Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/samdeeorg/domains/samdee.org/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/admin/admin-interface.php on line 350
กีกี้ กลุ่มเยาวชนRay of youth: แรงงานเด็กพม่า สู่นักสื่อสารชายแดน | ชุมชน 3 ดี
กีกี้ กลุ่มเยาวชนRay of youth: แรงงานเด็กพม่า สู่นักสื่อสารชายแดน

“หลังเปิดอาเซียน เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเรานะ ไม่รู้จะต้องกลับไปประเทศหรือเปล่า จะอยู่ที่นี่พวกเราก็ไม่มีบ้าน เราก็อยากกลับบ้านนะ เอาความรู้ที่ได้ไปสอนน้อง ไปบอกคนที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่กลับไปเราก็ทำอะไรไม่ได้มาก…”

ทุกอย่างพลันเงียบลงหลังเธอพูดจบ ก่อนเธอจะเบือนหน้าจากคู่สนทนาเพื่อปรับความรู้สึกก่อนจะบอกเล่าเรื่องราวต่อไป

กิกิ หรือ Pawk Kaw Ki สาวน้อยวัย 22 ปี จากเมืองพะอัน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่า ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำตันลยิน หรือ แม่น้ำสาละวิน ห่างจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว 50 กิโลเมตร เธอเข้ามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน

“ตอนเด็กๆ ก็คิดว่าอยู่ที่ประเทศไทยมันไม่มีความหมายอะไร เรียนจบแล้วก็ไปทำงาน แบบที่เพื่อนไปทำ จะกลับไปพม่าก็มีแต่เด็กกับคนแก่เท่านั้น เขาไปทำงานที่กรุงเทพกันหมด เพื่อนบางคนก็ไม่รู้ไปไหนหายไปเป็นสิบๆ ปีแล้ว”

คำว่า “เรียน” ของ กิกิ หมายถึงการเรียนในศูนย์การเรียนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นศูนย์การเรียนที่สอนเด็กต่างชาติโดยมีครูจากพม่ามาสอนภาษาอังกฤษและภาษาพม่าให้กับเด็กๆ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และสร้างอาสาสมัครผู้นำเยาวชน Peer Youth ก่อนจะเกิดเป็นกลุ่มเยาวชนชื่อ Rays of Youth ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำกิจกรรมและเป็นแกนนำในศูนย์การเรียนให้มีจิตสาธารณะ ในการทำงานเพื่อสังคมและเพิ่มทักษะให้เยาวชนกลุ่มนี้มีคุณภาพต่อไป ซึ่งกิกิได้ผ่านกระบวนการเหล่านี้ เธอจึงเลือกเส้นทางการสร้างเยาวชน แทนที่จะผันตัวเองไปเป็นแรงงาน

“ให้” เพื่อให้ไม่สิ้นสุด 

“เท่าที่เรารู้ เราก็อยากให้คนอื่นๆได้รู้เหมือนเรารู้ แล้วพอเขารู้ก็จะป้องกันเขาไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ ไม่หลงเชื่อใครง่ายๆ เพราะหนูก็เคยเป็นเด็กในศูนย์การเรียนรู้ที่แม่สอด ตอนนั้นหนูเห็นเพื่อนที่จบแล้วก็ไม่มีงานทำ เพราะไม่ได้ใบรับรองการศึกษา พ่อแม่ก็จะคิดว่ามาเรียนจบแล้วได้อะไร จบแล้วต้องทำงาน ก็เลยไม่มีใครอยากเรียนจนจบ ถึงเรียนจบไปก็ต้องไปทำงานใช้แรงงานในนา โรงงาน ร้านอาหาร เพราะเขาคิดว่าการศึกษาก็แค่การอ่านได้ก็พอแล้ว คนที่ไม่มีการศึกษาก็เลี้ยงตัวเองได้ เราอยากให้พ่อแม่รู้ว่าการศึกษาก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ดีสำหรับการป้องกันตัวและดีสำหรับการใช้ชีวิต”

ด้วยความเชื่อนี้ทุกการอบรมที่ได้มีโอกาสเข้าร่วม รวมทั้งการอบรบของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ในโครงการสื่อสารสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเด็กในสภาวะวิกฤติ อโดยการสนับสนุนของแผนงาน สื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าเสริมสุขภาพ (สสส.) มีเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้เด็กมีทักษะชีวิตเพื่อการอยู่รอดในภาวะวิกฤติ และเพื่อให้สังคมรับรู้ เข้าใจภาวะวิกฤติของเด็กในสภาวะยากลำบาก และนำไปสู่การความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน  โดยมีกรอบแนวคิดในการทำงานคือ “อยู่ให้รอด เล่นให้ปลอดภัย คิดอย่างสร้างสรรค์ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ” เป็นการทำงานกับกลุ่มเด็กชาติพันธุ์ เด็กต่างชาติที่ประสบภัยพิบัติและแรงงานเด็กต่างชาติ ทั้งจังหวัดระนอง สมุทรปราการ สมุทรสาคร นนทบุรี พังงา เชียงราย เชียงใหม่ กลุ่มเยาวชน สปป.ลาว และตาก โดยสอนการทำละครหน้าขาว หุ่นเงา และครีแอนิเมชั่น

“อบรม 3 วันค่ะ แล้วเราก็กลับมาพัฒนาตัวเองกันก่อน ค่อยจัดอบรมแกนนำเยาวชนในชุมชมอีก 20 คน ถัดไปอีกปีก็ไปสอนที่ศูนย์การเรียนรู้ของมูลนิธิช่วยไร้พรมแดนดูแลอยู่ เด็กเยาวชนสอนกันได้ดีกว่าเราลงสอนเองเพราะน้องเขารู้และเข้าใจปัญหาในชุมชนดีกว่าพวกเรา ”


ศูนย์การเรียนในแม่สอดมีทั้งหมด 74 แห่ง และมี 11 แห่ง ที่อยู่ในความดูแลของมูลนิธิฯ ซึ่งกิกิและ

น้องเยาวชน ต้องเข้าไปทำกิจกรรมร่วมกับครูและนักเรียน การได้ความรู้ครั้งนั้นทำให้กลุ่มเยาวชน Rays of youth ได้ใช้เป็นสื่อในการอบรม ให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ รวมถึงเล่าเรื่องราวของตัวเองผ่านสื่อได้ ทั้งละครหน้าขาวการค้ามนุษย์ ทำให้เด็กรู้ถึงกลการหล่อลวงในรูปแบบต่างๆ รู้ถึงสิทธิของตัวเอง ใช้และบอกต่อกับครอบครัวตัวเองได้ ครีแอนิเมชั่นเรื่องจราจร ละครหุ่นเงาที่มีเนื้อหาสื่อสารความเข้าใจกับคนไทยต่อปัญหาที่คนต่างชาติต้องอพยพลี้ภัยมาอยู่ที่แม่สอด

“เราทำครีแอนิเมชั่นให้ความรู้เรื่องการจราจรเพราะในแม่สอดคนพม่าเยอะและไม่เข้าใจสัญญาณจราจร แค่ไฟแดง เขียว เหลือง เขายังไม่รู้กันเลย บางคนโดนรถชนก็จะไปรับการรักษาลำบากมาก เพราะไม่มีบัตร แล้วถ้าเราจะให้ความรู้เขาเรื่องนี้โดยการไปพูดให้เขาฟัง เขาก็จะไม่เห็นภาพ แต่ถ้าเราทำสื่อเป็นหนังการ์ตูน พอเขาดูแล้วก็จะทำให้เข้าใจได้มากกว่าเราไปพูดเฉยๆ เขาจะสนใจ แล้วเขาก็ได้ความรู้ด้วย”

              นอกจากสื่อ 3 อย่างนั้นแล้ว ยังได้รับการอบรมผลิตสารคดีของ MTV Exit ทำให้ได้ทักษะการเขียนบทและถ่ายภาพ เข้าร่วมอบรมนักข่าวพลเมืองของไทยพีบีเอส ทำให้สื่อสารและขยายประเด็นแรงงานต่างชาติในพื้นที่แม่สอดไม่สู่สื่อกระแสหลักได้ แต่ถึงอย่างไร กิกิ และ เพื่อนเยาวชน Rays of Youth ก็ไม่ทิ้งชุมชน นำละครไปเล่นและให้ความรู้เสมอ

“เราลงชุมชนตลอดปีแรกเราจะลง 5 ชุมชน เอาละครหน้าขาว เอาหุ่นเงาไปเล่นให้ดู ถ้าเราทำกิจกรรมตอนเช้า หรือตอนกลางวัน ชาวบ้านก็จะไม่อยู่เพราะต้องทำงาน พวกเราก็ต้องไปเล่นละครกันตอนกลางคืน เรามีเพลง มีการเต้นด้วยจะได้สนุกแล้วก็ได้ความรู้”

ก่อร่างสร้างคน

จากจุดเริ่มกลุ่มเยาวชน 3 คน นั่นคือ กิกิ จูลี่ (Su HtelLwin) และ วิค (วิคตอเรีย ทีสุขาติ) ตอนนี้มีแกนนำเยาวชนกว่า 50 คน อบรมให้กับเยาวชนกว่า 1,000 คน

“ตอนนี้ไม่ว่าจะทำสื่ออะไรทั้งหนังสั้น เขียนบท ทำสคริป สัมภาษณ์ ทำหุ่น เล่นละคร พวกเขาทำได้หมด แล้วไม่ใช่แค่พวกเขาที่รู้นะ น้องก็จะสอนกันต่อไป


เหนื่อยนะ…(พักคิดก่อนจะตอบ) แต่ไม่เหนื่อย เพราะว่ามีกำลังใจ เห็นแล้วภูมิใจในตัวเองที่ช่วยเหลือชุมชนกะเหรี่ยงในแม่สอด เหนื่อย…ก็ไม่เป็นไร เพราะสนุกและชอบงานที่เราทำ”

จบประโยครอยยิ้มผุดพรายเต็มใบหน้าอธิบายถ้อยประโยคเมื่อครู่ ว่ามีความสุขได้เต็มภาคภูมิแล้ว ทั้งที่เธอเองก็ยังแน่ใจนักว่าหลังการเปิดเสรีอาเซียนจะเป็นอย่างไร แต่เธอก็ยอมรับว่าสิ่งที่เธอทำวันนี้คือสิ่งที่เธอได้เลือกแล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง

20 สิงหาคม 2559 นี้พบกันครับ ณ สวนสาธารณะเขาแคน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ……………………………….. 1. สนุกมือทำ กับ ฐานกิจกรรมมากมายที่ขนมาเพื่อทุกคน ให้ทุกท่านได้ลงมือทำ อาหาร ศิลปะ ประดิษฐ์ ระบายสี ทำเอง ภูมิใจได้ของ กลับบ้าน 2. สนุกชม ดนตรีมากความสามารถจากกลุ่มวัยรุ่นที่รวมกลุ่มรวมตัวกัน มากมายในห้องซ้อมดนตรี อ.ปากช่อง พร้อมความสนุครบวัย เพราะเรามี ลิเก ศิลปะร่วมสมัย เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ชมดี 3 สนุกช๊อบ ในตลาดนัดคุณหนู ที่จะชวนน้องๆค้นของเก่า เอามาขาย เรียนรู้การหา และการออม (ครอบครัวใดสนใจ เปิดแผงให้น้องๆได้เรียนรู้ ติดต่อจองพื้นที่ด่วนๆ รับจำนวนจำกัด 081-7321412) และพี่เศษสุดๆ กับการขนหนังสือมือสองมาจำน่ายในราคาเล่มล่ะ 1 บาท จากมูลนิธิกระจกเงา ………………………… ปล. งานเดิ่นนี้ดีจัง เปิดพื้นที่ให้ทุกท่าน มาร่วมสร้างสรรค์ กิจกรรมดีๆให้เด็ก […]

เพราะเด็กคือ “ความหวัง” ของแผ่นดิน  ถ้าหากจะกล่าวว่า อนาคตของประเทศจะเป็นอย่างไรต่อไป ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตของเด็กไทยในปัจจุบันก็คงไม่ผิดนัก ด้านการเรียนรู้ของเด็กต้องเริ่มตั้งแต่วัยทารก ซึ่งช่วงเวลาหกปีแรกนี้เองนับเป็นช่วงที่สำคัญยิ่ง เพราะถือเป็นรากฐานของการพัฒนา และนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีตลอดไป สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) ร่วมกับสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ(สำนัก 5) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ได้สนับสนุน โครงการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับการพัฒนาการเด็กเล็ก โดยร่วมจัดทำชุดโครงการ “มหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” ให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศขึ้นในปี 57 จำนวน 138  ปี 58 จำนวน 200 ศูนย์ ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างเห็นความสำคัญ และยังส่งเสริมให้การเลี้ยงดูเด็กในช่วงปฐมวัยให้มีคุณภาพมากที่สุด เห็นได้จากโครงการต่างๆ ที่มุ่งส่งเสริมให้พ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูเด็ก มีความรู้ความสามารถ โดยมีหลักการในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการดี เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพเหมาะสมตามช่วงวัย ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา รุจจิราภรณ์ พรมมิ  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งน้อย องค์การบริหารส่วนตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เล่าว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ภายใต้สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น […]

สมัชชาเยาวชนพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะทางปัญญาบนฐานชุมชน วันที่ 24 – 26 มิถุนายน 2559 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรีดีจัง   วันที่ 1 – วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2559 : “วันปันยิ้ม” รู้จักทักทาย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 08.00 น.         ลงทะเบียน 09.00 น.         รู้จักแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน (สสย.) แนะนำเครือข่ายพื้นที่นี้…ดีจัง ชี้แจงความเป็นมา วัตถุประสงค์ สมัชชาเยาวชนพื้นที่สร้างสรรค์ฯ 10.00 น.         รู้จักทักทาย สื่อความหมาย “ต่างคนต่างมาจากทุกสารทิศ ด้วยชีวิตจิตใจสร้างสรรค์ชุมชน” 12.00 น.         อาหารกลางวัน 13.00 น.         เปิดตลาดนัด “บ้านเธอ บ้านฉัน เราปันยิ้ม” 17.00 น.         เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีชีวิต […]

เริ่มเข้าหน้าหนาวบ้านไร่ก็น่าเที่ยว ๒ ปีมาแล้วที่คึกคักด้วยผู้คนสัญจรมาเที่ยวแบบผ่านทาง หรือบางทีก็ขอพักค้างอ้างแรมกางเต้นท์นอนบนดอย  ซึมซับสายหมอกหยอกเอินสายลมหนาวบนแก่นมะกรูด  แวะชมไม้ดอกเมืองหนาวที่พากันปลูกให้รื่นรมย์  เด็ดชิมสตรอเบอรี่ปลอดสารที่ไม่ไกลกรุงเทพในแปลงอินทรีย์  เป็นเหตุให้รถติดตั้งแต่หน้าอำเภอจนถึงบนดอยสูง ปรากฏการณ์ใหม่ที่ทำให้ชาวบ้านตื่นตัว ปีนี้ถือเป็นโอกาสคนในชุมชนตำบลบ้านไร่ จึงซุมหัวกับอบต.บ้านไร่ และคนทำงานด้านเกษตรปลอดสาร อย่างกลุ่มตลาดนัดซาวไฮ่ ชักชวนพี่น้องที่มีผลผลิตเป็นของตนเอง มาเปิดตลาดขายสินค้าท้องถิ่นที่อยู่ในไร่ในสวน ออกมาวางขายของดีบ้านไร่ให้คนท่องเที่ยว ชักชวนคนทำงานด้านวัฒนธรรมชุมชนมาออกแบบความคิด สร้างวิถีความงามให้เกิดขึ้นในตลาดร่วมมือร่วมใจแห่งนี้ ในชื่อ “ตลาดวัฒนธรรมบ้านไฮ่บ้านเฮา”  เปิดตลาดให้แวะช็อป ชม ชิมกันเต็มอิ่ม   ๓๐ ธันวาคม ปีนี้ จนถึง ๓ มกราคม ปีหน้า เริ่มต้นเดินเที่ยวในพื้นที่ตลาดนัดซาวไฮ่หน้าบ้านครูเคน   เรื่อยมาจนถึงหน้าอบต.บ้านไร่   ข้ามฝั่งมาหน้าศูนย์โอทอปบ้านไร่ จนถึงบริเวณขนส่งบ้านไร่   เปิดตลาดสองข้างทาง วางสินค้าบ้าน ๆ ของชาวลาวครั่ง  ให้แวะเวียนเที่ยวชมก่อนหรือหลังเที่ยวดอยสูง เปิดตลาดตั้งแต่เช้ายันค่ำ   ใครอยากพักรถสามารถจอดพักแวะเข้าห้องน้ำได้อย่างสบาย  มีที่จอดรถมากมาย ด้านในบริเวณอบต.บ้านไร่ มาแล้วจะได้อะไร? เดินแล้วจะเห็นอะไร? แต่ละโซนมีเรื่องราว แต่ละโซนมีคุณค่าของตนเอง ๑.โซนตลาดนัดซาวไฮ่ กลุ่มคนสวนลงมือทำเอง พากันนำผลผลิตเกษตรปลอดสาร  ที่มีอยู่ในสวนมาให้เลือกชม […]