน คือการส่งเสริมความตระหนักในสิทธิเด็ก และการรวมพลังของเด็ก ๆชาติพันธุ์ ผู้ลี้ภัย และลูกหลานแรงงานข้ามชาติในการสื่อสารเรื่องราว ความคิด ความฝันของพวกเขาผ่านงานศิลปะประเภทต่าง ๆ ด้วยความหวังว่าสังคมไทยจะหันมามองและฟังเสียงพวกเขา เสมือนเช่นเป็นลูกหลานคนหนึ่ง รวมนิทานสัตว์พิเศษ คือการถ่ายทอดความใฝ่ฝันต่อสิทธิต่อการศึกษาพื้นฐาน สถานะทางกฎหมายที่ทำให้เข้าถึงเสรีภาพและบริการจากรัฐ ค่าแรงอันยุติธรรม และความเอื้ออาทรของสังคมที่มองทุกคนเป็นคนเท่ากัน เด็ก ๆ ผู้สร้างสรรค์ล้วนหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะมิเพียงเป็นที่ถูกใจของน้อง ๆ เพื่อน ๆ ตลอดจนครูและพ่อแม่ทุกคน หากยังจะช่วยย้ำเตือนให้สังคมได้ตระหนักด้วยว่า เด็ก […]

ชุมชนมีชีวิต เด็กมีพื้นที่เล่น ผู้ใหญ่มีพื้นที่ยิ้ม…. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2558เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ชวนมาสนุกกับเทศกาล “เพลินบางกอกนี้…ดีจัง 3 ดีมีชีวิต” บริเวณลานยิ้มริมน้ำคลองบางหลวง วัดหงส์รัตนาราม บางกอกใหญ่ เพื่อเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กเยาวชน ครอบครัว และคนในชุมชน ร่วมขับเคลื่อนบางกอกให้เป็น “เมืองวิถีสุข” เทศกาล“เพลินบางกอก…นี้ดีจัง 3 ดีมีชีวิต”จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “3 ดี” (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) เป็นกระบวนที่ให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ ได้มีส่วนร่วมในการลองคิด ลองค้น เรียนรู้ และลงมือสรรค์สร้างกิจกรรมที่มาจากรากฐานของคนในชุมชน การเกิดขึ้นของเทศกาลนี้จากความคิดของคนรุ่นใหม่ในย่านบางกอกใหญ่ เจมส์, ตัน และใบเตย แกนนำเยาวชนในชุมชนร่วมกันเปิดห้องเรียนชุมชน “สื่อดี” สื่อที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เช่น บ้านภูมิปัญญาเรือกระทงกาบมะพร้าว บิดกลีบบัว ภาพเขียนลายรดน้ำ การทำขนมช่อม่วง และการละเล่นพื้นบ้าน นอกจากนี้ยังได้เปิด “พื้นที่ดี” เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่าน “ภาพศิลปะซอยเล่นซอยศิลป์” ภาพวาดเล่าเรื่องวิถีชีวิตอัตลักษณ์ของดีแต่ละชุมชนบนกำแพงตามตรอกซอกซอย ซึ่งสะท้อนความคิด ความเชื่อ และความเป็นอยู่ของคนในชุมชนผ่านกระบวนการถ่ายทอด และสืบทอดจากรุ่นต่อรุ่นของคนในชุมชนไม่ให้สูญหายไป เสมือนการค้นหารากเหง้าตัวตนของคนในชุมชน เช่น […]

ชวนใช้กระทงกาบมะพร้าว ของชุมชนวัดโพธิ์เรียง ลอยกระทงซึ่งอยู่แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เป็นส่วนหนึ่งของ เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง เป็นการรวมตัวกันของชุมชนเมืองในย่านบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ เขตพระนคร เขตบึงกุ่ม เขตบางนาและเขตสวนหลวง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว โดยจัดสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก-เยาวชน นำเด็ก-เยาวชนออกจากปัจจัยเสี่ยง ทั้งปัญหายาเสพติด อบายมุขเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ โดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดีในการขับเคลื่อนนั่นก็คือ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เริ่มสำรวจความต้องการและการมีส่วนร่วมของเด็ก-เยาวชน สู่ภาคส่วนต่างๆในชุมชน ได้ทำให้เกิดการขยับขยายเป็นเครือข่าย 17 ชุมชน ย่านบางกอกน้อย-บางกอกใหญ่ และขยายไปยังเขตอื่นๆของกรุงเทพมหานคร การเปิดพื้นที่ทำให้เกิดกลุ่มเยาวชนที่ใช้สื่อศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและฟื้นฟูสื่อวัฒนธรรมของดีที่มีอยู่ในชุมชน ต่อยอดแหล่งเรียนรู้กลุ่มอาชีพ และสร้างความภูมิใจของชุมชน มีกระบวนการทำงานสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และพัฒนาไปสู่การสร้างเศรษฐกิจ เกิดรายได้ กลับคืนสู่ชุมชน   ในย่านนี้ ในอดีตเป็นสวนมะพร้าว สวนผลไม้ ทำของกินจากมะพร้าว ตามบ้านจึงมีกาบมะพร้าวอยู่มาก เมื่อถึงคืนวันเพ็ญเดือน 12 จึงเกิดความคิดประดิษฐ์กระทงจากกาบมะพร้าวผสมไม้ไผ่และไม้ระกำ ทำเป็นรูปทรงเรืออีโปง แล้วให้คนในหมู่บ้านมาลอยกระทงกันริมฝั่งคลอง เพื่อเป็นการขอขมาพระแม่คงคาและลอยทุกข์โศกโรคภัยให้พ้นจากตัวเองและครอบครัว แต่นานวันภูมิปัญญาเรือกระทงกาบมะพร้าวค่อยๆ เลือนหาย เพราะมีกระทงรูปแบบใหม่มาแทนที่ […]

บทสัมภาษณ์ (4)

“หุ่นเงาทำให้เด็กมีเวทีแสดงออก การได้ออกแสดงเป็นเรื่องสำคัญเพราะเด็กมีของดีต้องได้อวด(ดี) ในเวลาที่แสดงแล้วเด็กจะรู้ว่าเมื่อถูกชมแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร หรือเมื่อผิดพลาดแล้วรู้สึกเป็นอย่างไร เรียนรู้ที่เจ็บ และเรียนรู้ที่ยิ้ม จึงจะทำให้เด็กเติบโตและพัฒนาได้เร็ว” สุภิญญา บุญเฉลย ผู้ประสานงาน กลุ่มลูกขุนน้ำ แห่งหมู่บ้านคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช เอ่ยคำนี้ด้วยรอยยิ้มขณะเล่าเรื่องราวของเด็กๆ ในกลุ่มลูกขุนน้ำ เธอเรียกแทนตัวเองว่ามาอู กลุ่มลูกขุนน้ำเข้าร่วมพื้นที่นี้…ดีจังเป็นปีที่ 3 เธอเล่าว่าปีแรกเป็นแขกรับเชิญและเข้าร่วมเต็มตัวใน 2 ปี หลังเธอและเด็กๆ พบความสำเร็จจากการเลือกสื่อที่ดีนั่นก็คือ “หุ่นเงา” “หุ่นเงาสามารถประสานได้ทุกฝ่าย ทำให้เด็กได้สืบค้นเรื่องราวในชุมชน ผู้ใหญ่ได้ถ่ายทอด เช็คเสียงสะท้อนจากทุกฝ่ายได้ ซึ่งต่างจากการทำเอกสารประเภทงานวิจัย เพราะสื่อหุ่นเงาเวลาเล่นจะมีเสียงตอบรับจากผู้ชมได้ในทันทีขณะเล่น ซึ่งเด็กรู้สึกและรับรู้ได้เช่นกัน ผู้ชมก็เข้าใจสิ่งที่เด็กสื่อได้บางครั้งอาจจะไม่เข้าใจแต่ก็รู้ว่าเด็กตั้งใจจะทำอะไร จากการทำโครงการที่ผ่านมาเห็นพัฒนาการของเด็ก เช่น มีระเบียบวินัย มีการฝึกซ้อม รู้เรื่องราวของชุมชน ภูมิใจที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนตนเอง” เรียนรู้ต่อเติม ด้วยความพยายามที่จะหาของดีในชุมชนแรกๆ เธอจึงชวนเด็กๆ ไปใช้ธนูคันกระสุน เป็นธนูแบบดั้งเดิมที่มีก้อนหินเป็นกระสุน ซึ่งมีอยู่เฉพาะในชุมชนนี้ และมีปราชญ์ชาวบ้านรู้เรื่องนี้ที่นี่ “มาอูรู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวกลาง(ตัวเชื่อมระหว่างยุค โดยธรรมชาติของชุมชนคีรีวงการถ่ายทอดในทุกๆเรื่องจะส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น)ได้จึงคิดจะให้ผู้ใหญ่สอนเด็กๆในหมู่บ้านโดยตรง แต่เนื่องจากธนูคันกระสุนเป็นเครื่องมือที่ยากเกินไปเพราะต้องฝึกฝนและต้องใช้ความชำนาญ บางคนหัดยิงพลาดไปโดนนิ้วตัวเองเกิดอันตรายกับเด็กๆ ถึงแม้จะเสียดายเพราะธนูคันกระสุนเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนก็ตามแต่ความปลอดภัยของเด็กก็ต้องมาก่อนสิ่งใด” ปีที่สองเธอจึงทำซุ้มกิจกรรมและซุ้มศิลปะในโรงเรียนแต่ละแห่งในตำบล รอบๆ หมู่บ้าน แต่ปัญหามีมาทดสอบคนตั้งใจเสมอ พอเข้าไปทำกิจกรรมกับโรงเรียนทำให้เธอรู้ว่าโรงเรียนเองก็มีภาระมาก […]