เมื่อวันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา กลุ่มลูกหว้า เพชรบุรี ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ได้ไปร่วมถอดบทเรียน 7 ปี พื้นที่นี้ ดีจัง เพื่อเดินหน้าสู่ปีที่ 8 กันต่อไปที่โรงแรม Riverine จังหวัดนนทบุรี ร่วมกับเพื่อนเครือข่ายจากทั่วประเทศที่มีกันอยู่ประมาณ 20 กลุ่ม ซึ่งเพชรบุรี ดีจัง ได้เริ่มเข้าร่วมเป็นภาคีพื้นที่นี้ ดีจัง เมื่อปี 2554 และร่วมขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนในจังหวัดเพชรบุรีมาอย่างต่อเนื่อง ผลสรุป 6 ปี ของเราออกมาประมาณนี้ค่ะ
ช่วงเริ่มต้น เราริเริ่มสร้างเครือข่ายกันเมื่อปี 2554 กลุ่มเยาวชน 14 กลุ่ม จาก 8 อำเภอ รวมกันเป็นเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน สร้างและพัฒนาเยาวชนแกนนำ ค้นหา สื่อ ศิลปะ จากศิลปิน หรือผู้รู้ ในชุมชนของตนเอง เรียนรู้แล้วลองทำตาม เกิดความรู้ตามมามากมาย นำเสนอนโยบายต้นแบบ ๑ ชุมชน ๑ พื้นที่สร้างสรรค์ ต่อสาธารณะ
2555 สร้างกระแสสังคม ด้วยกระบวนการความร่วมมือของ 5 พลัง ได้แก่ พลังวัฒนธรรม พลังชุมชน พลังเครือข่าย พลังเยาวชน และ พลังสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ใช้สื่อสร้างสรรค์ทั้ง 5 อันได้แก่ สื่อวิถีชุมชน สื่อภูมิปัญญา สื่อศิลปวัฒนธรรม สื่อมวลชนท้องถิ่น และ สื่อ ICT เพื่อเปิดเส้นทางพื้นที่สร้างสรรค์ 5 ยิ้ม คือ ถนนยิ้ม แม่น้ำยิ้ม ตลาดยิ้ม วัดยิ้ม ชุมชนยิ้ม สร้างความหมายใหม่ เพชรบุรี ดีจัง
2556 ปรากฏการณ์เมือง 3 ดี (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) ขยายพื้นที่สร้างสรรค์ทั่วจังหวัดเพชรบุรี เกิดกลุ่มเยาวชนกว่า 30 กลุ่ม ในพื้นที่ 8 อำเภอ สร้างความสัมพันธ์ด้วยการร้อยเรียง เชื่อมโยง เครือข่าย เพชรบุรี ดีจัง จากภูเขาถึงทะเล เปลี่ยนความห่างไกลเป็นความใกล้ชิดกัน
2557 – 2558 เพชรบุรี เมืองมีชีวิต แกนนำเยาวชนเครือข่าย สร้างสรรค์กิจกรรม นำสื่อ ศิลปะมาขับเคลื่อนชุมชน ผ่านการเรียนรู้สื่อ ศิลปะชุมชน นำมาออกแบบ ผลิตอย่างสร้างสรรค์ และจัดกิจกรรมสื่อสาร ผลิตซ้ำ ทำแล้วก็ทำอีก ในช่วงเวลาที่ผ่านมา 5 ปี เมืองเพชรบุรีกลับมีชีวิตชีวาเห็นได้
2559 ชุมชนสร้างสรรค์ ปีที่ 6 ของ เพชรบุรี ดีจัง พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ เริ่มขยายผลกว้างขึ้นในชุมชน หลายพื้นที่มีการทำงานร่วมกันของกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่ใจดีในชุมชน ร่วมกันพัฒนาชุมชนของตน สร้างพื้นที่เรียนรู้ในชุมชนในรูปแบบที่แตกต่างกันตามบริบทและความสนใจ เป็นพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีชีวิต
2560 จากการเรียนรู้ชุมชนของกลุ่มเด็กและเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรีดีจัง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปีนี้เรามีความตั้งใจว่า จะชักชวนกันนำความรู้ที่ได้รับ มาออกแบบเพื่อสื่อสารเรื่องราวของชุมชน เพชรบุรี ดีจัง สู่สาธารณะให้มีคุณค่าและน่าสนใจยิ่งขึ้น ส่วนจะออกมาในรูปแบบไหนนั้น ขอได้โปรดติดตามกันต่อไป ซึ่งโครงการเพชรบุรี ดีจัง ปีที่ 7 จะเริ่มต้นประมาณกลางเดือนกรกฏาคมนี้จ้ะ
ข้อมูลจาก กลุ่มลูกหว้า เพชรบุรี
29 พ.ค. เยาวชนบางกอกนี้…ดีจัง และชุมชนวัดอัมพวา จัดกิจกรรม อัยย๊ะ เยาวชนเปิดท้าย สไตล์สื่อสร้างสรรค์ โดยรวมพลเยาวชนจาก 3 พื้นที่ นั่นคือบางพลัด บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย เปิดท้ายสื่อสร้างสรรค์ บอกเล่าเรื่องดีๆ กิจกรรมดีๆ เด็กๆมีพื้นที่ได้เล่น ผู้ใหญ่มีพื้นที่ยิ้ม ขับเคลื่อนชุมชนให้มีชีวิต ด้วย 3 ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยการสนับสนุนของเครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา และสถาบันสือเด็กและเยาวชน ติดตามกิจกรรม https://www.facebook.com/profile.php?id=100005934120805&fref=photo
“ เมื่อก่อนหนูอายมากเลยนะที่จะต้องบอกกับเพื่อนว่าบ้านหนูอยู่ในสลัมดวงแข (ชุมชนวัดดวงแข )ไม่อยากให้เพื่อนมาที่บ้าน ตอนนี้เพื่อนๆไม่เพียงแค่มาที่บ้านหนู แต่ยังมาช่วยหนูพัฒนาชุมชน อีกด้วย” จากน้องบิว (ศิริรัตน์ หนูทิม) เด็กในชุมชนแออัดเมืองที่ไม่เคยมีความรู้สึกภาคภูมิใจตนเอง ไม่มีความภาคภูมิใจในที่อยู่ของตนเอง มีชีวิตอยู่ไปวันๆไม่มีเป้าหมายในชีวิต กลายเป็นแกนนำเยาวชนชุมชนวัดดวงแข ที่มีความภาคภูมิใจ ภูมิใจรักในชุมชนแออดัดที่ตนเองอยู่ มีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีความมุ่งมั่นที่อยากจะไปให้ถึงฝัน แกนนำเด็กหลักที่สร้างการเปลี่ยนแปลงชุมให้กับชุมชนแออัด กลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กเยาวชนและชุมชน เป็นคนที่ลุกขึ้นมาบอกใครๆเรื่องปัญหาชุมชนตนเอง เชิญชวนผู้คนมาร่วมช่วยพัฒนาชุมชน สร้างรายได้ให้กับพ่อค้าแม่ค้าในชุมชน สร้างความรู้สึกรักชุมชนให้ผู้คนในชุมชน บิวเล่าว่า “ ตอนเด็กๆ ก็เข้ามาเล่น และทำกิจกรรมที่บ้านพัก ( ศูนย์ดวงแข มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ) บ่อยๆ แต่ก็เข้าบ้างไม่เข้าบ้าง เวลาบ้านพักมีกิจกรรมที่ไหนก็จะได้ไปกับป้าหมี ป้าติ๋ม หยก ต้องยอมรับว่าช่วงเวลานั้น ไม่คิดว่าชีวิตจะเป็นอย่างไรต่อ ไม่ได้มีเป้าหมายในชีวิตว่าจะเรียนต่อ ม.ปลายสายอะไร จะเรียนต่อมหาวิทยาลัยไหม หนูยังไม่รู้เลยว่า ชีวิตหนูจะทำไงต่อ แม่ให้เรียนก็เรียน ถ้าไม่ให้เรียนก็ออกมาทำงาน” จนบิวได้ไปเข้าค่ายสื่อสารสร้างสรรค์ ในค่ายบิวได้เรียนรู้ศิลปะหลายอย่าง ร่วมทั้งการสื่อสารด้วย บิวก็เริ่มรู้แล้วว่าเราสนใจเรื่องอะไร […]
สมัชชาเยาวชนพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะทางปัญญาบนฐานชุมชน วันที่ 24 – 26 มิถุนายน 2559 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรีดีจัง วันที่ 1 – วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2559 : “วันปันยิ้ม” รู้จักทักทาย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 08.00 น. ลงทะเบียน 09.00 น. รู้จักแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน (สสย.) แนะนำเครือข่ายพื้นที่นี้…ดีจัง ชี้แจงความเป็นมา วัตถุประสงค์ สมัชชาเยาวชนพื้นที่สร้างสรรค์ฯ 10.00 น. รู้จักทักทาย สื่อความหมาย “ต่างคนต่างมาจากทุกสารทิศ ด้วยชีวิตจิตใจสร้างสรรค์ชุมชน” 12.00 น. อาหารกลางวัน 13.00 น. เปิดตลาดนัด “บ้านเธอ บ้านฉัน เราปันยิ้ม” 17.00 น. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีชีวิต […]
“หลังเปิดอาเซียน เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเรานะ ไม่รู้จะต้องกลับไปประเทศหรือเปล่า จะอยู่ที่นี่พวกเราก็ไม่มีบ้าน เราก็อยากกลับบ้านนะ เอาความรู้ที่ได้ไปสอนน้อง ไปบอกคนที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่กลับไปเราก็ทำอะไรไม่ได้มาก…” ทุกอย่างพลันเงียบลงหลังเธอพูดจบ ก่อนเธอจะเบือนหน้าจากคู่สนทนาเพื่อปรับความรู้สึกก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวต่อไป กิกิ หรือ Pawk Kaw Ki สาวน้อยวัย 22 ปี จากเมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำตันลยิน หรือ แม่น้ำสาละวิน ห่างจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว 50 กิโลเมตร เธอเข้ามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน “ตอนเด็กๆ ก็คิดว่าอยู่ที่ประเทศไทยมันไม่มีความหมายอะไร เรียนจบแล้วก็ไปทำงาน แบบที่เพื่อนไปทำ จะกลับไปพม่าก็มีแต่เด็กกับคนแก่เท่านั้น เขาไปทำงานที่กรุงเทพกันหมด เพื่อนบางคนก็ไม่รู้ไปไหนหายไปเป็นสิบๆ ปีแล้ว” คำว่า “เรียน” ของ กิกิ หมายถึงการเรียนในศูนย์การเรียนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นศูนย์การเรียนที่สอนเด็กต่างชาติโดยมีครูจากพม่ามาสอนภาษาอังกฤษและภาษาพม่าให้กับเด็กๆ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และสร้างอาสาสมัครผู้นำเยาวชน Peer Youth ก่อนจะเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนชื่อ Rays of Youth ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำกิจกรรมและเป็นแกนนำในศูนย์การเรียนให้มีจิตสาธารณะ ในการทำงานเพื่อสังคมและเพิ่มทักษะให้เยาวชนกลุ่มนี้มีคุณภาพต่อไป […]