Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
ดี ต่อ ใจ ณ แพร่งภูธร | ชุมชน 3 ดี
ดี ต่อ ใจ ณ แพร่งภูธร

Japanดีจัง (1)

พื้นที่นี้..ดีจัง มีโครงการแลกเปลี่ยนความร่วมมือพื้นที่สร้างสรรค์ไทยกับศิลปะชุมชนญี่ปุ่น โดยการสนับสนุนของ Asia Center มูลนิธิญีปุ่่น ผ่านการประสานงานอย่างแข็งขันและเอื้ออารี ของ ดร.ชิน นาคากาว่า แห่ง Urban Research Plaza มหาวิทยาลัยโอซากาซิตี้ ความช่วยเหลือเกื้อกูลฉันมิตรของ ดร.ทากาโกะ อิวาซาว่า แห่ง Hokkaido University of Education ผู้มาทำวิจัยพื้นที่นี้..ดีจัง ตระเวณไปเกือบทุกพื้นที่ เมื่อสองปีที่ผ่านมา

ปีที่แล้วเราพาตัวแทนเครือข่ายพื้นที่นี้..ดีจัง ไปร่วมงานเทศกาล Obon dance และ Tropical Music Festival ที่ชุมชนดั้งเดิมมุซาซิ แห่งหมู่บ้านTotsukawa ในเขตปริมณฑลของเมืองนาระ ประเทศญีปุ่่น

ปีนี้ ศิลปินญีปุ่น 4 คน มาเมืองไทยตั้งแต่วันที่ 28 กุมภา เพือร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในปฏิบัติการศิลปะชุมชน ” ดี ต่อ ใจ ณ แพร่งภูธร” โดยแบ่งออกเป็นสองสาย

600308_news1

สายแรก เดินทางไปเชียงใหม่ เพื่อร่วมเวิร์คชอปนิทานเพลงกับกลุ่มรักษ์ลาหู่ ณ หมู่บ้านสุดชายแดนไทย-พม่า บ้านกองผักปิ้ง และ แกน้อย อ.เชียงดาว Suzumura Nodoka สาวน้อยน่ารักเป็นนักวาดการ์ตูน เล่านิทาน และทำกิจกรรมศิลปะกับผู้พิการทางสมองที่องค์กรการกุศล Tanpopo-No-Ye และอีกหนึ่งหนุ่มไฟแรง Nishimura Akihiro จบการศึกษาดนตรีด้านเปียโน มาร่วมทำกิจกรรมสร้างสรรค์กับเด็กๆ หลายต่อหลายโครงการ ทั้งคู่พกพาความหนุ่มสาวมาเรียนรู้โลกกว้าง ใช้ชีวิตบนดอย เต้นรำร้องเพลงลาหู่ กินน้ำพริกลาหู่ เปิดโลกนิทานและเสียงเพลงร่วมกับเด็กลาหู่

สายที่สอง เป็นรุ่นซีเนียร์หน่อย ชายหนุ่มทั้งคู่สนใจในประเด็นศิลปะสำหรับเด็กเมือง Kojima Takashi เป็นนักดนตรีแนวร่วมสมัยที่ทำงานองค์กรไม่แสวงหากำไรชื่อ Cobon เพื่อทำกิจกรรมดนตรีศิลปะกับเด็กในเมืองโอซากา มาพร้อมกับคู่หู Takuro Iwabuchi ทำงานด้านเขียน ด้านหนังสือ และ ศิลปะ ทั้งสองคนคิดโปรแกรมและคู่มือเวิร์คชอปศิลปะชื่อว่า “อะไรกันเนี่ย! What’s Cool!” เพื่อเปิดโลกศิลปะไร้รูปแบบให้เป็นโลกเรียนรู้จินตนาการสร้างสรรค์สำหรับเด็กๆ สองหนุ่มนี้มาทำเวิร์คชอปกับก๊วนเด็กแพร่งแก๊งอาสารักยิ้ม อยู่ที่สามแพร่ง

ทั้งสองสาย จะกลับมารวมกันเพื่อนำเสนอผลงานที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำงานร่วมกับเพื่อนภาคีพื้นที่นี้…ดีจังและเด็กๆ ทั้งจากหมู่บ้านลาหู่และชุมชนสามแพร่ง ในงาน ดี ต่อ ใจ ณ แพร่งภูธร 11-12 มีนาคมนี้ (ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดใด พกพาหัวใจมาก็พอ)

600308_news2

มาพบเพื่อน Japanดีจัง ที่สามแพร่งกัน

ติดตามรายละเอียดการเวิร์คชอปJapanดีจังในแต่ละสายตอนต่อไปก่อนมาชมผลงานพวกเขาที่ ดี ต่อ ใจ ณ แพร่งภูธร นะครับ

เรื่องและภาพจาก  Vorapoj Osathapiratana

บทความที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 16-17 ธันวาคม 59 เชิญชวนเด็กๆ เยาวชนและบุคคลทั่วไป ร่วมกิจกรรม “ตามรอยแว้งในความทรงจำ ครั้งที่ 3 ”  ปีนี้เราจะชวนน้องๆทุกคนเดินเยี่ยมชมตลาดอำเภอแว้ง เรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ตามติดร่องรอยที่ยังมีให้เห็น เดินชมตึกรามบ้านช่องที่ยังคงสภาพเดิม สนทนาพาเพลินกับคนเฒ่าคนแก่ที่จะส่งกลิ่นไออบอวลแห่งความสุขในวัยเยาว์ ชมนิทรรศการภาพถ่ายของแว้งวันวาน มีหลายภาพที่ยังไม่เคยเปิดเผยที่ใดมาก่อน พร้อมฟังการบรรยายจากเจ้าของภาพที่จะมาบอกเล่าถึงฉากข้างหลังภาพ และพบกับกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กๆ และเยาวชนอีกมากมาย ณ ลานหญ้าศาลามหาราช อ.แว้ง จ.นราธิวาส “พื้นที่นี้ดีจัง แว้ง…ยังยิ้ม อิ่มใจทุกวัยไปอีกนานแสนนาน” ติดตามความเคลื่อนไหวที่ Sum Nara Nara

เมื่อวันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา กลุ่มลูกหว้า เพชรบุรี ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ได้ไปร่วมถอดบทเรียน 7 ปี พื้นที่นี้ ดีจัง เพื่อเดินหน้าสู่ปีที่ 8 กันต่อไปที่โรงแรม Riverine จังหวัดนนทบุรี ร่วมกับเพื่อนเครือข่ายจากทั่วประเทศที่มีกันอยู่ประมาณ 20 กลุ่ม ซึ่งเพชรบุรี ดีจัง ได้เริ่มเข้าร่วมเป็นภาคีพื้นที่นี้ ดีจัง เมื่อปี 2554 และร่วมขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนในจังหวัดเพชรบุรีมาอย่างต่อเนื่อง ผลสรุป 6 ปี ของเราออกมาประมาณนี้ค่ะ   ช่วงเริ่มต้น เราริเริ่มสร้างเครือข่ายกันเมื่อปี 2554 กลุ่มเยาวชน 14 กลุ่ม จาก 8 อำเภอ รวมกันเป็นเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน สร้างและพัฒนาเยาวชนแกนนำ ค้นหา สื่อ ศิลปะ จากศิลปิน หรือผู้รู้ ในชุมชนของตนเอง […]

เพชรบุรีดีจัง มาส่งต่อกัน บนแพไม้ไผ่ริมแม่น้ำเพชรบุรี มหกรรมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ที่มีชีวิต ผ่านไปอีกปีแล้ว “เพชรบุรีดีจัง”  มาส่งต่อกัน ย่านชุมชนเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ประกอบด้วย ถนนดำเนินเกษม แยกเพชรนคร ถึงน้ำพุ ถนนริมน้ำหลังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ลานวิหารพระคันธาราฐ วัดพลับพลาชัย ถนนซอยริมน้ำแยกสะพานใหญ่ ถึงสะพานจอมเกล้า ได้มีการจัด “งานมหกรรมเพชรบุรีดีจัง มาส่งต่อกัน” ครั้งที่ 7 ขึ้น ระหว่างวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 18-19 มี.ค.60 ที่ผ่านมา สำหรับกิจกรรมมีการจัดซุ้ม และการแสดงของกลุ่มเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ศิลปวัฒนธรรมในชุมชน และจากเครือข่ายพื้นที่ทั่วประเทศ ถนนสายศิลปะ ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ลานกิจกรรมสำหรับเด็กๆ ลานท่าน้ำสวนสุนทรภู่ วัดพลับพลาชัย โดยทุกท่านสามารถร่วมกิจกรรมได้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังได้ชมเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรมที่มีมาแต่สมัยอดีต สนุกกับงานสร้างสรรค์ศิลปะ และการออกแบบอันหลากหลาย เรียนรู้และสร้างสรรค์งานสกุลช่างเมืองเพชร เพลินไปบนถนนอนามัยและซอยตลาดริมน้ำ ย้อนรอยตลาดเก่าเรียนรู้วิถีชีวิตชาวจีนย่านตลาดริมน้ำ ผ่านกิจกรรมเปิดบ้านชุมชนชมเครื่องเรือน โดยทุกถนนมีการประดับตกแต่งด้วยโคมไฟที่หลากหลายอย่างสวยงามตระการตา และกิจกรรมต่างๆ เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จัดอย่างต่อเนื่องทุกปี ครั้งนี้เป็นปีที่ 7 แล้ว โดยจังหวัดเพชรบุรี ร่วมกับเครือข่ายเพชรบุรีดีจัง และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ […]

เมื่อนึกถึงคำนี้ “รองเมือง” ใครหลายๆคนนึกถึงสถานีรถไฟหัวลำโพง  วันนี้เว็บไซต์สามดีชวนคุณออกมาเดินเล่น ชวนคุณขยับมาอีกนิดไปดูกำแพงสวยๆ ในชุมชนวัดดวงแขกัน   ถือเป็นชุมชนสามดีของเราอีกแห่งหนึ่งค่ะ ชุมชนนี้ได้ร่วมมือกันปรับภูมิทัศน์ชุมชนให้น่าอยู่โดยการเชิญศิลปินและ ชวนเด็กๆและคนในชุมชน ทาสีกำแพงและวาดภาพกำแพง สร้างสีสันให้ชุมชนน่าอยู่  คุณครูหรือคุณพ่อ คุณแม่ สามารถพาเด็กๆ ไปเดินชม  พร้อมรับฟังหลากเรื่องเล่าโดยคนในชุมชนได้     ชุมชนวัดดวงแขนั้น ได้รับการรองรองเป็นชุมชนจากสำนักงานเขตปทุมวันเมื่อปี 2547 ตั้งอยู่บริเวณถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน มีพื้นที่ 3.5 ไร่ มีจำนวนประชากรตามทะเบียนบ้าน 52หลังคาเรือน 139 ครอบครัว 410 คน และมีประชากรตามบ้านเช่าอีก 500 คน ซึ่งพื้นที่ชุมชนนั้นมี 3 ส่วน คือเช่าอาศัยพื้นที่กรมธนารักษ์ ที่ดินชาวบ้านที่มีโฉนดและพื้นที่จากคลองนางหงส์ที่ตื้นเขิน คลองนางหงส์นั้นที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 มีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมเพื่อแบ่งพระราชฐานเป็นชั้นนอกและชั้นใน โดยมีคลองนางหงส์เชื่อมต่อคลองผดุงกรุงเกษมให้น้ำไหลไปลงยังคลองแสนแสบแถบ บริเวณชุมชนกรุงเกษมชุมชนวัดบรมนิวาส และสะพานเจริญผล ต่อมารัชสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงก่อสร้างทางรถไฟสายแรกของประเทศไทยจากหัวลำโพง – ปากน้ำ (สมุทรปราการ) คลองนางหงส์จึงถูกถมเป็นรางรถไฟ และเมื่อคลองนางหงส์ถูกถมแล้วจึงทำให้ส่วนที่ต่อจากรางรถไฟ ตื้นเขินกลายเป็นแผ่นดิน ชาวบ้านจึงมาปลูกบ้านอยู่อาศัยเป็นระยะเวลากว่า 100 ปี สำหรับใครที่สนใจแวะเข้าไปชมติดต่อได้ที่ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ศูนย์ดวงแข 02 – 215 […]