Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
สสส. ผนึกกำลังเครือข่ายหนุนครู ศพด. สร้างศักยภาพเด็กด้วยพลังสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ | ชุมชน 3 ดี
สสส. ผนึกกำลังเครือข่ายหนุนครู ศพด. สร้างศักยภาพเด็กด้วยพลังสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์

สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม และ สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. โดย กลุ่มแผนงานสื่อสร้างสรรค์ ได้แก่ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สนับสนุนทุนแก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 จัด “อบรมเชิงปฏิบัติการแก่ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ภายใต้ชุด โครงการมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก”

เพื่อเสริมทักษะและเปิดเวทีแลกเปลี่ยนการจัดกระบวนการเรียนรู้และพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กเล็ก ให้เติบโตอย่างมีสุขภาวะที่ดีครบด้าน โดยกิจกรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-7 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมเดอะ รอยัล เจมส์ กอล์ฟ รีสอร์ท อ.ศาลายา จ.นครปฐม

580704_child1

ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กล่าวว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นพื้นที่สำคัญในการดูแลและพัฒนาเด็กช่วงวัย 2-5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่สมองเจริญเติบโตสูงสุดกว่า 80% ของชีวิตมนุษย์ หากได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ จะสามารถสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ มีข้อมูลการสำรวจประเมินคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากองค์การยูนิเซฟ กว่า 200 แห่งทั่วประเทศ พบว่า มีเพียงร้อยละ 67 เท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ สสส. จึงให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยเปิดโอกาสให้ครู ศพด. ที่สมัครเข้ามาร่วมโครงการจำนวน 220 ศูนย์ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร และภาคีเครือข่าย สสส. ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย

กระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดี ประกอบด้วย สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี ซึ่งจะทำให้ครูผู้เข้าอบรมได้เข้าใจกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ในการพัฒนาสุขภาวะเด็กอย่างรอบด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจ ผ่านวิถีอาหารและการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน การเล่น และศิลปะต่างๆ อาทิ ดนตรี งานวาด งานปั้น ฯลฯ

ทพ.กฤษดา กล่าวเพิ่มเติมว่า สสส. มุ่งหวังว่าการจัดอบรมในครั้งนี้จะสร้างแรงดาลใจให้ครูในศูนย์ฯ ได้เห็นคุณค่าของงาน เกิดความสุขในการพัฒนาเด็ก สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคและความรู้ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายครู ศพด. ที่จะเกิดขึ้นผ่านทางโซเซียลมีเดียเพจ “มหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์” ซึ่งจะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเป็นกำลังใจให้กันและกัน เพื่อร่วมสร้างสรรค์การพัฒนาเด็กให้เติบโตอย่างมีความสุขและมีสุขภาวะที่ดีครบทุกด้านต่อไป

รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า “โครงการได้ดำเนินการในปีแรกด้วยการสนับสนุน ให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 168 ศูนย์ ได้ใช้กระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านการเรียนรู้ ทักษะชีวิต และส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัย เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างน่ายินดี เช่น เด็กๆในศูนย์เกิดความสุขจากการได้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ในศูนย์ ได้เปิดประสบการณ์ใหม่ในการเรียนรู้สุขภาวะและเกิดพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัยด้วยกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ ชุมชนเห็นคุณค่าของงานที่ครูในศูนย์ฯได้ดำเนินงานและเข้ามาร่วมพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ในศูนย์ฯ”

” ในปีที่ 2 เป็นการขยายผลและต่อยอดจากโครงการในปีแรก โดยสนับสนุนการจัดกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 220 ศูนย์ เน้นการบูรณาการแนวคิดสุขภาวะด้วยกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีความเข้าใจแนวคิดและกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ เข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการเด็กปฐมวัย สามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน และเกิดแรงบันดาลใจในการทำงานด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายครูศพด”

นางสาวเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน กล่าวว่า “โครงการฯ ยังได้ยกระดับศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ร่วมโครงการในปีที่ 1 จำนวน 21 ศูนย์ ให้เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ โดยจะมีจุดเด่น ทั้งด้านการบริหารจัดการศูนย์ฯ มีนวัตกรรมในด้านการจัดกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ ครูมีความรู้ ศักยภาพ และแรงบันดาลใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้แก่เด็ก รวมทั้งสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน สร้างเครือข่าย ต่อยอด ขยายผลโดยพัฒนาและสร้างสรรค์อย่างหลากหลายจากต้นทุนด้านพื้นที่ บุคคล ภูมิปัญญาท้องถิ่นและ แหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยโครงการฯจะได้ติดตามหนุนเสริมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบอย่างต่อเนื่อง ส่วนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 168 ศูนย์ซึ่งได้ร่วมโครงการในปีที่ผ่านมา ก็จะได้รับการติดตามหนุนเสริมศักยภาพและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายครูในโครงการฯ โดยได้เปิดช่องทางการสื่อสารเชื่อมต่อเครือข่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ Facebook : มหัศจรรย์ ศพด”

580704_child3 580704_child4 580704_child5

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผอ.เสถียร พันธ์งาม โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) ได้เข้ามาร่วมงานกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก โดยมองว่า  “เท่าที่ดูนักเรียนในโรงเรียน มีปัญหาในเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ รู้สึกเหมือนการศึกษาที่ผ่านมาไม่มีทิศทางอะไรมากมาย ก็ทำไปจัดไปตามหน้าที่ จัดไปเรื่อยๆ จัดเป็นปีๆ จบเป็นปีๆ ไป แต่เป้าที่แท้จริงดูเหมือนมันไม่ชัด เลยคิดว่าถ้าเราจะจัดการศึกษาให้เกิดประโยชน์กับลูกหลานอย่างยั่งยืน น่าจะเอาเรื่องเป้าหมายของชาติที่เขาเขียนไว้ 8 ประการ ในหลักสูตรของผู้รักษาอันพึงประสงค์ 8 ประการที่ว่า เราต้องเอามาขมวดเข้าว่าแท้จริงแล้ว 8 ประการที่ว่า มันคืออะไรกันแน่ ก็เลยมาตกผลึกที่ว่ามันน่าจะเริ่มต้นที่ให้เด็กรู้จักหน้าที่ตนเองก่อน เลยตั้งเป้าว่าต้องสร้างเด็กให้มีความรับผิดชอบรู้หน้าที่ว่าตั้งแต่มาถึงโรงเรียนตั้งแต่เช้าจนเลิกเรียน เขาควรจะมีขั้นมีตอนก่อนว่ามาถึงโรงเรียนเขาทำอะไรบ้าง” โดยความรับผิดชอบจะต้องเป็นไปตามเด็กแต่ละช่วงแต่ละกลุ่มแต่ละคน เพราะเด็กโดยรวมแล้วจะไม่ค่อยรับผิดชอบต่อหน้าที่เท่าไรไม่ว่าจะอยู่บ้านหรือโรงเรียนจะเป็นแค่ผู้คอยรับบริการต่างๆ ถ้าช่วยทำงานในส่วนรวมจะไม่ค่อยใสใจเท่าไร เลยคิดว่าถึงเวลาแล้วละถ้าจะรอภาพใหญ่ของประเทศมันคงจะไม่ได้แล้วต้องมาคิดแคบๆ ที่บริเวณโรงเรียนที่เราสามารถรับผิดชอบได้ สามารถกำหนดนโยบายกำหนดทิศทางได้ด้วยตัวเอง เลยคิดว่าน่าจะเริ่มต้นที่เราก่อนที่โรงเรียนของเราก่อน เริ่มต้นคิด…   ทำกิจกรรมปรับกระบวนการในแต่ละวัน เพื่อที่จะลองดูว่าครูและนักเรียนจะมีปฏิกิริยายังไรบ้าง ซึ่งก็พบปัญหาอยู่ ครูส่วนใหญ่ ก็รู้สึกว่า มันยุ่งยาก “แรงต่อต้านมีค่อนข้างมากแต่เมื่อเรายืนยันและอธิบายสิ่งที่เราทำเพราะอะไร เพราะปัญหาที่เราเห็นพ้องด้วยกันว่าเด็กไม่มีระเบียบวินัย ไม่ค่อยมีความรับผิดชอบทำอะไรก็พอแล้วแล้วไป” จากความมุ่งมั่นที่จะทำ ผอ.เสถียรได้สร้างกลุ่มคุณครูที่เข้าใจแกนนำก็ดำเนินโดยทีมครูที่เข้าใจ ส่วนตัวนักเรียน คิดว่าความเคยชินที่อยู่ในระบบที่ค่อนข้างไม่ค่อยได้รับผิดชอบก็จะเปลี่ยนตัวเขายาก น่าจะเปลี่ยนได้อย่างเดียวคือครูประจำฉันต้องกำกับให้แคบเข้ามาที่ห้องเรียน ส่วนชุมชนผู้ปกครองไม่ค่อยมีปัญหาจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสารของครูไปถึงผู้ปกครอง ครูที่ยังไม่ค่อยเห็นด้วยเขารู้สึกว่าเขามีภาระมากขึ้น แต่ผอ.ก็ยืนยันในสิ่งที่ทำ […]

เมื่อวันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา กลุ่มลูกหว้า เพชรบุรี ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ได้ไปร่วมถอดบทเรียน 7 ปี พื้นที่นี้ ดีจัง เพื่อเดินหน้าสู่ปีที่ 8 กันต่อไปที่โรงแรม Riverine จังหวัดนนทบุรี ร่วมกับเพื่อนเครือข่ายจากทั่วประเทศที่มีกันอยู่ประมาณ 20 กลุ่ม ซึ่งเพชรบุรี ดีจัง ได้เริ่มเข้าร่วมเป็นภาคีพื้นที่นี้ ดีจัง เมื่อปี 2554 และร่วมขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนในจังหวัดเพชรบุรีมาอย่างต่อเนื่อง ผลสรุป 6 ปี ของเราออกมาประมาณนี้ค่ะ   ช่วงเริ่มต้น เราริเริ่มสร้างเครือข่ายกันเมื่อปี 2554 กลุ่มเยาวชน 14 กลุ่ม จาก 8 อำเภอ รวมกันเป็นเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน สร้างและพัฒนาเยาวชนแกนนำ ค้นหา สื่อ ศิลปะ จากศิลปิน หรือผู้รู้ ในชุมชนของตนเอง […]

“ยงยุทธ” ยกพื้นที่รองเมือง ต้นแบบโมเดล “เมือง 3 ดี” ดึงเยาวชนหลุดจากปัจจัยเสี่ยงในชุมชน ประกาศสานฝันเด็กไทย ผลักดันสู่นโยบายระดับชาติ “สสส.” ปักหมุดขยายพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อเด็กทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 3 เมษายน ณ บริเวณย่านถนนรองเมือง (ข้างกำแพงสถานีรถไฟหัวลำโพง) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายรองเมืองเรืองยิ้ม อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ไปรษณีย์ไทย จัดงาน “รองเมือง…เรืองยิ้ม” ตอน ปทุมวัน…ปันยิ้ม โดยมี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายสังคม เป็นประธานเปิดงาน พร้อมรับข้อเรียกร้องจากเด็ก เยาวชน ที่ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนให้เกิดต้นแบบพื้นที่สร้างสรรค์ เมือง 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี เพื่อเป็นกลไกให้เยาวชนได้มีพื้นที่เชิงบวก ในการสร้างสรรค์กิจกรรม เรียนรู้ทักษะชีวิตและพัฒนาจิตสำนึกพลเมือง ศ.ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า เด็ก เยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่รัฐบาลต้องการสนับสนุนให้มีสุขภาวะที่ดี มีการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตเป็นพลเมืองที่รับผิดชอบต่อสังคม ยุทธศาสตร์เมือง 3 ดี ที่ […]

เครือข่ายเพชรบุรีดีจัง ร่วมกับ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี องค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสาม และวัดนาพรม จัดกิจกรรม “นาพันสามปันสุข” เปิด “โครงการท่องเที่ยววิถีไทย วิถีพุทธ วิถีพอเพียง อย่างยั่งยืน” และ วัดนาพรมประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ “อาคารพิพิธภัณฑ์ชาวนา” ณ ตลาดน้ำนาพันสาม วัดนาพรม อ.เมืองเพชรบุรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2559 โดยมีกิจกรรม “รวมมิตร ติดยิ้ม” ของเครือข่ายเพชรบุรีดีจัง และกิจกรรมของนักศึกษาสาขาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี เข้าร่วมด้วย กิจกรรมนี้ นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน “นาพันสามปันสุข” และนายชัยยะ อังกินันทน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรม “รวมมิตร ติดยิ้ม” และทั้ง 2 ท่านก็ได้เดินเยี่ยมชมซุ้มกิจกรรมของเครือข่ายเพชรบุรี…ดีจัง อย่างใกล้ชิดโดยมีท่านวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี คุณศรีสมร เทพสุวรรณ์ และแกนนำเยาวชน ฝ้ายยย ย. Tanyim Sirikwan และ Sunisa […]