Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
ดร. ครรชิต ไชยโพธิ์: ชวนเด็กกับผู้เฒ่ามาเล่าเรื่องบ้านเกิด | ชุมชน 3 ดี
ดร. ครรชิต ไชยโพธิ์: ชวนเด็กกับผู้เฒ่ามาเล่าเรื่องบ้านเกิด

ดร. ครรชิต  ไชยโพธิ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกระเดาอุ่มแสง ได้เริ่มมาทำงานพัฒนาเด็ก เริ่มต้นจากการทำงานกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาเด็กนักเรียนโดยใช้วิธีการกระบวนการของมูลนิธิฯ เองซึ่งจะแตกต่างจากที่เราจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน เริ่มต้นมาตั้งแต่ครั้งแรกเริ่มทำงานเรื่องภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่ ในเรื่องของเด็กกับผู้เฒ่าชวนกันเล่าเรื่อง โดยมีวิธีการคือให้เด็กเข้าไปสืบค้นภูมิปัญญาแล้วนำมาทำเป็นสื่อ เช่นหนังสือเล่มเล็กแล้วมีการพัฒนามาเรื่อยๆมาจนถึงที่เรากำลังทำคือการเป็นพลเมือง ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

  “ การทำงานตรงนี้เด็กได้มีการทำงานจริงฝึกปฏิบัติจริงเรียนรู้ได้ด้วยตนเองเด็กเกิดทักษะ ในกระบวนการเรียนการสอนเด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีการถ่ายทำสารคดี หนังสั้น ละครหุ่นเด็กได้มีการแสดงออก เด็กจะเกิดทักษะทั้งด้านพุทธิพิสัยความรู้จิตตะ คุณธรรมจริยธรรม จากกระบวนการในการจัดกิจกรรมที่ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก”

รูปแบบการจัดกระบวนการของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กพอได้เห็นแล้วก็อยากจะร่วมงานด้วย เราไม่ได้มองเรื่องงบประมาณเรามองในเรื่องของรูปแบบการพัฒนาเด็กการเข้าถึงเด็ก เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ต่างๆ กระบวนการเหล่านั้นมาได้เชื่อมโยงระหว่างเด็กโรงเรียนชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการเชื่อมโยงกันในการจัดกิจกรรม ทำให้เด็กรู้จักรากเหง้าตนเองรู้จักตนเองรู้จักภูมิปัญญาศิลปะวัฒนธรรมของชุมชนในท้องถิ่นของตนเอง เองการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ทำให้เด็กเกิดสำนึกรักบ้านเกิด

ที่สำคัญคือเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมความรับผิดชอบ มันจะได้ทั้งโรงเรียนชุมชนภูมิปัญญา

  ความเป็นจริงแล้วในการจัดกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียนก็เหมือนกับของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กเพียงแต่ว่า ความลึกจะต่างกัน จะได้ความลึกได้ทักษะรู้ในเชิงลึกแต่รูปแบบกระบวนการความชัดเจนต่างกันสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กสิ่งที่เห็นได้ชัด เด็กที่ผ่านกระบวนการนี้เราทำมา 4-5ปี จะเห็นในเรื่องของความรับผิดชอบ การเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน จะพวกนี้จะเห็นชัด เด็กจะมีทักษะชีวิตทักษะอาชีพ สามารถที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างดี ชุมชนกับโรงเรียนจะกลมกลืนทำงานไปด้วยกันจะใช้ภูมิปัญญาซึ่งกันและกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชนโรงเรียนเรียนรู้จากภูมิปัญญาพื้นบ้าน เด็กเรียนรู้ในโรงเรียนครูเกิดการพัฒนาวิธีการถ่ายทอดความรู้ใหม่ใหม่จากวิทยากร

  กิจกรรมเด่นๆ เริ่มจากกิจกรรมเด็กกับผู้เฒ่าชวนกันเล่าเรื่อง เราได้ให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการสืบค้นภูมิปัญญาในชุมชนมาทำเป็นหนังสือเล่มเล็ก ต่อมาเราทำในเรื่องของสื่อสารสร้างสรรค์เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงเด็กจะได้ทักษะความรู้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการถ่ายทำหนังสั้นสารคดีซึ่งเราสามารถเผยแพร่ผลงานของเรา ออกสู่สาธารณะชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสารคดีที่ได้ออกทางทีวีทำให้หลายหลายที่รู้จักโรงเรียนเราผลงานของนักเรียนเรารู้จักสิ่งดีดีนำงามของโรงเรียน ต่อจากนี้ที่เราจะทำ คือเรื่องของความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย เรานำความเป็นพลเมืองนี้มาบูรณาการ จัดการเรียนการสอน ทุกสาระของโรงเรียนเรา ปีนี้เราทำโครงการในเรื่องของสหกรณ์ 3 ดี วิถีพลเมืองจะใช้วิธีการกระบวนการความเป็นพลเมืองมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งผลที่ทำออกมาทำให้รู้จักโรงเรียนบ้านกระเดาอุ่มแสงมากยิ่งขึ้น ส่งผลถึงชุมชนรัฐวิสาหกิจชุมชนพอเราทำสารคดี จากที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักก็มีคนรู้จักมากขึ้นจาก 200 ถึง 300 ครอบครัวเป็น 1000 ครอบครัว และรัฐวิสาหกิจชุมชน

รวมไปถึง โครงการสหกรณ์ 3 ดี วิถีพลเมือง เป็นโครงการที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่เรื่องของอาหารปลอดภัยซึ่งที่โรงเรียนนักเรียนอาจจะไม่อยากกินอาหารของโรงเรียนเลยมีการรวมกลุ่มกันมาจัดทำเป็นร้านค้าสหกรณ์โดยจะเริ่มตั้งแต่การผลิตบางวันอาจจะทำอาหารจานเดียว ทำขนมทำน้ำที่ไม่ใช่น้ำหวานจำหน่ายให้เด็กนักเรียน ใช้การเรียนการสอนสอดแทรกเข้าไป  โดยในกระบวนการเรียนการสอนจะให้เด็กและครูช่วยกันคิดมีการวางแผนว่าแต่ละอาทิตย์จะทำอะไรโดยชุมชนจะมีส่วนร่วมโดยอย่างเช่นอาหารบางอย่างครูไม่สามารถทำได้ก็จะให้ชุมชนมาช่วยภูมิปัญญาในการสอนไม่ใช่แค่เฉพาะอาหารเริ่มตั้งแต่การสานการถัก

  “การทำกิจกรรมไม่ใช่เพียงเป็นแค่แหล่งเรียนรู้ให้โรงเรียนนักเรียนชุมชนแต่ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนทั่วไปเทศที่เข้ามาศึกษา มันคือผลพวงที่เกิดจากการจัดกิจกรรมของโรงเรียนและสื่อที่ทำต่างๆออกไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชุมชนมีชีวิต เด็กมีพื้นที่เล่น ผู้ใหญ่มีพื้นที่ยิ้ม…. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2558เครือข่ายบางกอกนี้…ดีจัง ชวนมาสนุกกับเทศกาล “เพลินบางกอกนี้…ดีจัง 3 ดีมีชีวิต” บริเวณลานยิ้มริมน้ำคลองบางหลวง วัดหงส์รัตนาราม บางกอกใหญ่ เพื่อเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กเยาวชน ครอบครัว และคนในชุมชน ร่วมขับเคลื่อนบางกอกให้เป็น “เมืองวิถีสุข” เทศกาล“เพลินบางกอก…นี้ดีจัง 3 ดีมีชีวิต”จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “3 ดี” (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) เป็นกระบวนที่ให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ ได้มีส่วนร่วมในการลองคิด ลองค้น เรียนรู้ และลงมือสรรค์สร้างกิจกรรมที่มาจากรากฐานของคนในชุมชน การเกิดขึ้นของเทศกาลนี้จากความคิดของคนรุ่นใหม่ในย่านบางกอกใหญ่ เจมส์, ตัน และใบเตย แกนนำเยาวชนในชุมชนร่วมกันเปิดห้องเรียนชุมชน “สื่อดี” สื่อที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เช่น บ้านภูมิปัญญาเรือกระทงกาบมะพร้าว บิดกลีบบัว ภาพเขียนลายรดน้ำ การทำขนมช่อม่วง และการละเล่นพื้นบ้าน นอกจากนี้ยังได้เปิด “พื้นที่ดี” เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่าน “ภาพศิลปะซอยเล่นซอยศิลป์” ภาพวาดเล่าเรื่องวิถีชีวิตอัตลักษณ์ของดีแต่ละชุมชนบนกำแพงตามตรอกซอกซอย ซึ่งสะท้อนความคิด ความเชื่อ และความเป็นอยู่ของคนในชุมชนผ่านกระบวนการถ่ายทอด และสืบทอดจากรุ่นต่อรุ่นของคนในชุมชนไม่ให้สูญหายไป เสมือนการค้นหารากเหง้าตัวตนของคนในชุมชน เช่น […]

สถาบันสือเด็กและเยาวชน ร่วมกับกลุ่ม We are Happy จัดสัมมนา “คู่มือครูพัฒนาพลเมืองเด็ก หนังสือช่วยเด็กสร้างโลก” เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 ณ ห้องประชุม 202 อาคารดร.สิโรจน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพฯ การจัดสัมมนาขึ้นครั้งนี้เพื่อเผยแพร่และส่งมอบหนังสือ ช่วยเด็กสร้างโลก โดยให้ข้อมูลในการ เผยแพร่ และสาธิตกระบวนการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ และเพื่อพัฒนาครูแกนนำจำนวน 25 คนในศูนย์เด็กเล็กแกนนำให้สามารถ อธิบาย และนำคู่มือไปขยายผลได้ในกลุ่มเครือข่ายต่อไป  

มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: เรื่องกินเรื่องใหญ่  ที่ตลาดไนต์บาซาร์มหาสารคามสุดคึกคัก ประชาชนให้ความสนใจจำนวนมาก เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 60  ที่ตลาดไนต์บาซาร์มหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม นายเสน่ห์ นนทะโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดงาน งานมหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุจิน บุตรดีสุวรรณ คณบดีคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นายสิทธิเดช ผงสิริ แกนนำเยาวชนอีสานตุ้มโฮม นิสิตนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเครือข่ายเยาวชนอีสานตุ้มโฮมจากพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ยโสธร อุดรธานี สุรินทร์ และศรีสะเกษ ร่วมกันจัดกิจกรรม “มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: เรื่องกินเรื่องใหญ่” ด้วยตระหนักถึงคุณค่าของวิถีภูมิปัญญาอีสาน และได้นำเสนอผ่านวิถีอาหารพื้นบ้าน ศิลปะสร้างสรรค์ และสื่อพื้นบ้าน ซึ่งเป็นผลงานความสามารถของเด็กและเยาวชนที่ได้ร่วมกันจัดขึ้น “มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ปี 4 สื่อสารสร้างสรรค์: […]

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการภาคีเครือข่ายในวาระ10 ปีแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน(สสย.) เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมยุทธศาสตร์และทิศทางของสสย. กับภาคีเครือข่าย ระหว่างวันที่1-3 ก.ค. 59 ณ สถาบันวิชาการ TOT   โดยเช้าวันแรกเริ่มด้วยการเปิดแกลอรี่3ดี ภาคีเครือข่ายสสย. ต่อด้วยการเปิดเวที ชี้แจงวัตถุประสงค์ของงานและการสานสัมพันธ์ภาคีเครือข่าย    และช่วงบ่าย เปิดเวที “9 สู่ปีที่ 10: ผลการเปลี่ยนแปลง สร้างแรงบันดาลใจ” ด้วยการบอกเล่าเรื่องราวการขับเคลื่อนงานของ สสย. ตลอดระยะเวลา 9 ปีและการขับเคลื่อนงานสู่ปีที่ 10  โดยคุณเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการ สสย.   หลังจากนั้นให้ภาคีผลัดกันเล่าประสบการณ์ทำงานในแต่ละกลุ่มในการสร้างการเปลี่ยน แปลงตั้งแต่ระดับเยาวชน สื่อ ชุมชน จนไปถึงระดับนโยบายภายในพื่นที่ของตน เพื่อให้เห็นภาพรวมผลของการเปลี่ยนแปลงของภาคี เครือข่าย สสย.ตลอดระยะเวลาที่ได้ร่วมงานกัน   วันที่สอง (2 ก.ค. 59) ช่วงเช้าเปิดเวทีวันนี้ด้วยประเด็น “ 9 ย่างสำคัญ: ความสำเร็จเชิงสร้างสรรค์” โดยให้ตัวแทนกลุ่ม  บอกเล่าเรื่องราวถอดบทเรียน 9 ย่างสำคัญสู่การเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ของภาคีเครือข่ายตัวอย่าง เช่น […]